(1)
ถัดจาก Frozen 2 ในปี 2019 ก็เป็นคิวของ “เจ้าหญิงแห่งหมู่เกาะทะเลใต้” อย่าง “โมอาน่า” (พากย์โดย Auli’i Cravalho/มณีภัสสร มอลลอย) ที่ได้มีภาคต่อเกิดขึ้น ซึ่งหากนับในหมู่มวลเจ้าหญิงดิสนีย์แล้ว Moana เป็นเรื่องที่สองที่ได้มีภาคต่อถัดจาก Frozen 2 และเมื่อมองย้อนกลับไปยังภาคแรกในปี 2016 ที่ทิ้งช่วงกันนานถึง 8 ปีเลยทีเดียว ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาอันพอเหมาะพอเจาะสำหรับการผจญภัยครั้งใหม่ของโมอาน่า
(2)
น่าสนใจตรงที่หลังจากโมอาน่าค้นพบตัวตนและปลดปล่อยคำสาปด้วยการนำ “หัวใจแห่งเทฟิติ” (Te Fiti's heart) กลับไปคืนได้สำเร็จในภาคแรก เรื่องราวใน Moana 2 มีการขยายเรื่องราวออกไปในแบบที่ไม่ใช่การเพิ่มเข้ามาใหม่ แต่เป็นการสานต่อเรื่องราวการเดินทางของโมอาน่า ที่ได้กลาย "ทาวไท" หรือผู้นำทางแห่งท้องทะเลของเกาะ “โมทูนุย” (Motunui) เพื่อตามหาคำถามสำคัญที่ยังไม่ได้ตอบในภาคแรกว่า นอกจากพวกเขาแล้วมนุษย์คนอื่นๆ อยู่ที่ไหน?
(3)
เมื่อภารกิจใหญ่ขึ้นเป็นเท่าตัว โมอาน่าก็ย่อมต้องการเพื่อนร่วมทางที่มากขึ้น จากในภาคแรกที่มีแค่เจ้าไก่ซื่อบื้ออย่าง “เฮย์เฮย์” ติดไปแค่ตัวเดียวแบบเหงาๆ คราวนี้โมอาน่ามีเพื่อนร่วมทางให้อุ่นใจมากขึ้น? ทั้งโมนี (พากย์โดย Hualalai Chung/ปณิธาน จวงครุฑ) หนุ่มนักวาดภาพเนิร์ดตำนานชาวเกาะ เคเล (พากย์โดย David Fane/บุญชนะ โชควิชาโกศล) เกษตรกรเฒ่าไม่เอาไหน และโลโท (พากย์โดย โรส มาทาฟิโอ, Rose Matafeo/สายทิพย์ วิวัฒนปฐพี) สาวนักประดิษฐ์สุดเฟื่อง แถมด้วยเจ้าหมู “พัว” ของกินเล่นอัพเกรด และแน่นอนว่าจะขาด “มาวอิ” (Dwayne Johnson/อรรคพล ทรัพยอาจิณ) ลูกครึ่งเทพผู้ทำได้เกือบทุกอย่างไปไม่ได้เด็ดขาด
(4)
สังเกตได้ว่า Moana 2 มีการพัฒนาประเด็นที่คล้ายคลึงกับ Frozen 2 โดยเริ่มจากความขัดแย้งในตัวละครจากภาคแรกที่ดูเหมือนจะจบลงด้วยดีแล้ว แต่มีบางแง่มุมที่ถูกนำมาขยายเป็นความขัดแย้งระดับสังคมที่ไม่ได้มีผลเพียงแค่เหล่าตัวละครเอก แต่มันหมายถึง ผู้คน ชาวเมือง และชาติพันธุ์ ซึ่งใน Moana 2 คือการตามหาเพื่อนร่วมโลกและตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ที่เป็นประเด็นใหญ่และกว้างกว่าเนื้อหาสำหรับ “การ์ตูนเด็ก” ไปไกลโขเลย
(5)
แต่ใช่แล้ว นี่คือการ์ตูนดิสนีย์ที่เติมคำว่าเจ้าหญิงเข้าไปเป็น “การ์ตูนเจ้าหญิงดิสนีย์” แน่นอนว่าพื้นฐานของกลุ่มผู้ชมก็ยังเป็นลูกเล็กเด็กแดงไปจนถึงวัยรุ่นตอนต้น ที่เป็นวัยใกล้เคียงตัวละครเอกอย่างโมอาน่า ดังนั้น ทุกอย่างจึงถูกเคลือบไว้ด้วยความเป็นแฟนตาซี มีเส้นเรื่องที่ชัดเจนจับต้องได้ มีการไกด์ให้อยู่ตลอดว่า ใคร ต้องทำอะไร ไปที่ไหน และอย่างไร มันจึงเป็นเหมือนลูกกวาดรสซีซอลท์คาราเมลที่กินได้ทุกเพศทุกวัย(สำหรับวัยเด็กอาจจะอร่อยกว่า แต่ก็ใช่ว่าผู้ใหญ่จะลิ้นด้านไม่รู้รสซะเมื่อไหร่)
(6)
แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานจากภาคแรกทั้งหมด(ยกเว้นผู้พากย์เสียง) แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ Moana 2 ไขว้เขวแต่อย่างใด ประเด็นสำคัญของเรื่องตั้งแต่ภาคแรกที่เน้นย้ำในเรื่องของการค้นหาตัวตนและวิถีของชีวิต ที่ถูกเสนอผ่านเพลง “Know Who You Are (เธอคือใคร)” และ “We Know the Way (จำทางขึ้นใจ)” ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ต้องฝ่าฝันบททดสอบเสียก่อน จึงเป็นที่มาของเพลงหลักของเรื่องอย่าง “How Far I’ll Go (ห่างเพียงใด)” ทั้งหมดล้วนเป็นสาระสำคัญที่ Moana ในภาคแรกนำเสนอเอาไว้ และมันถูกต่อยอดให้กว้างขึ้นอย่างชัดเจน
(7)
โดยหากเพลง How Far I’ll Go เป็นเพลงหลักของภาคแรก ในคราวนี้ก็มี “Beyond (ไกลโพ้น)” เป็นตัวชูโรงเหมือนกัน โดยจะสังเกตได้ว่าตัวดนตรีมีความหนักแน่นและเด็ดเดี่ยวมากขึ้น อันเป็นการแสดงถึงพัฒนาการของโมอาน่าที่โตขึ้นรวมถึงภารกิจที่หนักอึ้งมากขึ้นในภาคนี้ เช่นเดียวกับมาวอิที่พัฒนาขึ้น ไม่ได้เป็นพวกขี้แพ้เอาแต่หนีเหมือนเดิมอีกแล้ว พิสูจน์ได้เป็นอย่างดีกับเพลงประจำตัวของเขาอย่าง “Can I Get a Chee Hoo? (ขอได้ไหมอะชีฮู่)” ที่ถูกเล่นในช่วงที่หน้าสิ่งหน้าขวานของเรื่องเพื่อปลุกขวัญให้กำลังใจโมอาน่า
(8)
เพลงติดหูอีกเพลงอย่าง “We Know the Way (จำทางขึ้นใจ)” ถูกใช้ในช่วงท้ายสุดของเรื่อง นอกจากเสียงประสานอันไพเราะที่ร้องว่า “Aue Aue” ในภาษา Tokelauan ของชาวโพลินีเซียน (Polynesia) ซึ่งเป็นที่มาของธีมเรื่องแล้ว ความพิเศษของเพลงนี้ คือ มันถูกใช้ในภาคแรกถึง 2 ครั้ง ประมาณเกือบถึงกลางเรื่องและช่วงท้ายสุด(เช่นเดียวกับภาคนี้) เพื่อตอกย้ำว่าต้นบรรพบุรุษของโมอาน่าเคยเป็นนักสัญจรก่อนจะมาตั้งรกรากที่โมทูนุย และบอกให้โมอาน่าออกเดินทาง แต่คำถามที่ทิ้งเอาไว้ คือ ออกเดินทางไปไหนกัน?
(9)
ในท้ายที่สุด We Know the Way ดังขึ้นอีกครั้งเพื่อตอบคำถามนี้ หลังจากโมอาน่าได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสัญจรที่ได้รับเลือกจากมหาสมุทรและฝ่าอุปสรรคสุดโหดหินมากมาย ความหมายของเพลงนี้จึงเป็นตัวแทนถึงพัฒนาการของโมอาน่าและของอนิเมชั่นทั้งสองภาคได้อย่างถูกต้องชัดเจนที่สุด นอกจากนี้เพลงอื่นๆ ทั้ง “What Could Be Better Than This? (เรื่องใดจะยอดไปกว่านี้)” ที่มีการแทรกการแร็ปเข้ามาเพิ่มลูกเล่น หรือ “Get Lost (กล้าหลง)” เพลงของตัวละครที่น่าจะมีบทบาทในอนาคตอย่าง “มาทันกิ” (พากย์โดย Awhimai Fraser/พริมาภา กรโรจนชวิน) ต่างก็มีเสน่ห์ชวนให้หาฟังซ้ำอย่างไม่รอช้า รวมถึงเพลงอื่นๆ ที่มีกลิ่นอายดนตรีของชาวโพลินีเซียนอันสดชื่นก็ดีงามเช่นกัน
(10)
การเดินทางของโมอาน่าสอดคล้องกับเรื่องเล่าของชาวโพลินีเซียน เมื่อพวกเขาจำเป็นต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะใหม่ สิ่งที่จำเป็นจะถูกนำขึ้นไปบนเรือ ได้แก่ ผักผลไม้ เมล็ดพันธุ์ ต้นอ่อนเพื่อการเพาะปลูก หมูและไก่ในฐานะปศุสัตว์ โดยเมื่อตั้งถิ่นฐานแล้ว พวกเขาก็เรียนรู้การทำเกษตรกรรม การสร้างเครื่องปั้นดินเผา การสร้างเรือแคนู (Canoe) ที่มีขนาดใหญ่ การทำแผนที่เดินเรือ การใช้ทักษะในการสังเกตดวงดาวและกระแสน้ำเพื่อใช้ในการนำทางขณะเดินเรือ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชาวโพลินีเซียนสามารถเดินทางอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกสอดแทรกอยู่ใน Moana ทั้งสองภาคอย่างเด่นชัด
(11)
เดิมทีโปรเจคภาคต่อนี้จะถูกสร้างเพื่อฉายใน Disney+ แต่จนแล้วจนรอดก็ได้พัฒนาจนกลายเป็นภาพยนตร์ฉบับฉายโรง ซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าแน่ๆ เพราะความอลังการด้านภาพ แสงและเงาของทัศนียภาพท้องฟ้า ท้องทะเล และเกลียวคลื่น ความแฟนตาซีของเรื่องราว ฉากแอคชั่นของโมอาน่าที่น่าจะบู๊ในระดับเดียวกับอเวนเจอร์แล้ว พร้อมๆ กับได้ฟังเพลงประกอบทั้งหลายอันเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าหญิงดิสนีย์ มันควรเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นบนจอภาพยนตร์จึงจะสมฐานะจริงๆ
Story Decoder
[รีวิว] Moana 2 - การตอกย้ำวิถีแห่งท้องทะเลกับก้าวต่อไปของโมอาน่าที่ท้าทายและยิ่งใหญ่มากขึ้นเป็นเท่าตัว
ถัดจาก Frozen 2 ในปี 2019 ก็เป็นคิวของ “เจ้าหญิงแห่งหมู่เกาะทะเลใต้” อย่าง “โมอาน่า” (พากย์โดย Auli’i Cravalho/มณีภัสสร มอลลอย) ที่ได้มีภาคต่อเกิดขึ้น ซึ่งหากนับในหมู่มวลเจ้าหญิงดิสนีย์แล้ว Moana เป็นเรื่องที่สองที่ได้มีภาคต่อถัดจาก Frozen 2 และเมื่อมองย้อนกลับไปยังภาคแรกในปี 2016 ที่ทิ้งช่วงกันนานถึง 8 ปีเลยทีเดียว ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาอันพอเหมาะพอเจาะสำหรับการผจญภัยครั้งใหม่ของโมอาน่า
(2)
น่าสนใจตรงที่หลังจากโมอาน่าค้นพบตัวตนและปลดปล่อยคำสาปด้วยการนำ “หัวใจแห่งเทฟิติ” (Te Fiti's heart) กลับไปคืนได้สำเร็จในภาคแรก เรื่องราวใน Moana 2 มีการขยายเรื่องราวออกไปในแบบที่ไม่ใช่การเพิ่มเข้ามาใหม่ แต่เป็นการสานต่อเรื่องราวการเดินทางของโมอาน่า ที่ได้กลาย "ทาวไท" หรือผู้นำทางแห่งท้องทะเลของเกาะ “โมทูนุย” (Motunui) เพื่อตามหาคำถามสำคัญที่ยังไม่ได้ตอบในภาคแรกว่า นอกจากพวกเขาแล้วมนุษย์คนอื่นๆ อยู่ที่ไหน?
(3)
เมื่อภารกิจใหญ่ขึ้นเป็นเท่าตัว โมอาน่าก็ย่อมต้องการเพื่อนร่วมทางที่มากขึ้น จากในภาคแรกที่มีแค่เจ้าไก่ซื่อบื้ออย่าง “เฮย์เฮย์” ติดไปแค่ตัวเดียวแบบเหงาๆ คราวนี้โมอาน่ามีเพื่อนร่วมทางให้อุ่นใจมากขึ้น? ทั้งโมนี (พากย์โดย Hualalai Chung/ปณิธาน จวงครุฑ) หนุ่มนักวาดภาพเนิร์ดตำนานชาวเกาะ เคเล (พากย์โดย David Fane/บุญชนะ โชควิชาโกศล) เกษตรกรเฒ่าไม่เอาไหน และโลโท (พากย์โดย โรส มาทาฟิโอ, Rose Matafeo/สายทิพย์ วิวัฒนปฐพี) สาวนักประดิษฐ์สุดเฟื่อง แถมด้วยเจ้าหมู “พัว” ของกินเล่นอัพเกรด และแน่นอนว่าจะขาด “มาวอิ” (Dwayne Johnson/อรรคพล ทรัพยอาจิณ) ลูกครึ่งเทพผู้ทำได้เกือบทุกอย่างไปไม่ได้เด็ดขาด
(4)
สังเกตได้ว่า Moana 2 มีการพัฒนาประเด็นที่คล้ายคลึงกับ Frozen 2 โดยเริ่มจากความขัดแย้งในตัวละครจากภาคแรกที่ดูเหมือนจะจบลงด้วยดีแล้ว แต่มีบางแง่มุมที่ถูกนำมาขยายเป็นความขัดแย้งระดับสังคมที่ไม่ได้มีผลเพียงแค่เหล่าตัวละครเอก แต่มันหมายถึง ผู้คน ชาวเมือง และชาติพันธุ์ ซึ่งใน Moana 2 คือการตามหาเพื่อนร่วมโลกและตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ที่เป็นประเด็นใหญ่และกว้างกว่าเนื้อหาสำหรับ “การ์ตูนเด็ก” ไปไกลโขเลย
(5)
แต่ใช่แล้ว นี่คือการ์ตูนดิสนีย์ที่เติมคำว่าเจ้าหญิงเข้าไปเป็น “การ์ตูนเจ้าหญิงดิสนีย์” แน่นอนว่าพื้นฐานของกลุ่มผู้ชมก็ยังเป็นลูกเล็กเด็กแดงไปจนถึงวัยรุ่นตอนต้น ที่เป็นวัยใกล้เคียงตัวละครเอกอย่างโมอาน่า ดังนั้น ทุกอย่างจึงถูกเคลือบไว้ด้วยความเป็นแฟนตาซี มีเส้นเรื่องที่ชัดเจนจับต้องได้ มีการไกด์ให้อยู่ตลอดว่า ใคร ต้องทำอะไร ไปที่ไหน และอย่างไร มันจึงเป็นเหมือนลูกกวาดรสซีซอลท์คาราเมลที่กินได้ทุกเพศทุกวัย(สำหรับวัยเด็กอาจจะอร่อยกว่า แต่ก็ใช่ว่าผู้ใหญ่จะลิ้นด้านไม่รู้รสซะเมื่อไหร่)
(6)
แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานจากภาคแรกทั้งหมด(ยกเว้นผู้พากย์เสียง) แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ Moana 2 ไขว้เขวแต่อย่างใด ประเด็นสำคัญของเรื่องตั้งแต่ภาคแรกที่เน้นย้ำในเรื่องของการค้นหาตัวตนและวิถีของชีวิต ที่ถูกเสนอผ่านเพลง “Know Who You Are (เธอคือใคร)” และ “We Know the Way (จำทางขึ้นใจ)” ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ต้องฝ่าฝันบททดสอบเสียก่อน จึงเป็นที่มาของเพลงหลักของเรื่องอย่าง “How Far I’ll Go (ห่างเพียงใด)” ทั้งหมดล้วนเป็นสาระสำคัญที่ Moana ในภาคแรกนำเสนอเอาไว้ และมันถูกต่อยอดให้กว้างขึ้นอย่างชัดเจน
(7)
โดยหากเพลง How Far I’ll Go เป็นเพลงหลักของภาคแรก ในคราวนี้ก็มี “Beyond (ไกลโพ้น)” เป็นตัวชูโรงเหมือนกัน โดยจะสังเกตได้ว่าตัวดนตรีมีความหนักแน่นและเด็ดเดี่ยวมากขึ้น อันเป็นการแสดงถึงพัฒนาการของโมอาน่าที่โตขึ้นรวมถึงภารกิจที่หนักอึ้งมากขึ้นในภาคนี้ เช่นเดียวกับมาวอิที่พัฒนาขึ้น ไม่ได้เป็นพวกขี้แพ้เอาแต่หนีเหมือนเดิมอีกแล้ว พิสูจน์ได้เป็นอย่างดีกับเพลงประจำตัวของเขาอย่าง “Can I Get a Chee Hoo? (ขอได้ไหมอะชีฮู่)” ที่ถูกเล่นในช่วงที่หน้าสิ่งหน้าขวานของเรื่องเพื่อปลุกขวัญให้กำลังใจโมอาน่า
(8)
เพลงติดหูอีกเพลงอย่าง “We Know the Way (จำทางขึ้นใจ)” ถูกใช้ในช่วงท้ายสุดของเรื่อง นอกจากเสียงประสานอันไพเราะที่ร้องว่า “Aue Aue” ในภาษา Tokelauan ของชาวโพลินีเซียน (Polynesia) ซึ่งเป็นที่มาของธีมเรื่องแล้ว ความพิเศษของเพลงนี้ คือ มันถูกใช้ในภาคแรกถึง 2 ครั้ง ประมาณเกือบถึงกลางเรื่องและช่วงท้ายสุด(เช่นเดียวกับภาคนี้) เพื่อตอกย้ำว่าต้นบรรพบุรุษของโมอาน่าเคยเป็นนักสัญจรก่อนจะมาตั้งรกรากที่โมทูนุย และบอกให้โมอาน่าออกเดินทาง แต่คำถามที่ทิ้งเอาไว้ คือ ออกเดินทางไปไหนกัน?
(9)
ในท้ายที่สุด We Know the Way ดังขึ้นอีกครั้งเพื่อตอบคำถามนี้ หลังจากโมอาน่าได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสัญจรที่ได้รับเลือกจากมหาสมุทรและฝ่าอุปสรรคสุดโหดหินมากมาย ความหมายของเพลงนี้จึงเป็นตัวแทนถึงพัฒนาการของโมอาน่าและของอนิเมชั่นทั้งสองภาคได้อย่างถูกต้องชัดเจนที่สุด นอกจากนี้เพลงอื่นๆ ทั้ง “What Could Be Better Than This? (เรื่องใดจะยอดไปกว่านี้)” ที่มีการแทรกการแร็ปเข้ามาเพิ่มลูกเล่น หรือ “Get Lost (กล้าหลง)” เพลงของตัวละครที่น่าจะมีบทบาทในอนาคตอย่าง “มาทันกิ” (พากย์โดย Awhimai Fraser/พริมาภา กรโรจนชวิน) ต่างก็มีเสน่ห์ชวนให้หาฟังซ้ำอย่างไม่รอช้า รวมถึงเพลงอื่นๆ ที่มีกลิ่นอายดนตรีของชาวโพลินีเซียนอันสดชื่นก็ดีงามเช่นกัน
(10)
การเดินทางของโมอาน่าสอดคล้องกับเรื่องเล่าของชาวโพลินีเซียน เมื่อพวกเขาจำเป็นต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะใหม่ สิ่งที่จำเป็นจะถูกนำขึ้นไปบนเรือ ได้แก่ ผักผลไม้ เมล็ดพันธุ์ ต้นอ่อนเพื่อการเพาะปลูก หมูและไก่ในฐานะปศุสัตว์ โดยเมื่อตั้งถิ่นฐานแล้ว พวกเขาก็เรียนรู้การทำเกษตรกรรม การสร้างเครื่องปั้นดินเผา การสร้างเรือแคนู (Canoe) ที่มีขนาดใหญ่ การทำแผนที่เดินเรือ การใช้ทักษะในการสังเกตดวงดาวและกระแสน้ำเพื่อใช้ในการนำทางขณะเดินเรือ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ชาวโพลินีเซียนสามารถเดินทางอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกสอดแทรกอยู่ใน Moana ทั้งสองภาคอย่างเด่นชัด
(11)
เดิมทีโปรเจคภาคต่อนี้จะถูกสร้างเพื่อฉายใน Disney+ แต่จนแล้วจนรอดก็ได้พัฒนาจนกลายเป็นภาพยนตร์ฉบับฉายโรง ซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าแน่ๆ เพราะความอลังการด้านภาพ แสงและเงาของทัศนียภาพท้องฟ้า ท้องทะเล และเกลียวคลื่น ความแฟนตาซีของเรื่องราว ฉากแอคชั่นของโมอาน่าที่น่าจะบู๊ในระดับเดียวกับอเวนเจอร์แล้ว พร้อมๆ กับได้ฟังเพลงประกอบทั้งหลายอันเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าหญิงดิสนีย์ มันควรเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นบนจอภาพยนตร์จึงจะสมฐานะจริงๆ
Story Decoder