เค้าบอกว่าเมืองไทยเก็บภาษีได้แค่4ล้านคนจาก70ล้านคน บทความนี้เชื่อถือได้ไหมครับ ส่วน vat จ่ายแค่คนละ8พันบาทต่อปี
อ้างอิง เฟสบุ๊ค
Boriphat Sangpakorn
####################################################
ในขณะที่คนไทยที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มีอยู่ประมาณ 4 ล้านคน จาก 68.86 ล้านคน
แล้ว VAT ล่ะ
ข้อมูล ปี 2559
ประเทศไทยจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 716,383.69 ล้านบาท
โดยเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่มจากหน่วยงานต่างๆ 155,738.91 ล้านบาท
ภาษีมูลค่าเพิ่มในการค้าทั่วไป 560,644.79 ล้านบาท
ประชากรประเทศไทย (2559) มี 68.86 ล้านคน
เท่ากับคนไทยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเฉลี่ย คนละ 8,141.8 บาท ต่อปี
################################################
รายได้ต่อหัวเฉลี่ยของคนไทย ราวๆ 6,000 USD ต่อปี หรือประมาณ 1.6 หมื่นบาท/เดือน/คน โดยที่ GDP ราวๆ 14 ล้านล้านบาท ทว่าในขณะเดียวกันปริมาณเงินที่เบิกถอนผ่านบัตรเดบิต-เอทีเอ็ม จากตู้เอทีเอ็มมีปริมาณ 7 ล้านล้านบาท เฉลี่ย 1.1 หมื่นบาท/บัตร/เดือน(เดบิต-เอทีเอ็ม 70 ล้านใบ) การใช้จ่ายผ่าน internet/mobile 5.52 ล้านล้านบาท การโอนผ่าน ATM/CDM 3.5 ล้านล้านบาท
ที่พูดถึงข้างต้นคือการชำระเงินภาคครัวเรือนนะครับ และเป็นเฉพาะตัวเลขเงินตราหมุนเวียนผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยที่เรายังไม่ต้องไปพูดถึงเงินนอกระบบอีกนะ จะเห็นได้ว่าปริมาณเงินที่ใช้จ่ายภาคครัวเรือน มูลค่า 16 ล้านล้านบาท สูงกว่า GDP ซะอีก ถ้าเปรียบประเทศเป็นคนนะ ก็ต้องถามว่าคนบ้าอะไรมีรายได้แค่ 14 ล้านล้าน แต่
เบิกเงินมาใช้ 16 ล้านล้าน >>> อันนี้ยังไม่รวมถึงการเบิกเงินผ่านหน้าเคาน์เตอร์อีกนะ ซึ่งมีมูลค่า 37.8 ล้านล้านบาท สูงกว่า GDP ถึงสองเท่าตัวด้วยซ้ำ
บ้าไปแล้ว
ที่ว่าข้างต้นเนี่ยพูดถึงแต่การชำระเงินภาคครัวเรือนนะครับ การชำระเงินภาคธุรกิจก็อีกส่วนนึง เอาเฉพาะการใช้เช็คนะครับ ปีนึง 70 ล้านฉบับ มูลค่า 37.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 60% ส่วนการชำระเงินด้วยรายการโอน/การหักอัตโนมัติ 24.9 ล้านล้านบาท รวมแล้วภาคธุรกิจมีการชำระเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ 62.3 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า 4 เท่าของ GDP
ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการซื้อของออนไลน์ที่มีมูลค่า 7.5 แสนล้านบาท อันนี้ขอยกตัวเลขนี้ออกต่างหากเพราะลืมบวกไปว่ามันอยู่ส่วนไหนประเดี๋ยวจะไปนับซ้ำซ้อน กล่าวคือเงินปริมาณ 7.5 แสนล้านบาท เนี่ยแต่เดิมมันหมุนนอกระบบนะครับ พวกซื้อเครื่องใช้ตามตลาดแพลตทินัม สำเพ็ง โบ๊เบ๊ โอดครวญกันทั้งนั้น เพราะเงินหายไป 7.5 แสนล้านบาท พวกนี้สรรพากรช่วยไปตรวจหน่อยก็ดี ยอดขายต่อวันหลักหมื่นกำไรหลักพัน เสียภาษีกันปีนึงๆ เท่าไหร่ โน่นยอดขายพวกนี้ไปกองอยู่ตามเว็บไซด์ขายของชื่อดังอย่างลาซาด้าเสียก็มาก คือรายได้คนไม่ลดลงนะ แต่ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ธุรกิจบางประเภทช็อคแล้วโมเมไปว่ายอดขายตัวเองตกเพราะเศรษฐกิจไม่ดี
ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าปริมาณเงินที่ชำระผ่านธนาคารพาณิชย์เกือบ 100 ล้านล้านบาท ในขณะที่ GDP มีมูลค่าเพียง 14 ล้านล้านบาท ซึ่งภาคการส่งออกมีมูลค่าถึง 75% ของ GDP อันนี้เราก็ต้องตั้งคำถามแล้วว่าระบบการจัดเก็บสถิติของเรามันมีปัญหาอะไร และเศรษฐกิจนอกระบบที่ตกหล่นไม่สามารถนำมาคำนวณเป็น GDP มันมีขนาดเท่าไหร่
แม้ว่าผมจะมีสมมุติฐานว่าเศรษฐกิจนอกระบบมันใหญ่มาก แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าใหญ่แค่ไหน เราบอกว่าคนจนมีเท่านั้นเท่านี้ แต่ถามจริงๆ ว่าเรารู้แน่ชัดแค่ไหนว่าประชากรในประเทศมีรายได้จริงๆ เท่าไหร่ ไม่ว่ามาตราการภาษีจะลดแลก แจก แถม แค่ไหนก็ตาม แต่คุณอย่าลืมว่าคนที่เสียภาษีเงินได้ของประเทศนี้มีเพียง 4 ล้านกว่าคน จากประชากรเกือบ 70 ล้านคน
ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีเงินได้กี่เปอร์เซนก็ตาม อย่าลืมว่าฐาน 4 ล้านคน กับฐาน 60 ล้านคน ยังไงๆ มันก็เทียบไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพื่มเก็บ 7% ในขณะที่เงินได้เก็บตั้งแต่ 5-25%(นิติบุคคล 15-20%)
เค้าบอกว่าเมืองไทยเก็บภาษีได้แค่4ล้านคนจาก70ล้านคน บทความนี้เชื่อถือได้ไหมครับ ส่วน vat จ่ายแค่คนละ8พันบาทต่อปี
อ้างอิง เฟสบุ๊ค
Boriphat Sangpakorn
####################################################
ในขณะที่คนไทยที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มีอยู่ประมาณ 4 ล้านคน จาก 68.86 ล้านคน
แล้ว VAT ล่ะ
ข้อมูล ปี 2559
ประเทศไทยจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 716,383.69 ล้านบาท
โดยเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่มจากหน่วยงานต่างๆ 155,738.91 ล้านบาท
ภาษีมูลค่าเพิ่มในการค้าทั่วไป 560,644.79 ล้านบาท
ประชากรประเทศไทย (2559) มี 68.86 ล้านคน
เท่ากับคนไทยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเฉลี่ย คนละ 8,141.8 บาท ต่อปี
################################################
รายได้ต่อหัวเฉลี่ยของคนไทย ราวๆ 6,000 USD ต่อปี หรือประมาณ 1.6 หมื่นบาท/เดือน/คน โดยที่ GDP ราวๆ 14 ล้านล้านบาท ทว่าในขณะเดียวกันปริมาณเงินที่เบิกถอนผ่านบัตรเดบิต-เอทีเอ็ม จากตู้เอทีเอ็มมีปริมาณ 7 ล้านล้านบาท เฉลี่ย 1.1 หมื่นบาท/บัตร/เดือน(เดบิต-เอทีเอ็ม 70 ล้านใบ) การใช้จ่ายผ่าน internet/mobile 5.52 ล้านล้านบาท การโอนผ่าน ATM/CDM 3.5 ล้านล้านบาท
ที่พูดถึงข้างต้นคือการชำระเงินภาคครัวเรือนนะครับ และเป็นเฉพาะตัวเลขเงินตราหมุนเวียนผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยที่เรายังไม่ต้องไปพูดถึงเงินนอกระบบอีกนะ จะเห็นได้ว่าปริมาณเงินที่ใช้จ่ายภาคครัวเรือน มูลค่า 16 ล้านล้านบาท สูงกว่า GDP ซะอีก ถ้าเปรียบประเทศเป็นคนนะ ก็ต้องถามว่าคนบ้าอะไรมีรายได้แค่ 14 ล้านล้าน แต่เบิกเงินมาใช้ 16 ล้านล้าน >>> อันนี้ยังไม่รวมถึงการเบิกเงินผ่านหน้าเคาน์เตอร์อีกนะ ซึ่งมีมูลค่า 37.8 ล้านล้านบาท สูงกว่า GDP ถึงสองเท่าตัวด้วยซ้ำ
บ้าไปแล้ว
ที่ว่าข้างต้นเนี่ยพูดถึงแต่การชำระเงินภาคครัวเรือนนะครับ การชำระเงินภาคธุรกิจก็อีกส่วนนึง เอาเฉพาะการใช้เช็คนะครับ ปีนึง 70 ล้านฉบับ มูลค่า 37.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 60% ส่วนการชำระเงินด้วยรายการโอน/การหักอัตโนมัติ 24.9 ล้านล้านบาท รวมแล้วภาคธุรกิจมีการชำระเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ 62.3 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า 4 เท่าของ GDP
ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการซื้อของออนไลน์ที่มีมูลค่า 7.5 แสนล้านบาท อันนี้ขอยกตัวเลขนี้ออกต่างหากเพราะลืมบวกไปว่ามันอยู่ส่วนไหนประเดี๋ยวจะไปนับซ้ำซ้อน กล่าวคือเงินปริมาณ 7.5 แสนล้านบาท เนี่ยแต่เดิมมันหมุนนอกระบบนะครับ พวกซื้อเครื่องใช้ตามตลาดแพลตทินัม สำเพ็ง โบ๊เบ๊ โอดครวญกันทั้งนั้น เพราะเงินหายไป 7.5 แสนล้านบาท พวกนี้สรรพากรช่วยไปตรวจหน่อยก็ดี ยอดขายต่อวันหลักหมื่นกำไรหลักพัน เสียภาษีกันปีนึงๆ เท่าไหร่ โน่นยอดขายพวกนี้ไปกองอยู่ตามเว็บไซด์ขายของชื่อดังอย่างลาซาด้าเสียก็มาก คือรายได้คนไม่ลดลงนะ แต่ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ธุรกิจบางประเภทช็อคแล้วโมเมไปว่ายอดขายตัวเองตกเพราะเศรษฐกิจไม่ดี
ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าปริมาณเงินที่ชำระผ่านธนาคารพาณิชย์เกือบ 100 ล้านล้านบาท ในขณะที่ GDP มีมูลค่าเพียง 14 ล้านล้านบาท ซึ่งภาคการส่งออกมีมูลค่าถึง 75% ของ GDP อันนี้เราก็ต้องตั้งคำถามแล้วว่าระบบการจัดเก็บสถิติของเรามันมีปัญหาอะไร และเศรษฐกิจนอกระบบที่ตกหล่นไม่สามารถนำมาคำนวณเป็น GDP มันมีขนาดเท่าไหร่
แม้ว่าผมจะมีสมมุติฐานว่าเศรษฐกิจนอกระบบมันใหญ่มาก แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าใหญ่แค่ไหน เราบอกว่าคนจนมีเท่านั้นเท่านี้ แต่ถามจริงๆ ว่าเรารู้แน่ชัดแค่ไหนว่าประชากรในประเทศมีรายได้จริงๆ เท่าไหร่ ไม่ว่ามาตราการภาษีจะลดแลก แจก แถม แค่ไหนก็ตาม แต่คุณอย่าลืมว่าคนที่เสียภาษีเงินได้ของประเทศนี้มีเพียง 4 ล้านกว่าคน จากประชากรเกือบ 70 ล้านคน
ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีเงินได้กี่เปอร์เซนก็ตาม อย่าลืมว่าฐาน 4 ล้านคน กับฐาน 60 ล้านคน ยังไงๆ มันก็เทียบไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพื่มเก็บ 7% ในขณะที่เงินได้เก็บตั้งแต่ 5-25%(นิติบุคคล 15-20%)