สวัสดีค่ะ กระทู้นี้จะเป็นบันทึกเดินทางจากการtrekking ที่ประเทศเนปาลเส้นทาง EBC และ Gokyo Lake ในช่วงเดือนเมษายน 2560 ที่ผ่านมา นี่ไม่ใช่การ trekking ครั้งแรกที่เนปาลของเรา เมื่อสองปีที่แล้วเราไป trekking เส้นทาง ABCมาแล้ว ครั้งนั้นโดนAMS (Acute Mountain Sickness) เล่นงาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เมื่อไปถึง ABC มีอาการคลื่นไส้ กินอะไรเข้าไปก็อาเจียนออกหมดเลย มันรู้สึกแย่มากๆ เรานอนร้องไห้ทุกคืน ตอนนอนหัวใจเต้นแรงมากจนตื่นมากลางดึกเพราะเสียงหัวใจ ง่วงนอนมากตั้งแต่ตอนเดิน แต่ยังไม่ถึงขั้นปวดหัวรุนแรง ถ้าถึงขั้นนั้นถือว่าอันตรายมากค่ะ ต้องรีบลงจากที่สูงโดยด่วน ตอนขาลงใช่ว่าอาการจะดีขึ้น คลื่นไส้ตลอดยิ่งเดินลงแล้วมันจะกระแทกยิ่งคลื่นไส้หนัก รู้สึกแย่มากๆ ในระหว่างเดินก็คิดทบทวนตัวเองว่ามาทำอะไรที่นี่ ทำไมต้องพาตัวเองมาลำบาก หรือการ trekking ที่แท้จริงแล้วมันคงไม่เหมาะกับเรา เราคงจะเลิกเดินป่าขึ้นเขาแล้วหลังจากนี้ นั่นมันเป็นความคิดของคนเหนื่อยและป่วยในตอนนั้น พอกลับมาจากเนปาลครั้งนั้นเรากลับคิดถึงหิมาลัยตลอดเวลา อยากจะกลับไปอย่างบ้าคลั่ง(เว่อไป) แต่ถ้าจะกลับไปจะต้องกลับไปอย่างผู้ชนะ(AMS) อยากจะเห็น Everest ของจริงด้วยตาตัวเองซักครั้ง EBC ต้องมาเจอกันซักตั้งม๊า!! หึๆ
หลังจากครั้งนั้นก็เริ่มวางแผนหาข้อมูล อ่านกระทู้ หนังสือ จัดสรรเวลา วันลา เงิน และที่สำคัญเลยคือร่างกาย บทเรียนจากครั้งก่อนทำให้รู้ว่าเราเตรียมตัวไม่พอ เพราะนอกจากจะป่วยแล้วยังเดินรั้งท้ายตลอดเลย จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นคนแข็งแรง ไม่ชอบออกกำลังกาย แต่ชอบเดินป่าขึ้นเขามากกก ฮ่าๆ
ในส่วนของการเตรียมตัวในครั้งนี้ ด้านร่างกาย จากที่ไม่เคยวิ่งเลยและไม่ชอบการวิ่งมากๆ คือวิ่งได้ไม่ถึงร้อยเมตรก็หอบละ จึงไปถอยรองเท้าวิ่งมาฝึกวิ่งเพราะอยากให้เดินได้ทนมากขึ้น ไม่อยากเดินรั้งท้ายอีก จนวิ่งได้ต่อเนื่องนานขึ้น สควอชบ้างประปรายตามอารมณ์ ในส่วนการป้องกันอาการ AMS นั้น ก็ต้องขอบคุณเพจหมอๆตะลุยโลกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะที่ให้ข้อมูล เรากิน Diamox 250 mg (Diamox เป็นชื่อการค้า ชื่อตัวยาจริงๆคือ Acetazolamide) เช้า-เย็น ก่อนจะเริ่มขึ้นระดับความสูงมากกว่า 2000m จากระดับน้ำทะเลหนึ่งวัน และกินต่อเนื่องจนกว่าจะลงจากที่สูงที่สุดที่ขึ้นไป แน่นอนว่าหลังจากที่กินยานี้จะทำให้เราฉี่บ่อยขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงจากยาที่พบก็คือมีมึนชาที่ปลายมือปลายเท้าบ้าง(แต่จริงๆก็แยกไม่ออกว่าชาจากยาหรือจากอากาศหนาว) ข้อควรระวังที่สำคัญเลยคือคนที่แพ้ซัลฟาไม่ควรกิน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง นอกจาก Diamox แล้ว เรายังกินใบแปะก๊วยแคปซูลด้วยก่อนจะเดินทางประมาณหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากไปอ่านเจอว่ามันช่วยป้องกันได้โดยการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง แต่การกินใบแปะก๊วยก็ต้องระวังในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาในกลุ่มป้องกันลิ่มเลือดอุดตันเป็นประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ว่ากินยาป้องกันแล้วจะไม่เป็น AMS 100% คนที่ไม่กินยาป้องกันแล้วไม่เป็น AMS ก็มี แต่สำหรับเราแล้วอะไรที่ป้องกันได้เราทำหมด เพราะว่าการกลับมาครั้งนี้เราจะต้องเอาชนะมันให้ได้ หึๆ นอกจากกินยาแล้วระหว่างการ trekking ต้องทำตัวให้อบอุ่นตลอดเวลา เดินช้าๆ กินน้ำมากๆ และฉี่บ่อยๆ (การฉี่บ่อยๆนี่เป็นปัญหามากเลยนะ แต่ผ่านช่วงแรกๆไปได้เดี๋ยวก็ชิน ฮ่าๆ )
มาเข้าเรื่องกันซักที ในส่วนการเดินทาง เราอยู่ที่เนปาลทั้งหมด 19 วัน คือวันที่ 1-19 เมษายน 2560 เป็นช่วงไฮท์ซีซั่นพอดี จะพบเจอคนไทยเป็นส่วนมากที่เนปาลในช่วงนี้ เราเลือกการเดินทางผ่านเอเจนซี่จากไทย เพราะด้วยความที่ต้องการความสะดวกไม่ต้องจองโน่นนี่นั่นเอง หรือเอาง่ายๆคือให้จองเองคงยากเพราะสกิลด้านภาษาเราแย่ แต่เลือกจองตั๋วไปเนปาลเอง เพราะได้ตั๋วช่วงโปรโมชั่นของการบินไทยไป-กลับ ประมาณ 11,000 บาท ทริปนี้ไปพร้อมกับคนแปลกหน้าที่เพิ่งมารู้จักกันที่สนามบินก่อนเดินทางทั้งหมดหกคนซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมดจึงขอเรียกว่าเกิล์ลกรุ๊ป เราว่าการที่เราไม่รู้จักใครมาก่อนมันก็สนุกดีนะ ได้ลุ้นดี ถือว่าเป็นโชคดีของเราที่ได้เพื่อนร่วมทางที่ดีค่ะ ทุกคนน่ารักเป็นกันเอง ง่ายๆ ไม่งอแง ช่วยเหลือกันมาตลอด
เราเลือกเส้นทาง EBC ซึ่งเดินทางรูทปกติทั่วไปที่ใคร ๆ ก็เลือกแต่ที่เพิ่มเติมคือทะเลสาป Gokyo แบบผ่านแค่ 1 pass คือ Renjo La pass หลายคนจะเลือกไป Gokyo โดยผ่าน Cho La pass ซึ่งมันอันตรายและคงไม่เหมาะกับเกิล์ลกรุ๊ปอย่างพวกเรา
แผนการเดินทาง
วันที่ 1 สุวรรณภูมิ-Kathmandu
วันที่ 2 Kathmandu-Lukla-Monjo
วันที่ 3 Monjo-Namche Bazarr
วันที่ 4 Namche Bazarr (Aclamatization Day)
วันที่ 5 Namche Bazar – Deboche
วันที่ 6 Deboche- Dingboche
วันที่ 7 Dingboche (Aclamatization Day)
วันที่ 8 Dingboche – Lobuche
วันที่ 9 Lobuche-Gorakshep – EBC –Gorakshep
วันที่ 10 Gorakshep – Pheriche
วันที่ 11 Pheriche-Phortse
วันที่ 12 Phortse – Machhermo
วันที่ 13 Machhermo – Gokyo
วันที่ 14 Gokyo – Lumde
วันที่ 15 Lumde – Namche Bazarr
วันที่ 16 Namche Bazarr- Lukla
วันที่ 17 Lukla – Kathmandu
วันที่ 18 Kathmandu
วันที่ 19 Kathmandu – BKK
หลายๆกระทู้หรือหลายๆคำแนะนำจะบอกไว้ว่าต้องเผื่อวันไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินที่เครื่องบินไม่สามารถบินไปหรือกลับจาก Lukla ได้ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งอาจทำให้วันเดินทางไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ความหวังแรกของทริปนี้ก็คือ ขอให้ได้บินไป Lukla ตามแผนด้วยเถิ้ดดดด เพี๊ยงงง
แผนที่การเดินทางของเราในครั้งนี้
บันทึกการเดินทาง
วันที่ 1 สุวรรณภูมิ (sea level) - Kathmandu(1,317)
วันนี้ไม่ได้มีอะไรมาก เรามาถึงเนปาลก็มีไกด์กับเอเจนซี่ที่เนปาลมารับไปที่โรงแรม เก็บของเข้าที่พักแล้วเดินไปนั่งจิบชา ซื้อของ แลกเงิน ซื้อซิมที่ย่าน Thamel ที่พักจะอยู่ใกล้ Thamel ย่านนี้จะเป็นศูนย์รวม Trekker จากทั่วทุกมุมโลก เราซื้อซิมไว้ติดต่อกับทางบ้านเพื่อรายงานสถานการณ์ว่ายังมีชีวิตอยู่ ซิม+DATA 1 GB (30 วัน) ราคา 600 รูปี ต้องใช้สำเนาพาสปอร์ตและรูปถ่าย 1 รูปในการซื้อซิมที่นี่ด้วย ส่วนของใช้ในการ Trekking ที่นี่มีทุกอย่าง ถ้าขาดเหลืออะไรก็มาซื้อที่นี่ได้
วันที่ 2 Kathmandu-Lukla(2840m)-Monjo (2835m)
วันแรกของการเริ่มต้น trekking ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ ออกจากที่พัก 4.45 ไปสนามบินตรีภูวันในส่วนภายในประเทศ คนเยอะมาก พร้อมกับสัมภาระเยอะเยอะมากมาย สัมภาระที่เราพกไปส่วนที่จะให้ลูกหาบแบกจะถูกถ่ายเทใส่ Duffle ที่ทางเอเจนซี่เตรียมไว้ให้ และน้ำหนักสัมภาระทั้งหมดที่นำขึ้นเครื่องบินจะต้องไม่เกิน 15 kg.ต่อคน ส่วนสัมภาระที่เราแบกเองใน oneday pack คือกล้องถ่ายรูป แบตสำรอง พาวเวอร์แบงค์ ของใช้จำเป็นระหว่างเดินทาง ขวดน้ำ และพวกยาต่างๆที่คิดว่าจำเป็น กล้องถ่ายรูปที่เราใช้คือ Sony a7ii เลนส์ fe 24-240 เป็นเลนส์ติดกล้อง เอาแบบเลนส์ตัวเดียวจบงี้ ไม่อยากเปลี่ยนบ่อย แต่มันก็จะหนักๆหน่อย และเลนส์อีกตัวที่เอาไป fe28f2 ไว้ถ่ายดาวตอนกลางคืน ที่สำคัญมันเล็กดี กลับมาที่สนามบินตรีภูวันเป็น สนามบินที่นี่มีลิงเข้าไปวิ่งเล่นด้วย สัมภาระทุกชิ้นก็ต้องผ่านเครื่องสแกน ตั๋วเครื่องบินมีเพียงชื่อไฟลท์ที่เป็นเลขสามตัวและชื่อสายการบิน ไม่มีการตรวจเชคพาสปอร์ต เราก็อุตส่าเอามาถือเตรียมไว้ ตอนอยู่สนามบินเราภาวนาอย่างเดียวขอให้ได้บินด้วยเถิด ดูจากสภาพอากาศข้างนอกก็หวั่นใจมากๆเพราะเมฆครึ้มเชียว ฝนก็ตกปรอยๆ พอได้ยินเสียงประกาศก็โล่งอกไปที ได้บินแล้วววว เครื่องบินที่พาเราไปยัง Lukla เป็นเครื่องบินลำเล็ก มีผู้โดยสารประมาณ 20 คน เลือกที่นั่งกันเอง ใครได้ขึ้นก่อนก็ได้เลือกก่อน ถ้าได้นั่งฝั่งซ้ายมือจะได้เห็นวิวเทือกเขาหิมาลัยอย่างเต็มตา เราเลือกไม่ทันได้แต่ชะเง้อคอมองดูตาปริบๆ ไม่นานเราก็มาถึง Lukla ความระทึกมันอยู่ตรงนี้ ตอนเครื่องจะ Landing มันวูบวาบมาก พอเครื่องแตะรันเวย์กัปตันก็เหยียบเบรกอย่างไวพร้อมกับเลี้ยวเข้าจอดในทันที ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนบ้าไปแล้ว นั่งจิกเบาะตัวเกร็งอย่างหนัก พอเครื่องหยุด แอร์พูดอะไรซักอย่างที่เราฟังออกแค่คำว่าแต๊งกิ้ว แล้วทุกคนในเครื่องก็ปรบมือให้กับกัปตันที่พามาถึงได้อย่างปลอดภัย
เรามาถึงประมาณ 7 โมงเช้า นั่งจิบชาที่ Lodge ใกล้ๆสนามบินระหว่างรอให้ลูกหาบจัดสรรสัมภาระ ลูกหาบของกรุ๊ปเรามีแต่วัยกระเตาะ อายุ 18-19 ปี เริ่ม trekking จริงๆตอนแปดโมง ทางเดินชิวมากๆ เดินลงเรื่อยๆไม่ชันไปจนถึง Phakding ซึ่งแพลนตอนแรกว่าจะพักกันที่นี่คืนนี้ แต่เรามาถึงเที่ยงพอดีก็ไว้แค่แวะกินข้าว และไปนอนที่หมู่บ้านถัดๆไป คือ Monjo การ trekking บนที่สูงจะต้องกินน้ำเยอะๆ ประมาณวันละ 2-3ลิตรต่อวัน เนื่องจากที่เรากิน Diamox และเมื่อกินน้ำเยอะก็จะเริ่มปวดฉี่ จึงบอกไกด์ว่าหาที่พักฉี่ ไกด์ชี้ไปที่ป่า เราก็ลังเลว่าจะเข้าดีไหม๊ แต่ไกด์บอกว่าที่นี่บนป่าบนเขานะยู มีแต่ห้องน้ำแบบธรรมชาติ ยูไม่ต้องอาย มันเป็นธรรมดาที่ยูจะเข้าห้องน้ำธรรมชาติแบบนี้ ทางเราก็เอาก็เอาว่ะ เดินไปตามทางที่ไกด์ชี้บอกเข้าไปบนเนินป่า แล้วพบว่ามีซากอารยธรรมเก่าๆของคนก่อนๆมาปล่อยทิ้งไว้ และเท้าของเราได้ไปเหยียบเข้ากับซากอารยธรรมเหล่านั้นแบบเต็มพื้นรองเท้าT_T พอมองลงไปทางเดิน คือคนที่เดินผ่านไปมามองขึ้นมาต้องเห็นแน่ๆ ก็เลยเปลี่ยนใจไม่กล้าฉี่ตรงนั้น ตัดสินใจกลั้นต่อไปแล้วขอไปเข้าห้องน้ำของชาวบ้านที่หมู่บ้านดีกว่า เราจึงขอรีบเดินไปก่อนพร้อมกับไกด์อีกคน เรียกว่าเป็นผู้ช่วยไกด์ดีกว่าชื่อเชวัง อายุ 18 ปี ด้วยความที่เชวังอายุยังน้อยและเป็นคนขี้อาย ทุกคนในทริปจะเอ็นดูเชวังมาก พูดภาษาอังกฤษได้แบบงูๆปลาๆพอๆกะเรา พอมาถึงหมู่บ้าน เชวังชี้ไปที่ห้องน้ำ ที่อยู่นอกตัวบ้าน มีฝากั้นและประตูต้องใช้มือยกมาปิด ไม่มีกลอนล๊อค ต้องใช้แขนโน้มตัวไปดันไว้ ส่วนตัวส้วมเป็นแผ่นไม้ที่มีเพียงรูตรงกลางให้ปล่อยซากอารยธรรมให้ไปทับถมกันไปและมีฟางกลบขึ้นมาเรื่อยๆ ในส่วนกลิ่นนั้นไม่ต้องพูดถึง แต่ก็เอาว่ะ อย่างน้อยก็มีฝากั้น ไม่มีน้ำราด ทิชชู่และทิชชู่เปียกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ
ทางเดินหลังจาก Phakding ไปนี้ จะเป็นทางเดินขึ้นสลับเดินลง มีดอกซากุระให้ชื่นชมตลอดทางเดิน เรามาถึง Monjo ประมาณสี่โมงครึ่ง
เชวัง ผู้ช่วยไกด์วัยกระเตาะ
สาวน้อยและลูกหมาของเธอ
สัญญาณโทรศัพท์มีบ้างไม่มีบ้าง ขาดๆหายแล้วแต่หมู่บ้าน
Cherry Blossom มีให้ชื่นชมตลอดทางเดินในวันนี้
เด็กน้อยทีแรกขอถ่ายรูปก็ทำท่าอิดออด แต่พอเอาแปรงสีฟันให้เท่านั้นแหละ ยิ้มหวานเชียว
เหล่าลูกหาบวัยกระเตาะ
แม่น้ำสีเทวอคอยซ์
บันทึกการเดินทาง EBC-Gokyo trekking
สวัสดีค่ะ กระทู้นี้จะเป็นบันทึกเดินทางจากการtrekking ที่ประเทศเนปาลเส้นทาง EBC และ Gokyo Lake ในช่วงเดือนเมษายน 2560 ที่ผ่านมา นี่ไม่ใช่การ trekking ครั้งแรกที่เนปาลของเรา เมื่อสองปีที่แล้วเราไป trekking เส้นทาง ABCมาแล้ว ครั้งนั้นโดนAMS (Acute Mountain Sickness) เล่นงาน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลังจากครั้งนั้นก็เริ่มวางแผนหาข้อมูล อ่านกระทู้ หนังสือ จัดสรรเวลา วันลา เงิน และที่สำคัญเลยคือร่างกาย บทเรียนจากครั้งก่อนทำให้รู้ว่าเราเตรียมตัวไม่พอ เพราะนอกจากจะป่วยแล้วยังเดินรั้งท้ายตลอดเลย จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นคนแข็งแรง ไม่ชอบออกกำลังกาย แต่ชอบเดินป่าขึ้นเขามากกก ฮ่าๆ
ในส่วนของการเตรียมตัวในครั้งนี้ ด้านร่างกาย จากที่ไม่เคยวิ่งเลยและไม่ชอบการวิ่งมากๆ คือวิ่งได้ไม่ถึงร้อยเมตรก็หอบละ จึงไปถอยรองเท้าวิ่งมาฝึกวิ่งเพราะอยากให้เดินได้ทนมากขึ้น ไม่อยากเดินรั้งท้ายอีก จนวิ่งได้ต่อเนื่องนานขึ้น สควอชบ้างประปรายตามอารมณ์ ในส่วนการป้องกันอาการ AMS นั้น ก็ต้องขอบคุณเพจหมอๆตะลุยโลกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะที่ให้ข้อมูล เรากิน Diamox 250 mg (Diamox เป็นชื่อการค้า ชื่อตัวยาจริงๆคือ Acetazolamide) เช้า-เย็น ก่อนจะเริ่มขึ้นระดับความสูงมากกว่า 2000m จากระดับน้ำทะเลหนึ่งวัน และกินต่อเนื่องจนกว่าจะลงจากที่สูงที่สุดที่ขึ้นไป แน่นอนว่าหลังจากที่กินยานี้จะทำให้เราฉี่บ่อยขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงจากยาที่พบก็คือมีมึนชาที่ปลายมือปลายเท้าบ้าง(แต่จริงๆก็แยกไม่ออกว่าชาจากยาหรือจากอากาศหนาว) ข้อควรระวังที่สำคัญเลยคือคนที่แพ้ซัลฟาไม่ควรกิน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง นอกจาก Diamox แล้ว เรายังกินใบแปะก๊วยแคปซูลด้วยก่อนจะเดินทางประมาณหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากไปอ่านเจอว่ามันช่วยป้องกันได้โดยการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง แต่การกินใบแปะก๊วยก็ต้องระวังในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาในกลุ่มป้องกันลิ่มเลือดอุดตันเป็นประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่ว่ากินยาป้องกันแล้วจะไม่เป็น AMS 100% คนที่ไม่กินยาป้องกันแล้วไม่เป็น AMS ก็มี แต่สำหรับเราแล้วอะไรที่ป้องกันได้เราทำหมด เพราะว่าการกลับมาครั้งนี้เราจะต้องเอาชนะมันให้ได้ หึๆ นอกจากกินยาแล้วระหว่างการ trekking ต้องทำตัวให้อบอุ่นตลอดเวลา เดินช้าๆ กินน้ำมากๆ และฉี่บ่อยๆ (การฉี่บ่อยๆนี่เป็นปัญหามากเลยนะ แต่ผ่านช่วงแรกๆไปได้เดี๋ยวก็ชิน ฮ่าๆ )
มาเข้าเรื่องกันซักที ในส่วนการเดินทาง เราอยู่ที่เนปาลทั้งหมด 19 วัน คือวันที่ 1-19 เมษายน 2560 เป็นช่วงไฮท์ซีซั่นพอดี จะพบเจอคนไทยเป็นส่วนมากที่เนปาลในช่วงนี้ เราเลือกการเดินทางผ่านเอเจนซี่จากไทย เพราะด้วยความที่ต้องการความสะดวกไม่ต้องจองโน่นนี่นั่นเอง หรือเอาง่ายๆคือให้จองเองคงยากเพราะสกิลด้านภาษาเราแย่ แต่เลือกจองตั๋วไปเนปาลเอง เพราะได้ตั๋วช่วงโปรโมชั่นของการบินไทยไป-กลับ ประมาณ 11,000 บาท ทริปนี้ไปพร้อมกับคนแปลกหน้าที่เพิ่งมารู้จักกันที่สนามบินก่อนเดินทางทั้งหมดหกคนซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมดจึงขอเรียกว่าเกิล์ลกรุ๊ป เราว่าการที่เราไม่รู้จักใครมาก่อนมันก็สนุกดีนะ ได้ลุ้นดี ถือว่าเป็นโชคดีของเราที่ได้เพื่อนร่วมทางที่ดีค่ะ ทุกคนน่ารักเป็นกันเอง ง่ายๆ ไม่งอแง ช่วยเหลือกันมาตลอด
เราเลือกเส้นทาง EBC ซึ่งเดินทางรูทปกติทั่วไปที่ใคร ๆ ก็เลือกแต่ที่เพิ่มเติมคือทะเลสาป Gokyo แบบผ่านแค่ 1 pass คือ Renjo La pass หลายคนจะเลือกไป Gokyo โดยผ่าน Cho La pass ซึ่งมันอันตรายและคงไม่เหมาะกับเกิล์ลกรุ๊ปอย่างพวกเรา
แผนการเดินทาง
วันที่ 1 สุวรรณภูมิ-Kathmandu
วันที่ 2 Kathmandu-Lukla-Monjo
วันที่ 3 Monjo-Namche Bazarr
วันที่ 4 Namche Bazarr (Aclamatization Day)
วันที่ 5 Namche Bazar – Deboche
วันที่ 6 Deboche- Dingboche
วันที่ 7 Dingboche (Aclamatization Day)
วันที่ 8 Dingboche – Lobuche
วันที่ 9 Lobuche-Gorakshep – EBC –Gorakshep
วันที่ 10 Gorakshep – Pheriche
วันที่ 11 Pheriche-Phortse
วันที่ 12 Phortse – Machhermo
วันที่ 13 Machhermo – Gokyo
วันที่ 14 Gokyo – Lumde
วันที่ 15 Lumde – Namche Bazarr
วันที่ 16 Namche Bazarr- Lukla
วันที่ 17 Lukla – Kathmandu
วันที่ 18 Kathmandu
วันที่ 19 Kathmandu – BKK
หลายๆกระทู้หรือหลายๆคำแนะนำจะบอกไว้ว่าต้องเผื่อวันไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินที่เครื่องบินไม่สามารถบินไปหรือกลับจาก Lukla ได้ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งอาจทำให้วันเดินทางไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ความหวังแรกของทริปนี้ก็คือ ขอให้ได้บินไป Lukla ตามแผนด้วยเถิ้ดดดด เพี๊ยงงง
แผนที่การเดินทางของเราในครั้งนี้
บันทึกการเดินทาง
วันที่ 1 สุวรรณภูมิ (sea level) - Kathmandu(1,317)
วันนี้ไม่ได้มีอะไรมาก เรามาถึงเนปาลก็มีไกด์กับเอเจนซี่ที่เนปาลมารับไปที่โรงแรม เก็บของเข้าที่พักแล้วเดินไปนั่งจิบชา ซื้อของ แลกเงิน ซื้อซิมที่ย่าน Thamel ที่พักจะอยู่ใกล้ Thamel ย่านนี้จะเป็นศูนย์รวม Trekker จากทั่วทุกมุมโลก เราซื้อซิมไว้ติดต่อกับทางบ้านเพื่อรายงานสถานการณ์ว่ายังมีชีวิตอยู่ ซิม+DATA 1 GB (30 วัน) ราคา 600 รูปี ต้องใช้สำเนาพาสปอร์ตและรูปถ่าย 1 รูปในการซื้อซิมที่นี่ด้วย ส่วนของใช้ในการ Trekking ที่นี่มีทุกอย่าง ถ้าขาดเหลืออะไรก็มาซื้อที่นี่ได้
วันที่ 2 Kathmandu-Lukla(2840m)-Monjo (2835m)
วันแรกของการเริ่มต้น trekking ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ ออกจากที่พัก 4.45 ไปสนามบินตรีภูวันในส่วนภายในประเทศ คนเยอะมาก พร้อมกับสัมภาระเยอะเยอะมากมาย สัมภาระที่เราพกไปส่วนที่จะให้ลูกหาบแบกจะถูกถ่ายเทใส่ Duffle ที่ทางเอเจนซี่เตรียมไว้ให้ และน้ำหนักสัมภาระทั้งหมดที่นำขึ้นเครื่องบินจะต้องไม่เกิน 15 kg.ต่อคน ส่วนสัมภาระที่เราแบกเองใน oneday pack คือกล้องถ่ายรูป แบตสำรอง พาวเวอร์แบงค์ ของใช้จำเป็นระหว่างเดินทาง ขวดน้ำ และพวกยาต่างๆที่คิดว่าจำเป็น กล้องถ่ายรูปที่เราใช้คือ Sony a7ii เลนส์ fe 24-240 เป็นเลนส์ติดกล้อง เอาแบบเลนส์ตัวเดียวจบงี้ ไม่อยากเปลี่ยนบ่อย แต่มันก็จะหนักๆหน่อย และเลนส์อีกตัวที่เอาไป fe28f2 ไว้ถ่ายดาวตอนกลางคืน ที่สำคัญมันเล็กดี กลับมาที่สนามบินตรีภูวันเป็น สนามบินที่นี่มีลิงเข้าไปวิ่งเล่นด้วย สัมภาระทุกชิ้นก็ต้องผ่านเครื่องสแกน ตั๋วเครื่องบินมีเพียงชื่อไฟลท์ที่เป็นเลขสามตัวและชื่อสายการบิน ไม่มีการตรวจเชคพาสปอร์ต เราก็อุตส่าเอามาถือเตรียมไว้ ตอนอยู่สนามบินเราภาวนาอย่างเดียวขอให้ได้บินด้วยเถิด ดูจากสภาพอากาศข้างนอกก็หวั่นใจมากๆเพราะเมฆครึ้มเชียว ฝนก็ตกปรอยๆ พอได้ยินเสียงประกาศก็โล่งอกไปที ได้บินแล้วววว เครื่องบินที่พาเราไปยัง Lukla เป็นเครื่องบินลำเล็ก มีผู้โดยสารประมาณ 20 คน เลือกที่นั่งกันเอง ใครได้ขึ้นก่อนก็ได้เลือกก่อน ถ้าได้นั่งฝั่งซ้ายมือจะได้เห็นวิวเทือกเขาหิมาลัยอย่างเต็มตา เราเลือกไม่ทันได้แต่ชะเง้อคอมองดูตาปริบๆ ไม่นานเราก็มาถึง Lukla ความระทึกมันอยู่ตรงนี้ ตอนเครื่องจะ Landing มันวูบวาบมาก พอเครื่องแตะรันเวย์กัปตันก็เหยียบเบรกอย่างไวพร้อมกับเลี้ยวเข้าจอดในทันที ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนบ้าไปแล้ว นั่งจิกเบาะตัวเกร็งอย่างหนัก พอเครื่องหยุด แอร์พูดอะไรซักอย่างที่เราฟังออกแค่คำว่าแต๊งกิ้ว แล้วทุกคนในเครื่องก็ปรบมือให้กับกัปตันที่พามาถึงได้อย่างปลอดภัย
เรามาถึงประมาณ 7 โมงเช้า นั่งจิบชาที่ Lodge ใกล้ๆสนามบินระหว่างรอให้ลูกหาบจัดสรรสัมภาระ ลูกหาบของกรุ๊ปเรามีแต่วัยกระเตาะ อายุ 18-19 ปี เริ่ม trekking จริงๆตอนแปดโมง ทางเดินชิวมากๆ เดินลงเรื่อยๆไม่ชันไปจนถึง Phakding ซึ่งแพลนตอนแรกว่าจะพักกันที่นี่คืนนี้ แต่เรามาถึงเที่ยงพอดีก็ไว้แค่แวะกินข้าว และไปนอนที่หมู่บ้านถัดๆไป คือ Monjo การ trekking บนที่สูงจะต้องกินน้ำเยอะๆ ประมาณวันละ 2-3ลิตรต่อวัน เนื่องจากที่เรากิน Diamox และเมื่อกินน้ำเยอะก็จะเริ่มปวดฉี่ จึงบอกไกด์ว่าหาที่พักฉี่ ไกด์ชี้ไปที่ป่า เราก็ลังเลว่าจะเข้าดีไหม๊ แต่ไกด์บอกว่าที่นี่บนป่าบนเขานะยู มีแต่ห้องน้ำแบบธรรมชาติ ยูไม่ต้องอาย มันเป็นธรรมดาที่ยูจะเข้าห้องน้ำธรรมชาติแบบนี้ ทางเราก็เอาก็เอาว่ะ เดินไปตามทางที่ไกด์ชี้บอกเข้าไปบนเนินป่า แล้วพบว่ามีซากอารยธรรมเก่าๆของคนก่อนๆมาปล่อยทิ้งไว้ และเท้าของเราได้ไปเหยียบเข้ากับซากอารยธรรมเหล่านั้นแบบเต็มพื้นรองเท้าT_T พอมองลงไปทางเดิน คือคนที่เดินผ่านไปมามองขึ้นมาต้องเห็นแน่ๆ ก็เลยเปลี่ยนใจไม่กล้าฉี่ตรงนั้น ตัดสินใจกลั้นต่อไปแล้วขอไปเข้าห้องน้ำของชาวบ้านที่หมู่บ้านดีกว่า เราจึงขอรีบเดินไปก่อนพร้อมกับไกด์อีกคน เรียกว่าเป็นผู้ช่วยไกด์ดีกว่าชื่อเชวัง อายุ 18 ปี ด้วยความที่เชวังอายุยังน้อยและเป็นคนขี้อาย ทุกคนในทริปจะเอ็นดูเชวังมาก พูดภาษาอังกฤษได้แบบงูๆปลาๆพอๆกะเรา พอมาถึงหมู่บ้าน เชวังชี้ไปที่ห้องน้ำ ที่อยู่นอกตัวบ้าน มีฝากั้นและประตูต้องใช้มือยกมาปิด ไม่มีกลอนล๊อค ต้องใช้แขนโน้มตัวไปดันไว้ ส่วนตัวส้วมเป็นแผ่นไม้ที่มีเพียงรูตรงกลางให้ปล่อยซากอารยธรรมให้ไปทับถมกันไปและมีฟางกลบขึ้นมาเรื่อยๆ ในส่วนกลิ่นนั้นไม่ต้องพูดถึง แต่ก็เอาว่ะ อย่างน้อยก็มีฝากั้น ไม่มีน้ำราด ทิชชู่และทิชชู่เปียกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ
ทางเดินหลังจาก Phakding ไปนี้ จะเป็นทางเดินขึ้นสลับเดินลง มีดอกซากุระให้ชื่นชมตลอดทางเดิน เรามาถึง Monjo ประมาณสี่โมงครึ่ง
เชวัง ผู้ช่วยไกด์วัยกระเตาะ
สาวน้อยและลูกหมาของเธอ
สัญญาณโทรศัพท์มีบ้างไม่มีบ้าง ขาดๆหายแล้วแต่หมู่บ้าน
Cherry Blossom มีให้ชื่นชมตลอดทางเดินในวันนี้
เด็กน้อยทีแรกขอถ่ายรูปก็ทำท่าอิดออด แต่พอเอาแปรงสีฟันให้เท่านั้นแหละ ยิ้มหวานเชียว
เหล่าลูกหาบวัยกระเตาะ
แม่น้ำสีเทวอคอยซ์