ไหนๆ ก็เทศกาลกินเจละ หนึ่งปีมีหนเดียว
มีตัวเลขค่าหนึ่ง ซึ่งผู้ผลิตเนื้อสัตว์จะรู้จักกันดี เรียกว่าค่า feed conversion ration (FCR) ภาษาไทยเรียกว่า “อัตราการแลกเนื้อ” อธิบายง่ายๆ ก็คือ ให้อาหารเท่าไหร่ สัตว์ถึงจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กก. เช่น ให้อาหารไป 2 กก. แล้วสัตว์หนักขึ้น 1 กก. ก็เอาตัวเลขมาหารกัน คือ 2/1 จะได้อัตราการแลกเนื้อของสัตว์ชนิดนี้ = 2 แน่นอนว่าคนเลี้ยงเขาก็ต้องอยากให้อาหารน้อยที่สุด แต่ให้สัตว์โตเร็วที่สุดใช่ไหมล่ะ? ดังนั้นค่า FCR ที่ทุกคนต้องการก็คือ 1 (คือให้อาหาร 1 กก. แล้วสัตว์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กก.เท่ากัน) ซึ่งในความเป็นจริงย่อมเป็นไปไม่ได้
จะเห็นได้ว่า ยิ่งค่า FCR สูงเท่าไหร่ เนื้อสัตว์ชนิดนั้นก็ยิ่งมีราคาแพง เพราะต้องให้อาหารเยอะไงกว่าจะได้เนื้อมาแต่ละกิโล แถมน้ำหนักที่เพิ่มมาแต่ละกิโลมันไม่ใช่เนื้ออย่างเดียวน่ะสิ มีทั้งอวัยวะภายใน ไขมัน กระดูก หนัง ขน ฯลฯ ดังนั้นพอชำแหละออกมา ส่วนที่กินได้ก็น้อยลงไปอีก ลองมาดูกันนะ (ข้อมูลจาก Science Illustrated เดือนตค. 2560)
-จิ้งหรีด จะเพิ่มน้ำหนัก 1 กก. ต้องให้อาหาร 1.7 กก. (ส่วนที่กินได้ 80%)
-ไก่ จะเพิ่มน้ำหนัก 1กก. ต้องให้อาหาร 2.5 กก. (ส่วนที่กินได้ 55%)
-หมู จะเพิ่มน้ำหนัก 1กก. ต้องให้อาหาร 5 กก. (ส่วนที่กินได้ 55%)
-วัว จะเพิ่มน้ำหนัก 1กก. ต้องให้อาหาร 10 กก. (ส่วนที่กินได้ 40%)
แถมไม่พอ พวกสัตว์ฟาร์มอย่างหมู ไก่ วัว ต้องใช้น้ำในการผลิตอีกมาก เพราะนอกจากต้องให้สัตว์กินแล้ว ยังใช้ในการทำความสะอาดฟาร์ม ทำความเย็นให้โรงเรือน เวลาเชือดเสร็จก็ต้องล้างทำความสะอาด ฯลฯ ยังไม่รวมน้ำที่ใช้ปลูกพืชเพื่อเอามาเป็นอาหารสัตว์อีกนะ ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติบอกว่า ภาคการเกษตรใช้น้ำ 70% ของการบริโภคน้ำทั้งหมดในโลก ส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์
คนเราดื่มน้ำวันละประมาณ 3 ลิตร แต่เบื้องหลังการผลิตเนื้อวัว 1 กก.ใช้น้ำมากกว่า 15,000 ลิตร
ต่อมาเรื่องก๊าซมีเทนซึ่งถือว่าเป็นก๊าซเรือนกระจก ไม่น่าเชื่อว่าผู้ผลิตรายใหญ่คือวัว เพราะมันทั้งเรอทั้งตด วัวขนาด 550 กก. อาจจะปล่อยก๊าซมีเทนได้มากสุดถึงวันละ 500 ลิตร เป็นก๊าซไวไฟซะด้วย เคยมีข่าวระเบิดในฟาร์มมาแล้วนะ อิอิ แต่ฟาร์มที่ระเบิด มีคอกที่ค่อนข้างปิดทึบไง ก๊าซระบายยาก บ้านเราส่วนมากเลี้ยงที่โล่ง คงไม่ระเบิดหรอก แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศโดยตรง
ยังไม่รวมถึงจำนวนประชากรอดอยากที่มีเป็นพันล้านคน แต่เราดันเอาอาหารที่ปลูกได้ไปเลี้ยงสัตว์แทน แทนที่คนเหล่านั้นจะมีพืช 10 กิโล ไว้กิน มันก็กลายเป็นเนื้อสัตว์แค่ 1 กิโล แถมยังราคาแพงจนซื้อไม่ไหวอีก นอกจากนี้พืชบางชนิดยังถูกแย่งไปใช้ในการผลิตพลังงาน เช่นน้ำมันดีเซลและเอธานอล ซึ่งทั้งการปลูกพืชพลังงาน และการปลูกพืชอาหารสัตว์ มีอะไรเหมือนกันอย่างนึงคือ “เป็นการใช้พื้นที่อย่างไม่คุ้มค่า” แต่มันก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือเอาไว้ตอบสนองความต้องการของคนเรานี่แหละ
แต่จะให้คนหันมากินพืชกันหมดก็คงเป็นไปไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์เค้าก็เลยเสนอทางเลือกใหม่คือ “แมลง” ต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ราคาถูก ของเสียน้อย สร้างมลพิษน้อย และใช้เวลาผลิตน้อยกว่าเนื้อสัตว์มาก ยกตัวอย่าง วัวเนื้อกว่าจะส่งเชือดได้ ใช้เวลาราวปีกว่าๆ ส่วนจิ้งหรีดเลี้ยงแค่ เดือนกว่าๆ ก็ส่งขายบริโภคได้แล้ว ปีนึงเลี้ยงได้ตั้ง 5 รุ่น แถมเมื่อเทียบจากปริมาณโปรตีนแล้ว ในการผลิตโปรตีนเท่าๆ กัน วัวต้องกินอาหารมากกว่าจิ้งหรีด 12 เท่า และใช้พื้นที่ในการเลี้ยงมากกว่าหนอนนก 10 เท่า ตอนนี้ก็เลยมีกระแสเชิญชวนให้คนหันมาบริโภคแมลงกันอยู่เรื่อยๆ (เชยเนอะ บ้านเรากินกันมาตั้งนานแล้ว 555+)
แล้วก็ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลอง เพื่อผลิตเนื้อสัตว์โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์อีกต่อไป แต่จะเพาะเลี้ยงจากเซลล์ต้นกำเนิดแทน ความจริงนักวิทยาศาสตร์ทำสำเร็จแล้วนะ เบอร์เกอร์เนื้อจากเซลล์ต้นกำเนิดชิ้นแรกถูกนำมากินโชว์นักข่าวไปเมื่อปี 2013 ซึ่งหากทำสำเร็จในระดับอุตสาหกรรม มนุษย์เราอาจจะสามารถเพาะเลี้ยงเนื้อได้เป็นตันๆ จากตัวอย่างเนื้อเยื่อเพียงชิ้นเดียว คาดว่าภายใน 8 ปี ต้นทุนการผลิตก็จะลดลงจนราคาถูกกว่าเนื้อธรรมดาเสียอีก หมายความว่าในอนาคตเราอาจจะมีฟัวกราส์วางขายในราคาถูกๆ ให้กินกันทั่วไป อิอิ
แต่ยังไงเนื้อจากห้องแลป ก็ยังต้องค้นคว้ากันอีกในเรื่องผลกระทบต่อร่างกายของผู้บริโภค และต้องก้าวข้ามความรังเกียจและตั้งแง่ไปให้ได้ ฯลฯ ส่วนในทางสิ่งแวดล้อมน่ะมันดีกว่าแน่นอน ศาสตราจารย์มาร์ก โพสต์ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา ม.มาสตริชต์ เนเธอร์แลนด์ เจ้าพ่อเพาะเลี้ยงเนื้อแฮมเบอร์เกอร์ เคยพูดว่า การผลิตเนื้อวิธีดั้งเดิมสร้างมลภาวะสูงมาก ถ้าคนๆ นึงกินมังสวิรัติ แล้วขับรถเอนกประสงค์ที่กินน้ำมันมากๆ คนๆ นั้นก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนกินเนื้อสัตว์ที่ขี่จักรยานซะอีก
ว่าแต่ เนื้อที่เพาะจากห้องแลปโดยไม่ได้ฆ่าสัตว์เนี่ย มันนับเป็นอาหารมังสวิรัติได้รึเปล่านะ?
(แก้ไข1)ปล.ค่า FCR จากแต่ละแหล่งข้อมูลอาจจะไม่เท่ากันนะคะ ปัจจุบันนี้ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ก็พัฒนาไปจนลดตัวเลขลงมาได้มากแล้ว ค่าที่เราเอามาแสดงนี้ออกจะสูงอยู่ซักหน่อย แต่ฟาร์มที่เลี้ยงแบบบ้านๆ ให้เศษอาหารก็อาจจะยังมีค่าที่สูงอยู่
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://carbonmarket.tgo.or.th/document/detail/6/6.pnc
https://variety.thaiza.com/ก๊าซมีเทนจากขี้วัว-วัวปล่อยก๊าซเรือนกระจำ/285396/
http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/54207/
https://news.mthai.com/economy-news/369083.html
ทำไมเราถึงควรกินเนื้อน้อยลง และเนื้อสัตว์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร (เวอร์ชั่นวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม)
มีตัวเลขค่าหนึ่ง ซึ่งผู้ผลิตเนื้อสัตว์จะรู้จักกันดี เรียกว่าค่า feed conversion ration (FCR) ภาษาไทยเรียกว่า “อัตราการแลกเนื้อ” อธิบายง่ายๆ ก็คือ ให้อาหารเท่าไหร่ สัตว์ถึงจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กก. เช่น ให้อาหารไป 2 กก. แล้วสัตว์หนักขึ้น 1 กก. ก็เอาตัวเลขมาหารกัน คือ 2/1 จะได้อัตราการแลกเนื้อของสัตว์ชนิดนี้ = 2 แน่นอนว่าคนเลี้ยงเขาก็ต้องอยากให้อาหารน้อยที่สุด แต่ให้สัตว์โตเร็วที่สุดใช่ไหมล่ะ? ดังนั้นค่า FCR ที่ทุกคนต้องการก็คือ 1 (คือให้อาหาร 1 กก. แล้วสัตว์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กก.เท่ากัน) ซึ่งในความเป็นจริงย่อมเป็นไปไม่ได้
จะเห็นได้ว่า ยิ่งค่า FCR สูงเท่าไหร่ เนื้อสัตว์ชนิดนั้นก็ยิ่งมีราคาแพง เพราะต้องให้อาหารเยอะไงกว่าจะได้เนื้อมาแต่ละกิโล แถมน้ำหนักที่เพิ่มมาแต่ละกิโลมันไม่ใช่เนื้ออย่างเดียวน่ะสิ มีทั้งอวัยวะภายใน ไขมัน กระดูก หนัง ขน ฯลฯ ดังนั้นพอชำแหละออกมา ส่วนที่กินได้ก็น้อยลงไปอีก ลองมาดูกันนะ (ข้อมูลจาก Science Illustrated เดือนตค. 2560)
-จิ้งหรีด จะเพิ่มน้ำหนัก 1 กก. ต้องให้อาหาร 1.7 กก. (ส่วนที่กินได้ 80%)
-ไก่ จะเพิ่มน้ำหนัก 1กก. ต้องให้อาหาร 2.5 กก. (ส่วนที่กินได้ 55%)
-หมู จะเพิ่มน้ำหนัก 1กก. ต้องให้อาหาร 5 กก. (ส่วนที่กินได้ 55%)
-วัว จะเพิ่มน้ำหนัก 1กก. ต้องให้อาหาร 10 กก. (ส่วนที่กินได้ 40%)
แถมไม่พอ พวกสัตว์ฟาร์มอย่างหมู ไก่ วัว ต้องใช้น้ำในการผลิตอีกมาก เพราะนอกจากต้องให้สัตว์กินแล้ว ยังใช้ในการทำความสะอาดฟาร์ม ทำความเย็นให้โรงเรือน เวลาเชือดเสร็จก็ต้องล้างทำความสะอาด ฯลฯ ยังไม่รวมน้ำที่ใช้ปลูกพืชเพื่อเอามาเป็นอาหารสัตว์อีกนะ ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติบอกว่า ภาคการเกษตรใช้น้ำ 70% ของการบริโภคน้ำทั้งหมดในโลก ส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์
คนเราดื่มน้ำวันละประมาณ 3 ลิตร แต่เบื้องหลังการผลิตเนื้อวัว 1 กก.ใช้น้ำมากกว่า 15,000 ลิตร
ต่อมาเรื่องก๊าซมีเทนซึ่งถือว่าเป็นก๊าซเรือนกระจก ไม่น่าเชื่อว่าผู้ผลิตรายใหญ่คือวัว เพราะมันทั้งเรอทั้งตด วัวขนาด 550 กก. อาจจะปล่อยก๊าซมีเทนได้มากสุดถึงวันละ 500 ลิตร เป็นก๊าซไวไฟซะด้วย เคยมีข่าวระเบิดในฟาร์มมาแล้วนะ อิอิ แต่ฟาร์มที่ระเบิด มีคอกที่ค่อนข้างปิดทึบไง ก๊าซระบายยาก บ้านเราส่วนมากเลี้ยงที่โล่ง คงไม่ระเบิดหรอก แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศโดยตรง
ยังไม่รวมถึงจำนวนประชากรอดอยากที่มีเป็นพันล้านคน แต่เราดันเอาอาหารที่ปลูกได้ไปเลี้ยงสัตว์แทน แทนที่คนเหล่านั้นจะมีพืช 10 กิโล ไว้กิน มันก็กลายเป็นเนื้อสัตว์แค่ 1 กิโล แถมยังราคาแพงจนซื้อไม่ไหวอีก นอกจากนี้พืชบางชนิดยังถูกแย่งไปใช้ในการผลิตพลังงาน เช่นน้ำมันดีเซลและเอธานอล ซึ่งทั้งการปลูกพืชพลังงาน และการปลูกพืชอาหารสัตว์ มีอะไรเหมือนกันอย่างนึงคือ “เป็นการใช้พื้นที่อย่างไม่คุ้มค่า” แต่มันก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือเอาไว้ตอบสนองความต้องการของคนเรานี่แหละ
แต่จะให้คนหันมากินพืชกันหมดก็คงเป็นไปไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์เค้าก็เลยเสนอทางเลือกใหม่คือ “แมลง” ต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ราคาถูก ของเสียน้อย สร้างมลพิษน้อย และใช้เวลาผลิตน้อยกว่าเนื้อสัตว์มาก ยกตัวอย่าง วัวเนื้อกว่าจะส่งเชือดได้ ใช้เวลาราวปีกว่าๆ ส่วนจิ้งหรีดเลี้ยงแค่ เดือนกว่าๆ ก็ส่งขายบริโภคได้แล้ว ปีนึงเลี้ยงได้ตั้ง 5 รุ่น แถมเมื่อเทียบจากปริมาณโปรตีนแล้ว ในการผลิตโปรตีนเท่าๆ กัน วัวต้องกินอาหารมากกว่าจิ้งหรีด 12 เท่า และใช้พื้นที่ในการเลี้ยงมากกว่าหนอนนก 10 เท่า ตอนนี้ก็เลยมีกระแสเชิญชวนให้คนหันมาบริโภคแมลงกันอยู่เรื่อยๆ (เชยเนอะ บ้านเรากินกันมาตั้งนานแล้ว 555+)
แล้วก็ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องทดลอง เพื่อผลิตเนื้อสัตว์โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์อีกต่อไป แต่จะเพาะเลี้ยงจากเซลล์ต้นกำเนิดแทน ความจริงนักวิทยาศาสตร์ทำสำเร็จแล้วนะ เบอร์เกอร์เนื้อจากเซลล์ต้นกำเนิดชิ้นแรกถูกนำมากินโชว์นักข่าวไปเมื่อปี 2013 ซึ่งหากทำสำเร็จในระดับอุตสาหกรรม มนุษย์เราอาจจะสามารถเพาะเลี้ยงเนื้อได้เป็นตันๆ จากตัวอย่างเนื้อเยื่อเพียงชิ้นเดียว คาดว่าภายใน 8 ปี ต้นทุนการผลิตก็จะลดลงจนราคาถูกกว่าเนื้อธรรมดาเสียอีก หมายความว่าในอนาคตเราอาจจะมีฟัวกราส์วางขายในราคาถูกๆ ให้กินกันทั่วไป อิอิ
แต่ยังไงเนื้อจากห้องแลป ก็ยังต้องค้นคว้ากันอีกในเรื่องผลกระทบต่อร่างกายของผู้บริโภค และต้องก้าวข้ามความรังเกียจและตั้งแง่ไปให้ได้ ฯลฯ ส่วนในทางสิ่งแวดล้อมน่ะมันดีกว่าแน่นอน ศาสตราจารย์มาร์ก โพสต์ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา ม.มาสตริชต์ เนเธอร์แลนด์ เจ้าพ่อเพาะเลี้ยงเนื้อแฮมเบอร์เกอร์ เคยพูดว่า การผลิตเนื้อวิธีดั้งเดิมสร้างมลภาวะสูงมาก ถ้าคนๆ นึงกินมังสวิรัติ แล้วขับรถเอนกประสงค์ที่กินน้ำมันมากๆ คนๆ นั้นก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนกินเนื้อสัตว์ที่ขี่จักรยานซะอีก
ว่าแต่ เนื้อที่เพาะจากห้องแลปโดยไม่ได้ฆ่าสัตว์เนี่ย มันนับเป็นอาหารมังสวิรัติได้รึเปล่านะ?
(แก้ไข1)ปล.ค่า FCR จากแต่ละแหล่งข้อมูลอาจจะไม่เท่ากันนะคะ ปัจจุบันนี้ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ก็พัฒนาไปจนลดตัวเลขลงมาได้มากแล้ว ค่าที่เราเอามาแสดงนี้ออกจะสูงอยู่ซักหน่อย แต่ฟาร์มที่เลี้ยงแบบบ้านๆ ให้เศษอาหารก็อาจจะยังมีค่าที่สูงอยู่
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
http://carbonmarket.tgo.or.th/document/detail/6/6.pnc
https://variety.thaiza.com/ก๊าซมีเทนจากขี้วัว-วัวปล่อยก๊าซเรือนกระจำ/285396/
http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/54207/
https://news.mthai.com/economy-news/369083.html