ทหารหนุ่มล่ำทรุดกายล้มลง พยายามใช้แขนยันร่างไว้ด้วยความพยายามอย่างถึงที่สุด
ประติมากรรมนี้แสดงถึงทหารนายหนึ่งที่กำลังจะตายจากการสู้รบ ให้ความรู้สึกเศร้าและทรงพลังไปพร้อมกัน งานชิ้นนี้แสดงอารมณ์เจ็บปวดและแข็งแกร่งของทหารกล้ากำยำที่บาดเจ็บเจียนตายแต่ใจยังพยายามแข็งขืนต่อไป ซึ่งเราก็รู้ว่าคงไปต่อไม่ได้อีกแล้ว
ศิลปินผู้สร้างสามารถแสดงรายละเอียดถ่ายทอดจากของจริงได้ทั้งทางกายภาพและอารมณ์จากใบหน้าที่แสดงความปวดร้าว ทรุดกายลงบนโล่และดาบหักของตน บาดแผลฉกรรจ์ซึ่งเป็นเหตุแห่งมรณะที่คืบคลานเข้ามา ในช่วงนาทีสำคัญที่ซึ่งถ่ายทอดให้เราเห็นจากอดีตนับพันปีก่อนนั้น
หลายคนที่ได้เห็นอาจคิดว่านี่ต้องเป็นวีรกรรมทหารโรมันคนหนึ่งที่สละชีพเพื่อชาติแน่เลย แต่อันที่จริงนั้นมีผู้ให้ความเห็นว่าดูจากลักษณะแล้วน่าจะเป็นกลาดิเอเตอร์ที่ต่อสู้ในสนามกีฬาแล้วพ่ายแพ้ต่างหาก ดังนั้นมันจึงเคยถูกเรียกว่า Dying Gladiator แต่หลังจากนั้น ก็มีคนให้ข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้วรูปสลักนี้เป็นของที่โรมันลอกแบบมาจากกรีกอีกต่อหนึ่ง และต้นแบบเดิมนั้นเป็นสำริด ถูกพบในตุรกีซึ่งเดิมเคยอยู่ภายใต้การปกครองของกรีก
ถ้างั้นก็คงต้องเป็นทหารกรีกนะสิ อาจมีใครคิดแบบนั้น แต่จริงๆแล้วก็ไม่ใช่อีก
ชายผู้นี้คือที่ระลึกถึงเหตุการณ์สู้รบระหว่างอาณาจักรกรีกซึ่งทำสงครามกับชนชาติกอล (Gaul) หรือชาวกาลาเทีย (Galatian) ซึ่งเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งในยุโรป ซึ่งสุดท้ายแล้วกรีกเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่น่าแปลกและเราไม่ค่อยพบกันนักก็คือ ประติมากรรมชิ้นนี้ แทนที่จะเป็นการแสดงวีรกรรมของผู้ชนะอย่างที่เราเคยเห็น กลับกลายเป็นการแสดงความพ่ายแพ้ของฝ่ายศัตรูซึ่งก็คือชาวกอล ซึ่งรู้ได้จากทรงผมหยาบแข็งตั้ง การไว้หนวด และสายรัดคอ และอาวุธ โล่ ที่แสดงความเป็นกอลได้ชัดเจน
ทรงผม และปลอกคอ ของชาวกอล (ทรงผมเก๋ไก๋มาก)
ส่วนการเปลือยของนักรบท่านนี้ ผู้อ่านหลายท่านคงคิดว่าเป็นอะไรที่ไม่แปลก เพราะประติมากรรมกรีกโรมันชายเปลือยเป็นสิ่งธรรมดา พวกเขาชอบความงามของร่างกายจนมักจะนำเสื้อผ้าออกไปจากภาพประติมากรรมซะจนเกือบหมด แต่เชื่อไหม มีหลักฐานที่บ่งบอกว่านักรบเผ่านี้เคยสร้างวีรกรรมแก้ผ้ารบในสนามจริงๆด้วย
บันทึกสมัย 225 ปีก่อนคริสตกาลกล่าวว่า "พวกเขาบางคนก็สวมใส่เกราะเหล็ก แต่บางคนเปลือยเปล่าไม่สวมอะไรเลย ซึ่งแสดงถึงความกล้าหาญและการข่มขวัญ" นักบวชกรีกอีกคนหนึ่งเขียนว่า “พวกเขาล้วนมีร่างกายงดงามและอยู่ในวัยที่รุ่งโรจน์” อย่างไรก็ตาม มีชาวกรีกยุคนั้นบางคนที่มองอีกแบบ ว่านี่เป็นการแสดงความกล้าหาญที่น่าสมเพชต่างหาก (อันนี้ต่างคนก็ต่างใจกันนะ)
หากพวกเราชาวไทยไม่เข้าใจว่าการแก้ผ้ารบนั้นมันแสดงความกล้าได้ยังไงก็ขอบอกว่าช่างมันเถอะ เพราะการที่เราจะเข้าใจเหตุผลของคนยุคก่อนบางทีมันก็ไม่ง่าย โดยเฉพาะคนยุคโบราณพันกว่าปีก่อนแถมเป็นฝรั่งมังค่า คงมีความคิดความอ่านคนละขอบจักรวาลกับเราเป็นธรรมดา
นักประวัติศาสตร์ถึงได้สอนว่าอย่าเอาความคิดของคนปัจจุบันมาตัดสินคนในอดีต เพราะเราอยู่คนละกรอบ คนละระบบคิดกัน ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีใครในอนาคตได้มาอ่านบทความในอิจฉาอิตาลี เขาก็อาจไม่เข้าใจเหมือนกันว่าตาคนเขียนคนนี้คิดอะไร มองอะไรแบบนั้นได้ไง จริงมะ
ภาพด้านหลัง แสดงความเข้มแข็งที่กำลังแข็งขืน เช่นเดียวกับด้านหน้า
กลับมาชมงานชิ้นนี้กันต่อ ด้วยเหตุที่งานชิ้นนี้เป็นศิลปะกรีกในยุคเฮเลนนิสติกซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูสูงสุด ศิลปินจึงสามารถแสดงรายละเอียดร่างกายและอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างเกินสมบูรณ์ เราจึงได้เห็นกล้ามเนื้อมัดเขม็งที่ต่อต้านการตาย แผลฉกรรจ์ที่หน้าอก ใบหน้าเข้มแข็งแต่เจ็บปวดรวดร้าว มือและแขนพยายามยันร่างแข็งขืนตัวเองเพื่อต่อสู้กับความตาย ในขณะที่ร่างช่วงบนดูอ่อนแรงและศีรษะก้มค้อมลง เป็นพลังเฮือกสุดท้ายที่จะต่อสู้กับความตายซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาถึง
กวีชาวอังกฤษผู้หนึ่งชื่อว่า George Gordon Byron ได้เขียนบทกวีที่แสดงความประทับใจต่อ Dying Gual ไว้ดังนี้ (ขี้เกียจแปลอะ)
I see before me the Gladiator lie He leans upon his hand his manly brow Consents to death, but conquers agony, And his drooped head sinks gradually low And through his side, the last drops, ebbing slow From the red gash, fall heavy, one by one...
อ่านแล้วก็ชวนให้สงสารทหารหนุ่มนายนี้เสียจับใจ บางทีเราก็คิดไปว่าผู้สร้างงานประติมากรรม อาจต้องการสร้างอนุสาวรีย์ของศัตรูไปเสียอย่างนั้น สาเหตุที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรเราไม่อาจทราบได้ แต่คิดว่าเป็นไปได้ไหมที่คนกรีกคงประทับใจกับวีรกรรมบางประการของทหารกอลจนกลั่นออกมาเป็นงานชิ้นนี้ โดยมีพื้นฐานมาจากความเวทนาในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดชาติใดก็ตาม
Dying Gaul จึงมิใช่ประติมากรรมที่เป็นตัวแทนของชนชาติกรีก โรมัน หรือกอล เท่านั้น แต่มันเป็นประติมากรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติที่ทำให้เราระลึกถึงความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้เราระลึกได้ว่ากาลครั้งหนึ่งมีผู้สร้างงานศิลปะได้มองความแพ้พ่ายของฝ่ายตรงข้ามในฐานะเพื่อนมนุษย์ผู้ร่วมชะตากรรมเกิดแก่เจ็บตาย และมันช่วยสร้างความงามจากความเศร้านั้นได้อย่างดีเยี่ยมเช่นนี้เอง
ขอบพระคุณข้อมูลจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Dying_Gaul https://www.youtube.com/watch?v=in6iDVnTw-k
ความตายที่คืบใกล้ การแข็งขืนที่สุดจะทนทาน : Dying Gaul
ประติมากรรมนี้แสดงถึงทหารนายหนึ่งที่กำลังจะตายจากการสู้รบ ให้ความรู้สึกเศร้าและทรงพลังไปพร้อมกัน งานชิ้นนี้แสดงอารมณ์เจ็บปวดและแข็งแกร่งของทหารกล้ากำยำที่บาดเจ็บเจียนตายแต่ใจยังพยายามแข็งขืนต่อไป ซึ่งเราก็รู้ว่าคงไปต่อไม่ได้อีกแล้ว
ศิลปินผู้สร้างสามารถแสดงรายละเอียดถ่ายทอดจากของจริงได้ทั้งทางกายภาพและอารมณ์จากใบหน้าที่แสดงความปวดร้าว ทรุดกายลงบนโล่และดาบหักของตน บาดแผลฉกรรจ์ซึ่งเป็นเหตุแห่งมรณะที่คืบคลานเข้ามา ในช่วงนาทีสำคัญที่ซึ่งถ่ายทอดให้เราเห็นจากอดีตนับพันปีก่อนนั้น
หลายคนที่ได้เห็นอาจคิดว่านี่ต้องเป็นวีรกรรมทหารโรมันคนหนึ่งที่สละชีพเพื่อชาติแน่เลย แต่อันที่จริงนั้นมีผู้ให้ความเห็นว่าดูจากลักษณะแล้วน่าจะเป็นกลาดิเอเตอร์ที่ต่อสู้ในสนามกีฬาแล้วพ่ายแพ้ต่างหาก ดังนั้นมันจึงเคยถูกเรียกว่า Dying Gladiator แต่หลังจากนั้น ก็มีคนให้ข้อสังเกตว่า แท้จริงแล้วรูปสลักนี้เป็นของที่โรมันลอกแบบมาจากกรีกอีกต่อหนึ่ง และต้นแบบเดิมนั้นเป็นสำริด ถูกพบในตุรกีซึ่งเดิมเคยอยู่ภายใต้การปกครองของกรีก
ถ้างั้นก็คงต้องเป็นทหารกรีกนะสิ อาจมีใครคิดแบบนั้น แต่จริงๆแล้วก็ไม่ใช่อีก
ชายผู้นี้คือที่ระลึกถึงเหตุการณ์สู้รบระหว่างอาณาจักรกรีกซึ่งทำสงครามกับชนชาติกอล (Gaul) หรือชาวกาลาเทีย (Galatian) ซึ่งเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งในยุโรป ซึ่งสุดท้ายแล้วกรีกเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่น่าแปลกและเราไม่ค่อยพบกันนักก็คือ ประติมากรรมชิ้นนี้ แทนที่จะเป็นการแสดงวีรกรรมของผู้ชนะอย่างที่เราเคยเห็น กลับกลายเป็นการแสดงความพ่ายแพ้ของฝ่ายศัตรูซึ่งก็คือชาวกอล ซึ่งรู้ได้จากทรงผมหยาบแข็งตั้ง การไว้หนวด และสายรัดคอ และอาวุธ โล่ ที่แสดงความเป็นกอลได้ชัดเจน
ทรงผม และปลอกคอ ของชาวกอล (ทรงผมเก๋ไก๋มาก)
ส่วนการเปลือยของนักรบท่านนี้ ผู้อ่านหลายท่านคงคิดว่าเป็นอะไรที่ไม่แปลก เพราะประติมากรรมกรีกโรมันชายเปลือยเป็นสิ่งธรรมดา พวกเขาชอบความงามของร่างกายจนมักจะนำเสื้อผ้าออกไปจากภาพประติมากรรมซะจนเกือบหมด แต่เชื่อไหม มีหลักฐานที่บ่งบอกว่านักรบเผ่านี้เคยสร้างวีรกรรมแก้ผ้ารบในสนามจริงๆด้วย
บันทึกสมัย 225 ปีก่อนคริสตกาลกล่าวว่า "พวกเขาบางคนก็สวมใส่เกราะเหล็ก แต่บางคนเปลือยเปล่าไม่สวมอะไรเลย ซึ่งแสดงถึงความกล้าหาญและการข่มขวัญ" นักบวชกรีกอีกคนหนึ่งเขียนว่า “พวกเขาล้วนมีร่างกายงดงามและอยู่ในวัยที่รุ่งโรจน์” อย่างไรก็ตาม มีชาวกรีกยุคนั้นบางคนที่มองอีกแบบ ว่านี่เป็นการแสดงความกล้าหาญที่น่าสมเพชต่างหาก (อันนี้ต่างคนก็ต่างใจกันนะ)
หากพวกเราชาวไทยไม่เข้าใจว่าการแก้ผ้ารบนั้นมันแสดงความกล้าได้ยังไงก็ขอบอกว่าช่างมันเถอะ เพราะการที่เราจะเข้าใจเหตุผลของคนยุคก่อนบางทีมันก็ไม่ง่าย โดยเฉพาะคนยุคโบราณพันกว่าปีก่อนแถมเป็นฝรั่งมังค่า คงมีความคิดความอ่านคนละขอบจักรวาลกับเราเป็นธรรมดา
นักประวัติศาสตร์ถึงได้สอนว่าอย่าเอาความคิดของคนปัจจุบันมาตัดสินคนในอดีต เพราะเราอยู่คนละกรอบ คนละระบบคิดกัน ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีใครในอนาคตได้มาอ่านบทความในอิจฉาอิตาลี เขาก็อาจไม่เข้าใจเหมือนกันว่าตาคนเขียนคนนี้คิดอะไร มองอะไรแบบนั้นได้ไง จริงมะ
ภาพด้านหลัง แสดงความเข้มแข็งที่กำลังแข็งขืน เช่นเดียวกับด้านหน้า
กลับมาชมงานชิ้นนี้กันต่อ ด้วยเหตุที่งานชิ้นนี้เป็นศิลปะกรีกในยุคเฮเลนนิสติกซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูสูงสุด ศิลปินจึงสามารถแสดงรายละเอียดร่างกายและอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างเกินสมบูรณ์ เราจึงได้เห็นกล้ามเนื้อมัดเขม็งที่ต่อต้านการตาย แผลฉกรรจ์ที่หน้าอก ใบหน้าเข้มแข็งแต่เจ็บปวดรวดร้าว มือและแขนพยายามยันร่างแข็งขืนตัวเองเพื่อต่อสู้กับความตาย ในขณะที่ร่างช่วงบนดูอ่อนแรงและศีรษะก้มค้อมลง เป็นพลังเฮือกสุดท้ายที่จะต่อสู้กับความตายซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาถึง
กวีชาวอังกฤษผู้หนึ่งชื่อว่า George Gordon Byron ได้เขียนบทกวีที่แสดงความประทับใจต่อ Dying Gual ไว้ดังนี้ (ขี้เกียจแปลอะ)
I see before me the Gladiator lie He leans upon his hand his manly brow Consents to death, but conquers agony, And his drooped head sinks gradually low And through his side, the last drops, ebbing slow From the red gash, fall heavy, one by one...
อ่านแล้วก็ชวนให้สงสารทหารหนุ่มนายนี้เสียจับใจ บางทีเราก็คิดไปว่าผู้สร้างงานประติมากรรม อาจต้องการสร้างอนุสาวรีย์ของศัตรูไปเสียอย่างนั้น สาเหตุที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรเราไม่อาจทราบได้ แต่คิดว่าเป็นไปได้ไหมที่คนกรีกคงประทับใจกับวีรกรรมบางประการของทหารกอลจนกลั่นออกมาเป็นงานชิ้นนี้ โดยมีพื้นฐานมาจากความเวทนาในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดชาติใดก็ตาม
Dying Gaul จึงมิใช่ประติมากรรมที่เป็นตัวแทนของชนชาติกรีก โรมัน หรือกอล เท่านั้น แต่มันเป็นประติมากรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติที่ทำให้เราระลึกถึงความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้เราระลึกได้ว่ากาลครั้งหนึ่งมีผู้สร้างงานศิลปะได้มองความแพ้พ่ายของฝ่ายตรงข้ามในฐานะเพื่อนมนุษย์ผู้ร่วมชะตากรรมเกิดแก่เจ็บตาย และมันช่วยสร้างความงามจากความเศร้านั้นได้อย่างดีเยี่ยมเช่นนี้เอง
ขอบพระคุณข้อมูลจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Dying_Gaul https://www.youtube.com/watch?v=in6iDVnTw-k