โฉมหน้าราชีนี Huarmey ชนเผ่า Wari เมื่อ 1,200 ปีก่อน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Exclusive: Face of Ancient Queen Revealed for the First Time





ใบหน้าจากกระดูกที่ผุกร่อนของราชินีเปรูยุคโบราณ เมื่อ 1,200 ปีที่ผ่านมา
ที่ถูกฝังอยู่ร่วมกับขุมสมบัติต่างหูทองคำ เงิน เครื่องประดับเพชรพลอย ผ้าทอและขวดเซรามิค
ถูกจำลองโฉมหน้าขึ้นมาใหม่อีกครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่ใช้เวลากว่า 220 ชั่วโมง
ในการสร้างใบหน้าของสตรีชนชั้นสูง ผู้มั่งคั่งและได้ตั้งชื่อเธอว่าว่าราชินี Huarmey
ทีมงานได้ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ พิมพ์จำลองกะโหลกศีรษะขึ้นมาก่อน
และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของเธอ
เพื่อสร้างใบหน้าขึ้นมาใหม่โดยใช้ชุดข้อมูลที่ผ่านการพิจารณา
และการประเมินความหนาของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อใบหน้าของเธอ
แล้วตกแต่งกายภาพใบหน้าขึ้นมาใหม่ด้วยนักนิติวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์ผลทางเคมีเกี่ยวกับกระดูกราชินี Huarmey
ได้แสดงให้เห็นว่าเธอเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการดื่มน้ำในท้องถิ่น
ทำให้สามารถกำหนดรูปแบบจำลองภาพจากชาวเมือง
ใน El Castillo de Huarmey เขตพื้นที่ที่เธอเคยอาศัยอยู่
เส้นผมของเธอบางส่วนยังคงพบอยู่แถวกะโหลกศีรษะของเธอ
เพราะสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งจึงเก็บรักษาไว้ได้
เพื่อสร้างเส้นผมของเธอ ผู้เชี่ยวชาญจึงได้ใช้เส้นผมแท้จากผู้สูงอายุหญิงชาวแอนเดียน(คนพื้นเมือง)
ที่ซื้อมาจากตลาดเครื่องแต่งกายวิกผมชาวเปรู

นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบหลุมฝังศพของเธอในปี  2012
พร้อมกับบริวารหญิง 57 คนจากวัฒนธรรม Wari และระบุว่า
ราชินี Huarmey ถูกฝังอยู่ในท่วงท่าที่งดงามในหลุมฝังศพเฉพาะ
รอบ ๆ ศพของเธอล้อมรอบไปด้วยเครื่องเพชรพลอยและข้าวของมีค่าต่าง ๆ
เช่น ตุ้มหูทองคำ ตุ้มหูเงิน ขวานใช้ในพิธีกรรมที่ทำมาจากทองแดง ผ้าทอ และขวดเซรามิค
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ร่วมมือกันสร้างโฉมหน้าราชินีขึ้นมาใหม่
เพื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตในอดีตของเธอ
นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า สุสานโบราณแห่งนี้ทำขึ้นอย่างหรูหรามาก
น่าจะเป็นของสตรีชนชั้นสูงที่อยู่ในฐานะหัวหน้าช่างฝีมือสตรีของชนเผ่า Wari





การฟื้นฟูโฉมหน้าราชินี Huarmey

เรื่องราวที่แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า
ห้องฝังศพไม่มีร่องรอยขุดค้นจากขโมยมานานหลายศตวรรษแล้ว
ห้องลับแห่งนี้เพิ่งจะถูกค้นพบในปี 2012
โดย Dr.Milosz Giersz  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์ซอ
และ Dr.Roberto Pimentel Nita  นักโบราณคดีชาวเปรู
วิหารแห่งความตาย มีอายุราว 1,200 ปี
พบที่บริเวณ El Castillo de Huarmey
ใช้เวลาขับรถยนต์ 4 ชั่วโมงไปทางเหนือของเมืองหลวงของเปรู
นับว่าเป็นหนึ่งในการค้นพบครั้งที่สำคัญที่สุดในศตวรรษนี้
ราชินี Huarmey ถูกฝังพร้อมกับผ้าทอ ตุ้มหูทองคำ/เงิน ขวดเซรามิค
เท่ากับเป็นการยกย่องสถานะภาพที่ยอดเยี่ยมขั้นเทพ
ในฐานะช่างผู้เชี่ยวชาญงานฝีมือ ตามรายงาน National Geographic

ผลการวิเคราะห์จากโครงกระดูกของเธอ
ทำให้ทราบว่าเธอมีอายุอย่างน้อย 60 ปีตอนที่เธอเสียชีวิต
เธอใช้ร่างกายท่อนบนทำงานอย่างหนักเป็นส่วนใหญ่
พร้อมกับใช้เวลาส่วนมากไปกับการนั่งทอผ้า
เรื่องนี้ต้องให้เกียรติยกย่อง ทฤษฎีของผู้เชี่ยวชาญด้านทอผ้า
วัฒนธรรมชาว Andean โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่า Wari
ที่มีผลงานโด่งดังจากงานทอผ้าและเส้นใยทอผ้าที่สลับซับซ้อน
ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลาถึงสองสามชั่วอายุคน  เพื่องานฝีมือเพียงชิ้นเดียว




Dr.Milosz Giersz กล่าวว่า สิ่งทอคือ ผลงานชิ้นเอกของสตรีนี้ที่ได้ทำไว้ตลอดช่วงชีวิตของเธอ
มันมีคุณค่ามากพอ ๆ กับสมบัติล้ำค่าอื่น ๆ ที่ ฝังไว้พร้อมกับศพของเธอ
เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชีวิตของราชินี Huarmey
นักวิจัยได้มอบหมายให้ Oscar Nilsson  ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูใบหน้าและนักโบราณคดี
ซึ่งพำนักอยู่ที่สตอกโฮล์มประเทศสวีเดน ให้สร้างศีรษะและโฉมหน้าของเธอขึ้นมาใหม่

“ ตอนที่ ผมเห็นโฉมหน้าของเธอเป็นครั้งแรก
ผมคิดว่า ผมเห็นหน้าเพื่อนชาวพื้นเมืองของผมบางคนที่มาจาก Huarmey
และยีน Gene ของเธอยังมีหลงเหลืออยู่ในพื้นที่แห่งนี้ "  Dr.Milosz Giersz

นักโบราณคดีขุดค้นพบหลุมศพที่ตั้งชื่อว่าราชินี Huarmey
ฝังอยู่ท่ามกลางสตรีชนชั้นสูง 57 ศพจากวัฒนธรรมชนเผ่า Wari
ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองยุคโบราณในเขตดินแดนนี้
ก่อนที่ชนเผ่าอิงก๊า Incas ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจะมาแย่งชิงในภายหลัง

ชนเผ่า Wari ขึ้นชื่อมากและที่รู้จักกันดี
ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาและฝีมือการทอผ้าที่ละเอียดอ่อน
เพื่อแสดงถึงความเคารพทางความเชื่อด้านศาสนา
วัฒนธรรมชนเผ่า Wari เคยปกครองดินแดนนี้มาหลายศตวรรษก่อนชนเผ่า Incas
ชนเผ่า Wari เคยมีอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอีกพวกหนึ่ง ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในภาคใต้ตอนกลาง Andes
และพื้นที่ชายฝั่งทะเลในยุคสมัยนั้นแถวเปรู ประมาณ 500 ถึง 1000 ปีก่อนคริสตศักราช
ชนเผ่า Wari มีการสร้างเครือข่ายถนนเพื่อเชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางอำนาจ
รวมทั้งมีการสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการชลประทานและการขนส่งสินค้า
ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรกรรมและชลประทาน
ทำให้ช่วยชนเผ่า Wari ต้านภัยแล้งได้นานถึง 30 ปี
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 6 ซึ่งส่งผลให้อารยธรรม Nazca และ Moche เสื่อมถอยลงไป
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมีข้อเสนอแนะว่า ผลงาน ของชนเผ่า Wari ในยุคต่อมา
มีอิทธิพลต่ออารยธรรมชนเผ่า Inca ซึ่งเข้ามาควบคุมพื้นที่นี้ในภายหลังตั้งแต่ ค.ศ. 1400

" นี่คือ หนึ่งในการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา "
Cecilia Pardo Grau ภัณฑรักษ์ด้านศิลป pre-Columbian ที่ Art Museum of Lima

ฟันบางส่วนของราชนินี Huarmey หายไป
ซึ่งสอดคล้องกับการกินของหวาน การดื่มเหล้า Chicha
(เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำมาจากข้าวโพด/น้ำผลไม้)
ซึ่งอนุญาตเฉพาะชนชั้นนำของชนเผ่า Wari เท่านั้นจึงจะดื่มได้

ทีมงานของ Dr.Milosz Giersz  ยังได้พบร่องน้ำ
จากอุโมงค์ฝังศพของราชินี Huarmey ไหลเชื่อมต่อมายังห้องภายนอก
ซึ่งยังคงมีสารตกค้างของเหล้า Chicha อยู่บนร่องน้ำ
ร่องน้ำนี้จะช่วยให้ชาวบ้านร่วมดื่มสุราเฉลิมฉลอง/แสดงความเคารพให้กับเธอ แม้ว่าจะได้ปิดหลุมฝังศพไปแล้ว
" หลังจากที่เธอเสียชีวิตไปแล้ว ชาวบ้านในท้องถิ่นก็ยังคงดื่มเฉลิมฉลองให้กับเธอ " Dr.Milosz Giersz


ขวดเซรามิคโบราณที่ออกแบบไม่เหมือนใครอายุราว 1200 ปี คล้ายกับเป็นฉายาเทพเจ้าของชนเผ่า Wari
ที่เบิ่งตากว้างอยู่ท่ามกลางขุมทรัพย์งานฝีมือเซรามิคที่ขุดค้นพบในหลุมฝังศพ



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Revealing the Face of a 1,600-Year-Old Mummy



Oscar Nilsson เคยผ่านการฟื้นฟูโฉมหน้าของชนชั้นนำยุคแรกเริ่มของชนเผ่าในอเมริกาใต้  
Señora of Cao  สตรีชนชั้นปกครองวัยรุ่น ที่มีอายุราว 1600 ปีก่อน
ในยุควัฒนธรรม  Moche ของเปรู

" ถ้าคุณคิดว่า ขั้นตอนแรกจะเป็นวิทยาศาสตร์มาก
แต่จริง ๆ แล้วผมจะค่อย ๆ เข้าสู่กระบวนการทางศิลปะมากขึ้น
ซึ่งผมจำเป็นต้องเพิ่มเติมอะไรบางอย่างเข้าไป
เพื่อให้แสดงออกถึงความเป็นมนุษย์หรือจุดประกายชีวิต
มิฉะนั้นก็จะดูคล้ายกับหุ่นแสดงแบบมากเกินไป

ผมเคยทำงานเรื่องแบบนี้มากว่า 20 ปีแล้ว
และยังมีโครงการหลายเรื่องที่น่าสนใจมาก
แต่โครงการนี้มีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจมากจริง ๆ
ผมจึงไม่อาจจะปฏิเสธโครงการนี้ได้เลย " Oscar Nilsson

ผลงานชิ้นเอกของ Oscar Nilsson จะจัดแสดงในนิทรรศการวันที่ 14 ธันวาคม 2017
เรื่องสิ่งประดิษฐ์ของเปรูที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์แห่งชาติในกรุงวอร์ซอประเทศโปแลนด์

ศาตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านมักจะสอนลูกศิษย์ศิลปากรของท่านว่า
“ ให้เขียนกระดูกลงไปก่อน เติมเลือด เนื้อ เส้นเอ็น และผิวหนัง
พร้อมกับใส่จิตวิญญานลงไปในการวาดภาพและงานปั้น จึงจะดูเป็นคน

นายไม่อ่านหนังสือ นายจะไปรู้อะไร “

ศิษย์เก่าศิลปากรมักจะเล่าว่า
ถูกบังคับให้ต้องเรียนวิชา Anatomy กายวิภาคศาสตร์
เพื่อให้เข้าใจสรีระที่แท้จริงของมนุษย์และสัตว์


เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/S5WWaV
https://goo.gl/AFACnF


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่