แม้พักหลังจะเก็บตัวเงียบกริบสำหรับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) แต่มีประเด็นร้อนให้เร่งสะสางอยู่อีกเพียบ โดยการประชุมบอร์ด กทค.เมื่อ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีการลงมติเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ที่ "กสทช." จะจัดให้มีขึ้นใน พ.ย.และ ธ.ค.นี้
"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.ระบุว่า มติที่ประชุมให้เพิ่มเงื่อนไขการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ที่จะเข้าประมูล รวมทุกย่านไม่เกิน 60 MHz เพื่อป้องกันไม่ให้ครอบงำตลาด ซึ่งจะทำให้การใช้คลื่นไม่มีประสิทธิภาพและกระทบผู้บริโภคทั้งด้านราคาและการให้บริการ โดยการคำนวณปริมาณคลื่นที่ค่ายมือถือแต่ละรายถือครองจะนับรวมทั้งสิทธิ์ภายใต้สัมปทาน และ ส่วนที่ได้ในใบอนุญาตจาก กสทช. รวมการ ถือครองคลื่นของบริษัทในเครือด้วย แม้เป็นคนละนิติบุคคล แต่ไม่คำนวณรวมกับฝั่งผู้ให้สัมปทาน
อย่างไรก็ตาม การประมูลคลื่นในปลายปีนี้ จะเปิดให้ผู้ที่ถือครองคลื่นเกิน 60 MHz เข้าประมูลได้ภายใต้เงื่อนไขว่า หากชนะประมูลต้องคืนคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าจำนวนคลื่นที่ประมูลไป เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยคืนเจ้าของสัมปทานในกรณีที่จะคืนคลื่นในสัมปทาน หรือคืน กสทช.ในกรณีเป็นคลื่นที่ได้มาจากการจัดสรรของ กสทช.
เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการเข้าประมูลคลื่นความถี่ของ "กสทช." ที่จะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผ่านระบบออนไลน์ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในเดือน ส.ค.
"ฐากร" ระบุด้วยว่า บอร์ด กทค.ยังมีมติให้ส่งหนังสือรายงานหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ทราบถึงการสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสิ้นสุดสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 17 ก.ค.นี้ และแจ้งให้ทราบว่ายังมีลูกค้าทรูมูฟเหลือในระบบราว 7 แสนราย ลูกค้าดีพีซีราว 2 พันราย มีเงินค่าบริการที่ลูกค้าจ่ายล่วงหน้าเหลืออยู่ในระบบทรูมูฟ ราว 20 ล้านบาท แต่ไม่มีเงินค้างในระบบของดีพีซี
"ต้องแจ้งให้ คสช.ทราบเพราะเป็น ผู้ขยายเวลาเยียวยา จากนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ โดยผู้บริโภคนำหลักฐานมาขอรับเงินคืนได้ใน 1 ปี หากครบกำหนดเงินที่เหลือจะส่งเป็นรายได้แผ่นดิน"
สำหรับการนำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเยียวยาเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน "กทค." ยังไม่มีข้อสรุป แต่ให้ทุกฝ่ายนำข้อสังเกตหรือข้อโต้แย้งส่งไปยังคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน จากการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองผู้ให้บริการพิจารณา เพื่อนำเข้าบอร์ดอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กทค.ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า การกำหนดเพดานขั้นสูงในการถือครองคลื่นความถี่ (สเปกตรัมแคป) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากักตุนคลื่น แต่ยังเห็น ไม่ตรงกันว่าควรมีเพดานที่เท่าใด แม้ก่อนหน้านี้จะมอบหมายให้ไปศึกษาตัวเลขที่เหมาะสม เมื่อสำนักงาน กสทช.เสนอมาที่ 60 MHz จึงเห็นควรใช้เป็นตัวเลขตั้งต้นในการนำไปประชาพิจารณ์
"ที่มาของ 60 MHz มาจากจำนวนคลื่นทั้งหมดที่มีราว 300 MHz หารด้วยจำนวนผู้ประกอบการ 3 รายใหญ่"
ปัจจุบันมีเพียง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) รายเดียวที่มีความถี่ในมือเกิน 60 MHz (คลื่นในสัมปทานกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม) ย่าน 850 MHz (10 MHz) และ 1800 MHz (50 MHz) รวม 2.1 GHz อีก 15 MHz ที่ได้จาก กสทช.ไปเมื่อ 2 ปีก่อน รวมแล้ว 75 MHz
"กรณีการนำรายได้ในช่วงเยียวยาสัมปทานทรูมูฟและดีพีซี ยังเป็นประเด็นที่หาข้อสรุปไม่ได้"
โดยคณะทำงานประกอบด้วย นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด หัวหน้าคณะทำงาน, นางศิริพร เหลืองนวล รอง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง นางศุภราพร จักรมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงไอซีที นายจรินทร์ เทศวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ นางศรีสุดา อาชวานันทกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและบัญชี และนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ภารกิจโทรคมนาคม ได้นำรายงานสรุปมาแล้วว่า ทรูมูฟและดีพีซีต้องนำส่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสำหรับช่วงเวลาเยียวยาในปีแรก (16 ก.ย. 2556-15 ก.ย. 2557) เป็นเงินรวม 4,648 ล้านบาท แยกเป็นทรูมูฟ 4,021 ล้านบาท และดีพีซี 628 ล้านบาท
ส่วนเงินนำส่งในช่วงเยียวยาปีที่ 2 ตามประกาศ คสช.ตั้งแต่ 16 ก.ย. 2557-31 มี.ค. 2558 (6.5 เดือน) รวม 5,325 ล้านบาท แยกเป็นของทรูมูฟ 4,903 ล้านบาท ดีพีซี 422 ล้านบาท
"ตัวเลขข้างต้นทรูมูฟและดีพีซีทำหนังสือโต้แย้งมาแล้ว โดยให้เหตุผลว่าวิธีคำนวณของคณะทำงานที่ให้ค่าใช้จ่ายแปรผันตามจำนวนลูกค้า ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับโทรคมนาคมที่จำเป็นต้องให้บริการโครงข่ายครอบคลุม และมีคุณภาพคงเดิม แม้ลูกค้าจะลดลง ทั้งมีรายได้หลายส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการให้บริการตามสัมปทานแต่คณะทำงานเอามารวมไว้ด้วย"
ซึ่ง "ดีพีซี" ได้ทำหนังสือยืนยันมาว่า ปีแรกช่วงเยียวยามีรายได้ 1,157 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 1,624 ล้านบาท ขาดทุน 466 ล้านบาท ขณะที่ทรูมูฟแจ้งรายได้รวมที่ 7,049 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 7,500 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนราว 500 ล้านบาท
ขณะที่คณะทำงานได้รายงานปัญหาอุปสรรคในการประเมินรายได้และค่าใช้จ่ายของเอกชนว่า ไม่ได้แยกบัญชีการรับเงินที่ได้จากบริการเฉพาะคลื่น 1800 MHz ตามที่ประกาศกำหนดไว้ ทั้งมีการแชร์ใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบริษัทในเครือ โดยเฉพาะการใช้โครงข่ายและทรัพยากรในการบริหารจัดการ จึงยากที่จะหาความเหมาะสมในการปันส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายออกมาเป็นเฉพาะคลื่น 1800 MHz รวมถึงมีปัญหาที่คู่สัมปทานพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์โครงข่าย จึงมีข้อถกเถียงกันว่า รายได้ใดเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพย์สินตามสัมปทานหรือไม่
ดังนั้น การจำแนกรายได้และรายจ่ายยังมีข้อจำกัดอยู่มาก และคณะทำงาน ไม่สามารถหาตัวเลขที่เหมาะสมได้ว่าควรอยู่ที่เท่าใด จึงใช้การเทียบสัดส่วนของค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทกับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันของปีก่อนหมดสัมปทานมาเป็นเพดานขั้นสูงในการประเมิน
ส่วนค่าเช่าโครงข่ายที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทำหนังสือทวงถามจาก กสทช.เฉพาะปีแรกเป็นเงิน 23,379 ล้านบาท (ค่าเช่าของทรูมูฟ 17,425 ล้านบาท ดีพีซี 5,952 ล้านบาท) คณะทำงานเห็นว่าค่าใช้จ่ายที่ส่งมาส่วนใหญ่เป็นค่าเสื่อมราคา ซึ่งไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามกรอบของประกาศ กสทช. และได้คำนวณค่าเช่าให้ กสทฯเป็นเงิน 8.8 แสนบาท
แบ่งเป็นค่าเช่าโครงข่ายทรูมูฟ 6.75 แสนบาท ดีพีซี 2.12 แสนบาท และว่าหาก กสทฯเห็นว่าสมควรได้รับการชดเชยพิเศษก็อาจร้องขอให้รัฐพิจารณาได้โดยตรง เนื่องจากรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายในช่วงเยียวยาทั้งหมดจะนำส่งเป็นรายได้รัฐอยู่แล้ว
"บอร์ดหลายคนเห็นปัญหาและพยายาม ขอแก้ไขประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการเยียวยา โดยให้ระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ แต่สุดท้ายเงียบหายไป แต่ละฝ่ายโต้เถียงไม่จบเรื่องตัวเลข สุดท้ายคงไปจบที่ศาล"
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ซิม (ยัง) ไม่ดับ 'ทรูมูฟ-ดีพีซี' ตั้งเพดานคุมยักษ์มือถือฮุบคลื่น
แม้พักหลังจะเก็บตัวเงียบกริบสำหรับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) แต่มีประเด็นร้อนให้เร่งสะสางอยู่อีกเพียบ โดยการประชุมบอร์ด กทค.เมื่อ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีการลงมติเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ที่ "กสทช." จะจัดให้มีขึ้นใน พ.ย.และ ธ.ค.นี้
"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.ระบุว่า มติที่ประชุมให้เพิ่มเงื่อนไขการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ที่จะเข้าประมูล รวมทุกย่านไม่เกิน 60 MHz เพื่อป้องกันไม่ให้ครอบงำตลาด ซึ่งจะทำให้การใช้คลื่นไม่มีประสิทธิภาพและกระทบผู้บริโภคทั้งด้านราคาและการให้บริการ โดยการคำนวณปริมาณคลื่นที่ค่ายมือถือแต่ละรายถือครองจะนับรวมทั้งสิทธิ์ภายใต้สัมปทาน และ ส่วนที่ได้ในใบอนุญาตจาก กสทช. รวมการ ถือครองคลื่นของบริษัทในเครือด้วย แม้เป็นคนละนิติบุคคล แต่ไม่คำนวณรวมกับฝั่งผู้ให้สัมปทาน
อย่างไรก็ตาม การประมูลคลื่นในปลายปีนี้ จะเปิดให้ผู้ที่ถือครองคลื่นเกิน 60 MHz เข้าประมูลได้ภายใต้เงื่อนไขว่า หากชนะประมูลต้องคืนคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าจำนวนคลื่นที่ประมูลไป เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยคืนเจ้าของสัมปทานในกรณีที่จะคืนคลื่นในสัมปทาน หรือคืน กสทช.ในกรณีเป็นคลื่นที่ได้มาจากการจัดสรรของ กสทช.
เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการเข้าประมูลคลื่นความถี่ของ "กสทช." ที่จะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผ่านระบบออนไลน์ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในเดือน ส.ค.
"ฐากร" ระบุด้วยว่า บอร์ด กทค.ยังมีมติให้ส่งหนังสือรายงานหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ทราบถึงการสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสิ้นสุดสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 17 ก.ค.นี้ และแจ้งให้ทราบว่ายังมีลูกค้าทรูมูฟเหลือในระบบราว 7 แสนราย ลูกค้าดีพีซีราว 2 พันราย มีเงินค่าบริการที่ลูกค้าจ่ายล่วงหน้าเหลืออยู่ในระบบทรูมูฟ ราว 20 ล้านบาท แต่ไม่มีเงินค้างในระบบของดีพีซี
"ต้องแจ้งให้ คสช.ทราบเพราะเป็น ผู้ขยายเวลาเยียวยา จากนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ โดยผู้บริโภคนำหลักฐานมาขอรับเงินคืนได้ใน 1 ปี หากครบกำหนดเงินที่เหลือจะส่งเป็นรายได้แผ่นดิน"
สำหรับการนำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเยียวยาเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน "กทค." ยังไม่มีข้อสรุป แต่ให้ทุกฝ่ายนำข้อสังเกตหรือข้อโต้แย้งส่งไปยังคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน จากการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองผู้ให้บริการพิจารณา เพื่อนำเข้าบอร์ดอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กทค.ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า การกำหนดเพดานขั้นสูงในการถือครองคลื่นความถี่ (สเปกตรัมแคป) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากักตุนคลื่น แต่ยังเห็น ไม่ตรงกันว่าควรมีเพดานที่เท่าใด แม้ก่อนหน้านี้จะมอบหมายให้ไปศึกษาตัวเลขที่เหมาะสม เมื่อสำนักงาน กสทช.เสนอมาที่ 60 MHz จึงเห็นควรใช้เป็นตัวเลขตั้งต้นในการนำไปประชาพิจารณ์
"ที่มาของ 60 MHz มาจากจำนวนคลื่นทั้งหมดที่มีราว 300 MHz หารด้วยจำนวนผู้ประกอบการ 3 รายใหญ่"
ปัจจุบันมีเพียง บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) รายเดียวที่มีความถี่ในมือเกิน 60 MHz (คลื่นในสัมปทานกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม) ย่าน 850 MHz (10 MHz) และ 1800 MHz (50 MHz) รวม 2.1 GHz อีก 15 MHz ที่ได้จาก กสทช.ไปเมื่อ 2 ปีก่อน รวมแล้ว 75 MHz
"กรณีการนำรายได้ในช่วงเยียวยาสัมปทานทรูมูฟและดีพีซี ยังเป็นประเด็นที่หาข้อสรุปไม่ได้"
โดยคณะทำงานประกอบด้วย นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด หัวหน้าคณะทำงาน, นางศิริพร เหลืองนวล รอง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง นางศุภราพร จักรมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงไอซีที นายจรินทร์ เทศวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ นางศรีสุดา อาชวานันทกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและบัญชี และนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ภารกิจโทรคมนาคม ได้นำรายงานสรุปมาแล้วว่า ทรูมูฟและดีพีซีต้องนำส่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสำหรับช่วงเวลาเยียวยาในปีแรก (16 ก.ย. 2556-15 ก.ย. 2557) เป็นเงินรวม 4,648 ล้านบาท แยกเป็นทรูมูฟ 4,021 ล้านบาท และดีพีซี 628 ล้านบาท
ส่วนเงินนำส่งในช่วงเยียวยาปีที่ 2 ตามประกาศ คสช.ตั้งแต่ 16 ก.ย. 2557-31 มี.ค. 2558 (6.5 เดือน) รวม 5,325 ล้านบาท แยกเป็นของทรูมูฟ 4,903 ล้านบาท ดีพีซี 422 ล้านบาท
"ตัวเลขข้างต้นทรูมูฟและดีพีซีทำหนังสือโต้แย้งมาแล้ว โดยให้เหตุผลว่าวิธีคำนวณของคณะทำงานที่ให้ค่าใช้จ่ายแปรผันตามจำนวนลูกค้า ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับโทรคมนาคมที่จำเป็นต้องให้บริการโครงข่ายครอบคลุม และมีคุณภาพคงเดิม แม้ลูกค้าจะลดลง ทั้งมีรายได้หลายส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการให้บริการตามสัมปทานแต่คณะทำงานเอามารวมไว้ด้วย"
ซึ่ง "ดีพีซี" ได้ทำหนังสือยืนยันมาว่า ปีแรกช่วงเยียวยามีรายได้ 1,157 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 1,624 ล้านบาท ขาดทุน 466 ล้านบาท ขณะที่ทรูมูฟแจ้งรายได้รวมที่ 7,049 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 7,500 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนราว 500 ล้านบาท
ขณะที่คณะทำงานได้รายงานปัญหาอุปสรรคในการประเมินรายได้และค่าใช้จ่ายของเอกชนว่า ไม่ได้แยกบัญชีการรับเงินที่ได้จากบริการเฉพาะคลื่น 1800 MHz ตามที่ประกาศกำหนดไว้ ทั้งมีการแชร์ใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบริษัทในเครือ โดยเฉพาะการใช้โครงข่ายและทรัพยากรในการบริหารจัดการ จึงยากที่จะหาความเหมาะสมในการปันส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายออกมาเป็นเฉพาะคลื่น 1800 MHz รวมถึงมีปัญหาที่คู่สัมปทานพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์โครงข่าย จึงมีข้อถกเถียงกันว่า รายได้ใดเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพย์สินตามสัมปทานหรือไม่
ดังนั้น การจำแนกรายได้และรายจ่ายยังมีข้อจำกัดอยู่มาก และคณะทำงาน ไม่สามารถหาตัวเลขที่เหมาะสมได้ว่าควรอยู่ที่เท่าใด จึงใช้การเทียบสัดส่วนของค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทกับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันของปีก่อนหมดสัมปทานมาเป็นเพดานขั้นสูงในการประเมิน
ส่วนค่าเช่าโครงข่ายที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทำหนังสือทวงถามจาก กสทช.เฉพาะปีแรกเป็นเงิน 23,379 ล้านบาท (ค่าเช่าของทรูมูฟ 17,425 ล้านบาท ดีพีซี 5,952 ล้านบาท) คณะทำงานเห็นว่าค่าใช้จ่ายที่ส่งมาส่วนใหญ่เป็นค่าเสื่อมราคา ซึ่งไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามกรอบของประกาศ กสทช. และได้คำนวณค่าเช่าให้ กสทฯเป็นเงิน 8.8 แสนบาท
แบ่งเป็นค่าเช่าโครงข่ายทรูมูฟ 6.75 แสนบาท ดีพีซี 2.12 แสนบาท และว่าหาก กสทฯเห็นว่าสมควรได้รับการชดเชยพิเศษก็อาจร้องขอให้รัฐพิจารณาได้โดยตรง เนื่องจากรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายในช่วงเยียวยาทั้งหมดจะนำส่งเป็นรายได้รัฐอยู่แล้ว
"บอร์ดหลายคนเห็นปัญหาและพยายาม ขอแก้ไขประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการเยียวยา โดยให้ระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ แต่สุดท้ายเงียบหายไป แต่ละฝ่ายโต้เถียงไม่จบเรื่องตัวเลข สุดท้ายคงไปจบที่ศาล"
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558