ไทยรัฐทีวี :
ไทยรัฐทีวี มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารสถานีใหม่เกือบยกชุด โดยเฉพาะทีมที่ยกกันมาจากสปริงนิวส์ ซึ่งเข้ามาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถานี แต่สุดท้ายไม่สามารถบริหารงานได้ตามที่ “ตระกูลวัชรพล” ตั้งความหวังเอาไว้ ซึ่งในช่วงปี 2560 ได้ให้โอกาสผู้บริหารชุดเก่าได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ โดยเฉพาะช่วงข่าวที่เน้นข่าว “ลูกค้า” มาก จนไม่สามารถคุมเนื้อหาหลักเอาไว้ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหารไทยรัฐทีวีชุดเก่าถูกให้ออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน
จากนี้ต้องจับตาดูว่าไทยรัฐทีวีจะมีความเปลี่ยนแปลงภายใต้ผู้บริหารชุดใหม่มากน้อยเพียงใด
ส่วนสวัสดิการของพนักงานในช่วงต้นปีมีการปรับลดค่าเดินทางการปฏิบัติงานต่างจังหวัด จากเดิมที่เคยได้รับ 600 บาทต่อวัน เหลือ 400 บาทต่อวัน ส่วนหมายงานต่างประเทศหากได้รับเชิญจากหน่วยงานรัฐ-เอกชน จะไม่มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยง
เนชั่น
ผู้บริหารเนชั่นแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่า ต้องการเก็บช่องเนชั่นเอาไว้ แต่ต้องการขายช่อง NOW 26 หลังผลประกอบและเรตติ้งไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ซึ่งได้ทำการดีลผู้ซื้อมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ฝั่งผู้ซื้อกำลังตัดสินใจอยู่ ทั้งนี้ได้เปิดให้พนักงานพนักงานเข้าโครงการสมัครใจลาออก โดยได้รับเงินชดเชยไป 2 ล็อตใหญ่ เช่นกัน ส่วนสวัสดิการอื่นคงเดิม
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมเครือเนชั่นเป็นสื่อที่ตกเป็นข่าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยทางบริษัทโซลูชั่น คอนเนอร์ 1998 จำกัด มหาชน (SLC) เข้ามาถือหุ้นใหญ่ของเครือเนชั่น จนทำให้เกิดการฟ้องร้องในหลายกรณี แต่ในช่วงหลังทั้งสองฝ่ายเริ่มปรับตัวเข้าหากัน โดยผู้บริหาร SLC สามารถส่งคนเข้าไปบริหารร่วมกับคนเนชั่นได้ในบางตำแหน่ง แต่ก็มีการทักท้วงกันในบางรายชื่อ
ช่อง 5
สถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดีเท่าไร เนื่องจากรายรับไม่เข้าเป้า บรรดารายการบันเทิงที่เคยทำกำไรให้กับช่องแทบจะไม่มีเหลือ ทางช่องจึงประกาศให้เน้นผลิตรายการที่สามารถดึงให้ประชาชนมาสนใจ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ภายหลังที่ปรับแผนรายการกันใหม่ เนื่องจากรายการเดิมจะหมดสัญญาในสิ้นปี
อย่างไรก็ตามภารกิจหลักคือการนำเสนอกิจกรรมของกองทัพเป็นหลัก ทั้งนี้ในปีนี้พนักงานช่อง 5 ไม่ได้รับโบนัสเช่นกัน แต่ยังไม่มีนโยบายปรับลดพนักงาน โดยมุ่งเน้นพัฒนาฝ่ายรายการมากกว่า
ช่อง 3
มีกระแสข่าวเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ จนลือกันหนักว่าถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ฮุบ แม้เรตติ้งของช่อง 3 ยังอยู่ในลำดับต้นๆ แต่ปี 2560 เป็นปีแรกที่พนักงานของช่อง 3 ไม่ได้โบนัสเป็นปีแรก และไม่ปรับฐานเงินเดือนให้พนักงาน โดยให้เหตุผลว่าทางบริษัทแบกรับภาระค่าใช้จ่ายช่องโทรทัศน์ถึง 4 ช่อง
ทั้งนื้มีความเป็นไปได้สูงที่คืนช่องทีวีดิจิตอลช่อง 18 และช่อง 28 ส่วนสวัสดิการอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการปรับเพิ่มวันหยุดให้หยุดสัปดาห์ละ 2 วัน และปรับวันหยุดพักร้อนให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ในปี 2561 ทางบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งผลิตงานให้กับช่อง 3 เดิม ไม่สามารถผลิตงานให้กับช่องทีวีดิจิตอลในเครือของช่อง 3 ได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขทางกฎหมาย ทางบริษัทบางกอก เอ็นเตอร์เทรนด์เม้นต์ จึงอาจจะปิดตัวในช่วงปี 2561 ถึงต้นปี 2562
ช่อง Thai PBS
เปิดโครงการให้พนักงานสมัครใจลาออก โดยโฟกัสเป้าหมายไปที่พนักงานที่ทำงานมานานแล้ว กำหนดยอดไว้ที่ 300 คน โดยจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด และเงินเพิ่มเติมไม่เกิน 10 เดือน ล่าสุดมีพนักงานสมัครเข้าโครงการ 60 คน ซึ่งมีพนักงานที่ไม่ได้อยู่ในข่ายเป้าหมายสมัครใจลาออกไปจำนวนมาก
ทั้งนี้การจ้างงานของไทยพีบีเอสจะใช้รูปแบบสัญญาจ้าง 6 เดือน หรือ 1 ปี หากทำงานได้ไม่ตรงเป้าหมายที่วางเอาไว้ ก็จะไม่ต่อสัญญาใหม่ แต่หากทำงานได้ตามเป้าก็จะต่อสัญญา
ช่อง TNN
พนักงานประจำที่อายุงานเกิน 10 ปี ให้ออก 7-8 คน โดยให้เหตุผลว่าผลการประเมินไม่ผ่าน โดยมีเรื่องฟ้องร้องอยู่ที่กระทรวงแรงงาน ซึ่งทางกระทรวงแรงงานจะนัดไกล่เกลี่ยกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีแนวโน้มที่ TNN จะยอมจ่ายเงินชดเชยตามที่พนักงานเรียกร้อง
ทั้งนี้พนักงาน TNN ยังได้รับโบนัสอยู่ เนื่องจากทางบริษัทแม่คือบริษัททรู ได้จัดสรรงบประมาณแจกจ่ายโบนัสให้พนักงานทุกคน
ส่วนแนวโน้มปี 2561 ในช่วงต้นปีน่าจะมีการจ้างพนักงานออกอีก เนื่องจากต้องการลดภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายเทคนิคที่สุ่มเสี่ยงมากเป็นพิเศษ
ส่วนพนักงานฟรีแลนซ์ไม่มีนโยบายให้ออก แต่ให้โอนย้ายจากฝั่งทีวีไปทำงานด้านโซเชี่ยลมีเดียแทน
Workpoint TV
ผลประกอบการดีมาก แต่ยังซื้อภาพจากไทยพีบีเอสอยู่ เนื่องจากทีมข่าวยังมีไม่พอ แต่อาจจะไม่รับล็อตเดียว ค่อยๆทยอยคัดคนเข้ามาทำงาน เพราะต้องการเน้นคุณภาพของงานมากกว่า เป้าหมายหลักต้องการรุกด้านกีฬามากขึ้นกว่าเดิม ล่าสุดกระโดดลงไปส่วนร่วมในการถ่ายทอดสดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ และรับสมัครผู้สื่อข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์
ขณะที่โบนัสพนักงานจะได้รับเฉลี่ยแตกต่างกันไป หากรายการใดสามารถทำรายได้ให้บริษัทจำนวนมาก ก็จะได้รับการประเมินให้ได้โบนัสมากกว่าส่วนอื่น อีกทั้งหากรายการใดทำรายได้เกินเรตที่ตั้งไว้ก็จะได้เงินพิเศษเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งนี้การรับโบนัสของพนักงานขึ้นอยู่กับการประเมินของหัวหน้างาน หากพนักงานคนใดได้รับการประเมินต่ำก็จะไม่ได้รับโบนัส
ช่อง ONE
สถานการณ์ด้านการเงินไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่การบริหารคนภายในองค์กรดูจะมีความขัดแย้งกันอยู่เยอะ โดยเฉพาะทีมงานฝ่ายข่าวที่มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่ ซึ่งมีการเกลี่ยคนเก่าออก โดยให้เหตุผลว่าต้องการปรับลดค่าใช้จ่าย แต่การรับพนักงานใหม่ เลยทำให้เกิดความเบาะแว้งและระแวงกันภายในองค์กร
ทั้งนี้ทีมข่าวที่เซ็ตขึ้นมาใหม่จะเปลี่ยนโทนข่าวให้เน้นข่าวโซเชี่ยลมีเดีย โดยชูตัวผู้ประกาศเล่าข่าวเพื่อดึงดูดคนดู
PPTV
เป็นช่องโทรทัศน์ที่สถานะทางการเงินดีเป็นพิเศษ โดยในปีนี้มีการแจกโบนัสให้พนักงาน ในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปรับยุทธศาสตร์สัดส่วนบุคลากรใหม่ จากเดิมที่มีนโยบายรับเด็กจบใหม่ไฟแรง เพื่อนำมาหล่อหลวมกับทีมงานระดับซีเนียร์ที่มีอยู่แล้ว โดยมองว่าจะสามารถผลิตข่าวที่สร้างสรรค์จากฝีมือคนรุ่นใหม่ได้
แต่ในระยะหลังเปิดรับพนักงานระดับซีเนียร์มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าข่าวบางข่าวต้องอาศัยประสบการณ์ถึงจะผลิตออกมาดีได้
Voice TV
ภายหลังออกแถลงการณ์ปรับโครงสร้าง โดยให้พนักงานออก 127 คน โดยมีการปรับทีมงานให้ฝั่งโทรทัศน์บางส่วนให้ช่วยดูเนื้อหาข่าวออนไลน์มากขึ้น โดยจะเปิดตัวออนไลน์รูปแบบใหม่ในช่วงต้นปี 2561 ส่วนโทรทัศน์ก็ต้องรอความชัดเจนจากกสทช.เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือช่องทีวีดิจิตอล
โดยคาดการณ์ว่าในช่วงกลางปี 2561 อาจจะมีการปรับโครงสร้างอีกหนึ่งรอบ และน่าจะให้พนักงานออกเพิ่มเติมอีก
อ่านข่าวฉบับเต็มที่
สำรวจสถานการณ์ธุรกิจ'สื่อ'ปี60 ส่องอนาคตปี61วาระดิ้นรนสู้เพื่อความอยู่รอด(ของจริง)
https://www.isranews.org/isranews/62466-report001-62021-62466.html
สำรวจสถานการณ์ของ ช่องทีวี ปี 60 ส่องอนาคต ปี 61
ไทยรัฐทีวี มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารสถานีใหม่เกือบยกชุด โดยเฉพาะทีมที่ยกกันมาจากสปริงนิวส์ ซึ่งเข้ามาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถานี แต่สุดท้ายไม่สามารถบริหารงานได้ตามที่ “ตระกูลวัชรพล” ตั้งความหวังเอาไว้ ซึ่งในช่วงปี 2560 ได้ให้โอกาสผู้บริหารชุดเก่าได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ โดยเฉพาะช่วงข่าวที่เน้นข่าว “ลูกค้า” มาก จนไม่สามารถคุมเนื้อหาหลักเอาไว้ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหารไทยรัฐทีวีชุดเก่าถูกให้ออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน
จากนี้ต้องจับตาดูว่าไทยรัฐทีวีจะมีความเปลี่ยนแปลงภายใต้ผู้บริหารชุดใหม่มากน้อยเพียงใด
ส่วนสวัสดิการของพนักงานในช่วงต้นปีมีการปรับลดค่าเดินทางการปฏิบัติงานต่างจังหวัด จากเดิมที่เคยได้รับ 600 บาทต่อวัน เหลือ 400 บาทต่อวัน ส่วนหมายงานต่างประเทศหากได้รับเชิญจากหน่วยงานรัฐ-เอกชน จะไม่มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยง
เนชั่น
ผู้บริหารเนชั่นแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่า ต้องการเก็บช่องเนชั่นเอาไว้ แต่ต้องการขายช่อง NOW 26 หลังผลประกอบและเรตติ้งไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ซึ่งได้ทำการดีลผู้ซื้อมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ฝั่งผู้ซื้อกำลังตัดสินใจอยู่ ทั้งนี้ได้เปิดให้พนักงานพนักงานเข้าโครงการสมัครใจลาออก โดยได้รับเงินชดเชยไป 2 ล็อตใหญ่ เช่นกัน ส่วนสวัสดิการอื่นคงเดิม
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมเครือเนชั่นเป็นสื่อที่ตกเป็นข่าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยทางบริษัทโซลูชั่น คอนเนอร์ 1998 จำกัด มหาชน (SLC) เข้ามาถือหุ้นใหญ่ของเครือเนชั่น จนทำให้เกิดการฟ้องร้องในหลายกรณี แต่ในช่วงหลังทั้งสองฝ่ายเริ่มปรับตัวเข้าหากัน โดยผู้บริหาร SLC สามารถส่งคนเข้าไปบริหารร่วมกับคนเนชั่นได้ในบางตำแหน่ง แต่ก็มีการทักท้วงกันในบางรายชื่อ
ช่อง 5
สถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดีเท่าไร เนื่องจากรายรับไม่เข้าเป้า บรรดารายการบันเทิงที่เคยทำกำไรให้กับช่องแทบจะไม่มีเหลือ ทางช่องจึงประกาศให้เน้นผลิตรายการที่สามารถดึงให้ประชาชนมาสนใจ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ภายหลังที่ปรับแผนรายการกันใหม่ เนื่องจากรายการเดิมจะหมดสัญญาในสิ้นปี
อย่างไรก็ตามภารกิจหลักคือการนำเสนอกิจกรรมของกองทัพเป็นหลัก ทั้งนี้ในปีนี้พนักงานช่อง 5 ไม่ได้รับโบนัสเช่นกัน แต่ยังไม่มีนโยบายปรับลดพนักงาน โดยมุ่งเน้นพัฒนาฝ่ายรายการมากกว่า
ช่อง 3
มีกระแสข่าวเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ จนลือกันหนักว่าถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ฮุบ แม้เรตติ้งของช่อง 3 ยังอยู่ในลำดับต้นๆ แต่ปี 2560 เป็นปีแรกที่พนักงานของช่อง 3 ไม่ได้โบนัสเป็นปีแรก และไม่ปรับฐานเงินเดือนให้พนักงาน โดยให้เหตุผลว่าทางบริษัทแบกรับภาระค่าใช้จ่ายช่องโทรทัศน์ถึง 4 ช่อง
ทั้งนื้มีความเป็นไปได้สูงที่คืนช่องทีวีดิจิตอลช่อง 18 และช่อง 28 ส่วนสวัสดิการอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการปรับเพิ่มวันหยุดให้หยุดสัปดาห์ละ 2 วัน และปรับวันหยุดพักร้อนให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ในปี 2561 ทางบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งผลิตงานให้กับช่อง 3 เดิม ไม่สามารถผลิตงานให้กับช่องทีวีดิจิตอลในเครือของช่อง 3 ได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขทางกฎหมาย ทางบริษัทบางกอก เอ็นเตอร์เทรนด์เม้นต์ จึงอาจจะปิดตัวในช่วงปี 2561 ถึงต้นปี 2562
ช่อง Thai PBS
เปิดโครงการให้พนักงานสมัครใจลาออก โดยโฟกัสเป้าหมายไปที่พนักงานที่ทำงานมานานแล้ว กำหนดยอดไว้ที่ 300 คน โดยจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด และเงินเพิ่มเติมไม่เกิน 10 เดือน ล่าสุดมีพนักงานสมัครเข้าโครงการ 60 คน ซึ่งมีพนักงานที่ไม่ได้อยู่ในข่ายเป้าหมายสมัครใจลาออกไปจำนวนมาก
ทั้งนี้การจ้างงานของไทยพีบีเอสจะใช้รูปแบบสัญญาจ้าง 6 เดือน หรือ 1 ปี หากทำงานได้ไม่ตรงเป้าหมายที่วางเอาไว้ ก็จะไม่ต่อสัญญาใหม่ แต่หากทำงานได้ตามเป้าก็จะต่อสัญญา
ช่อง TNN
พนักงานประจำที่อายุงานเกิน 10 ปี ให้ออก 7-8 คน โดยให้เหตุผลว่าผลการประเมินไม่ผ่าน โดยมีเรื่องฟ้องร้องอยู่ที่กระทรวงแรงงาน ซึ่งทางกระทรวงแรงงานจะนัดไกล่เกลี่ยกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีแนวโน้มที่ TNN จะยอมจ่ายเงินชดเชยตามที่พนักงานเรียกร้อง
ทั้งนี้พนักงาน TNN ยังได้รับโบนัสอยู่ เนื่องจากทางบริษัทแม่คือบริษัททรู ได้จัดสรรงบประมาณแจกจ่ายโบนัสให้พนักงานทุกคน
ส่วนแนวโน้มปี 2561 ในช่วงต้นปีน่าจะมีการจ้างพนักงานออกอีก เนื่องจากต้องการลดภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายเทคนิคที่สุ่มเสี่ยงมากเป็นพิเศษ
ส่วนพนักงานฟรีแลนซ์ไม่มีนโยบายให้ออก แต่ให้โอนย้ายจากฝั่งทีวีไปทำงานด้านโซเชี่ยลมีเดียแทน
Workpoint TV
ผลประกอบการดีมาก แต่ยังซื้อภาพจากไทยพีบีเอสอยู่ เนื่องจากทีมข่าวยังมีไม่พอ แต่อาจจะไม่รับล็อตเดียว ค่อยๆทยอยคัดคนเข้ามาทำงาน เพราะต้องการเน้นคุณภาพของงานมากกว่า เป้าหมายหลักต้องการรุกด้านกีฬามากขึ้นกว่าเดิม ล่าสุดกระโดดลงไปส่วนร่วมในการถ่ายทอดสดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ และรับสมัครผู้สื่อข่าวกีฬาที่มีประสบการณ์
ขณะที่โบนัสพนักงานจะได้รับเฉลี่ยแตกต่างกันไป หากรายการใดสามารถทำรายได้ให้บริษัทจำนวนมาก ก็จะได้รับการประเมินให้ได้โบนัสมากกว่าส่วนอื่น อีกทั้งหากรายการใดทำรายได้เกินเรตที่ตั้งไว้ก็จะได้เงินพิเศษเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งนี้การรับโบนัสของพนักงานขึ้นอยู่กับการประเมินของหัวหน้างาน หากพนักงานคนใดได้รับการประเมินต่ำก็จะไม่ได้รับโบนัส
ช่อง ONE
สถานการณ์ด้านการเงินไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่การบริหารคนภายในองค์กรดูจะมีความขัดแย้งกันอยู่เยอะ โดยเฉพาะทีมงานฝ่ายข่าวที่มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่ ซึ่งมีการเกลี่ยคนเก่าออก โดยให้เหตุผลว่าต้องการปรับลดค่าใช้จ่าย แต่การรับพนักงานใหม่ เลยทำให้เกิดความเบาะแว้งและระแวงกันภายในองค์กร
ทั้งนี้ทีมข่าวที่เซ็ตขึ้นมาใหม่จะเปลี่ยนโทนข่าวให้เน้นข่าวโซเชี่ยลมีเดีย โดยชูตัวผู้ประกาศเล่าข่าวเพื่อดึงดูดคนดู
PPTV
เป็นช่องโทรทัศน์ที่สถานะทางการเงินดีเป็นพิเศษ โดยในปีนี้มีการแจกโบนัสให้พนักงาน ในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปรับยุทธศาสตร์สัดส่วนบุคลากรใหม่ จากเดิมที่มีนโยบายรับเด็กจบใหม่ไฟแรง เพื่อนำมาหล่อหลวมกับทีมงานระดับซีเนียร์ที่มีอยู่แล้ว โดยมองว่าจะสามารถผลิตข่าวที่สร้างสรรค์จากฝีมือคนรุ่นใหม่ได้
แต่ในระยะหลังเปิดรับพนักงานระดับซีเนียร์มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าข่าวบางข่าวต้องอาศัยประสบการณ์ถึงจะผลิตออกมาดีได้
Voice TV
ภายหลังออกแถลงการณ์ปรับโครงสร้าง โดยให้พนักงานออก 127 คน โดยมีการปรับทีมงานให้ฝั่งโทรทัศน์บางส่วนให้ช่วยดูเนื้อหาข่าวออนไลน์มากขึ้น โดยจะเปิดตัวออนไลน์รูปแบบใหม่ในช่วงต้นปี 2561 ส่วนโทรทัศน์ก็ต้องรอความชัดเจนจากกสทช.เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือช่องทีวีดิจิตอล
โดยคาดการณ์ว่าในช่วงกลางปี 2561 อาจจะมีการปรับโครงสร้างอีกหนึ่งรอบ และน่าจะให้พนักงานออกเพิ่มเติมอีก
อ่านข่าวฉบับเต็มที่
สำรวจสถานการณ์ธุรกิจ'สื่อ'ปี60 ส่องอนาคตปี61วาระดิ้นรนสู้เพื่อความอยู่รอด(ของจริง)
https://www.isranews.org/isranews/62466-report001-62021-62466.html