สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติประกาศรายชื่อ 13 องค์กรไทยคุณภาพ ทั้งองค์กรรัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ ดำเนินกิจการในภาคการศึกษา การสาธารณสุข การบริการ และภาคอุตสาหกรรม ที่ผ่านเกณฑ์คว้ารางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า บุคลากร การปฏิบัติการ หรือนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: TQC Plus) และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ (Thailand Quality Class: TQC) ประจำปี 2561 ได้สำเร็จ ในงานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นในวันพุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมทองคำ ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับในปีนี้ ไม่มีองค์กรใดผ่านเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)
งานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พสุ โลหารชุน กล่าวถึงการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถขององค์กรไทยอย่างยั่งยืนไว้ว่า “หนึ่งประเด็นสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้สามารถรับมือกับความโลกาภิวัฒน์คือการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยต้องทำให้ผลิตภาพเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อให้องค์กรไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงกระบวนการ ขีดความสามารถและผลลัพธ์ ผ่านระบบการพัฒนาและประเมินผลต่างๆ สามารถยกระดับผลิตภาพของประเทศไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล”
ด้านประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คุณปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประกาศรายชื่อองค์กรที่ได้รับรางวัล ในปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 13 องค์กร ดังต่อไปนี้
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Plus : Operation) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่
• กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่
• ธนาคารออมสิน
และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) จำนวน 11 องค์กร ได้แก่
• เขื่อนรัชชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• เขื่อนวชิราลงกรณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ธนาคารอาคารสงเคราะห์
• บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด
• บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด
• บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
• มหาวิทยาลัยขอนแก่น
• โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และยังมีการกล่าวถึงผลลัพธ์และกลยุทธ์ในการสนับสนุนให้รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการยกระดับองค์กรไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต “คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2562 และต่อเนื่องในปีถัดไป โดยมีเป้าหมายในการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง เช่น ในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ให้ขับเคลื่อนด้วยผลิตภาพ ผ่านการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งในด้านการดำเนินงานและด้านผลิตภัณฑ์ การขยายโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ อาทิ องค์กรขนาดใหญ่ องค์กรในตลาดหลักทรัพย์ และองค์กรในภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือระดับนโยบายกับเครือข่ายรางวัลคุณภาพแห่งชาติของภาคส่วนอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มจำนวนและพัฒนาผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อให้มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถรองรับกับจำนวนองค์กรที่ต้องการสมัครขอรับรางวัลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้”
ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวถึงบทบาทและการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2561-2562 “เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกภาคส่วน ให้มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เพื่อยกระดับองค์กรภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
อีกทั้งยังกล่าวถึงเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ได้รับการนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ทั้งในด้านการสาธารณสุขและการศึกษา “ภาคสาธารณสุขได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปปรับใช้ในระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือ Hospital Accreditation: HA ส่วนภาคการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาได้นำเกณฑ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ Office of the Basic Education Commission Quality Award: OBECQA ตลอดจนภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ หรือ Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx”
“นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ Public Sector Management Quality Award: PMQA เพื่อการประเมินองค์กรที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ สามารถยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ส่วนภาครัฐวิสาหกิจที่ได้ใช้ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ State Enterprise Performance Appraisal: SEPA เป็นกลไกส่งเสริมขีดความสามารถในการดำเนินงานให้เทียบเท่าระดับสากล ก็ได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปช่วยในการปรับปรุงระบบการประเมินของตนเองด้วยเช่นกัน”
ตลอดจนกล่าวถึงกิจกรรมใหม่ที่สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติยังได้ริเริ่มขึ้น เพื่อขยายผลในการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในองค์กรภาคส่วนต่างๆ และกระตุ้นให้องค์กรมีความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลเพิ่มขึ้น“สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติริเริ่มกิจกรรมการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กรที่ผ่านการรับรอง (Organization Assessment Certified Expert) โดยพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กร พร้อมแบบประเมินองค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรที่ริเริ่มนำเกณฑ์รางวัลมาใช้ในองค์กร ได้มีเครื่องมือตรวจประเมินตนเองพร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ”
“กิจกรรมใหม่ประการต่อมาคือ การจัดทำสรุปองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขององค์กรที่ได้รับรางวัลเพื่อเผยแพร่ และหนังสือ Best Practices ซึ่งเผยแพร่วิธีปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศขององค์กรจากการศึกษาในเชิงลึก รวมทั้งยังได้ริเริ่มโครงการ Collaborative Assessment for TQC กิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อยกระดับองค์กรที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการที่ดีสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และกิจกรรม Collaborative Assessment for SMEs ซึ่งมุ่งสร้างองค์กร SMEs ต้นแบบที่ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ”
“แผนงานในอนาคตอีกประการหนึ่งคือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ The Global Excellence Model Council หรือ GEM Council ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความร่วมมือกันในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ การศึกษาวิจัย และเปรียบเทียบการดำเนินงานด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ”
13 องค์กรไทยจากหลากหลายภาคส่วน คว้ารางวัล TQC Plus และรางวัล TQC ประจำปี 2561
งานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.พสุ โลหารชุน กล่าวถึงการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถขององค์กรไทยอย่างยั่งยืนไว้ว่า “หนึ่งประเด็นสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้สามารถรับมือกับความโลกาภิวัฒน์คือการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยต้องทำให้ผลิตภาพเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อให้องค์กรไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงกระบวนการ ขีดความสามารถและผลลัพธ์ ผ่านระบบการพัฒนาและประเมินผลต่างๆ สามารถยกระดับผลิตภาพของประเทศไทยได้อย่างสัมฤทธิ์ผล”
ด้านประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คุณปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประกาศรายชื่อองค์กรที่ได้รับรางวัล ในปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 13 องค์กร ดังต่อไปนี้
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Plus : Operation) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่
• กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่
• ธนาคารออมสิน
และรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) จำนวน 11 องค์กร ได้แก่
• เขื่อนรัชชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• เขื่อนวชิราลงกรณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ธนาคารอาคารสงเคราะห์
• บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด
• บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด
• บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
• มหาวิทยาลัยขอนแก่น
• โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และยังมีการกล่าวถึงผลลัพธ์และกลยุทธ์ในการสนับสนุนให้รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการยกระดับองค์กรไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต “คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2562 และต่อเนื่องในปีถัดไป โดยมีเป้าหมายในการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง เช่น ในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ให้ขับเคลื่อนด้วยผลิตภาพ ผ่านการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งในด้านการดำเนินงานและด้านผลิตภัณฑ์ การขยายโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ อาทิ องค์กรขนาดใหญ่ องค์กรในตลาดหลักทรัพย์ และองค์กรในภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือระดับนโยบายกับเครือข่ายรางวัลคุณภาพแห่งชาติของภาคส่วนอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มจำนวนและพัฒนาผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อให้มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถรองรับกับจำนวนองค์กรที่ต้องการสมัครขอรับรางวัลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้”
ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวถึงบทบาทและการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2561-2562 “เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกภาคส่วน ให้มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เพื่อยกระดับองค์กรภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
อีกทั้งยังกล่าวถึงเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ได้รับการนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์สำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ทั้งในด้านการสาธารณสุขและการศึกษา “ภาคสาธารณสุขได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปปรับใช้ในระบบการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลหรือ Hospital Accreditation: HA ส่วนภาคการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาได้นำเกณฑ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ Office of the Basic Education Commission Quality Award: OBECQA ตลอดจนภาคการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ หรือ Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx”
“นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ Public Sector Management Quality Award: PMQA เพื่อการประเมินองค์กรที่ครอบคลุมภาพรวมในทุกมิติ สามารถยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ส่วนภาครัฐวิสาหกิจที่ได้ใช้ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หรือ State Enterprise Performance Appraisal: SEPA เป็นกลไกส่งเสริมขีดความสามารถในการดำเนินงานให้เทียบเท่าระดับสากล ก็ได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปช่วยในการปรับปรุงระบบการประเมินของตนเองด้วยเช่นกัน”
ตลอดจนกล่าวถึงกิจกรรมใหม่ที่สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติยังได้ริเริ่มขึ้น เพื่อขยายผลในการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในองค์กรภาคส่วนต่างๆ และกระตุ้นให้องค์กรมีความพร้อมในการสมัครขอรับรางวัลเพิ่มขึ้น“สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติริเริ่มกิจกรรมการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กรที่ผ่านการรับรอง (Organization Assessment Certified Expert) โดยพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจประเมินองค์กร พร้อมแบบประเมินองค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรที่ริเริ่มนำเกณฑ์รางวัลมาใช้ในองค์กร ได้มีเครื่องมือตรวจประเมินตนเองพร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ”
“กิจกรรมใหม่ประการต่อมาคือ การจัดทำสรุปองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการขององค์กรที่ได้รับรางวัลเพื่อเผยแพร่ และหนังสือ Best Practices ซึ่งเผยแพร่วิธีปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศขององค์กรจากการศึกษาในเชิงลึก รวมทั้งยังได้ริเริ่มโครงการ Collaborative Assessment for TQC กิจกรรมความร่วมมือเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อยกระดับองค์กรที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการที่ดีสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และกิจกรรม Collaborative Assessment for SMEs ซึ่งมุ่งสร้างองค์กร SMEs ต้นแบบที่ใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ”
“แผนงานในอนาคตอีกประการหนึ่งคือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ The Global Excellence Model Council หรือ GEM Council ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความร่วมมือกันในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ การศึกษาวิจัย และเปรียบเทียบการดำเนินงานด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ”