สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
7 บทบาทของนักสู้ Gladiator
ตามที่เรารู้ๆกันว่า Gladiator (กลาดิเอเตอร์) คือ นักสู้ชาวโรมัน ในสนามบันเทิงของหมู่ชน ซึ่งสนามที่ใหญ่ที่สุดที่ยังเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คือ โคลอสเซียมนั่นเอง
Gladiator แปลว่าผู้ใช้ดาบ (Swordman) ซึ่งมาจากคำว่า Gladius ที่แปลว่าดาบชนิดหนึ่ง (ที่พระเอกเราถือในภาพนี่ล่ะ)
มีเรื่องเล่า เรื่องราวแปลกๆมากมายว่า Gladiator ว่าเขาเป็นใคร จะมีบทบาททางสังคมอะไรได้บ้าง ไปดูกัน
1. ทาส
เรื่องนี้เรารู้กันละ เพราะช่วงแรกๆนั้น โรมัน นำวัฒนธรรมนี้มาจาก อิทรัสคัน ที่เอาเชลยมาต่อสู้กันเอง (อาจจะรุนแรงไปถึงสังหารกัน) เพื่อความสะใจ (ป่าเถื่อนเนอะ!) อาณาจักรโรมันก็เอาบ้าง แต่พอได้รับความนิยมมากขึ้น Gladiator จึงกลายเป็นฮีโร่ไป (คล้ายๆกับ นักมวย นักมวยปล้ำ ชื่อดังในปัจจุบัน) แต่การบังคับให้ต้องเจ็บตัวถูกขังในห้องกรง โดยไม่มีอิสระเสียที ก็คงไม่ใช่เรื่องดี ถึงเกิดบันทึกว่า Spartacus รวมตัวนักสู้ต่อสู้กับทางการ และสนามที่ Pompeii ก็มีนักสู้ก่อหวอดเช่นกัน จน Pompeii ไม่สามารถจัดต่อสู้ได้ถึง 10 ปี
2. พ่อค้าตกอับ
ไม่ใช่แค่ทาสเท่านั้น แต่ยุคสมัยนั้น ยังมีระบบการค้า ที่บางคนติดหนี้ ถังแตก ไม่มีทางออกก็มาขอจับดาบ เพื่อแลกกับเงินรางวัลไปไถ่หนี้
3. นักแสดง
นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ด้วยการลงทุนสูงในการปลุกปั้น Gladitor ขึ้นมา ดังนั้นจึงไม่ยอมให้ตายง่ายๆ ก็เลยมีการ “ฮั้ว” ให้สองฝั่งแสดงการต่อสู้ขึ้นมาให้สมจริงได้เหงื่อได้เลือด (แต่ปลอดภัย) ก็พอแล้ว
อีกทั้งจักรพรรดิยังใช้สนามในการจำลองการรบเชิงประวัติศาสตร์ถึงเรื่องราวที่สู้กับชนเผ่าไร้อารยะรอบข้าง หรือการรบเกี่ยวกับตำนานเทพปรกรณัมกรีกด้วย
4. ผู้หญิง
คงไม่แปลกหรอก ที่นักสู้สตรี จะเรียกเสียงฮือฮาได้มากกว่า (เหมือน นักมวยหญิง นักมวยปล้ำหญิงไง) ซึ่งเราเรียกพวกเธอว่า Gladiatrix มีบันทึกว่า การต่อสู้ของนักสู้สตรี มีไม่บ่อยนัก ต้องเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ โดยชนเผ่าที่ขึ้นชื่อคือ นักสู้หญิงจากเอธิโอเปีย และบางครั้งพวกเธอก็สวมบทนักสู้หญิงในตำนานกรีก Amazonian (เอ๊ะ นี่มันชนเผ่าของ Wonderwoman นี่นา) ต่อสู้กับสัตว์ป่าในสนาม แต่จักรพรรดิ Septimius Severus ออกข้อห้ามเรื่องนักสู้สตรีในเวลาต่อมา
5. กษัตริย์
จักรพรรดิ Commodus ตามหนังเรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริง แต่ปรากฎตัวเป็น Gladiator หลายครั้ง เพื่อแสดงความเก่งกล้าสามารถ แต่ประวัติศาสตร์บอกว่า พระองค์มักจะต่อสู้กับสัตว์เสียมากกว่า บนพลับพลาที่ค่อนข้างปลอดภัย
6. ฮีโร่
แน่นอนล่ะว่าการทำให้คนชื่นชอบ ก็ย่อมเป็นขวัญใจ เป็นฮีโร่มวลชนโรมัน ซึ่งนอกจากความชื่นชอบแล้ว จะได้รางวัลเป็น เงินทอง อาหารชั้นดี (บางครั้งก็บอกว่าได้รางวัลเป็นหญิงงาม) และเมื่อมีการตกลงกับโปรโมเตอร์ (ว่าคุ้มทุน) กันแล้ว บางที อาจจะได้อิสรภาพ
7. โสเภณี!!
เฮ้ย! เรื่องนี้ก็มาจากแหล่งข้อมูลหลายๆอันเลยนะ คือที่ Pompeii ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองโลกีย์มีโสเภณีหลากหลาย มีอักษรสลักไว้ว่า “ชายหนุ่ม Gladiator ช่างเป็นอาหารตาที่น่ารื่นรมย์ของสาวๆ” รวมทั้ง มีบันทึกว่า หญิงสาวชั้นสูงผู้ร่ำรวย หรือมีอิทธิพลในสังคม มักจะจ้างให้หนุ่ม Gladiator มาพบปะสังสรรค์ที่บ้าน (เด็กนั่งดริ๊งก์ หรือ บาร์โฮส ป่าวเนี่ย) แต่จะเลยเถิดไปถึง การทำหน้าที่โสภณีชายด้วยหรือไม่นั้น นักประวัติศาสตร์หลายคนบอกว่า น่าจะจบกันที่สวรรค์ชั้นเจ็ด ขอรับ…
Cr. https://mono29.com/program/166924.html
ตามที่เรารู้ๆกันว่า Gladiator (กลาดิเอเตอร์) คือ นักสู้ชาวโรมัน ในสนามบันเทิงของหมู่ชน ซึ่งสนามที่ใหญ่ที่สุดที่ยังเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คือ โคลอสเซียมนั่นเอง
Gladiator แปลว่าผู้ใช้ดาบ (Swordman) ซึ่งมาจากคำว่า Gladius ที่แปลว่าดาบชนิดหนึ่ง (ที่พระเอกเราถือในภาพนี่ล่ะ)
มีเรื่องเล่า เรื่องราวแปลกๆมากมายว่า Gladiator ว่าเขาเป็นใคร จะมีบทบาททางสังคมอะไรได้บ้าง ไปดูกัน
1. ทาส
เรื่องนี้เรารู้กันละ เพราะช่วงแรกๆนั้น โรมัน นำวัฒนธรรมนี้มาจาก อิทรัสคัน ที่เอาเชลยมาต่อสู้กันเอง (อาจจะรุนแรงไปถึงสังหารกัน) เพื่อความสะใจ (ป่าเถื่อนเนอะ!) อาณาจักรโรมันก็เอาบ้าง แต่พอได้รับความนิยมมากขึ้น Gladiator จึงกลายเป็นฮีโร่ไป (คล้ายๆกับ นักมวย นักมวยปล้ำ ชื่อดังในปัจจุบัน) แต่การบังคับให้ต้องเจ็บตัวถูกขังในห้องกรง โดยไม่มีอิสระเสียที ก็คงไม่ใช่เรื่องดี ถึงเกิดบันทึกว่า Spartacus รวมตัวนักสู้ต่อสู้กับทางการ และสนามที่ Pompeii ก็มีนักสู้ก่อหวอดเช่นกัน จน Pompeii ไม่สามารถจัดต่อสู้ได้ถึง 10 ปี
2. พ่อค้าตกอับ
ไม่ใช่แค่ทาสเท่านั้น แต่ยุคสมัยนั้น ยังมีระบบการค้า ที่บางคนติดหนี้ ถังแตก ไม่มีทางออกก็มาขอจับดาบ เพื่อแลกกับเงินรางวัลไปไถ่หนี้
3. นักแสดง
นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ด้วยการลงทุนสูงในการปลุกปั้น Gladitor ขึ้นมา ดังนั้นจึงไม่ยอมให้ตายง่ายๆ ก็เลยมีการ “ฮั้ว” ให้สองฝั่งแสดงการต่อสู้ขึ้นมาให้สมจริงได้เหงื่อได้เลือด (แต่ปลอดภัย) ก็พอแล้ว
อีกทั้งจักรพรรดิยังใช้สนามในการจำลองการรบเชิงประวัติศาสตร์ถึงเรื่องราวที่สู้กับชนเผ่าไร้อารยะรอบข้าง หรือการรบเกี่ยวกับตำนานเทพปรกรณัมกรีกด้วย
4. ผู้หญิง
คงไม่แปลกหรอก ที่นักสู้สตรี จะเรียกเสียงฮือฮาได้มากกว่า (เหมือน นักมวยหญิง นักมวยปล้ำหญิงไง) ซึ่งเราเรียกพวกเธอว่า Gladiatrix มีบันทึกว่า การต่อสู้ของนักสู้สตรี มีไม่บ่อยนัก ต้องเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ โดยชนเผ่าที่ขึ้นชื่อคือ นักสู้หญิงจากเอธิโอเปีย และบางครั้งพวกเธอก็สวมบทนักสู้หญิงในตำนานกรีก Amazonian (เอ๊ะ นี่มันชนเผ่าของ Wonderwoman นี่นา) ต่อสู้กับสัตว์ป่าในสนาม แต่จักรพรรดิ Septimius Severus ออกข้อห้ามเรื่องนักสู้สตรีในเวลาต่อมา
5. กษัตริย์
จักรพรรดิ Commodus ตามหนังเรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริง แต่ปรากฎตัวเป็น Gladiator หลายครั้ง เพื่อแสดงความเก่งกล้าสามารถ แต่ประวัติศาสตร์บอกว่า พระองค์มักจะต่อสู้กับสัตว์เสียมากกว่า บนพลับพลาที่ค่อนข้างปลอดภัย
6. ฮีโร่
แน่นอนล่ะว่าการทำให้คนชื่นชอบ ก็ย่อมเป็นขวัญใจ เป็นฮีโร่มวลชนโรมัน ซึ่งนอกจากความชื่นชอบแล้ว จะได้รางวัลเป็น เงินทอง อาหารชั้นดี (บางครั้งก็บอกว่าได้รางวัลเป็นหญิงงาม) และเมื่อมีการตกลงกับโปรโมเตอร์ (ว่าคุ้มทุน) กันแล้ว บางที อาจจะได้อิสรภาพ
7. โสเภณี!!
เฮ้ย! เรื่องนี้ก็มาจากแหล่งข้อมูลหลายๆอันเลยนะ คือที่ Pompeii ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองโลกีย์มีโสเภณีหลากหลาย มีอักษรสลักไว้ว่า “ชายหนุ่ม Gladiator ช่างเป็นอาหารตาที่น่ารื่นรมย์ของสาวๆ” รวมทั้ง มีบันทึกว่า หญิงสาวชั้นสูงผู้ร่ำรวย หรือมีอิทธิพลในสังคม มักจะจ้างให้หนุ่ม Gladiator มาพบปะสังสรรค์ที่บ้าน (เด็กนั่งดริ๊งก์ หรือ บาร์โฮส ป่าวเนี่ย) แต่จะเลยเถิดไปถึง การทำหน้าที่โสภณีชายด้วยหรือไม่นั้น นักประวัติศาสตร์หลายคนบอกว่า น่าจะจบกันที่สวรรค์ชั้นเจ็ด ขอรับ…
Cr. https://mono29.com/program/166924.html
ความคิดเห็นที่ 22
5 เกร็ดตำนาน ‘กลาดิเอเตอร์’ วีรบุรุษแห่งโคลอสเซียม รู้มั้ยวันพิธีเปิดโคลอสเซียม มีสัตว์ถูกฆ่าไปเท่าไหร่?
1. การแสดงกลาดิเอเตอร์สันนิษฐานว่าเริ่มครั้งแรกเมื่อ 264 ปีก่อนคริสตศักราช โดยกำเนิดมาจากลูกขุนนางคนหนึ่งที่อยากไว้อาลัยในงานศพพ่อของตัวเองให้ยิ่งใหญ่เป็นหน้าเป็นตาแก่พ่อครั้งสุดท้าย เลยหาทาสมาต่อสู้กันเอาให้ตายไปข้างหนึ่งถึง 3 คู่ ผลก็คือคนที่ได้ดูชอบใจเลยเอาไปทำตามกันทุกงานศพ กลายเป็นการแสดงประจำงานศพไปในทันที
2. เมื่อฮิตระเบิดเถิดเทิงขนาดนั้น ในช่วง 100 ปีก่อนคริสตศักราช จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมเลยจับมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างมากกว่าเดิมด้วยการสั่งให้ทำสนามวงกลมขนาดใหญ่ แล้วให้ทหารมาจำลองการรบให้ชาวโรมันดู มีทั้งทหารราบ ทหารม้า ทำทุกอย่างเหมือนการรบจริงๆ ชาวโรมันก็ชอบใจและเรียกร้องการแสดงแบบนี้ตลอด
3. กระแสการแสดงแนวต่อสู้ในสนามมาพีคสุดๆ ก็ตอนที่เปิดใช้สนามโคลอสเซียมใน ค.ศ.80 เริ่มมีการคิดค้นการแสดงใหม่ ๆ ด้วยการนำนักสู้กลาดิเอเตอร์ที่มาจากทาสและเชลยมาสู้กันเองในสนาม และเพื่อไม่ให้ผู้ชมเบื่อก็ยังมีการนำสัตว์ดุร้าย เช่น สิงโต เสือ ฯลฯ มาสู้กับกลาดิเอเตอร์บ้าง สู้กับสัตว์อื่นบ้าง มีผู้ประมาณการว่าช่วงเวลาที่ใช้สนามในการประลองกว่า 500 ปี มีสัตว์ที่ถูกส่งเข้าโคลอสเซี่ยมจำนวนไม่ต่ำกว่าล้านตัวเลยทีเดียว (พิธีเปิดโคลอสเซียม 1 วันมีสัตว์ที่ถูกนำมาต่อสู้ถูกฆ่าไปกว่า 9,000 ตัว)
4. เวลานักการเมืองของโรมต้องการจะเอาใจประชาชนก็จะจัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการหาเสียงไปในตัว ทั้งสัตว์ ทั้งทาสก็จะถูกขนมาเพื่อแสดงโชว์แก่คนดู ใครใจป้ำจัดได้ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็จะได้ใจคนดูไปมากเท่านั้น เรียกได้ว่าถ้าฆ่ากันในสนามเยอะๆ ยิ่งรับประกันเสียงสนับสนุน
5. นักสู้กลาดิเอเตอร์นั้นไม่ได้มีแต่เฉพาะทาสหรือเชลยเท่านั้น ในช่วงที่ความนิยมของการแสดงนี้ฮิตสุดๆ นักสู้กลาดิเอเตอร์ได้รับการยอมรับจากเหล่าประชาชนคนโรมันประหนึ่งเป็นวีรบุรุษ คนธรรมดาที่ใจรักในความตื่นเต้นต้องการจะมีชื่อเสียงก็เอากับเค้าเหมือนกัน ด้วยการไปเข้าโรงเรียนฝึกกลาดิเอเตอร์ที่เปิดอยู่ทั่วโรมเพื่อที่จะได้ลงสังเวียนไปวัดดวงในสนามว่าจะรุ่งหรือร่วง
Cr. SpokeDark.TV
1. การแสดงกลาดิเอเตอร์สันนิษฐานว่าเริ่มครั้งแรกเมื่อ 264 ปีก่อนคริสตศักราช โดยกำเนิดมาจากลูกขุนนางคนหนึ่งที่อยากไว้อาลัยในงานศพพ่อของตัวเองให้ยิ่งใหญ่เป็นหน้าเป็นตาแก่พ่อครั้งสุดท้าย เลยหาทาสมาต่อสู้กันเอาให้ตายไปข้างหนึ่งถึง 3 คู่ ผลก็คือคนที่ได้ดูชอบใจเลยเอาไปทำตามกันทุกงานศพ กลายเป็นการแสดงประจำงานศพไปในทันที
2. เมื่อฮิตระเบิดเถิดเทิงขนาดนั้น ในช่วง 100 ปีก่อนคริสตศักราช จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมเลยจับมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างมากกว่าเดิมด้วยการสั่งให้ทำสนามวงกลมขนาดใหญ่ แล้วให้ทหารมาจำลองการรบให้ชาวโรมันดู มีทั้งทหารราบ ทหารม้า ทำทุกอย่างเหมือนการรบจริงๆ ชาวโรมันก็ชอบใจและเรียกร้องการแสดงแบบนี้ตลอด
3. กระแสการแสดงแนวต่อสู้ในสนามมาพีคสุดๆ ก็ตอนที่เปิดใช้สนามโคลอสเซียมใน ค.ศ.80 เริ่มมีการคิดค้นการแสดงใหม่ ๆ ด้วยการนำนักสู้กลาดิเอเตอร์ที่มาจากทาสและเชลยมาสู้กันเองในสนาม และเพื่อไม่ให้ผู้ชมเบื่อก็ยังมีการนำสัตว์ดุร้าย เช่น สิงโต เสือ ฯลฯ มาสู้กับกลาดิเอเตอร์บ้าง สู้กับสัตว์อื่นบ้าง มีผู้ประมาณการว่าช่วงเวลาที่ใช้สนามในการประลองกว่า 500 ปี มีสัตว์ที่ถูกส่งเข้าโคลอสเซี่ยมจำนวนไม่ต่ำกว่าล้านตัวเลยทีเดียว (พิธีเปิดโคลอสเซียม 1 วันมีสัตว์ที่ถูกนำมาต่อสู้ถูกฆ่าไปกว่า 9,000 ตัว)
4. เวลานักการเมืองของโรมต้องการจะเอาใจประชาชนก็จะจัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการหาเสียงไปในตัว ทั้งสัตว์ ทั้งทาสก็จะถูกขนมาเพื่อแสดงโชว์แก่คนดู ใครใจป้ำจัดได้ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็จะได้ใจคนดูไปมากเท่านั้น เรียกได้ว่าถ้าฆ่ากันในสนามเยอะๆ ยิ่งรับประกันเสียงสนับสนุน
5. นักสู้กลาดิเอเตอร์นั้นไม่ได้มีแต่เฉพาะทาสหรือเชลยเท่านั้น ในช่วงที่ความนิยมของการแสดงนี้ฮิตสุดๆ นักสู้กลาดิเอเตอร์ได้รับการยอมรับจากเหล่าประชาชนคนโรมันประหนึ่งเป็นวีรบุรุษ คนธรรมดาที่ใจรักในความตื่นเต้นต้องการจะมีชื่อเสียงก็เอากับเค้าเหมือนกัน ด้วยการไปเข้าโรงเรียนฝึกกลาดิเอเตอร์ที่เปิดอยู่ทั่วโรมเพื่อที่จะได้ลงสังเวียนไปวัดดวงในสนามว่าจะรุ่งหรือร่วง
Cr. SpokeDark.TV
แสดงความคิดเห็น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 10/12/2560 - GLADIATORS นักสู้เดนตาย
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันอาทิตย์ MC แอ๊ด (WANG JIE) ประจำการอีก 1 วันครับ
เมื่อวานนี้ได้คุยเรื่องเกี่ยวกับจักรพรรดิโรมัน รู้สึกยังติดบรรยากาศโรมันมาอยู่ ขอต่อโรมันอีกสักวัน วันนี้จะพูดถึง เรื่องราวของ นักสู้เดนตาย ผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมในสนามโคลีเซี่ยม พวกเขามีหลายกลุ่ม หลายรูปแบบ แต่เรียกรวมๆกันว่า GLADIATORS
GLADIATOR หรือ "นักสู้เดนตาย" (MC คิดคำแปลนี้เอง) ภาษาลาตินออกเสียงว่า "กลาดิอาตอร์" แปลว่า "นักรบผู้ใช้ดาบ" (จากรากศัพท์คำว่า gladivs ซึ่งแปลว่า "ดาบ" อีกทีหนึ่ง) เป็นนักสู้ติดอาวุธ ต้องต่อสู้เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ผู้ชมชาวโรมัน พวกเขาต้องใช้ความรุนแรงในการต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่อาจเป็นได้ทั้งแกลดิเอเตอร์ด้วยกัน สัตว์ป่า หรือนักโทษประหาร แกลดิเอเตอร์ส่วนใหญ่เป็นทาส บุคคลที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรง หรือผู้ที่ถูกกีดกันจากสังคม แต่ก็มีแกลดิเอเตอร์บางคนเป็นอิสรชนอาสาเสี่ยงชีวิตและใช้สิทธิพลเมืองโรมันของตนเข้าแข่งขันในสังเวียน เรียกว่าพวกฟรีแลนซ์ และชอบท้ามฤตยูว่างั้น!
แต่ไม่ว่าจะมีที่มามาจากไหน พวกเขาก็สามารถนำเสนอตัวอย่างของจริยธรรมในการต่อสู้แห่งโรมแก่ผู้ชม และไม่ว่าจะชนะหรือตายอย่างสมศักดิ์ศรี พวกเขาก็จะเรียกเสียงชื่นชมและยกย่องจากมวลชนได้เช่นกัน แกลดิเอเตอร์ได้รับการยกย่องทั้งในศิลปะระดับบน (ชั้นสูง) และล่าง และเป็นผู้มีคุณค่าในฐานะผู้สร้างความบันเทิง ได้รับการเชิดชูทั้งในวัตถุที่มีค่าและวัตถุธรรมดา ๆ ทั่วโลกโรมัน
ต้นกำเนิดการต่อสู้ของแกลดิเอเตอร์นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่มีหลักฐานที่สันนิษฐานได้ว่า เริ่มต้นมาจากการแข่งขันต่อสู้ในพิธีกรรมศพที่จัดขึ้นในช่วงสงครามพิวนิก ราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญทั้งในทางการเมืองและทางสังคมของชาวโรมันอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้มีการจัดการต่อสู้ในเกมกีฬาสาธารณะที่หรูหราฟู่ฟ่ามากยิ่งขึ้น
การต่อสู้ของแกลดิเอเตอร์นั้นมีสืบเนื่องกันมาเกือบพันปี โดยเป็นที่นิยมมากที่สุดในช่วง 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึงศตวรรษที่ 2 และเสื่อมความนิยมลงในช่วงต้นของศตวรรษที่ 5 หลังจากจักรวรรดิโรมันได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำรัฐใน ค.ศ. 380 อย่างไรก็ตาม การสู้กับสัตว์ก็ยังคงดำเนินมาจนถึงศตวรรษที่ 6
ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า แกลดิเอเตอร์ มีหลายแบบ ดังนั้นต่อไปนี้จะแนะนำ แกลดิเอเตอร์แบบต่างๆ ละครับ เริ่มจาก...
(1) เบสติอารี่ (Bestiarii)
มีหน้าที่ต่อสู้กับสัตว์โดยเฉพาะ บรรดาชนชั้นปกครองจะหาซื้อสัตว์ทรงพลังทั้งหลาย เช่น สิงโต เสือ ช้าง หรือหมี จากอัฟริกาและเอเชีย แล้วนำพวกมันมาปรากฏตัวในโคลอสเซียม จากนั้นก็ส่งพวกเบสติอารี่ออกไปลุยกับพวกมัน เบสติอารี่ ยังแบ่งออกไปอีกเป็นสองกลุ่มคือ "ดามนาติโอ้ อาด เบสติอัส" (damnatio ad bestias) และ "เวนาติโอ้" (venatio) พวกแรกคือพวกทาสหรือคนที่ถูกคุมขัง ต้องโทษประหารชีวิต จะต้องตายอยู่แล้ว แต่ยังได้โอกาสที่จะรอด โดยออกไปต่อสู้ให้ชนะ คนกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่ต่ำต้อย และความตายของพวกเขาไม่มีค่าอะไรเลย ชีวิตของพวกเขาถูกใช้เพียงแค่ทำให้ผู้คนสนุกสนานและสะใจเท่านั้น หลายครั้งพวกนี้ถูกสัตว์ร้ายฉีกทึ้งร่างและเหยียบย่ำ แต่ผลที่ได้คือความสนุกสนาน ไม่ใช่ความโศกเศร้า ตรงกันข้ามกับกลุ่มที่สองคือเวนาติโอ้ พวกนี้เป็นนักล่า ถูกฝึกฝนมาเพื่อล่าและต่อสู้กับสัตว์ร้ายโดยเฉพาะ กลุ่มนี้จะเก่งและมีความสามารถสูงมาก นักสู้กลุ่มนี้ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากชื่อว่า คาร์โปโฟรัส (Carpophorus) เล่ากันว่าเขาฆ่าสัตว์ทรงพลังไปมากกว่า 20 ชนิด ด้วยมือเปล่า!! นอกจากจะต่อสู้กับสัตว์ต่างๆ แล้ว เขายังเป็นผู้ตามหาสัตว์ ฝึกฝนมันให้เหี้ยมโหด และบางครั้งเวลาหื่นจัด ก็พาพวกมันไปกินตับอีกต่างหาก! เอาเข้าไป...
(2) น็อกซี่ (Noxii)
นักสู้กลุ่มนี้ คัดสรรมาจากประชากรที่ต่ำต้อยที่สุดในสังคม พวกเขาไม่ถูกนับว่าเป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ ส่วนใหญ่คือชาวคริสเตียน ยิว ทหารหนีทัพ พวกกบฎหรือฆาตกรซึ่งมีโทษหนัก พวกเขาไม่มีทักษะการต่อสู้เลย ส่วนใหญ่ถูกลงโทษให้ลงสนาม และแน่นอนว่าพวกเขามักจบลงที่ความตาย บางครั้ง พวกเขาก็ถูกผ้าผูกตาไว้แล้วให้ต่อสู้ด้วยสัญชาตญาณ ทุกคนจะถูกแก้ผ้าเปล่าเปลือย ไร้เสื้อเกราะหรืออุปกรณ์ป้องกันใดๆ แม้แต่ไม้สักท่อน ต้องต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท่านั้น การที่ชนชั้นปกครองปฏิบัติต่อพวกน็อกซี่เช่นนี้นั้น คือการเชือดไก่ให้ลิงดูนั่นเอง ให้ประชาชนได้เห็นว่า ถ้าใครทำความผิด จะถูกลงโทษเช่นไร
(3) เรเทียริอุส (Retiarius)
ชาวโรมันในช่วงเวลานั้น ชื่นชอบการใช้พละกำลังและการถูกแทงหลายๆ แผล นี่เป็นเหตุผลให้ เรเทียริอุส ถูกจัดเป็นแกลดิเอเตอร์ชั้นต่ำ พวกเขาจะไม่มีเกราะ ต้องสู้อย่างรวดเร็วและด้วยการวางแผน อาวุธของพวกเขาคือตาข่าย ตรีศูล หรือมีดเล่มเล็กๆ แต่ลับอย่างคบกริบ พวกเขาได้รับการฝึกฝนมาคนละแบบกับแกลดิเอเตอร์ที่ใช้ดาบและโล่ ในสายตาแกลดิเอเตอร์ด้วยกัน พวกเขาดูอ่อนแอและเหยาะแหยะเหมือนผู้หญิง ในบทกวีของ ยูเวนัล (Juvenal) มีเรื่องราวของ กราชชุส (Gracchus) ผู้อยากเป็นแกลดิเอเตอร์ แต่เพราะไม่เก่งกล้าพอ ทำให้เขาอยู่ได้แค่ในกลุ่ม เรเทียริอุส แต่ถึงแม้จะถูกมองว่าอ่อนแอ กลุ่มนี้ก็ยังได้รับการชื่นชมว่า มีสไตล์การต่อสู้ที่หลากหลายและมีเทคนิคที่แพรวพราว ช่วยทำให้การต่อสู้ในสนามดูแตกต่างและน่าสนใจ
(4) เซกุทอร์ (Secutor)
เซกูทอร์ มักจะลงสนามเพื่อแข่งขันกับกลุ่ม เรเทียริอุส โดยจะสวมเกราะหนาหนัก ถืออาวุธขนาดใหญ่แข็งแรง โดยเฉพาะดาบ และสวมหมวกเห็นตาเพียงนิดเดียว เพื่อป้องกันศีรษะ เวลาอยู่ในสนามจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนตาข่ายเกี่ยว ซึ่งพวก เรเทียริอุส จะคอยเอาตรีศูลทิ่มแทงเป็นการตอบกลับ ทั้งสองกลุ่มต้องสู้กันด้วยรูปแบบวิธีที่แตกต่างกัน เซกูทอร์ที่โด่งดังที่สุดมีชื่อว่า ฟลามม่า (Flamma) เป็นชาวซีเรีย ต่อสู้ต่อเนื่องถึง 34 สนาม ชนะ 21 ครั้ง เสมอ 9 ครั้ง และแพ้ 4 ครั้ง ตลอดการแข่งขันทั้งหมด เขาได้รับอิสระภาพถึง 4 ครั้ง แต่กลับปฏิเสธทุกครั้ง เพราะยังอยากจะลุยต่อไปเรื่อยๆ เรียกว่าเสพติดความเป็นแกลดิเอเตอร์เข้าเส้นเลือด!
(5) อีควิเตส (Equites)
หมายถึงกลุ่มทหารม้า ซึ่งจัดเป็นชนชั้นสูงของโรมัน ได้รับความไว้วางใจจากสภาและจักรพรรดิ และเพราะความเก่งกาจของพวกเขา ทำให้เปอร์เซ็นต์การตายของแกลดิเอเตอร์กลุ่มนี้น้อยมาก ทางผู้จัดจึงเลือกพวกเขามาเพื่อความบันเทิงโดยเฉพาะ และมักให้พวกเขาเป็นตัวเปิดงาน โดยให้ขี่ม้าแล้วใช้ดาบและโล่สู้กัน เกราะที่พวกเขาสวมใส่เป็นเกราะอ่อน เพื่อให้เคลื่อนไหวได้ว่องไว ดูมีชั้นเชิง
(6) โพรโวคาทอร์ (Provocator)
ในการแข่งขัน ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันระหว่างแกลดิเอเตอร์ชนิดต่างๆ ปะปนกันไป แต่ถ้าเป็นกลุ่ม โพรโวคาทอร์ พวกเขาจะต่อสู้ในหมู่เดียวกันเท่านั้น เพราะพวกเขาจะท้าทายและเลือกคู่แข่งด้วยตัวเอง ไม่มีคนมาจัดเวทีให้ กลุ่มนี้ถือว่ามีเกียรติและมีทักษะการต่อสู้ที่ยอดเยี่ยม เมื่อต้องท้าทายคู่ต่อสู้ก็จะเลือกแต่คู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง และจะต่อสู้อย่างจริงจังอย่างมีชั้นเชิง
(7)นักรบหญิง กลาดิอาทริกซ์ (Gladiatrix)
นี่คือนักรบหญิงที่ไม่ธรรมดา สวมเกราะเพียงเล็กน้อย บางครั้งเปลือยอกเลยก็มี! เพราะต้องการโชว์รูปร่างที่ชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วแกลดิเอเตอร์หญิงจะสู้กันเอง หรือไม่ก็สู้กับพวกคนแคระ พวกเธอส่วนใหญ่มาจากตระกูลสูงส่งในสังคม ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกกลาดิเอเตอร์ทั่วไปที่มาจากชาติกำเนิดต่ำต้อยหรือมาจากพวกทาส บางครั้ง จักรพรรดิจะโยน คอร์เซ็ต หรือชุดสวมใส่สำหรับพวกเธอยามสู้รบให้กับฝูงชนบนอัฒจรรย์ เพื่อเป็นของขวัญแก่พวกเขา
(8) กัลลุส / มูร์มิลโล (Gallus / Murmillo)
เป็นแกลดิเอเตอร์รุ่นแรก ส่วนใหญ่จะมาจากเผ่ากอล (Gaul) หรือชาวเคลต์ ซึ่งก็คือพวกฝรั่งเศสนั่นเอง จุดเริ่มต้นคือ พวกเขาเป็นเชลยสงคราม และถูกนำมาต่อสู้กันเองเพื่อความบันเทิง สวมเสื้อเกราะหนาหนัก ถือดาบยาว มีโล่ สวมหมวก และสวมชุดประจำเผ่า เวลาโจมตีจะหนักแน่น เต็มไปด้วยพลัง เพราะชาวเคลต์นั้นแข็งแกร่งและซ้อมรบอยู่เสมอ ท้ายที่สุดเผ่านี้ก็เข้าร่วมกับจักรวรรดิโรมัน พวกเขาเลยไม่อยากสู้รบกันเองอีกต่อไป จึงได้มีการปรับลักษณะของกลาดิเอเตอร์ เป็นแบบ มูร์มิลโล ซึ่งยังคงใช้ดาบและโล่หนาหนัก แต่แต่งกายด้วยชุดที่ดูใกล้เคียงกับทหารโรมัน และต่อสู้กับแกลาดิเอเตอร์ด้วยกันเอง มูร์มิลโลที่โด่งดังที่สุดคือ มาร์คัส อัททิเลียส (Marcus Attilius) ชัยชนะครั้งใหญ่ของเขาคือการล้มฮิลารัส (ชนะ 12 แพ้ 2) และลูเชียส เฟลิกซ์ (ชนะ 13 ไม่เคยแพ้เลย) สองแกลดิเอเตอร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้
(9) ซามนิเต้ (Samnite)
เป็นแกลดิเอเตอร์รุ่นแรกๆ อีกพวกหนึ่ง ลักษณะคล้ายพวก กัลลุส เล็กน้อย ทีแรกพวกนี้คือพวกนักโทษสงครามที่มาจากแคว้น ซามนิอุ้ม ทางใต้ของอิตาลีเมื่อโรมันเอาชนะยึดเอาดินแดนได้ก็บังคับให้พวกซามนิเต้ต่อสู้กันเอง เพื่อฉลองชัยชนะ พวกซามนิเต้ต้องสวมชุดประจำแคว้น และใช้อาวุธประจำตัวคือโล่ขนาดใหญ่ตั้งเป็นมุมฉากและดาบ ต้องสู้กับเชลยหรือทหารที่ถูกจับมาจากเผ่าอื่นๆ ใครชนะได้ก็ได้ไปต่อ ใครแพ้จะถูกเยาะเย้ยอย่างหนัก ภายหลังแคว้นซามนิอุ้มตกเป็นของโรม แกลดิเอเตอร์กลุ่มนี้จึงค่อยๆหายไป และไปรวมกับกลุ่ม มูร์มิลโล แทน
(10) ธราซิอัน (Thracian)
แกลดิเอเตอร์ที่โด่งดังที่สุดซึ่งคนทั่วโลกรู้จัก มีชื่อว่า สปาร์ตาคัส เขาเป็นเชลยสงครามที่ถูกจับตัวมาจากเผ่าธราซิอัน (บัลแกเรียปัจจุบัน) ตอนท้ายทรยศเจ้านายที่ฝึกให้เขาเป็นแกลดิเอเตอร์ และนำกองทัพทาสกว่า 7 หมื่นคนปักหลักต่อสู้กับโรมันอย่างแข็งแกร่ง เรื่องราวของเขากลายเป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้ ลักษณะเด่นของแกลดิเอเตอร์กลุ่มนี้คือ มีโล่ทรงกลม และมีหมวกแข็งแกร่ง ส่วนใหญ่พวกเขาต้องสู้กับพวกกัลลุส และ ซามนิเต้ ในฐานะที่เป็นเชลยศึกซึ่งถูกจับมาเช่นกัน แต่พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นนักรบที่มีผู้คนรู้จักมากที่สุด และมีฝีมือในการต่อสู้มากที่สุด
จาก "สปาร์ตาคัส" WAR OF THE DAMNED 2010-2013
"แม็กซิมัส" อดีตแม่ทัพโรมันซึ่งชะตาพลิกผันกลายเป็นแกลดิเอเตอร์ในหนัง GLADIATER อันโด่งดังปี 2000
นี่เป็นหนังเรื่องหนึ่งที่ MC ชอบมาก อาจทำรีวิวมาฝากในโอกาสต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย และ https://www.dek-d.com/writer/45921/ กับภาพประกอบจากกูเกิ้ล
พบกันใหม่เสาร์อาทิตย์หน้าครับ