ทีโอทีไฟเขียว AIS ใช้คลื่น 2100 ผูกสัญญาเช่าเสา-โครงข่าย
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
บอร์ด "ทีโอที" กดดัน "เอไอเอส" ทำสัญญาเช่าอุปกรณ์-โครงข่าย 900 MHz ก่อนถึงไฟเขียว AWN ทำสัญญาทดลองให้บริการบนคลื่น 2100 MHz ฟาก "ดีแทค" ต้องรอลุ้นอีกรอบ หลังบอร์ด "แคท" ตีกลับขอเจรจาผลตอบแทนกรณีอัพเกรด 4G คลื่น 1800 MHz ใหม่ตั้งเป้าเปิดบริการ-โกยลูกค้า 4G ทะลุล้านในสิ้นปีนี้
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2559 ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติการทำสัญญาเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายร่วมกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ในส่วนที่เป็นสัญญาทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์บนคลื่น 2100 MHz เป็นเวลา 6 เดือน แบบมีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนจึงจะลงนามกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด (AWN) ได้
แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า เงื่อนไขดังกล่าวมี 3 เรื่อง ได้แก่ 1.AWN ต้องเป็นทำรายงานความคืบหน้าและการตรวจสอบทางเทคนิคในการทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ 2.ต้องลงนามในสัญญาเช่าอุปกรณ์โครงข่าย 900 MHz ของทีโอที และ 3.ต้องลงนามในสัญญาเช่าเสาโทรคมนาคม 13,000 เสา ที่อยู่ในสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสเดิม
สำหรับการทำสัญญาทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ระหว่าง AWN และทีโอที เป็นเวลา 6 เดือน จะมีผลให้ AWN เช่าความจุคลื่น 2100 MHz จากทีโอที เพื่อนำไปให้บริการกับลูกค้าได้ คาดว่าทีโอทีจะมีรายได้ ราว 300 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนรายได้จากค่าเช่าอุปกรณ์โครงข่าย 900 MHz อยู่ที่ 2,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลา 5 ปี และค่าเช่าเสาโทรคมนาคมอีก 3,600 ล้านบาท
"ทั้ง 3 เงื่อนไข เป็นประเด็นที่สำนักงานอัยการสูงสุดท้วงติงมาในระหว่างตรวจสอบร่างสัญญาที่ทีโอทีส่งให้พิจารณา และระบุว่าไม่ควรลงนามหากทั้ง 3 ประเด็นไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งตามขั้นตอนในการตกลงเป็นพันธมิตรระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสตามที่บอร์ดอนุมัติหลักการ เมื่อ 13 พ.ย. 2558 เริ่มจากการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างทีโอทีและเอไอเอส ซึ่งลงนามไปแล้วเมื่อ 29 มี.ค. จากนั้นจะมีการลงนามในสัญญาทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์คลื่น 2100 MHz เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งเพิ่งอนุมัติแบบมีเงื่อนไขจากนั้นจึงจะลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการที่จะมีผลไปจนถึงปี 2568 รวมถึงการในสัญญาเช่าอุปกรณ์และโครงข่าย คลื่น 900 MHz ที่อยู่ในสัมปทานเดิม เพื่อระงับข้อพิพาทจากสัมปทาน ซึ่งอยู่ในกระบวนการตรวจสอบร่างสัญญาของอัยการสูงสุด
ด้านนายสุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ แคท (7 มิ.ย. 2559) ได้พิจารณาเรื่องการขออัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) แต่บอร์ดยังไม่อนุมัติ และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารไปประเมินตัวเลขให้เหมาะสมและเจรจาใหม่ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิม
โดยเป็นการอัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G โดยใช้ โมเดลเดียวกับที่ทำสัญญากับกลุ่มทรู คือดีแทคเป็นผู้ลงทุนขยายโครงข่าย ให้แคทเช่าใช้กับคลื่น 1800 MHz จากนั้นดีแทคจะซื้อความจุกลับไปให้บริการ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการตกลงเบื้องต้นว่า ดีแทค จะขยายโครงข่าย 4G ให้ได้ 9,500 แห่ง ในปี 2561 และการันตีซื้อความจุ โครงข่าย 85% อีก 15% แคทจะนำมาใช้ให้บริการ 4G ภายใต้แบรนด์ my และให้คู่สัญญา MVNO ทั้ง 4 ราย ได้แก่ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด, บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ บริษัท ไวท์ สเปซ จำกัด และ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย ได้นำไปให้บริการลูกค้าด้วย
โดยในการอัพเกรดดังกล่าว ดีแทคได้สิทธิ์ใช้คลื่นไปจนถึงเดือน ก.ย. 2561 ตามสัญญาสัมปทานเดิม ขณะที่แคทพยายามเจรจากับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้มีสิทธิ์ในการใช้งานคลื่นความถี่ต่อไป
"บอร์ดให้กลับไปประเมินใหม่และเจรจาเพิ่มเติม โดยเฉพาะตัวเลขความจุที่จะ การันตี รวมถึงอัตราผลตอบแทนที่แคทควรได้ โดยประเมินถึงศักยภาพในการทำตลาดของ my และ MVNO รวมถึงนำบทเรียนที่ได้จากดีลที่ทำกับกลุ่มทรู ทั้ง ขั้นตอนทำสัญญาและกระบวนการหลังจากนั้นเพื่อให้สัญญารอบคอบขึ้น และให้นำกลับมาเสนอบอร์ดให้พิจารณาอีกครั้งปลายเดือน มิ.ย.นี้หรือต้น ก.ค.นี้"
นายสุรพันธ์กล่าวต่อว่า บอร์ดตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้ แคทจะต้องมีบริการ 4G ให้ลูกค้าทั้งของ my by CAT และ MVNO ซึ่งจากการประเมินศักยภาพของ MVNO ขณะนี้การมีลูกค้าให้ถึง 1 ล้านรายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ นอกเหนือจากลูกค้า my ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านรายจึงต้องมีบริการ 4G เข้ามาเสริม
ส่วนการตั้งบริษัทร่วมทุนกับดีแทคเพื่อระงับข้อพิพาทตามสัมปทาน และทำธุรกิจร่วมกันนั้นยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) หลังคณะกรรมการตามมาตรา 43 พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เห็นชอบแล้ว หากกระทรวงไอซีทีเห็นชอบจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ต่อไป คาดว่าจะเรียบร้อยได้ราว ต.ค.นี้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 32)
ทีโอทีไฟเขียว AIS ใช้คลื่น 2100 ผูกสัญญาเช่าเสา-โครงข่าย
ทีโอทีไฟเขียว AIS ใช้คลื่น 2100 ผูกสัญญาเช่าเสา-โครงข่าย
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
บอร์ด "ทีโอที" กดดัน "เอไอเอส" ทำสัญญาเช่าอุปกรณ์-โครงข่าย 900 MHz ก่อนถึงไฟเขียว AWN ทำสัญญาทดลองให้บริการบนคลื่น 2100 MHz ฟาก "ดีแทค" ต้องรอลุ้นอีกรอบ หลังบอร์ด "แคท" ตีกลับขอเจรจาผลตอบแทนกรณีอัพเกรด 4G คลื่น 1800 MHz ใหม่ตั้งเป้าเปิดบริการ-โกยลูกค้า 4G ทะลุล้านในสิ้นปีนี้
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2559 ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติการทำสัญญาเป็นพันธมิตรธุรกิจโมบายร่วมกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ในส่วนที่เป็นสัญญาทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์บนคลื่น 2100 MHz เป็นเวลา 6 เดือน แบบมีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนจึงจะลงนามกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด (AWN) ได้
แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า เงื่อนไขดังกล่าวมี 3 เรื่อง ได้แก่ 1.AWN ต้องเป็นทำรายงานความคืบหน้าและการตรวจสอบทางเทคนิคในการทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ 2.ต้องลงนามในสัญญาเช่าอุปกรณ์โครงข่าย 900 MHz ของทีโอที และ 3.ต้องลงนามในสัญญาเช่าเสาโทรคมนาคม 13,000 เสา ที่อยู่ในสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสเดิม
สำหรับการทำสัญญาทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ระหว่าง AWN และทีโอที เป็นเวลา 6 เดือน จะมีผลให้ AWN เช่าความจุคลื่น 2100 MHz จากทีโอที เพื่อนำไปให้บริการกับลูกค้าได้ คาดว่าทีโอทีจะมีรายได้ ราว 300 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนรายได้จากค่าเช่าอุปกรณ์โครงข่าย 900 MHz อยู่ที่ 2,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเวลา 5 ปี และค่าเช่าเสาโทรคมนาคมอีก 3,600 ล้านบาท
"ทั้ง 3 เงื่อนไข เป็นประเด็นที่สำนักงานอัยการสูงสุดท้วงติงมาในระหว่างตรวจสอบร่างสัญญาที่ทีโอทีส่งให้พิจารณา และระบุว่าไม่ควรลงนามหากทั้ง 3 ประเด็นไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งตามขั้นตอนในการตกลงเป็นพันธมิตรระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสตามที่บอร์ดอนุมัติหลักการ เมื่อ 13 พ.ย. 2558 เริ่มจากการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างทีโอทีและเอไอเอส ซึ่งลงนามไปแล้วเมื่อ 29 มี.ค. จากนั้นจะมีการลงนามในสัญญาทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์คลื่น 2100 MHz เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งเพิ่งอนุมัติแบบมีเงื่อนไขจากนั้นจึงจะลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการที่จะมีผลไปจนถึงปี 2568 รวมถึงการในสัญญาเช่าอุปกรณ์และโครงข่าย คลื่น 900 MHz ที่อยู่ในสัมปทานเดิม เพื่อระงับข้อพิพาทจากสัมปทาน ซึ่งอยู่ในกระบวนการตรวจสอบร่างสัญญาของอัยการสูงสุด
ด้านนายสุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ แคท (7 มิ.ย. 2559) ได้พิจารณาเรื่องการขออัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) แต่บอร์ดยังไม่อนุมัติ และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารไปประเมินตัวเลขให้เหมาะสมและเจรจาใหม่ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิม
โดยเป็นการอัพเกรดคลื่น Upper band 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G โดยใช้ โมเดลเดียวกับที่ทำสัญญากับกลุ่มทรู คือดีแทคเป็นผู้ลงทุนขยายโครงข่าย ให้แคทเช่าใช้กับคลื่น 1800 MHz จากนั้นดีแทคจะซื้อความจุกลับไปให้บริการ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการตกลงเบื้องต้นว่า ดีแทค จะขยายโครงข่าย 4G ให้ได้ 9,500 แห่ง ในปี 2561 และการันตีซื้อความจุ โครงข่าย 85% อีก 15% แคทจะนำมาใช้ให้บริการ 4G ภายใต้แบรนด์ my และให้คู่สัญญา MVNO ทั้ง 4 ราย ได้แก่ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด, บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ บริษัท ไวท์ สเปซ จำกัด และ บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย ได้นำไปให้บริการลูกค้าด้วย
โดยในการอัพเกรดดังกล่าว ดีแทคได้สิทธิ์ใช้คลื่นไปจนถึงเดือน ก.ย. 2561 ตามสัญญาสัมปทานเดิม ขณะที่แคทพยายามเจรจากับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้มีสิทธิ์ในการใช้งานคลื่นความถี่ต่อไป
"บอร์ดให้กลับไปประเมินใหม่และเจรจาเพิ่มเติม โดยเฉพาะตัวเลขความจุที่จะ การันตี รวมถึงอัตราผลตอบแทนที่แคทควรได้ โดยประเมินถึงศักยภาพในการทำตลาดของ my และ MVNO รวมถึงนำบทเรียนที่ได้จากดีลที่ทำกับกลุ่มทรู ทั้ง ขั้นตอนทำสัญญาและกระบวนการหลังจากนั้นเพื่อให้สัญญารอบคอบขึ้น และให้นำกลับมาเสนอบอร์ดให้พิจารณาอีกครั้งปลายเดือน มิ.ย.นี้หรือต้น ก.ค.นี้"
นายสุรพันธ์กล่าวต่อว่า บอร์ดตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้ แคทจะต้องมีบริการ 4G ให้ลูกค้าทั้งของ my by CAT และ MVNO ซึ่งจากการประเมินศักยภาพของ MVNO ขณะนี้การมีลูกค้าให้ถึง 1 ล้านรายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ นอกเหนือจากลูกค้า my ที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านรายจึงต้องมีบริการ 4G เข้ามาเสริม
ส่วนการตั้งบริษัทร่วมทุนกับดีแทคเพื่อระงับข้อพิพาทตามสัมปทาน และทำธุรกิจร่วมกันนั้นยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) หลังคณะกรรมการตามมาตรา 43 พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เห็นชอบแล้ว หากกระทรวงไอซีทีเห็นชอบจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ต่อไป คาดว่าจะเรียบร้อยได้ราว ต.ค.นี้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 32)