เป็น ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ ในยุคนี้ ช่างยากลำบากนัก
2 ธันวาคม 2017
อาร์ม ตั้งนิรันดร
แรงงานพม่ามาต้อนรับ อองซาน ซูจี ที่มาภาพ :
http://www.thairath.co.th
แรงงานพม่าที่ศูนย์กลางค้ากุ้ง จ.สมุทรสาคร ที่มาภาพ :
http://www.thairath.co.th
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สูตรสำเร็จหนึ่งของการพัฒนาประเทศก็คือ การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพราะสามารถดูดซับแรงงาน ยกระดับเทคโนโลยี และเพิ่มผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
ยิ่งเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่า ประเทศที่สามารถขยับจาก “ประเทศยากจน” ไปเป็น “ประเทศร่ำรวย” ล้วนทำได้ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ยกเว้นจะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันในตะวันออกกลาง หรือเป็นเมืองท่าขนาดเล็กอย่างสิงคโปร์
แต่งานวิจัยล่าสุดของธนาคารโลก ชื่อ Trouble in the Making? The Future of Manufacturing-Led Development (
https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/27946/9781464811746.pdf) ได้ตั้งคำถามชวนคิดว่า หนทางการพัฒนาประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมยังเป็นไปได้อยู่อีกหรือ?
อวสานของอุตสาหกรรมการผลิต
เมื่ออ่านรายงานของธนาคารโลก จะพบว่า การเป็น “ประเทศกำลังพัฒนา” ในยุคนี้ช่างยากลำบากนัก เพราะนับวันการพัฒนาอุตสาหกรรมยิ่งทำได้ยากขึ้นทุกที สาเหตุ ได้แก่
ปัจจัย “จีน”: ปัจจุบัน ประเทศร่ำรวยผลิตสินค้า 60% ของโลก และจีนผลิตอีก 25% แล้วยังจะเหลือช่องให้ประเทศอื่นๆ พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอีกหรือ?
การค้าโลกหดตัว: ดีมานด์การบริโภคจากประเทศร่ำรวยหดตัวลง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นอกจากนั้น เทคโนโลยียุคใหม่ยังทำให้บริษัทในประเทศร่ำรวยสามารถผลิตสินค้าสำหรับบริโภคในประเทศตนเองด้วยต้นทุนที่ต่ำ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาจึงทำได้ยากขึ้นทุกที จากสถิติพบว่า อัตราการเติบโตของการค้าโลกลดลงจาก 12.5% ในปี ค.ศ. 2010 เหลือเพียง 2.5% ในปี ค.ศ. 2016
โรงงานยุคใหม่ ไม่ใช้ “แรงงาน”: ในอดีต เมื่อถ่ายโอนแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ย่อมทำให้แรงงานเหล่านั้นสามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้ขึ้นมาอย่างชัดเจน แต่ด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรและหุ่นยนต์สมัยใหม่ จึงแทบไม่จำเป็นต้องใช้คนงานในโรงงานแล้ว การพัฒนาอุตสาหกรรมจึงไม่ทำให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน
ค่าแรงราคาถูกไม่ดึงดูดนักลงทุนอีกต่อไป: เมื่อโรงงานยุคใหม่ไม่ใช้แรงงาน ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องย้ายโรงงานไปยังประเทศที่ค่าแรงถูกดังในอดีต ในปัจจุบัน บริษัทในประเทศร่ำรวยหลายแห่งกลับเลือกสร้างโรงงานภายในประเทศตนเอง เพื่อให้ใกล้กับผู้บริโภค ลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์
หลายบริษัทยังคงฐานการผลิตในประเทศเดิมที่ตนเคยลงทุนไว้ เพราะได้วางกระบวนการผลิตชิ้นส่วน การประกอบชิ้นส่วน และการจัดส่งไว้ดีแล้ว จนทำให้การย้ายไปประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าไม่คุ้มค่า
ส่วนในประเทศจีนที่ค่าแรงเริ่มปรับสูงขึ้น โรงงานหลายแห่งในจีนก็เริ่มลงทุนสร้างโรงงานไฮเทคเพื่อแก้ปัญหาค่าแรงและการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของจีน โดยในปี ค.ศ. 2018 โรงงานภายในจีนจะใช้หุ่นยนต์แทนคนงานเดิมถึง 400,000 คน ดังนั้น ความคิดที่ว่าโรงงานจะค่อยๆ ย้ายฐานออกจากจีนไปยังประเทศที่ยากจนกว่าจึงดูเหมือนจะไม่เกิดขึ้น
ประเทศรายได้ปานกลางยิ่งลำบาก
รายงานของธนาคารโลกยังมองโลกในแง่ดี โดยบอกว่าประเทศยากจนยังพอมีความหวัง เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอยังนิยมใช้แรงงานค่าแรงราคาถูกมากกว่าเปลี่ยนไปใช้หุ่นยนต์ ดังจะเห็นว่า โรงงานสิ่งทอจำนวนมากในจีนย้ายไปตั้งฐานการผลิตในประเทศในเอธิโอเปีย (มูลค่าการลงทุน 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2016-2017 และสินค้า H&M ส่วนใหญ่ผลิตที่นี่) ดังนั้น ประเทศยากจนยังมีโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่บ้าง
แต่ที่ดูจะลำบากหนักกลับเป็นประเทศรายได้ปานกลาง (เช่น ไทย) เพราะในภาคอุตสาหกรรมพื้นฐาน ค่าแรงเราแข่งขันสู้ประเทศยากจนไม่ได้ ส่วนในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรเป็นหลัก ก็ไม่มีใครคิดย้ายฐานการผลิตมาไทย แตกต่างจากในยุคก่อน ที่โรงงานเทคโนโลยีปานกลางในญี่ปุ่นยังย้ายฐานมาไทยเพราะค่าแรงไทยถูกกว่าญี่ปุ่น จนไทยค่อยๆ ยกระดับภาคการผลิตขึ้นมาได้
ธนาคารโลกยังพยายามมองโลกในแง่ดีต่อไป โดยชี้ให้เห็นโอกาสที่ยังเหลืออยู่ เช่น ประเทศรายได้ปานกลางยังสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าได้ ตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น บราซิล ซึ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แปรรูปสินค้าจากไม้ และผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้อย่างก้าวกระโดดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้น ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเป็นโลก “Internet of things” ยังมีโอกาสที่จะเกิดภาคบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ภาคการออกแบบ ภาคมาร์เก็ตติ้ง ภาคการบริการหลังการขาย ฯลฯ ภาคบริการเหล่านี้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ด้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ภาคบริการเหล่านี้ต้องอาศัยแรงงานทักษะชั้นสูง
คำถามจึงอยู่ที่ว่า ประเทศรายได้ปานกลางมีความพร้อมที่จะแข่งขันในภาคบริการใหม่ๆ เหล่านี้หรือไม่? และจะปรับตัวอย่างไรจึงจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain ของอุตสาหกรรมโลกได้ โดยไม่ต้องหวังว่าจะมีใครย้ายโรงงานมาอีก?
คำแนะนำจากธนาคารโลก: พัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ 3 C
ธนาคารโลกได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศกำลังพัฒนาต้องไม่หลงงมงายว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมได้ง่ายๆ แบบในอดีต แต่ต้องหันมาใช้ยุทธศาสตร์ 3 C ได้แก่
Competitiveness: หาทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่เพิ่มดีมานด์สำหรับภาคบริการใหม่ๆ ในประเทศ (เช่น ส่งเสริม Mobile finance เพื่อให้คนซื้อบริการหลังการขายต่างๆ ได้ง่ายขึ้น) ส่งเสริมโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อเปิดให้มีการคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
Capabilities: หาทางเพิ่มศักยภาพแรงงาน เพื่อรองรับโลกยุค 4.0 เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ทักษะเกี่ยวกับการคิดและวางแผนเชิงกระบวนการธุรกิจ ทักษะการใช้ประโยชน์จาก Big Data ฯลฯ พร้อมๆ กับวางนโยบายในการพัฒนา Data Ecosystem ของประเทศ
Connectedness: พัฒนาระบบโลจิสติกส์และความเชื่อมโยง เพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain ของอุตสาหกรรมโลก (เช่น บุกเบิกภาคบริการที่ให้บริการอุตสาหกรรมเหล่านั้น) ลดการกีดกันทางการค้า และเปิดเสรีภาคบริการ รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของข้อมูลระหว่างประเทศ (Cross-border data flow)
คำเตือนจากธนาคารโลกถึงนักวางแผนยุทธศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาก็คือ ต้องประเมินความได้เปรียบของประเทศใหม่ โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและระบบธุรกิจโลกประกอบด้วย อย่ามองง่ายๆ แบบทฤษฎีในสมัยก่อน นอกจากนั้น การลอกเลียนแบบการยกระดับเทคโนโลยีของประเทศที่ใกล้เคียงในอดีตก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเขาอีกแล้ว
ในด้านหนึ่ง ประเทศกำลังพัฒนายังควรต้องยกระดับภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เลิกอุตสาหกรรมเสียหมด ดังเช่นที่ประเทศเอธิโอเปียพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และประเทศบราซิลพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้า แต่ก็ต้องตระหนักว่า การจะหวังดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับเป็นอุตสาหกรรมชั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังในอดีต โอกาสดูริบหรี่นัก
แนวทางยุทธศาสตร์ 3 C ของธนาคารโลก ดูเหมือนจะเน้นที่การส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยรวม และลงทุนในเรื่องพื้นฐาน เช่น การปฏิรูปกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีและระบบข้อมูล การพัฒนาศักยภาพแรงงานในระยะยาว มากกว่ายุทธศาสตร์อุตสาหกรรมในอดีตที่มักเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรายงานฉบับนี้มองว่า การผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศกำลังพัฒนานั้น ปัจจุบันวางแผนลำบาก และทำยากกว่าแต่ก่อนมาก
นอกจากนั้น ความหวังที่จะก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว เช่น ที่จีนและไทยเคยทำได้ช่วงหนึ่งจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในสมัยก่อน ก็คงทำไม่ได้อีกต่อไปในยุคสมัยใหม่ การพัฒนาต้องเน้นกระบวนการระยะยาวและเน้นที่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้นกว่าในอดีต
ข้อคิดสำคัญก็คือ ทฤษฎีการพัฒนาในอดีตดูเหมือนจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป การพัฒนาโดยเน้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิมดูท่าจะไปต่อได้ยากขึ้นทุกที ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเสาะหาทางเลือกและโอกาสใหม่ๆ ซึ่งต้องอาศัยปัญญา ความเข้าใจการปลี่ยนแปลงของโลก และการสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบใหม่ๆ
ถ้าวิเคราะห์กันดู โลกยุคใหม่นี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกอย่าง Alphabet, Facebook, Alibaba, หรือ Tencent ไม่มีบริษัทไหนอยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตสักบริษัท เอาเข้าจริง โลกยุคใหม่มีโอกาสมหาศาลที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสะสมทุน โดยไม่ต้องทำโรงงานผลิตของเยอะๆ อย่างในอดีต
เป็นประเทศกำลังพัฒนาในยุคนี้ยากลำบากแน่ ถ้าเรายังไม่สลัดกรอบคิดเดิม ฝึกคิด และยอมปล่อยให้คนคิดนอกกรอบกันมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://thaipublica.org/2017/12/arm-tungnirun12/
คำแนะนำจากธนาคารโลก: พัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ 3 C
2 ธันวาคม 2017
อาร์ม ตั้งนิรันดร
แรงงานพม่ามาต้อนรับ อองซาน ซูจี ที่มาภาพ : http://www.thairath.co.th
แรงงานพม่าที่ศูนย์กลางค้ากุ้ง จ.สมุทรสาคร ที่มาภาพ : http://www.thairath.co.th
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สูตรสำเร็จหนึ่งของการพัฒนาประเทศก็คือ การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพราะสามารถดูดซับแรงงาน ยกระดับเทคโนโลยี และเพิ่มผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
ยิ่งเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่า ประเทศที่สามารถขยับจาก “ประเทศยากจน” ไปเป็น “ประเทศร่ำรวย” ล้วนทำได้ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ยกเว้นจะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันในตะวันออกกลาง หรือเป็นเมืองท่าขนาดเล็กอย่างสิงคโปร์
แต่งานวิจัยล่าสุดของธนาคารโลก ชื่อ Trouble in the Making? The Future of Manufacturing-Led Development (https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/27946/9781464811746.pdf) ได้ตั้งคำถามชวนคิดว่า หนทางการพัฒนาประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมยังเป็นไปได้อยู่อีกหรือ?
อวสานของอุตสาหกรรมการผลิต
เมื่ออ่านรายงานของธนาคารโลก จะพบว่า การเป็น “ประเทศกำลังพัฒนา” ในยุคนี้ช่างยากลำบากนัก เพราะนับวันการพัฒนาอุตสาหกรรมยิ่งทำได้ยากขึ้นทุกที สาเหตุ ได้แก่
ปัจจัย “จีน”: ปัจจุบัน ประเทศร่ำรวยผลิตสินค้า 60% ของโลก และจีนผลิตอีก 25% แล้วยังจะเหลือช่องให้ประเทศอื่นๆ พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอีกหรือ?
การค้าโลกหดตัว: ดีมานด์การบริโภคจากประเทศร่ำรวยหดตัวลง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว นอกจากนั้น เทคโนโลยียุคใหม่ยังทำให้บริษัทในประเทศร่ำรวยสามารถผลิตสินค้าสำหรับบริโภคในประเทศตนเองด้วยต้นทุนที่ต่ำ ดังนั้น ยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาจึงทำได้ยากขึ้นทุกที จากสถิติพบว่า อัตราการเติบโตของการค้าโลกลดลงจาก 12.5% ในปี ค.ศ. 2010 เหลือเพียง 2.5% ในปี ค.ศ. 2016
โรงงานยุคใหม่ ไม่ใช้ “แรงงาน”: ในอดีต เมื่อถ่ายโอนแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ย่อมทำให้แรงงานเหล่านั้นสามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้ขึ้นมาอย่างชัดเจน แต่ด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรและหุ่นยนต์สมัยใหม่ จึงแทบไม่จำเป็นต้องใช้คนงานในโรงงานแล้ว การพัฒนาอุตสาหกรรมจึงไม่ทำให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาผลิตภาพแรงงาน
ค่าแรงราคาถูกไม่ดึงดูดนักลงทุนอีกต่อไป: เมื่อโรงงานยุคใหม่ไม่ใช้แรงงาน ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องย้ายโรงงานไปยังประเทศที่ค่าแรงถูกดังในอดีต ในปัจจุบัน บริษัทในประเทศร่ำรวยหลายแห่งกลับเลือกสร้างโรงงานภายในประเทศตนเอง เพื่อให้ใกล้กับผู้บริโภค ลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์
หลายบริษัทยังคงฐานการผลิตในประเทศเดิมที่ตนเคยลงทุนไว้ เพราะได้วางกระบวนการผลิตชิ้นส่วน การประกอบชิ้นส่วน และการจัดส่งไว้ดีแล้ว จนทำให้การย้ายไปประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าไม่คุ้มค่า
ส่วนในประเทศจีนที่ค่าแรงเริ่มปรับสูงขึ้น โรงงานหลายแห่งในจีนก็เริ่มลงทุนสร้างโรงงานไฮเทคเพื่อแก้ปัญหาค่าแรงและการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของจีน โดยในปี ค.ศ. 2018 โรงงานภายในจีนจะใช้หุ่นยนต์แทนคนงานเดิมถึง 400,000 คน ดังนั้น ความคิดที่ว่าโรงงานจะค่อยๆ ย้ายฐานออกจากจีนไปยังประเทศที่ยากจนกว่าจึงดูเหมือนจะไม่เกิดขึ้น
ประเทศรายได้ปานกลางยิ่งลำบาก
รายงานของธนาคารโลกยังมองโลกในแง่ดี โดยบอกว่าประเทศยากจนยังพอมีความหวัง เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอยังนิยมใช้แรงงานค่าแรงราคาถูกมากกว่าเปลี่ยนไปใช้หุ่นยนต์ ดังจะเห็นว่า โรงงานสิ่งทอจำนวนมากในจีนย้ายไปตั้งฐานการผลิตในประเทศในเอธิโอเปีย (มูลค่าการลงทุน 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2016-2017 และสินค้า H&M ส่วนใหญ่ผลิตที่นี่) ดังนั้น ประเทศยากจนยังมีโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่บ้าง
แต่ที่ดูจะลำบากหนักกลับเป็นประเทศรายได้ปานกลาง (เช่น ไทย) เพราะในภาคอุตสาหกรรมพื้นฐาน ค่าแรงเราแข่งขันสู้ประเทศยากจนไม่ได้ ส่วนในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรเป็นหลัก ก็ไม่มีใครคิดย้ายฐานการผลิตมาไทย แตกต่างจากในยุคก่อน ที่โรงงานเทคโนโลยีปานกลางในญี่ปุ่นยังย้ายฐานมาไทยเพราะค่าแรงไทยถูกกว่าญี่ปุ่น จนไทยค่อยๆ ยกระดับภาคการผลิตขึ้นมาได้
ธนาคารโลกยังพยายามมองโลกในแง่ดีต่อไป โดยชี้ให้เห็นโอกาสที่ยังเหลืออยู่ เช่น ประเทศรายได้ปานกลางยังสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าได้ ตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น บราซิล ซึ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แปรรูปสินค้าจากไม้ และผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้อย่างก้าวกระโดดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้น ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเป็นโลก “Internet of things” ยังมีโอกาสที่จะเกิดภาคบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ภาคการออกแบบ ภาคมาร์เก็ตติ้ง ภาคการบริการหลังการขาย ฯลฯ ภาคบริการเหล่านี้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ด้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ภาคบริการเหล่านี้ต้องอาศัยแรงงานทักษะชั้นสูง
คำถามจึงอยู่ที่ว่า ประเทศรายได้ปานกลางมีความพร้อมที่จะแข่งขันในภาคบริการใหม่ๆ เหล่านี้หรือไม่? และจะปรับตัวอย่างไรจึงจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain ของอุตสาหกรรมโลกได้ โดยไม่ต้องหวังว่าจะมีใครย้ายโรงงานมาอีก?
คำแนะนำจากธนาคารโลก: พัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ 3 C
ธนาคารโลกได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศกำลังพัฒนาต้องไม่หลงงมงายว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมได้ง่ายๆ แบบในอดีต แต่ต้องหันมาใช้ยุทธศาสตร์ 3 C ได้แก่
Competitiveness: หาทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่เพิ่มดีมานด์สำหรับภาคบริการใหม่ๆ ในประเทศ (เช่น ส่งเสริม Mobile finance เพื่อให้คนซื้อบริการหลังการขายต่างๆ ได้ง่ายขึ้น) ส่งเสริมโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อเปิดให้มีการคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
Capabilities: หาทางเพิ่มศักยภาพแรงงาน เพื่อรองรับโลกยุค 4.0 เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ทักษะเกี่ยวกับการคิดและวางแผนเชิงกระบวนการธุรกิจ ทักษะการใช้ประโยชน์จาก Big Data ฯลฯ พร้อมๆ กับวางนโยบายในการพัฒนา Data Ecosystem ของประเทศ
Connectedness: พัฒนาระบบโลจิสติกส์และความเชื่อมโยง เพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain ของอุตสาหกรรมโลก (เช่น บุกเบิกภาคบริการที่ให้บริการอุตสาหกรรมเหล่านั้น) ลดการกีดกันทางการค้า และเปิดเสรีภาคบริการ รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของข้อมูลระหว่างประเทศ (Cross-border data flow)
คำเตือนจากธนาคารโลกถึงนักวางแผนยุทธศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาก็คือ ต้องประเมินความได้เปรียบของประเทศใหม่ โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและระบบธุรกิจโลกประกอบด้วย อย่ามองง่ายๆ แบบทฤษฎีในสมัยก่อน นอกจากนั้น การลอกเลียนแบบการยกระดับเทคโนโลยีของประเทศที่ใกล้เคียงในอดีตก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเขาอีกแล้ว
ในด้านหนึ่ง ประเทศกำลังพัฒนายังควรต้องยกระดับภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เลิกอุตสาหกรรมเสียหมด ดังเช่นที่ประเทศเอธิโอเปียพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และประเทศบราซิลพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้า แต่ก็ต้องตระหนักว่า การจะหวังดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับเป็นอุตสาหกรรมชั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังในอดีต โอกาสดูริบหรี่นัก
แนวทางยุทธศาสตร์ 3 C ของธนาคารโลก ดูเหมือนจะเน้นที่การส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยรวม และลงทุนในเรื่องพื้นฐาน เช่น การปฏิรูปกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างด้านเทคโนโลยีและระบบข้อมูล การพัฒนาศักยภาพแรงงานในระยะยาว มากกว่ายุทธศาสตร์อุตสาหกรรมในอดีตที่มักเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรายงานฉบับนี้มองว่า การผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศกำลังพัฒนานั้น ปัจจุบันวางแผนลำบาก และทำยากกว่าแต่ก่อนมาก
นอกจากนั้น ความหวังที่จะก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว เช่น ที่จีนและไทยเคยทำได้ช่วงหนึ่งจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในสมัยก่อน ก็คงทำไม่ได้อีกต่อไปในยุคสมัยใหม่ การพัฒนาต้องเน้นกระบวนการระยะยาวและเน้นที่ปัจจัยพื้นฐานมากขึ้นกว่าในอดีต
ข้อคิดสำคัญก็คือ ทฤษฎีการพัฒนาในอดีตดูเหมือนจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป การพัฒนาโดยเน้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิมดูท่าจะไปต่อได้ยากขึ้นทุกที ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเสาะหาทางเลือกและโอกาสใหม่ๆ ซึ่งต้องอาศัยปัญญา ความเข้าใจการปลี่ยนแปลงของโลก และการสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบใหม่ๆ
ถ้าวิเคราะห์กันดู โลกยุคใหม่นี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกอย่าง Alphabet, Facebook, Alibaba, หรือ Tencent ไม่มีบริษัทไหนอยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตสักบริษัท เอาเข้าจริง โลกยุคใหม่มีโอกาสมหาศาลที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสะสมทุน โดยไม่ต้องทำโรงงานผลิตของเยอะๆ อย่างในอดีต
เป็นประเทศกำลังพัฒนาในยุคนี้ยากลำบากแน่ ถ้าเรายังไม่สลัดกรอบคิดเดิม ฝึกคิด และยอมปล่อยให้คนคิดนอกกรอบกันมากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้