ฟาร์มตัวเงินตัวทอง ไปแค่ไหนแล้ว

https://www.voicetv.co.th/read/55686

ไม่เจอใหม่ๆเลย ตอนนี้เลิกคมครองรึยัง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ทำการวิจัยให้ตัวทองเงินตัวทองเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของไทย เพราะทั้งเนื้อและหนังมีราคาแพงและเป็นนิยมในอุตสาหกรรมเครื่องหนังของยุโรป

ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ทำการวิจัยให้ตัวทองเงินตัวทองเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของไทย เพราะทั้งเนื้อและหนังมีราคาแพงและเป็นนิยมในอุตสาหกรรมเครื่องหนังของยุโรป



วารานัส ซาลาวอเตอร์ หรือที่คนไทยรู้จักโดยทั่วไปว่าตัวเงินตัวทอง ตัวเงินตัวทองเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญตัวต่อไปของเมืองไทยก็เป็นได้ เพราะล่าสุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ริเริ่มทำโครงการวิจัยการเลี้ยงและใช้ประโยชน์ตัวเงินตัวทองในเชิงเศรษฐกิจ จึงได้ทำฟาร์มตัวเงินตัวทองแห่งแรกในประเทศไทย เพราะเห็นว่าเจ้าตัวเงินตัวทอง ที่มีอยู่มากและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน น่าจะสร้างประโยชน์ได้มากกว่านี้ เพราะในประเทศแถบยุโรป นิยมนำหนังตัวเงินตัวทอง ไปผลิตรองเท้า และกระเป๋า จากลวดลายที่สวยงาม ซึ่งมีราคาสูงมาก อย่างรองเท้าบู๊ธ คู่นี้ ที่มีการตีราคากว่า 4 หมื่น 5 พันบาท ขณะที่ประเทศในภูมิภาคนี้ก็นิยมนำเนื้อไปรับประทาน



บ่อเลี้ยงตัวเงิน ตัวทองแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในเป็นเกาะเล็ก ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มีตัวเงินตัวทอง ทั้งที่ถูกจับมา และที่ชาวบ้านนำมามอบให้ จำนวนกว่า 80 ตัว นำมาเพาะเลี้ยง ในสภาพเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อดูพฤติกรรม การกินอาหาร การสืบพันธุ์ และความสมบูรณ์ของตัวเงินตัวทอง นักศึกษาปริญญาโทที่ทำการวิจัยในเรื่องนี้ เล่าให้ฟังว่าโครงการนี้ได้ดำเนินการมาประมาณ 1 ปี โดยในแต่ละวัน ตัวเงินตัวทอง จะกินอาหาร 1 กิโลกรัมต่อตัว โดยเบื้องต้นได้นำ รกหมู ลูกหมูที่ตายแล้ว มาเป็นอาหารให้วันละ 1 ครั้ง แต่ในระยะยาวนั้นทางโครงการได้มีการวิจัยที่จะเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดต่อไป ทั้งนี้ตัวเงินตัวทองเมื่อโตเต็มไวจะมีขนาดถึง 1 เมตร ถึง 2 เมตรครึ่ง เป็นขนาดที่เหมาะที่สุดสำหรับการจำหน่าย มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 กิโลกรัม ตัวใหญ่สุดสามารถมีน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม ออกไข่ปีละครั้ง ครั้งละประมาณ 30 ถึง 40 ฟอง ขณะที่อายุขัยก็แทบไม่น่าเชื่อเลยว่ามีอายุยืนถึง 30 ปี



มีข้อมูลล่าสุดว่า ปัจจุบันประเทศอิตาลีเป็นตลาดที่มีการค้าขายและนำเข้าตัวเงินตัวทองมากถึงปีละ 1 ล้านตัว สำหรับธุรกิจเครื่องหนัง ส่วนมากจะนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถจำหน่ายได้เพราะตัวเงินตัวทอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และยังติดอยู่กับข้อตกลงอนุสัญญาไซเตส หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งหากโครงการวิจัยนี้สำเร็จ โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีก 4 ถึง 5 ปีจากนี้ ก็จะนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอดำเนินการ ให้มีการเพาะเลี้ยงตัวเงินตัวทองอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป



ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับจากภาคเอกชนเจ้าของฟาร์มจระเข้ให้นำตัวเงินตัวทองมาทดลองเลี้ยงในระบบเดียวกับที่เลี้ยงจระเข้เพื่อการพาณิชย์ได้แล้ว  นอกจากนี้จากการสังเกตพฤติกรรม ยังพบว่าตัวเงินตัวทองยังมีนิสัยที่รักพวกพ้อง และยังรักเดียวใจเดียวอีกด้วย หลังจากนี้ไปเชื่อว่าทัศนคติที่มีต่อสัตว์ประเภทนี้จะเปลี่ยนไป เพราะมันกำลังจะกลายเป็นตัวเงินตัวทองที่แท้จริง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่