คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
มีนักภาษาศึกษาไว้เยอะแล้วครับ จริงๆภาษาตระกูลไทกะไดมีคำจีนโบราณจากหลายยุคหลายราชวงศ์ปะปนอยู่ก่อนที่เกาหลีกับญี่ปุ่นจะรับวัฒนธรรมจีนเสียอีก ไม่ใช่แค่คำจีนยุคฉินหรือฮั่น เพราะมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปมาระหว่าง “ชาวหัวเซี่ย” ในลุ่มน้ำหวงโหกับ “ชาวไป่เยว่” ในลุ่มน้ำแยงซี ซึ่งรวมพวกพูดภาษาตระกูลไทกะได มอญเขมร มาแต่โบราณแล้ว
男 คือ “หนุ่ม”
女 คือ “ญิง” (หญิง เสียงนาสิก สำเนียงแต้จิ๋วว่า นึ่ง)
才 คือ “ชาย” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงความสามารถ,ทักษะแบบผู้ชาย)
娘 คือ “นาง”
乃 คือ “นาย”
夫 คือ “ผัว”
人 คือ “ฅน”
幺 คือ “เดียว”
零 คือ “นึ่ง” (เลขหนึ่ง ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงเลขศูนย์)
双 คิอ “สอง” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงคู่)
百 คือ “ปาก” (ภาษาไทใหญ่หมายถึงเลขหลักร้อย)
千 คือ “แสน” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงเลขหลักพัน)
万 คือ “หมื่น”
兆 คือ “ตื้อ” (ภาษาลาวและล้านนาหมายถึงร้อยล้าน)
開 คือ “ไข” (เปิด)
閉 คือ “ปิด”
關 คือ “กลอน” (ความหมายย้ายที่ มาจากรูปสลักกลอนประตู เดิมหมายถึงปิดลงสลักกลอน)
銅 คือ “ทอง” (จีนหมายถึงทองแดง)
金 คือ “ฅำ” (ทองคำ)
銀 คือ “เงือน” (เงิน)
飲 คือ “ดื่ม”
日 คือ “แดด” (ไทโบราณหมายถึงตะวัน)
热 คือ “เดือด” (ร้อน)
肉 คือ “ดูก” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงเนื้อ)
利 คือ “ดี”
害 คือ “ร้าย”
死 คือ “เสีย” (ตาย)
星 คือ “แสง” (จีนหมายถึงดาว)
声 คือ “เสียง”
獅 คือ “เสือ” (จีนหมายถึงสิงโต สัตว์ในตระกูลแมว)
屎 คือ “ขี้”
尿 คือ “เยี่ยว”
鳥 คือ “เหยี่ยว” (จีนหมายถึงนกทั่วไป)
沙 คือ “ทราย”
江 คือ “คลอง” (จีนโบราณหมายถึงแม่น้ำแยงซี สัมพันธ์กับ “กรง” “ซง” ในภาษามอญเขมร)
河 คือ “ห้วย”
北 คือ “บก” (ความหมายย้ายที่ ทิศที่ชี้ขึ้นไปบนบกคือทิศเหนือ)
南 คือ “น้ำ” (ความหมายย้ายที่ ทิศที่ชี้ลงไปทางน้ำคือทิศใต้)
島 คือ “เกาะ”
久/旧 คือ “เก่า” (นาน)
九 คือ “เก้า”
阜 คือ “ภู”
丘 คือ “เขา”
叩 คือ “เข่า”
道 คือ “เฃ้า”
稻 คือ “เข้า” (ข้าว)
橋 คือ “ขัว” (สะพาน)
求 คือ “ขอ”
点 คือ “แต้ม” (จุด)
内 คือ “ใน”
呢 คือ “นี้” (พบในภาษากวางตุ้ง)
那 คือ “นั้น”
哪 คือ “ไหน”
提 คือ “ถือ”
变 คือ “เปลี่ยน”
鳄 คือ “เงือก” (ความหมายย้ายที่ จระเข้)
鶚 คือ “เงือก” (ชื่อนก)
顎/齶 คือ “เหงือก”
牙 คือ “งา” (ไทยหมายถึงฟันช้าง จีนหมายถึงฟันเฉยๆ)
白 คือ “เผือก” (ขาว)
羊 คือ “เลียง/เยือง” (แพะ)
养 คือ “เลี้ยง”
話 คือ “ว่า”
言 คือ “แล่ง” (พูด)
告 คือ “กล่าว”
报 คือ “ป่าว” (ประกาศ)
早/朝 คือ “เช้า”
州 คือ “เจ้า” (จีนหมายถึงแคว้น, ผู้ปกครองแคว้น)
軍 คือ “ขุน” (ทหาร)
有 คือ “อยู่”
美 คือ “มี” (ความหมายย้ายที่ มาจากรูปคนมีเครื่องประดับสวมหัวเหมือนเขาแพะ แสดงถึงผู้มีฐานะ จีนหมายถึงสวยงาม)
春 คือ “สวน” (ฤดูที่มีพืชพรรณงอกงามอุดมสมบูรณ์)
秋 คือ “เฉา” (ฤดูที่พืชพรรณร่วงโรยผลัดใบ)
毛 คือ “หมออ้อย” (จีนหมายถึงขนทั่วไป ไทหมายถึงขนตรงที่ลับ)
龍 คือ “ลวง” (พญานาค, มังกร สัมพันธ์กับ “มะโรง” ที่ภาษาไทโบราณยืมมาจากพวกมอญเขมรด้วย)
騎象 คือ “ขี่ช้าง”
騎馬 คือ “ขี่ม้า”
書 คือ “สือ” (ตัวอักษร, หนังสือ)
墨 คือ “หมึก”
木 คือ “หมาก,บัก” (ต้นไม้ทั่วไป)
森 คือ “เถื่อน” (ป่าทึบ)
價 คือ “ค่า” (ราคา)
賈 คือ “ค้า”
本 คือ “พื้น”
没/未 คือ “หมด” (ไม่มี)
無 คือ “บ่” (ไม่)
唔 คือ “อ่ำ” (ภาษาไทใหญ่หมายถึง “ไม่” พบในภาษากวางตุ้ง)
ส่วนที่คนภาคเหนือเรียกชาวจีนฮั่นว่า “ห้อ” นั้น (ที่ถูกต้องต้องสะกด ด้วย ห.หีบ เพราะเป็นเสียงวรรณยุกต์เบญจมา) มาจาก 華/华 ในสำเนียงยูนนานออกเสียงว่า “ฮว่อ” (ควบกล้ำ ว) ไม่ได้มาจาก 回 (หุย) ที่หมายถึงชาวมุสลิมหนิงเซี่ยแต่อย่างใด เพราะ “ห้อ” ในนิยามคนภาคเหนือหมายถึงคนจีนยูนนาน โดยไม่สนว่าจะนับถือศาสนาอะไร คนจีนยูนนานก็เรียกตัวเองว่า 华人 (ฮว่อ-หรัน)
ส่วนที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า “แข่” นั้น ผมว่าน่าจะมาจาก 夏 ในสำเนียงจีนโบราณ “แห้” เพราะประเทศจีนโบราณชื่อว่า หัวเซี่ย (華夏) คนไตจึงเรียกคนจีนว่า “ห้อ,แข่”
นอกจากคำในภาษาพูดแล้ว อาจเป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษคนไทกะไดอาจเคยใช้อักษรภาพที่ได้รับอิทธิพลจากชาวหัวเซี่ยด้วย ซึ่งชนเผ่าสุ่ย ซึ่งเป็นเผ่าที่พูดภาษาไทกะไดยังรักษาอักษรภาพพื้นเมืองที่เรียกว่า สุ่ยซู (水书) เอาไว้ ซึ่งผมมีพจนานุกรมอยู่ อักษรหลายตัวละม้ายอักษรกระดองเต่า (เจียกู่เหวิน) ของชาวฮั่นมาก แสดงว่าบรรพบุรุษคนไทกะไดเคยใช้อักษรภาพเหมือนกับคนจีนมาก่อนรับวัฒนธรรมอินเดีย
นี่คือตัวอย่างอักษรภาพของชาวสุ่ย ซึ่งผมมีพจนานุกรมแบบเต็มเล่มอยู่ เป็นอักษรสุ่ย-แปลภาษาจีน น่าสนใจมาก ผมลองแปลบางตัวเทียบภาษาไทย-จีนให้ดูนะครับ
天 บน, แถน
บ่อน
犬 หมา
戌 หมา, เส็ด (ชื่อปีจอในปฏิทินหนไทโบราณ)
今 เมื่อ นี้
豕 หมู
未 มิ, ยัง
刀 มีด
馬 ม้า
牛 งัว
木 ไม้
ชาวจ้วงและชาวปู้ยีก็มีอักษรภาพลักษณะคล้ายๆกันนี้เขียนลงบนผ้า ต่อมาในยุคที่ถูกชาวฮั่นปกครองชาวจ้วงก็เอาอักษรจีนมาดัดแปลงใช้เขียนคำไทโดยตรงเรียกว่า “สือดิบ” คล้ายอักษรจื๋อโนมของเวียดนาม
ตัวอย่างอักษรภาพโบราณของชาวจ้วง
ผมเพิ่งไปลี่เจียงมา ชนพื้นเมืองหน่าซีก็มีอักษรภาพของตัวเองเรียกว่าอักษรตงปา (东巴文字) น่าสนใจศึกษามาก ซึ่งผมก็ไม่พลาดแน่นอนซื้อพจนานุกรมอักษรตงปากลับบ้านมาเรียบร้อย
อักษรตงปาของชาวหน่าซีพบได้ทั่วไปในลี่เจียง
男 คือ “หนุ่ม”
女 คือ “ญิง” (หญิง เสียงนาสิก สำเนียงแต้จิ๋วว่า นึ่ง)
才 คือ “ชาย” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงความสามารถ,ทักษะแบบผู้ชาย)
娘 คือ “นาง”
乃 คือ “นาย”
夫 คือ “ผัว”
人 คือ “ฅน”
幺 คือ “เดียว”
零 คือ “นึ่ง” (เลขหนึ่ง ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงเลขศูนย์)
双 คิอ “สอง” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงคู่)
百 คือ “ปาก” (ภาษาไทใหญ่หมายถึงเลขหลักร้อย)
千 คือ “แสน” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงเลขหลักพัน)
万 คือ “หมื่น”
兆 คือ “ตื้อ” (ภาษาลาวและล้านนาหมายถึงร้อยล้าน)
開 คือ “ไข” (เปิด)
閉 คือ “ปิด”
關 คือ “กลอน” (ความหมายย้ายที่ มาจากรูปสลักกลอนประตู เดิมหมายถึงปิดลงสลักกลอน)
銅 คือ “ทอง” (จีนหมายถึงทองแดง)
金 คือ “ฅำ” (ทองคำ)
銀 คือ “เงือน” (เงิน)
飲 คือ “ดื่ม”
日 คือ “แดด” (ไทโบราณหมายถึงตะวัน)
热 คือ “เดือด” (ร้อน)
肉 คือ “ดูก” (ความหมายย้ายที่ จีนหมายถึงเนื้อ)
利 คือ “ดี”
害 คือ “ร้าย”
死 คือ “เสีย” (ตาย)
星 คือ “แสง” (จีนหมายถึงดาว)
声 คือ “เสียง”
獅 คือ “เสือ” (จีนหมายถึงสิงโต สัตว์ในตระกูลแมว)
屎 คือ “ขี้”
尿 คือ “เยี่ยว”
鳥 คือ “เหยี่ยว” (จีนหมายถึงนกทั่วไป)
沙 คือ “ทราย”
江 คือ “คลอง” (จีนโบราณหมายถึงแม่น้ำแยงซี สัมพันธ์กับ “กรง” “ซง” ในภาษามอญเขมร)
河 คือ “ห้วย”
北 คือ “บก” (ความหมายย้ายที่ ทิศที่ชี้ขึ้นไปบนบกคือทิศเหนือ)
南 คือ “น้ำ” (ความหมายย้ายที่ ทิศที่ชี้ลงไปทางน้ำคือทิศใต้)
島 คือ “เกาะ”
久/旧 คือ “เก่า” (นาน)
九 คือ “เก้า”
阜 คือ “ภู”
丘 คือ “เขา”
叩 คือ “เข่า”
道 คือ “เฃ้า”
稻 คือ “เข้า” (ข้าว)
橋 คือ “ขัว” (สะพาน)
求 คือ “ขอ”
点 คือ “แต้ม” (จุด)
内 คือ “ใน”
呢 คือ “นี้” (พบในภาษากวางตุ้ง)
那 คือ “นั้น”
哪 คือ “ไหน”
提 คือ “ถือ”
变 คือ “เปลี่ยน”
鳄 คือ “เงือก” (ความหมายย้ายที่ จระเข้)
鶚 คือ “เงือก” (ชื่อนก)
顎/齶 คือ “เหงือก”
牙 คือ “งา” (ไทยหมายถึงฟันช้าง จีนหมายถึงฟันเฉยๆ)
白 คือ “เผือก” (ขาว)
羊 คือ “เลียง/เยือง” (แพะ)
养 คือ “เลี้ยง”
話 คือ “ว่า”
言 คือ “แล่ง” (พูด)
告 คือ “กล่าว”
报 คือ “ป่าว” (ประกาศ)
早/朝 คือ “เช้า”
州 คือ “เจ้า” (จีนหมายถึงแคว้น, ผู้ปกครองแคว้น)
軍 คือ “ขุน” (ทหาร)
有 คือ “อยู่”
美 คือ “มี” (ความหมายย้ายที่ มาจากรูปคนมีเครื่องประดับสวมหัวเหมือนเขาแพะ แสดงถึงผู้มีฐานะ จีนหมายถึงสวยงาม)
春 คือ “สวน” (ฤดูที่มีพืชพรรณงอกงามอุดมสมบูรณ์)
秋 คือ “เฉา” (ฤดูที่พืชพรรณร่วงโรยผลัดใบ)
毛 คือ “หมออ้อย” (จีนหมายถึงขนทั่วไป ไทหมายถึงขนตรงที่ลับ)
龍 คือ “ลวง” (พญานาค, มังกร สัมพันธ์กับ “มะโรง” ที่ภาษาไทโบราณยืมมาจากพวกมอญเขมรด้วย)
騎象 คือ “ขี่ช้าง”
騎馬 คือ “ขี่ม้า”
書 คือ “สือ” (ตัวอักษร, หนังสือ)
墨 คือ “หมึก”
木 คือ “หมาก,บัก” (ต้นไม้ทั่วไป)
森 คือ “เถื่อน” (ป่าทึบ)
價 คือ “ค่า” (ราคา)
賈 คือ “ค้า”
本 คือ “พื้น”
没/未 คือ “หมด” (ไม่มี)
無 คือ “บ่” (ไม่)
唔 คือ “อ่ำ” (ภาษาไทใหญ่หมายถึง “ไม่” พบในภาษากวางตุ้ง)
ส่วนที่คนภาคเหนือเรียกชาวจีนฮั่นว่า “ห้อ” นั้น (ที่ถูกต้องต้องสะกด ด้วย ห.หีบ เพราะเป็นเสียงวรรณยุกต์เบญจมา) มาจาก 華/华 ในสำเนียงยูนนานออกเสียงว่า “ฮว่อ” (ควบกล้ำ ว) ไม่ได้มาจาก 回 (หุย) ที่หมายถึงชาวมุสลิมหนิงเซี่ยแต่อย่างใด เพราะ “ห้อ” ในนิยามคนภาคเหนือหมายถึงคนจีนยูนนาน โดยไม่สนว่าจะนับถือศาสนาอะไร คนจีนยูนนานก็เรียกตัวเองว่า 华人 (ฮว่อ-หรัน)
ส่วนที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า “แข่” นั้น ผมว่าน่าจะมาจาก 夏 ในสำเนียงจีนโบราณ “แห้” เพราะประเทศจีนโบราณชื่อว่า หัวเซี่ย (華夏) คนไตจึงเรียกคนจีนว่า “ห้อ,แข่”
นอกจากคำในภาษาพูดแล้ว อาจเป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษคนไทกะไดอาจเคยใช้อักษรภาพที่ได้รับอิทธิพลจากชาวหัวเซี่ยด้วย ซึ่งชนเผ่าสุ่ย ซึ่งเป็นเผ่าที่พูดภาษาไทกะไดยังรักษาอักษรภาพพื้นเมืองที่เรียกว่า สุ่ยซู (水书) เอาไว้ ซึ่งผมมีพจนานุกรมอยู่ อักษรหลายตัวละม้ายอักษรกระดองเต่า (เจียกู่เหวิน) ของชาวฮั่นมาก แสดงว่าบรรพบุรุษคนไทกะไดเคยใช้อักษรภาพเหมือนกับคนจีนมาก่อนรับวัฒนธรรมอินเดีย
นี่คือตัวอย่างอักษรภาพของชาวสุ่ย ซึ่งผมมีพจนานุกรมแบบเต็มเล่มอยู่ เป็นอักษรสุ่ย-แปลภาษาจีน น่าสนใจมาก ผมลองแปลบางตัวเทียบภาษาไทย-จีนให้ดูนะครับ
天 บน, แถน
บ่อน
犬 หมา
戌 หมา, เส็ด (ชื่อปีจอในปฏิทินหนไทโบราณ)
今 เมื่อ นี้
豕 หมู
未 มิ, ยัง
刀 มีด
馬 ม้า
牛 งัว
木 ไม้
ชาวจ้วงและชาวปู้ยีก็มีอักษรภาพลักษณะคล้ายๆกันนี้เขียนลงบนผ้า ต่อมาในยุคที่ถูกชาวฮั่นปกครองชาวจ้วงก็เอาอักษรจีนมาดัดแปลงใช้เขียนคำไทโดยตรงเรียกว่า “สือดิบ” คล้ายอักษรจื๋อโนมของเวียดนาม
ตัวอย่างอักษรภาพโบราณของชาวจ้วง
ผมเพิ่งไปลี่เจียงมา ชนพื้นเมืองหน่าซีก็มีอักษรภาพของตัวเองเรียกว่าอักษรตงปา (东巴文字) น่าสนใจศึกษามาก ซึ่งผมก็ไม่พลาดแน่นอนซื้อพจนานุกรมอักษรตงปากลับบ้านมาเรียบร้อย
อักษรตงปาของชาวหน่าซีพบได้ทั่วไปในลี่เจียง
แสดงความคิดเห็น
บรรพบุรุษของคนไทสยามได้อพยพลงใต้ในสมัยยุคฉินฮั่น?
豪 อ่านว่า เห้า แปลเป็นไทยตามเสียงตามตัวได้เลยว่า ห้าว(หาญ)
好漢 อ่านว่า เห่าฮั่น แปลเป็นไทยตามเสียงตามตัวได้เลยว่า ห้าวหาญ (แปลตามตัวอักษรจีนคือคนฮั่นที่ดี) ซึ่งเสียง”ฮั่น”นี้จะไปตรงกับอีกอักษรหนึ่งคือ"悍"ที่แปลว่าดุร้าย
และเมื่อเอาอักษรจีนนี้มาผสมกันแบบเล่นๆ ก็จะพบความหมายลงกันแบบแปลกๆ เช่น
豪漢/ 豪悍 อ่านว่า เห้าฮั่น ซึ่งพอแปลเป็นไทยแบบใกล้รูปใกล้เสียงจะเกิดจินตนาการถึงความห้าวหาญ กล้าหาญ ดุดัน ดุร้าย แบบไม่ต้องคิดมาก
ยิ่งกว่านั้นเมื่อเอาศัพท์ร่วมง่ายๆ อย่างคำว่าหญิงหรือคำว่าชายมาผสม เช่น
女漢 อ่านว่า หนฺวี่ฮั่น จะออกเสียงเป็นไทยได้ว่า นางหาญ
男漢 อ่านว่า หนานฮั่น จะออกเสียงเป็นไทยได้ว่า นายหาญ
ซึ่งสองคำนี้เมื่อพูดออกมาคนไทยจะไม่นึกถึงคนฮั่นเพศหญิงหรือคนฮั่นเพศชายเลย แต่จะเกิดจินตภาพได้ถึงผู้หญิงกับผู้ชายที่ความดุร้ายกล้าหาญมากกว่า และมันจะไปใกล้กับคำว่า”ตาหาญ”หรือคำว่า”ทหาร”มาก
เป็นที่รู้กันอยู่ว่าบรรพบุรุษคนไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน แต่พวกคนไทตอนบนๆ ที่อยู่ใกล้จีนอย่างไทยวน ไทลื้อกลับเรียกคนจีนว่า”ฮ่อ” และไทใหญ่กลับเรียกคนจีนว่า”แข่” (ซึ่งคำว่า”แข่”นี้จะตรงกับคำว่าแขก(客)ในภาษาจีนอีกที)
แต่ไทสยามซึ่งเป็นไทสายหนึ่งที่อยู่ทางใต้สุดกลับไม่เคยเรียกคนจีนเหมือนพวกพี่น้อง แต่จะเรียกคนจีนว่า”จีน” ซึ่งคำว่า”จีน”นี้สันนิษฐานว่ามาจากภาษาจีนว่า”ฉิน”(秦) จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า แท้จริงแล้วบรรพบุรุษคนไทสยามสมัยก่อนนั้นได้อพยพลงใต้ในยุคสมัยฉินฮั่นหรือไม่? เพราะในภาษาไทยยังเก็บคำที่แสดงถึงคนจีนสมัยก่อนได้ถึงสองคำสำคัญ คือ คำว่า”จีน”ที่แสดงถึงรัฐฉิน(秦) กับว่า”หาญ”ที่แสดงคนฮั่น(漢) และพ้นจากนั้นก็ไม่มีคำแสดงถึงชื่อเมืองหรืออาณาจักรของจีนที่เป็นภาษาไทย ที่ออกเสียงแบบไทยๆ ที่ใหม่กว่าสองยุคนี้อีกเลย
ปล. เรื่องศัพท์ร่วมไทยจีน ยิ่งค้นยิ่งพิศวง เช่น
麗 อ่านว่า ลี่ จีนแปลว่างาม ไทใหญ่อ่านว่า”หลี” ไทสยามอ่านว่า”ดี(งาม)” (ตามหลักไทใหญ่จะออกเสียงกลางเป็นเสียงจัตวาและจะออกเสียงด.เด็กเป็นล.ลิง)
昊 อ่านว่า เห้า แปลเป็นไทยตามเสียงตามตัวได้เลยว่า หาว(ท้องฟ้ากว้าง)
廣 อ่านว่า กว่าง แปลเป็นไทยตามเสียงตามตัวได้เลยว่า กว้าง
นอกจากนี้ยังมีศัพท์ผสมแปลกๆ ที่ตรงรูปกับเสียงไทยอีกหลายคำ เช่น
離开 อ่านว่า หลีไค แปลเป็นไทยตามเสียงตามตัวได้เลยว่า ลี้ไกล
快 อ่านว่า ไคว่ จีนแปลว่าไว แต่ไทยกลับแปลได้ตรงรูปเสียงอีกอย่างว่า ใกล้ เช่น ใกล้ตายแล้ว 快死了(ไคว่ซี้เล่อ) ซึ่งเสียง”ไคว่”กับเสียง”ใกล้”จะตรงกันมากเมื่อออกเสียงไม้ม้วนแบบโบราณ
โดยเฉพาคำว่า”นาย”กับ”นาง” ที่จีนอ่าน”หนาน”(男)กับ”หนฺวี่”(女)นั้น รูปเดิมน่าจะใช้ในฐานะสรรพนามแสดงเพศชายหญิง เช่น ถามผู้หญิงว่า นางไปไหน หรือ ถามผู้ชายว่า ใช่นายหรือเปล่า(โดยเฉพาะคำว่า”ใช่”ในภาษาไทยนั้นหากออกด้วยเสียงไม้ม้วนโบราณแล้ว มันจะใกล้กับคำว่า”是”ในภาษาจีนที่แปลว่า เป็น,คือ,ใช่ ได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ)