สัมปทานมือถือบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัดและ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ แม้ว่าลูกค้า 17 ล้านราย ไม่ต้องกังวลเรื่อง“ซิมดับ”แต่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ที่เดินหน้ามาตรการ คุ้มครองผู้ใช้บริการ ก็ยังคงถูกตั้งคำถาม ถูกโจมตีจากคนอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการของ กสทช.
ซึ่งทุกคนในกสทช.ที่ผลักดันมาตรการเยียวยาฯก็ช่วยกันตอบคำถามหลายครั้งหลายหนและก็ไม่เหนื่อยที่จะตอบและอธิบายให้สังคมได้เข้าใจถึงเหตุของกสทช. ในการออกมาตรการเยียวยาฯ ที่ว่านี้ และคราวนี้ ฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) จะเป็นผู้ที่มาตอบคำถาม
แนวหน้า : กรณีคลื่น 1800 MHz จะหมดอายุสัมปทาน 15 ก.ย.นี้แต่ทำไมกสทช.ไม่ประมูลคลื่นก่อน
ฐากร : เหตุผลหลัก 2-3 ข้อคือ หลังจากกสทช.ได้มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 7 ต.ค. 2554 ซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงไอซีทีกับกสทช. หารือหาทางออกคลื่นความถี่ที่จะหมดอายุในปี’56 ว่าคลื่นจะคืนไปที่ใครในปี’55 มีการตั้งคณะอนุทำงาน โดยมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน แต่การเจรจายังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ขณะที่กสทช.ได้ข้อยุติแล้ว ว่า คลื่นจะต้องคืนกลับมาที่กสทช. เพื่อให้เปิดประมูลใหม่ แต่ไอซีทีมองว่า คลื่นจะต้องกลับไปที่ผู้ให้สัมปทานคือ บมจ.กสท โทรคมนาคมซึ่งก็มีบทพิสูจน์ โดยไอซีทีนำเรื่องเสนอครม. เพื่อใช้อำนาจมาตรา 74 คือ กสทช.จะต้องปฏิบัติตามที่ครม.แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งในวันนั้นตนได้มีโอกาสไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเป็นประธานว่า คลื่น 1800 ยังไงจะไม่สามารถขยายเวลาสัมปทานได้ ถ้าสิ้นสุดจะต้องกลับมาที่กสทช.เพื่อประมูลใหม่ ซึ่งก็ไม่เป็นไรและในวันที่ 29 ส.ค. 2556 ที่ผ่านมาน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ได้มาพบบอร์ดกทค. บอร์ดโทรคมนาคม พร้อมประธานกสทช.พูดหาทางออกในเรื่องนี้ โดยในเบื้องต้นรมว.ไอซีทีเห็นด้วยในหลักการที่กสทช.ออกมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น1800)
แนวหน้า : แล้วแนวทางแก้ปัญหาหลังคลื่น 1800 สิ้นสุดสัญญาสัมปทานเป็นอย่างไร
ฐากร : กสทช.มีแนวทางในเรื่องนี้ชัดเจนคือ 1.คลื่นที่หมดอายุสัมปทาน จะต้องกลับมาที่กสทช. แต่คลื่นที่ยังไม่ครบสัญญาสัมปทาน เช่น ดีแทค ยังเหลือเวลา 5 ปี จะปรับปรุงสัญญาณขยายต่อไปได้หรือไม่ เป็นมติครม.ที่ไอซีทีขอมติเพื่อจะมาหาทางออกอย่างไร ตอนนี้มันซ้อนกันอยู่ คือ 1800 ที่เป็นทรูมูฟ จะสิ้นสุด 15 ก.ย.นี้ เราจะคืนมาที่กสทช. เป็นสมบัติชาติ เรายืนยันว่าจะต้องประมูลใหม่ แต่ของดีแทคที่จะหมดอายุใน 5 ปีข้างหน้า ทางไอซีทีจะมาคุยกับเราว่าจะขอปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้หรือไม่
แนวหน้า : มีคำถามว่า ก่อนหน้านี้ทำไมกสทช.ไม่รีบโอนย้ายคลื่น 1800
ฐากร : การที่สัญญายังไม่หมดอายุ เราจะไปบังคับประชาชนให้โอนย้ายไม่ได้ เราเพียงแต่ทำการประชาสัมพันธ์แค่นั้นเอง สมมุติว่า ถ้าลูกค้าใช้ทรูมูฟอยู่ สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง 15 ก.ย. 2556 จะไปบอกให้โอนย้ายไปคลื่นอื่นยังทำไม่ได้
จะทำได้ก็ต่อเมื่อสัญญาสิ้นสุดแล้วคือ 15 ก.ย. 2556 เราจึงมีมาตรการเยียวยาออกมา การโอนย้ายเป็นสิทธิของลูกค้า ไม่ใช่ว่าผู้ให้บริการจะบังคับว่าสัญญาจะสิ้นสุด คุณต้องย้ายไปอยู่กลุ่มผมนะ เป็นการตัดสินใจของลูกค้า
นอกจากนี้ กรณีที่กสทช.ไม่สามารถจัดการประมูลก่อนได้ โดยมีเหตุผลสนับสนุน 3 เรื่องคือ1.เรื่องการคืนคลื่น ต้องคืนมาที่กสทช. หรือคืนกระทรวงไอซีที 2.เรื่องสภาพความจำเป็นในการใช้คลื่น อย่างปีที่แล้ว(ปี 2555) ที่เปิดใช้คลื่น 2.1 ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากคลื่นขาดแคลนในตลาด จะเห็นว่า โทรศัพท์มีปัญหา แล้วคลื่น 2.1 เป็นคลื่นที่เหลืออยู่ที่กสทช. แต่คลื่น 1800 เป็นคลื่นที่ใช้งานอยู่ ซึ่งต่างกันในลักษณะการใช้งาน และ 3.ต้องดูสภาพเศรษฐกิจด้วย เราเพิ่งประมูล 2.1 ไป ขณะนี้ผู้ประกอบการกำลังลงทุน ขณะนี้ขยายโครงข่ายได้ 20-30% คาดว่าในสิ้นปีนี้จะขยายโครงข่ายได้50% ซึ่งปีหน้าคงจะครอบคลุมได้ 80% ก็เป็นเรื่องของโอกาสทางการตลาดที่เราจะต้องให้โอกาสที่เค้าลงทุนในส่วนนี้ถามว่าได้มีการเตรียมการประมูลมั้ย เตรียมแน่นอน ร่างประกาศจะเข้าที่ประชุมบอร์ดโทรคมนาคมวันพฤหัสบดีที่ 29 ส.ค. 2556 นี้ การประมูล 1800 ซึ่งก็คือ 4G ในอนาคต อาจจะปี 2557 เดือน เม.ย. หรือ ก.ค.เป็นต้น
แนวหน้า : กรณีสัญญาเช่าจะหมดใน 2 เดือน เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะสามารถคุยกับผู้เช่ารายใหม่ก่อน
ฐากร : เหตุผล คือ ผู้เช่ารายใหม่อาจจะให้ราคาถูกกว่า เพราะคิดว่าจะต้องไปฟ้องขับไล่
เพราะถ้าเค้าไม่ออก จะต้องมีกระบวนการ เช่น ฟ้องขับไล่ บางทีอาจจะหลายปี ตอนนี้เป็นการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานครั้งแรกของประเทศ คือบทเรียนว่ากสทช.เดินหน้าเปิดประมูลใหม่แน่นอน นอกจากนั้น ยังไม่เคยมีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมาก่อน คนที่เคยเป็นเจ้าของคลื่นก็บอกว่าเป็นของตัวเอง กสทช.ที่เข้ามาทำหน้าที่นี้ก็บอกว่าต้องคืนมา ก็โต้เถียงกันอยู่ ตั้งคณะกรรมการ 2 ปีแล้ว ยังทำอะไรกันไม่ได้
แนวหน้า : ยังมีคำถามถึงอำนาจตามกม. ในการออกมาตรการเยียวยา
ฐากร : เราตั้งคณะทำงาน มีอาจารย์ แก้วสรร อติโพธิ เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณา 4 ประเด็น 1.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดไว้ว่า คลื่นความถี่ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม ถือเป็นทรัพยากรของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ 2.พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ มาตรา 27(13) เขียนว่า เสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันด้านโทรคมนาคมจะต้องไม่สะดุดหยุดลง 3.พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 20 เขียนว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม จะหยุดให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากกสทช. และ 4.มาตรา 15 วรรคสุดท้าย เขียนว่า ในกรณีที่เป็นเหตุแห่งการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ กสทช.มีอำนาจ ในการเพิ่มเงื่อนไขในการกำกับดูแล เพิ่มเติมได้ ถือเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ
เมื่อผนวกกันทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว เรายืนยันว่า รับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาร้อยละ 90 เห็นด้วยกับการดำเนินการของกสทช.ถ้าอย่างนี้เราต้องคุ้มครองประโยชน์สูงสุด กสทช.เหมือนเดินมาบนทาง 2 แพร่ง ถ้าปล่อยให้ซิมดับ จะถูกฟ้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าซิมไม่ดับ กสทช.อาจถูกฟ้องว่าปฏิบัติหน้าที่อันมิชอบกสทช.เลือกทางที่จะคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายทั้งหมดที่กล่าววมา ก็จะต้องไปอิงกับผลประโยชน์ ประชาชน ทำให้เราเลือกตัดสินมีมาตรการเยียวยา ออกมาเพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือผู้ให้บริการ
แนวหน้า : รายได้หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800
ฐากร : ในร่างกฎหมายเดิมบอกว่าผู้ประกอบการจะต้องจ่าย 30% ให้ผู้ให้สัมปทาน หลังจากหักเหลือเท่าไรนำส่งรายได้เข้ารัฐ แต่ร่างกฎหมายใหม่ที่เรารับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาคือเราได้รับคำปรึกษาจากผู้แทนกระทรวงการคลัง กสทช. และนักวิชาการ ว่าคลื่นความถี่ หลังจาก 15 ก.ย. 2556 นั้น พอวันที่ 16 ก.ย. 2556คลื่นจะเป็นสมบัติของชาติ กสทช.มีหน้าที่เปิดประมูลคลื่นความถี่นี้ใหม่ แต่ในระหว่างที่เรามีมาตรการเยียวยาคุ้มครองผู้บริโภคชั่วคราว ฉะนั้นรายได้ของคลื่นที่ไม่ใช่ของใครแล้ว ไม่ว่าจะกสท. ทรูมูฟ หรือดีพีซี รายได้นี้จะต้องเป็นของรัฐเท่านั้น เพราะเป็นสมบัติชาติ กสท.หักได้คือค่าเช่าโครงข่าย ในกรณีทรูมูฟ และดีพีซีเอง จะหักได้เฉพาะค่าบริหารจัดการ เท่าต้นทุนตัวเองเท่านั้น ที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการ 5 คนประกอบด้วย กระทรวงการคลัง คือคนที่จะรับรายได้เป็นประธาน มีผู้แทนจากไอซีที ผู้แทนจากสนง.อัยการสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีนักเศรษฐศาสตร์ ทั้ง 5 ท่านจะมาคิดต้นทุนจากไอซีทีทรูมูฟ และดีพีซี เพื่อหักค่าบริหารจัดการทั้งหมดเหลือเท่าไร เป็นของแผ่นดินทั้งหมด
แนวหน้า : รัฐจะเสียผลประโยชน์ไหม
ฐากร : รัฐได้ประโยชน์เต็มที่ คนเสียประโยชน์ คือ ผู้ให้สัมปทาน กับผู้รับสัมปทานเดิมที่สัญญาจะสิ้นสุดลง เพราะไม่ได้อะไรเลย การทำอยู่ในช่วงมาตรการเยียวยา จะกดดัน 2 เรื่อง 1.การทำในช่วง 1 ปีนี้ที่ีไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นผู้ให้บริการจะต้องโอนย้ายลูกค้าให้เสร็จโดยเร็ว เพราะไม่มีประโยชน์ 2.จะต้องทำอย่างไรให้รีบโอนย้าย เพราะถ้าปล่อยให้เค้ายังมีผลกำไร อาจจะเป็น 9 เดือน หรือ 1 ปี หรือมากกว่านั้นก็จะไม่รีบในการโอนย้ายให้เสร็จสิ้น การดำเนินการของเรา ยึดถือ 2 เรื่อง คือ 1.คุ้มครองผู้บริโภค 2.คุ้มครองประโยชน์รัฐ ซึ่งร่างทั้งหมด แก้ไขปรับปรุง เพื่อจะส่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แนวหน้า : สุดท้าย ถ้ามีการฟ้องศาลขั้นตอนจะเป็นอย่างไร
ฐากร : แยกกันคนละประเด็น ถ้าจะฟ้องศาลก็ถือเป็นสิทธิที่จะทำ แต่ในส่วนของกสทช.ก็มีอำนาจ ตามกฎหมายที่จะต้องคุ้มครองประชาชนและประโยชน์ของรัฐ เราก็จะยอมรับในกระบวนการที่จะต้องเดินต่อไป เพียงแต่ยืนยันว่าซิมไม่ดับผู้ใช้บริการจะต้องใช้ได้ต่อไป คำสั่งของศาลออกมาอย่างไร กสทช.ยินดีน้อมรับ
ที่มา :
http://www.naewna.com/business/66804
คำอธิบายว่า ทำไม กสทช.ถึงออกมาตรการห้ามซิมคลื่น1800 ดับ
ซึ่งทุกคนในกสทช.ที่ผลักดันมาตรการเยียวยาฯก็ช่วยกันตอบคำถามหลายครั้งหลายหนและก็ไม่เหนื่อยที่จะตอบและอธิบายให้สังคมได้เข้าใจถึงเหตุของกสทช. ในการออกมาตรการเยียวยาฯ ที่ว่านี้ และคราวนี้ ฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) จะเป็นผู้ที่มาตอบคำถาม
แนวหน้า : กรณีคลื่น 1800 MHz จะหมดอายุสัมปทาน 15 ก.ย.นี้แต่ทำไมกสทช.ไม่ประมูลคลื่นก่อน
ฐากร : เหตุผลหลัก 2-3 ข้อคือ หลังจากกสทช.ได้มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 7 ต.ค. 2554 ซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงไอซีทีกับกสทช. หารือหาทางออกคลื่นความถี่ที่จะหมดอายุในปี’56 ว่าคลื่นจะคืนไปที่ใครในปี’55 มีการตั้งคณะอนุทำงาน โดยมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน แต่การเจรจายังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ขณะที่กสทช.ได้ข้อยุติแล้ว ว่า คลื่นจะต้องคืนกลับมาที่กสทช. เพื่อให้เปิดประมูลใหม่ แต่ไอซีทีมองว่า คลื่นจะต้องกลับไปที่ผู้ให้สัมปทานคือ บมจ.กสท โทรคมนาคมซึ่งก็มีบทพิสูจน์ โดยไอซีทีนำเรื่องเสนอครม. เพื่อใช้อำนาจมาตรา 74 คือ กสทช.จะต้องปฏิบัติตามที่ครม.แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งในวันนั้นตนได้มีโอกาสไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเป็นประธานว่า คลื่น 1800 ยังไงจะไม่สามารถขยายเวลาสัมปทานได้ ถ้าสิ้นสุดจะต้องกลับมาที่กสทช.เพื่อประมูลใหม่ ซึ่งก็ไม่เป็นไรและในวันที่ 29 ส.ค. 2556 ที่ผ่านมาน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ได้มาพบบอร์ดกทค. บอร์ดโทรคมนาคม พร้อมประธานกสทช.พูดหาทางออกในเรื่องนี้ โดยในเบื้องต้นรมว.ไอซีทีเห็นด้วยในหลักการที่กสทช.ออกมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น1800)
แนวหน้า : แล้วแนวทางแก้ปัญหาหลังคลื่น 1800 สิ้นสุดสัญญาสัมปทานเป็นอย่างไร
ฐากร : กสทช.มีแนวทางในเรื่องนี้ชัดเจนคือ 1.คลื่นที่หมดอายุสัมปทาน จะต้องกลับมาที่กสทช. แต่คลื่นที่ยังไม่ครบสัญญาสัมปทาน เช่น ดีแทค ยังเหลือเวลา 5 ปี จะปรับปรุงสัญญาณขยายต่อไปได้หรือไม่ เป็นมติครม.ที่ไอซีทีขอมติเพื่อจะมาหาทางออกอย่างไร ตอนนี้มันซ้อนกันอยู่ คือ 1800 ที่เป็นทรูมูฟ จะสิ้นสุด 15 ก.ย.นี้ เราจะคืนมาที่กสทช. เป็นสมบัติชาติ เรายืนยันว่าจะต้องประมูลใหม่ แต่ของดีแทคที่จะหมดอายุใน 5 ปีข้างหน้า ทางไอซีทีจะมาคุยกับเราว่าจะขอปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้หรือไม่
แนวหน้า : มีคำถามว่า ก่อนหน้านี้ทำไมกสทช.ไม่รีบโอนย้ายคลื่น 1800
ฐากร : การที่สัญญายังไม่หมดอายุ เราจะไปบังคับประชาชนให้โอนย้ายไม่ได้ เราเพียงแต่ทำการประชาสัมพันธ์แค่นั้นเอง สมมุติว่า ถ้าลูกค้าใช้ทรูมูฟอยู่ สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง 15 ก.ย. 2556 จะไปบอกให้โอนย้ายไปคลื่นอื่นยังทำไม่ได้
จะทำได้ก็ต่อเมื่อสัญญาสิ้นสุดแล้วคือ 15 ก.ย. 2556 เราจึงมีมาตรการเยียวยาออกมา การโอนย้ายเป็นสิทธิของลูกค้า ไม่ใช่ว่าผู้ให้บริการจะบังคับว่าสัญญาจะสิ้นสุด คุณต้องย้ายไปอยู่กลุ่มผมนะ เป็นการตัดสินใจของลูกค้า
นอกจากนี้ กรณีที่กสทช.ไม่สามารถจัดการประมูลก่อนได้ โดยมีเหตุผลสนับสนุน 3 เรื่องคือ1.เรื่องการคืนคลื่น ต้องคืนมาที่กสทช. หรือคืนกระทรวงไอซีที 2.เรื่องสภาพความจำเป็นในการใช้คลื่น อย่างปีที่แล้ว(ปี 2555) ที่เปิดใช้คลื่น 2.1 ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากคลื่นขาดแคลนในตลาด จะเห็นว่า โทรศัพท์มีปัญหา แล้วคลื่น 2.1 เป็นคลื่นที่เหลืออยู่ที่กสทช. แต่คลื่น 1800 เป็นคลื่นที่ใช้งานอยู่ ซึ่งต่างกันในลักษณะการใช้งาน และ 3.ต้องดูสภาพเศรษฐกิจด้วย เราเพิ่งประมูล 2.1 ไป ขณะนี้ผู้ประกอบการกำลังลงทุน ขณะนี้ขยายโครงข่ายได้ 20-30% คาดว่าในสิ้นปีนี้จะขยายโครงข่ายได้50% ซึ่งปีหน้าคงจะครอบคลุมได้ 80% ก็เป็นเรื่องของโอกาสทางการตลาดที่เราจะต้องให้โอกาสที่เค้าลงทุนในส่วนนี้ถามว่าได้มีการเตรียมการประมูลมั้ย เตรียมแน่นอน ร่างประกาศจะเข้าที่ประชุมบอร์ดโทรคมนาคมวันพฤหัสบดีที่ 29 ส.ค. 2556 นี้ การประมูล 1800 ซึ่งก็คือ 4G ในอนาคต อาจจะปี 2557 เดือน เม.ย. หรือ ก.ค.เป็นต้น
แนวหน้า : กรณีสัญญาเช่าจะหมดใน 2 เดือน เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะสามารถคุยกับผู้เช่ารายใหม่ก่อน
ฐากร : เหตุผล คือ ผู้เช่ารายใหม่อาจจะให้ราคาถูกกว่า เพราะคิดว่าจะต้องไปฟ้องขับไล่
เพราะถ้าเค้าไม่ออก จะต้องมีกระบวนการ เช่น ฟ้องขับไล่ บางทีอาจจะหลายปี ตอนนี้เป็นการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานครั้งแรกของประเทศ คือบทเรียนว่ากสทช.เดินหน้าเปิดประมูลใหม่แน่นอน นอกจากนั้น ยังไม่เคยมีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมาก่อน คนที่เคยเป็นเจ้าของคลื่นก็บอกว่าเป็นของตัวเอง กสทช.ที่เข้ามาทำหน้าที่นี้ก็บอกว่าต้องคืนมา ก็โต้เถียงกันอยู่ ตั้งคณะกรรมการ 2 ปีแล้ว ยังทำอะไรกันไม่ได้
แนวหน้า : ยังมีคำถามถึงอำนาจตามกม. ในการออกมาตรการเยียวยา
ฐากร : เราตั้งคณะทำงาน มีอาจารย์ แก้วสรร อติโพธิ เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณา 4 ประเด็น 1.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดไว้ว่า คลื่นความถี่ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม ถือเป็นทรัพยากรของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ 2.พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ มาตรา 27(13) เขียนว่า เสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันด้านโทรคมนาคมจะต้องไม่สะดุดหยุดลง 3.พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 มาตรา 20 เขียนว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม จะหยุดให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากกสทช. และ 4.มาตรา 15 วรรคสุดท้าย เขียนว่า ในกรณีที่เป็นเหตุแห่งการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ กสทช.มีอำนาจ ในการเพิ่มเงื่อนไขในการกำกับดูแล เพิ่มเติมได้ ถือเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ
เมื่อผนวกกันทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว เรายืนยันว่า รับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาร้อยละ 90 เห็นด้วยกับการดำเนินการของกสทช.ถ้าอย่างนี้เราต้องคุ้มครองประโยชน์สูงสุด กสทช.เหมือนเดินมาบนทาง 2 แพร่ง ถ้าปล่อยให้ซิมดับ จะถูกฟ้องว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าซิมไม่ดับ กสทช.อาจถูกฟ้องว่าปฏิบัติหน้าที่อันมิชอบกสทช.เลือกทางที่จะคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายทั้งหมดที่กล่าววมา ก็จะต้องไปอิงกับผลประโยชน์ ประชาชน ทำให้เราเลือกตัดสินมีมาตรการเยียวยา ออกมาเพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือผู้ให้บริการ
แนวหน้า : รายได้หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800
ฐากร : ในร่างกฎหมายเดิมบอกว่าผู้ประกอบการจะต้องจ่าย 30% ให้ผู้ให้สัมปทาน หลังจากหักเหลือเท่าไรนำส่งรายได้เข้ารัฐ แต่ร่างกฎหมายใหม่ที่เรารับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาคือเราได้รับคำปรึกษาจากผู้แทนกระทรวงการคลัง กสทช. และนักวิชาการ ว่าคลื่นความถี่ หลังจาก 15 ก.ย. 2556 นั้น พอวันที่ 16 ก.ย. 2556คลื่นจะเป็นสมบัติของชาติ กสทช.มีหน้าที่เปิดประมูลคลื่นความถี่นี้ใหม่ แต่ในระหว่างที่เรามีมาตรการเยียวยาคุ้มครองผู้บริโภคชั่วคราว ฉะนั้นรายได้ของคลื่นที่ไม่ใช่ของใครแล้ว ไม่ว่าจะกสท. ทรูมูฟ หรือดีพีซี รายได้นี้จะต้องเป็นของรัฐเท่านั้น เพราะเป็นสมบัติชาติ กสท.หักได้คือค่าเช่าโครงข่าย ในกรณีทรูมูฟ และดีพีซีเอง จะหักได้เฉพาะค่าบริหารจัดการ เท่าต้นทุนตัวเองเท่านั้น ที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการ 5 คนประกอบด้วย กระทรวงการคลัง คือคนที่จะรับรายได้เป็นประธาน มีผู้แทนจากไอซีที ผู้แทนจากสนง.อัยการสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีนักเศรษฐศาสตร์ ทั้ง 5 ท่านจะมาคิดต้นทุนจากไอซีทีทรูมูฟ และดีพีซี เพื่อหักค่าบริหารจัดการทั้งหมดเหลือเท่าไร เป็นของแผ่นดินทั้งหมด
แนวหน้า : รัฐจะเสียผลประโยชน์ไหม
ฐากร : รัฐได้ประโยชน์เต็มที่ คนเสียประโยชน์ คือ ผู้ให้สัมปทาน กับผู้รับสัมปทานเดิมที่สัญญาจะสิ้นสุดลง เพราะไม่ได้อะไรเลย การทำอยู่ในช่วงมาตรการเยียวยา จะกดดัน 2 เรื่อง 1.การทำในช่วง 1 ปีนี้ที่ีไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นผู้ให้บริการจะต้องโอนย้ายลูกค้าให้เสร็จโดยเร็ว เพราะไม่มีประโยชน์ 2.จะต้องทำอย่างไรให้รีบโอนย้าย เพราะถ้าปล่อยให้เค้ายังมีผลกำไร อาจจะเป็น 9 เดือน หรือ 1 ปี หรือมากกว่านั้นก็จะไม่รีบในการโอนย้ายให้เสร็จสิ้น การดำเนินการของเรา ยึดถือ 2 เรื่อง คือ 1.คุ้มครองผู้บริโภค 2.คุ้มครองประโยชน์รัฐ ซึ่งร่างทั้งหมด แก้ไขปรับปรุง เพื่อจะส่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แนวหน้า : สุดท้าย ถ้ามีการฟ้องศาลขั้นตอนจะเป็นอย่างไร
ฐากร : แยกกันคนละประเด็น ถ้าจะฟ้องศาลก็ถือเป็นสิทธิที่จะทำ แต่ในส่วนของกสทช.ก็มีอำนาจ ตามกฎหมายที่จะต้องคุ้มครองประชาชนและประโยชน์ของรัฐ เราก็จะยอมรับในกระบวนการที่จะต้องเดินต่อไป เพียงแต่ยืนยันว่าซิมไม่ดับผู้ใช้บริการจะต้องใช้ได้ต่อไป คำสั่งของศาลออกมาอย่างไร กสทช.ยินดีน้อมรับ
ที่มา : http://www.naewna.com/business/66804