ขออนุญาตใช้พื้นที่ มาบุญครอง อีกครั้ง จ่อหัวกระทู้มาค่อนข้างแรง ด้วยความเคารพ โดยจะขอโฟกัสที่เฉพาะเรื่องจำนวนลูกค้า และกำไรที่ลดลง ว่าเหตุ ปัจจัยใด โดยจะไม่พูดถึงเรื่องอื่นเปรียบเทียบนะครับ
เป็นที่ทราบกันแล้ว หลังจากที่ เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ ได้มีการรายงานผลประกอบการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ผ่านหน้าเว็บไซต์
https://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=15082836912841&language=th&country=TH
ซึ่งก็เป็นไปตามคาดคือยอดลูกค้า ดีแทคลดลง 5 แสนกว่าเลขหมาย หรือครึ่งล้านเลขหมาย ในระยะเวลาแค่ไตรมาสเดียว หรือสามเดือน โดยจำนวนลูกค้าปัจจุบันอยู่ที่ 23.1 ล้านเลขหมาย โดยไตรมาสก่อน ลูกค้าอยู่ที่ 23.6 ล้านเลขหมาย มีรายได้ลดลง 3.3 % จากไตรมาสก่อน แต่กลายเป็นว่าเป็นบริษัท ที่หนี้สินน้อยที่สุดในบรรดาสามค่าย และลงทุนน้อยที่สุด
เป็นที่ทราบกันว่า ดีแทค ประเทศไทย มีการบริหารงานที่สวนทางกับ อีกสองเครือข่ายหลัก คือ บริหารประเมินผลกำไร ไตรมาส ต่อไตรมาส หรือทุกๆ สามเดือน แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ลงทุน ตุ้มเดียว เช่นดัง AIS TRUE ที่ยอมขาดทุนอย่างมหาศาลก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านโครงข่าย และความมั่นคงกับลูกค้า ว่าจะอยู่ด้วยกันยาว ไม่หนีไปไหน หรือคนไทยเรียก "ซื้อใจลูกค้าก่อน"
แต่ดูเหมือนว่าการบริหารแบบดีแทค จะไม่สามารถซื้อใจลูกค้าได้เลย เวลาเพียงสามเดือนลูกค้าเลือกที่จะหลุดหายไปครึ่งล้าน ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติแล้ว ตั้งแต่อดีตมา เรายังไม่เคยเห็นกรณีลักษณะดังกล่าวเช่นนี้ บ่อยมากนัก มีแต่เพิ่มในจำนวนเช่นนี้
สิ่งที่เป็น คีย์ เวิร์ด สำคัญ สำหรับในการย้ายเครือข่ายออกของลุกค้าครั้งนี้ เป็นผลมาจาก การสร้างความเชื่อมั่นด้านโครงข่าย ที่ ดีแทค ประเทศไทย เลือกที่จะขายฝัน การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โครงข่าย ในทิศทางที่ตรงกันข้ามในความเป็นจริง ดีแทคเป็นบริษัทให้บริการทางด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม แต่ศักยภาพด้านโครงข่ายนั้นน้อยเหลือเกิน และช้าเหลือเกินด้านการขยาย โดยจากรายงานจะสังเกตุได้ว่า ดีแทครายงานว่าจะทำให้ ดีแทค เป็น แบรนด์ ดิจิตอล อันดับ 1 ในปี 2563 ? ซึ่งถ้าหากเหลียวมามองทาง AIS True ในปี 63 คงล้ำหน้าไปไกลมากแล้ว ทั้งด้านโครงข่าย สินค้า บริการ และจำนวนลูกค้า
และยิ่ง กรณีข่าว ที่ประเทศมาเลเซีย ประกาศประมูลคลื่น 700 ในปี 2561 ซึ่งเชื่อว่าจะได้เงินเข้ารัฐถึง 78.000 ล้านบาท ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มาเลเซีย มีโครงข่าย DIGI ซึ่งบริษัทแม่คือ เทเลนอร์ ลงทุน และเป็นเจ้าของเดียวกันกับดีแทคประเทศไทย จะทุ่มเม็ดเงินลงไป มาเลเซียในการประมูลคลื่น ในปีหน้าหมดหรือไม่ จนลูกค้า ดีแทค ประเทศไทย ได้แต่มองตาปริบๆ ดีแทค ประเทศไทย อาจอยู่ในสภาพ "ร้าง" ลูกค้า และอาจลามไปถึง ร้าง"พนักงาน" ก็เป็นได้
(เนื้อหาข่าว
https://www.telecomasia.net/content/malaysia-hold-700-mhz-auction-2018)
(แปลไทย
http://www.magawn19.com/2017/10/700-78000-2561.html)
จริงอยู่ที่ดีแทค มีแผนงานในการบริหารงานที่ชัดเจนในไทย แต่จะทำได้จริงหรือไม่ หรือขายฝันจนชิน จนกระทั่งไม่มีใครสนใจในคำพูดๆ นั้นๆ แล้ว เพราะผลที่ออกมาย่อมสะท้อนถึงความเชื่อมั่น ความไว้ใจ และจริงอยู่ที่การบริหารงานต้องมีกำไร แต่มีกำไรบนตัวเลข และยอดผู้ใช้งานที่ลดลง ๆ ๆ ทุกไตรมาส สวนทางกับคู่แข่ง ดีแทคมีการบริหารที่ระมัดระวังเป็นอย่างสูงตลอดมา และยิ่งในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดผลกำไรในจำนวนที่สูงสุดในแต่ละละไตรมาส แต่ก็ยังลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับบางเครือขายที่มีจำนวนลูกค้ามากกว่าเกิน 3 ล้านกว่าเลขหมายจริง แต่ยังอยู่ในสภาพขาดทุนสะสม
หรือบางเครือข่ายที่จำนวนผู้ใช้ และกำไรเป็นอันดับ 1 แต่มีความเสี่ยงด้านธุรกิจสูงมากที่สุดเป็นอันดับ1 เช่นกัน
สุดท้าย อยากฝากไปถึง เทเลนอร์ ว่า "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" วัฒนะธรรมการบริหารองค์กรของแต่ละประเทศ เป็นสิ่งสำคัญมาก หรือต้องรอจนกว่า จำนวนลูกค้าเหลือต่ำกว่า 20 ล้านเลขหมาย จึงจะขยับ ปรับวัฒนธรรมการบริหารมาเป็น แบบไทย ที่ "ทุ่ม ซื้อใจ" อย่างมีนัยยะ.. ? เพราะผลที่ได้ มันคุ้มค่า เหลือเกิน
ทุกท่านคิดเห็น อย่างไรกันบ้างครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัย มา ณ ที่นี้
บทเรียน (ขายฝัน) แพงที่สุด ไตรมาส 3/60 DTAC ลูกค้าลด "ครึ่งล้าน" !! (วิเคราะห์)
เป็นที่ทราบกันแล้ว หลังจากที่ เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ ได้มีการรายงานผลประกอบการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ผ่านหน้าเว็บไซต์ https://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=15082836912841&language=th&country=TH
ซึ่งก็เป็นไปตามคาดคือยอดลูกค้า ดีแทคลดลง 5 แสนกว่าเลขหมาย หรือครึ่งล้านเลขหมาย ในระยะเวลาแค่ไตรมาสเดียว หรือสามเดือน โดยจำนวนลูกค้าปัจจุบันอยู่ที่ 23.1 ล้านเลขหมาย โดยไตรมาสก่อน ลูกค้าอยู่ที่ 23.6 ล้านเลขหมาย มีรายได้ลดลง 3.3 % จากไตรมาสก่อน แต่กลายเป็นว่าเป็นบริษัท ที่หนี้สินน้อยที่สุดในบรรดาสามค่าย และลงทุนน้อยที่สุด
เป็นที่ทราบกันว่า ดีแทค ประเทศไทย มีการบริหารงานที่สวนทางกับ อีกสองเครือข่ายหลัก คือ บริหารประเมินผลกำไร ไตรมาส ต่อไตรมาส หรือทุกๆ สามเดือน แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ลงทุน ตุ้มเดียว เช่นดัง AIS TRUE ที่ยอมขาดทุนอย่างมหาศาลก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านโครงข่าย และความมั่นคงกับลูกค้า ว่าจะอยู่ด้วยกันยาว ไม่หนีไปไหน หรือคนไทยเรียก "ซื้อใจลูกค้าก่อน"
แต่ดูเหมือนว่าการบริหารแบบดีแทค จะไม่สามารถซื้อใจลูกค้าได้เลย เวลาเพียงสามเดือนลูกค้าเลือกที่จะหลุดหายไปครึ่งล้าน ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติแล้ว ตั้งแต่อดีตมา เรายังไม่เคยเห็นกรณีลักษณะดังกล่าวเช่นนี้ บ่อยมากนัก มีแต่เพิ่มในจำนวนเช่นนี้
สิ่งที่เป็น คีย์ เวิร์ด สำคัญ สำหรับในการย้ายเครือข่ายออกของลุกค้าครั้งนี้ เป็นผลมาจาก การสร้างความเชื่อมั่นด้านโครงข่าย ที่ ดีแทค ประเทศไทย เลือกที่จะขายฝัน การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โครงข่าย ในทิศทางที่ตรงกันข้ามในความเป็นจริง ดีแทคเป็นบริษัทให้บริการทางด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม แต่ศักยภาพด้านโครงข่ายนั้นน้อยเหลือเกิน และช้าเหลือเกินด้านการขยาย โดยจากรายงานจะสังเกตุได้ว่า ดีแทครายงานว่าจะทำให้ ดีแทค เป็น แบรนด์ ดิจิตอล อันดับ 1 ในปี 2563 ? ซึ่งถ้าหากเหลียวมามองทาง AIS True ในปี 63 คงล้ำหน้าไปไกลมากแล้ว ทั้งด้านโครงข่าย สินค้า บริการ และจำนวนลูกค้า
และยิ่ง กรณีข่าว ที่ประเทศมาเลเซีย ประกาศประมูลคลื่น 700 ในปี 2561 ซึ่งเชื่อว่าจะได้เงินเข้ารัฐถึง 78.000 ล้านบาท ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มาเลเซีย มีโครงข่าย DIGI ซึ่งบริษัทแม่คือ เทเลนอร์ ลงทุน และเป็นเจ้าของเดียวกันกับดีแทคประเทศไทย จะทุ่มเม็ดเงินลงไป มาเลเซียในการประมูลคลื่น ในปีหน้าหมดหรือไม่ จนลูกค้า ดีแทค ประเทศไทย ได้แต่มองตาปริบๆ ดีแทค ประเทศไทย อาจอยู่ในสภาพ "ร้าง" ลูกค้า และอาจลามไปถึง ร้าง"พนักงาน" ก็เป็นได้
(เนื้อหาข่าว https://www.telecomasia.net/content/malaysia-hold-700-mhz-auction-2018)
(แปลไทย http://www.magawn19.com/2017/10/700-78000-2561.html)
จริงอยู่ที่ดีแทค มีแผนงานในการบริหารงานที่ชัดเจนในไทย แต่จะทำได้จริงหรือไม่ หรือขายฝันจนชิน จนกระทั่งไม่มีใครสนใจในคำพูดๆ นั้นๆ แล้ว เพราะผลที่ออกมาย่อมสะท้อนถึงความเชื่อมั่น ความไว้ใจ และจริงอยู่ที่การบริหารงานต้องมีกำไร แต่มีกำไรบนตัวเลข และยอดผู้ใช้งานที่ลดลง ๆ ๆ ทุกไตรมาส สวนทางกับคู่แข่ง ดีแทคมีการบริหารที่ระมัดระวังเป็นอย่างสูงตลอดมา และยิ่งในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดผลกำไรในจำนวนที่สูงสุดในแต่ละละไตรมาส แต่ก็ยังลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับบางเครือขายที่มีจำนวนลูกค้ามากกว่าเกิน 3 ล้านกว่าเลขหมายจริง แต่ยังอยู่ในสภาพขาดทุนสะสม
หรือบางเครือข่ายที่จำนวนผู้ใช้ และกำไรเป็นอันดับ 1 แต่มีความเสี่ยงด้านธุรกิจสูงมากที่สุดเป็นอันดับ1 เช่นกัน
สุดท้าย อยากฝากไปถึง เทเลนอร์ ว่า "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" วัฒนะธรรมการบริหารองค์กรของแต่ละประเทศ เป็นสิ่งสำคัญมาก หรือต้องรอจนกว่า จำนวนลูกค้าเหลือต่ำกว่า 20 ล้านเลขหมาย จึงจะขยับ ปรับวัฒนธรรมการบริหารมาเป็น แบบไทย ที่ "ทุ่ม ซื้อใจ" อย่างมีนัยยะ.. ? เพราะผลที่ได้ มันคุ้มค่า เหลือเกิน
ทุกท่านคิดเห็น อย่างไรกันบ้างครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัย มา ณ ที่นี้