มีทฤษฎีใหม่อธิบายที่มาของชนเผ่าไทย โดยใช้วิธีวิเคราะห์การแตกแขนงของภาษา เชื่อว่าบรรพบุรษคนไทยน่าจะเป็นเชื้อสายชาวมาลาโย-โพลีนีเซียน โดยอ้างว่าโครงสร้างภาษาคือไวยกรณ์ของภาษาไทยคล้ายกลุ่ม มอญ-เขมร มากกว่ากลุ่ม จีน-ธิเบต
ทฤษฎีนี้ขัดกับความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อว่า คนไทยมีบรรพบุรุษร่วมกับกลุ่ม จีน-ธิเบต เพราะใช้ภาษาคำโดดเหมือนกัน และมีคำศัพท์ที่คล้ายกันจำนวนมาก แต่ทฤษฎีใหม่กล่าวว่าคำศัพท์จากภาษาอื่นสามารถแทรกเข้ามาแทนที่หรือยืมมาใช้ได้ง่ายๆ แต่ไวยกรณ์ของภาษาอื่นยากที่จะเข้ามาแทนที่ไวยกรณ์ของภาษาเดิม ดังนั้นถ้าจะดูการแตกแขนงทางภาษาควรต้องให้ความสำคัญกับไวยกรณ์ด้วย ไม่ใช่ดูแต่รากคำศัพท์หรือการออกเสียง
กรณีของภาษาไทย มีคำศัพท์คำโดดที่มีรากศัพท์คล้ายกับภาษาจีนเป็นจำนวนมาก นักวิชาการสมัยก่อนจึงจัดให้ภาษาไทยอยู่ในกลุ่มจีน-ธิเบต แต่ทว่าไวยกรณ์ของภาษาไทยมีความแตกต่างจากจีนอยู่บ้าง โดยส่วนที่ต่างกันนี้กลับไปเหมือนภาษาออสโตรนีเซียน ทำให้โครงสร้างไวยกรณ์ภาษาไทยมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มภาษาออสโตรนีเซียนมากกว่า รวมทั้งยังคงมีคำศัพท์ที่อยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรนีเซียนเหลืออยู่มากพอควร คำศัพท์เหล่านี้มีอยู่ในกลุ่มคนเผ่าไทที่มีถิ่นอาศัยห่างไกลจากชนชาติออสโตรนีเซียน ทำให้เกิดคำถามว่าการผสมผสานคำศัพท์กับไวยกรณ์จากภาษาสองตระกูลเกิดขึ้นในลักษณะใด ถ้ารวมน้ำหนักของคำศัพท์ออสโตรนีเซียนบวกกับไวยกรณ์ บรรพบุรุษของคนไทยน่าจะเป็นชาวออสโตรนีเซียน แต่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งบรรพบุรุษของคนไทยได้เข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มชาวจีน-ธิเบต และรับคำศัพท์คำโดดจำนวนมากเข้ามาใช้ แต่ยังคงรักษาวิธีใช้ไวยกรณ์แบบดั้งเดิมของตน
การกำเนิดขึ้นของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทนั้น แต่ก่อนเคยคิดว่าคนไทมีบรรพบุรุษร่วมกับชาวจีน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนไทยจะมีจุดเริ่มต้นบนแผ่นดินใหญ่ในพื้นที่ติดกับประเทศจีน แต่พอมีทฤษฎีว่าคนไทยเป็นแขนงหนึ่งของชาวออสโตรนีเซียนก็เกิดปัญหาทันที เพราะออสโตรนีเซียนเป็นชาวเกาะ แล้วชาวออสโตรนีเซียนไปมาอย่างไรจึงมาอยู่บนพื้นทวีปที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนเผ่าไทได้
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีค้นพบว่าชาวโพลีนีเซียนมีจุดกำเนิดอยู่บนเกาะไต้หวัน โดยอาศัยอยู่ที่นั่นก่อนที่จะมีชาวจีนอพยพเข้าไป จนกระทั่งประมาณสามพันปีก่อนคริสตกาล ชาวโพลีนีเซียนได้ค้นพบวิชาการเดินเรือ ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของชาติพันธ์โพลีนีเซียน (Polynesian Expansion) ชาวโพลีนีเซียนเริ่มออกเดินทางจากไต้หวันข้ามทะเลไปสู่หมู่เกาะต่างๆโดยมีฟิลิปปินส์เป็นจุดพักแห่งแรก แล้วค่อยกระจายออกไป ทฤษฎีเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชาวโพลีนีเซียนว่ามีจุดเริ่มต้นจากเกาะไต้หวันนั้น ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการค่อนข้างมั่นคงแล้ว
ในส่วนของชนเผ่าไทยนั้น ดูรูปบน มีสมมติฐานอธิบายว่ามีชาวโพลีนีเซียนจำนวนหนึ่งอพยพจากหมู่เกาะย้อนกลับขึ้นแผ่นดินใหญ่ กลุ่มหนึ่งจากเกาะบอร์เนียวกลับขึ้นบกที่ปลายแหลมญวนซึ่งเป็นที่อยู่ของชนชาติเขมร จาม อีกกลุ่มมาขึ้นบกแถวมณฑลกวางสี โดยนักวิชาการบางท่านเชื่อว่ามาจากฟิลิปปินส์ แต่บางท่านเชื่อว่ามาจากไต้หวันโดยตรง ซึ่งเป็นการขึ้นบกท่ามกลางกลุ่มคนที่เป็นชาติพันธ์ จีน-ธิเบต เมื่อต้องติดต่อใกล้ชิดกับคนรอบข้างที่ใช้ภาษาคำโดด ชาวโพลีนีเซียนกลุ่มนี้จึงรับคำศัพท์จากเพื่อนบ้านเข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก และกลายเป็นต้นตระกูลของคนไทย แล้วค่อยแพร่กระจายออกๆไปตามรูปข้างล่าง
โดยกลุ่มคนไทยที่เป็นแกนหลักจะอพยพขยายไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เกิดเป็นแถบที่อยู่ของคนไทย เรียกว่า Tai belt เริ่มจากสิบสองจุไททางตอนเหนือของเวียดนาม เป็นแนวพาดผ่านสิบสองปันนา รัฐฉาน ไปจนถึงไทอาหมในรัฐอัสสัม ในทางภาษาศาสตร์คนไทยกลุ่มนี้ถือว่าเป็นชาติพันธ์ไทยขนานแท้ และถูกใช้เป็นกลุ่มอ้างอิงของการศึกษา ส่วนคนไทยที่อยู่ทางเหนือของแถบนี้จะมีอิทธิพลของจีน-ธิเบตเข้ามาผสม ส่วนที่อพยพลงไปทางใต้ก็จะมีอิทธิพลของมอญ-เขมรเข้ามาผสม
สรุปโดยอุปมา คนไทยเปรียบเหมือนเด็กพลัดหลงที่ไปเติบโตในหมู่บ้านของคนจีน รู้ภาษาจีนหลายคำ จนใครๆนึกว่าเป็นญาติกับคนจีน แต่พอตรวจสอบไวยกรณ์ซึ่งเป็น DNA ทางภาษาจึงพบว่าแท้จริงแล้วเป็นพี่น้องร่วมวงศ์ตระกูลกับเขมร มาลายู
นักวิชาการนอกประเทศจำนวนหนึ่งได้แยกภาษาไทยออกจากกลุ่มภาษาจีน-ธิเบต แล้วเอาไปรวมกับกลุ่ม มาลาโย-โพลีนีเซียน เรียกว่ากลุ่ม ออสโตร-ไท (Austro-Tai) แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยเป็นที่สนใจของคนในประเทศ ในความรู้สึกของผมอาจเป็นเพราะคนไทยจำนวนมากมีแนวโน้มอยากจะนับเป็นเครือญาติกับคนจีนมากกว่าที่จะนับเป็นเครือญาติกับชาวเขมร ด้วยเหตุผลทางด้านรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งอิทธิพลทางวัฒนธรรมของคนที่มีเชื้อสายจีนที่มีอยู่อย่างมากในประเทศนี้
อย่างน้อยแนวคิดที่จะย้ายค่ายก็ปรากฏอยู่ใน วิกิพีเดีย แล้ว
ตระกูลภาษาไท-กะได (อังกฤษ: Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก
https://th.wikipedia.org/wiki/ตระกูลภาษาไท-กะได
ทฤษฎีกำเนิดชนเผ่าไทยโดยดูจากวิวัฒนาการทางภาษา
ทฤษฎีนี้ขัดกับความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อว่า คนไทยมีบรรพบุรุษร่วมกับกลุ่ม จีน-ธิเบต เพราะใช้ภาษาคำโดดเหมือนกัน และมีคำศัพท์ที่คล้ายกันจำนวนมาก แต่ทฤษฎีใหม่กล่าวว่าคำศัพท์จากภาษาอื่นสามารถแทรกเข้ามาแทนที่หรือยืมมาใช้ได้ง่ายๆ แต่ไวยกรณ์ของภาษาอื่นยากที่จะเข้ามาแทนที่ไวยกรณ์ของภาษาเดิม ดังนั้นถ้าจะดูการแตกแขนงทางภาษาควรต้องให้ความสำคัญกับไวยกรณ์ด้วย ไม่ใช่ดูแต่รากคำศัพท์หรือการออกเสียง
กรณีของภาษาไทย มีคำศัพท์คำโดดที่มีรากศัพท์คล้ายกับภาษาจีนเป็นจำนวนมาก นักวิชาการสมัยก่อนจึงจัดให้ภาษาไทยอยู่ในกลุ่มจีน-ธิเบต แต่ทว่าไวยกรณ์ของภาษาไทยมีความแตกต่างจากจีนอยู่บ้าง โดยส่วนที่ต่างกันนี้กลับไปเหมือนภาษาออสโตรนีเซียน ทำให้โครงสร้างไวยกรณ์ภาษาไทยมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มภาษาออสโตรนีเซียนมากกว่า รวมทั้งยังคงมีคำศัพท์ที่อยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรนีเซียนเหลืออยู่มากพอควร คำศัพท์เหล่านี้มีอยู่ในกลุ่มคนเผ่าไทที่มีถิ่นอาศัยห่างไกลจากชนชาติออสโตรนีเซียน ทำให้เกิดคำถามว่าการผสมผสานคำศัพท์กับไวยกรณ์จากภาษาสองตระกูลเกิดขึ้นในลักษณะใด ถ้ารวมน้ำหนักของคำศัพท์ออสโตรนีเซียนบวกกับไวยกรณ์ บรรพบุรุษของคนไทยน่าจะเป็นชาวออสโตรนีเซียน แต่ ณ ช่วงเวลาหนึ่งบรรพบุรุษของคนไทยได้เข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มชาวจีน-ธิเบต และรับคำศัพท์คำโดดจำนวนมากเข้ามาใช้ แต่ยังคงรักษาวิธีใช้ไวยกรณ์แบบดั้งเดิมของตน
การกำเนิดขึ้นของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทนั้น แต่ก่อนเคยคิดว่าคนไทมีบรรพบุรุษร่วมกับชาวจีน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนไทยจะมีจุดเริ่มต้นบนแผ่นดินใหญ่ในพื้นที่ติดกับประเทศจีน แต่พอมีทฤษฎีว่าคนไทยเป็นแขนงหนึ่งของชาวออสโตรนีเซียนก็เกิดปัญหาทันที เพราะออสโตรนีเซียนเป็นชาวเกาะ แล้วชาวออสโตรนีเซียนไปมาอย่างไรจึงมาอยู่บนพื้นทวีปที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนเผ่าไทได้
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีค้นพบว่าชาวโพลีนีเซียนมีจุดกำเนิดอยู่บนเกาะไต้หวัน โดยอาศัยอยู่ที่นั่นก่อนที่จะมีชาวจีนอพยพเข้าไป จนกระทั่งประมาณสามพันปีก่อนคริสตกาล ชาวโพลีนีเซียนได้ค้นพบวิชาการเดินเรือ ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของชาติพันธ์โพลีนีเซียน (Polynesian Expansion) ชาวโพลีนีเซียนเริ่มออกเดินทางจากไต้หวันข้ามทะเลไปสู่หมู่เกาะต่างๆโดยมีฟิลิปปินส์เป็นจุดพักแห่งแรก แล้วค่อยกระจายออกไป ทฤษฎีเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชาวโพลีนีเซียนว่ามีจุดเริ่มต้นจากเกาะไต้หวันนั้น ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการค่อนข้างมั่นคงแล้ว
ในส่วนของชนเผ่าไทยนั้น ดูรูปบน มีสมมติฐานอธิบายว่ามีชาวโพลีนีเซียนจำนวนหนึ่งอพยพจากหมู่เกาะย้อนกลับขึ้นแผ่นดินใหญ่ กลุ่มหนึ่งจากเกาะบอร์เนียวกลับขึ้นบกที่ปลายแหลมญวนซึ่งเป็นที่อยู่ของชนชาติเขมร จาม อีกกลุ่มมาขึ้นบกแถวมณฑลกวางสี โดยนักวิชาการบางท่านเชื่อว่ามาจากฟิลิปปินส์ แต่บางท่านเชื่อว่ามาจากไต้หวันโดยตรง ซึ่งเป็นการขึ้นบกท่ามกลางกลุ่มคนที่เป็นชาติพันธ์ จีน-ธิเบต เมื่อต้องติดต่อใกล้ชิดกับคนรอบข้างที่ใช้ภาษาคำโดด ชาวโพลีนีเซียนกลุ่มนี้จึงรับคำศัพท์จากเพื่อนบ้านเข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก และกลายเป็นต้นตระกูลของคนไทย แล้วค่อยแพร่กระจายออกๆไปตามรูปข้างล่าง
โดยกลุ่มคนไทยที่เป็นแกนหลักจะอพยพขยายไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เกิดเป็นแถบที่อยู่ของคนไทย เรียกว่า Tai belt เริ่มจากสิบสองจุไททางตอนเหนือของเวียดนาม เป็นแนวพาดผ่านสิบสองปันนา รัฐฉาน ไปจนถึงไทอาหมในรัฐอัสสัม ในทางภาษาศาสตร์คนไทยกลุ่มนี้ถือว่าเป็นชาติพันธ์ไทยขนานแท้ และถูกใช้เป็นกลุ่มอ้างอิงของการศึกษา ส่วนคนไทยที่อยู่ทางเหนือของแถบนี้จะมีอิทธิพลของจีน-ธิเบตเข้ามาผสม ส่วนที่อพยพลงไปทางใต้ก็จะมีอิทธิพลของมอญ-เขมรเข้ามาผสม
สรุปโดยอุปมา คนไทยเปรียบเหมือนเด็กพลัดหลงที่ไปเติบโตในหมู่บ้านของคนจีน รู้ภาษาจีนหลายคำ จนใครๆนึกว่าเป็นญาติกับคนจีน แต่พอตรวจสอบไวยกรณ์ซึ่งเป็น DNA ทางภาษาจึงพบว่าแท้จริงแล้วเป็นพี่น้องร่วมวงศ์ตระกูลกับเขมร มาลายู
นักวิชาการนอกประเทศจำนวนหนึ่งได้แยกภาษาไทยออกจากกลุ่มภาษาจีน-ธิเบต แล้วเอาไปรวมกับกลุ่ม มาลาโย-โพลีนีเซียน เรียกว่ากลุ่ม ออสโตร-ไท (Austro-Tai) แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยเป็นที่สนใจของคนในประเทศ ในความรู้สึกของผมอาจเป็นเพราะคนไทยจำนวนมากมีแนวโน้มอยากจะนับเป็นเครือญาติกับคนจีนมากกว่าที่จะนับเป็นเครือญาติกับชาวเขมร ด้วยเหตุผลทางด้านรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งอิทธิพลทางวัฒนธรรมของคนที่มีเชื้อสายจีนที่มีอยู่อย่างมากในประเทศนี้
อย่างน้อยแนวคิดที่จะย้ายค่ายก็ปรากฏอยู่ใน วิกิพีเดีย แล้ว
ตระกูลภาษาไท-กะได (อังกฤษ: Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก
https://th.wikipedia.org/wiki/ตระกูลภาษาไท-กะได