จิตกับอารมณ์
จิตคือธาตุรู้ ทรงไว้ซึ่งความรู้ตลอดทุกกาลสมัย ส่วน อารมณ์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกัน หรืออาศัยธาตุทั้ง ๔ เป็นแดนเกิด เช่น รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส เป็นต้น
อารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย แต่ จิต รับรู้ เมื่อกระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดจักขุวิญญาณ,โสตวิญญาณ,ฆานวิญญาณ,ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ และมโนวิญญาณขึ้น
เมื่อจิตกับอารมณ์กระทบกัน ก็ย่อมส่งผลให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน หวั่นไหว เกิดความนึกคิด ความยินดี-ยินร้าย และทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นตามมาด้วย
ถ้าอุปมา จิต เหมือน น้ำ ในมหาสมุทรแล้ว อารมณ์ ก็ย่อมต้องอุปมาเหมือน ลม พายุที่พัดมากระทบผิวน้ำในมหาสมุทร ซึ่งทำให้เกิดเป็นลูกคลื่นน้อยใหญ่กลิ้งตัวตามกำลังลมพายุที่พัดนั้นด้วย
ลูกคลื่นลูกหนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็ทยอยตัวดับตามๆกันไป ทั่วท้องมหาสมุทรตลอดเวลาที่ลมพายุพัดอยู่ ถ้าลมพายุหยุดพัดเสียเมื่อไหร่ ลูกคลื่นทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ก็ย่อมลดขนาดเล็กลงๆ ตามลำดับเมื่อนั้นด้วย จนกระทั่งเหลือแต่ผิวน้ำที่เป็นเส้นระดับราบเรียบในที่สุด
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพเดิมที่แท้จริงของ น้ำ ในท้องมหาสมุทรนั้น สงบ ราบเรียบ ไม่ปั่นป่วนวุ่นวาย แต่ที่เกิดมีคลื่นน้อยใหญ่วุ่นวายนั้น เป็นสภาพที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะมีลมพายุพัดมากระทบผิวน้ำ
ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับ จิต ที่มีสภาพเดิมอันสงบราบเรียบ แต่ที่ได้วุ่นวาย กระสับกระส่ายไปมาในภายหลังเพราะมีอารมณ์เข้ามากระทบ ฉะนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราสามารถสรุปกล่าวให้เป็นสัจธรรมได้ว่า
มีน้ำ โดยไม่มีลูกคลื่น เลย —> ย่อมได้
แต่จะมีลูกคลื่น โดยไม่มีน้ำ นั้น —> ย่อมไม่ได้
หรือมีจิต โดยไม่มีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์เลย —> ก็ย่อมได้
แต่จะมีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์ โดยไม่มีจิต นั้น —> ย่อมไม่ได้ เป็นธรรมดา
ดังนั้น น้ำ กับ ลูกคลื่น จึงแยกออกจากกันได้ และ จิต กับ อารมณ์ จึงแยกออกจากกันได้ จิตไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ เช่น วิมุตติจิต (จิตหลุดพ้น).
จิตกับอารมณ์
จิตคือธาตุรู้ ทรงไว้ซึ่งความรู้ตลอดทุกกาลสมัย ส่วน อารมณ์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกัน หรืออาศัยธาตุทั้ง ๔ เป็นแดนเกิด เช่น รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส เป็นต้น
อารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย แต่ จิต รับรู้ เมื่อกระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดจักขุวิญญาณ,โสตวิญญาณ,ฆานวิญญาณ,ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ และมโนวิญญาณขึ้น
เมื่อจิตกับอารมณ์กระทบกัน ก็ย่อมส่งผลให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน หวั่นไหว เกิดความนึกคิด ความยินดี-ยินร้าย และทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นตามมาด้วย
ถ้าอุปมา จิต เหมือน น้ำ ในมหาสมุทรแล้ว อารมณ์ ก็ย่อมต้องอุปมาเหมือน ลม พายุที่พัดมากระทบผิวน้ำในมหาสมุทร ซึ่งทำให้เกิดเป็นลูกคลื่นน้อยใหญ่กลิ้งตัวตามกำลังลมพายุที่พัดนั้นด้วย
ลูกคลื่นลูกหนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็ทยอยตัวดับตามๆกันไป ทั่วท้องมหาสมุทรตลอดเวลาที่ลมพายุพัดอยู่ ถ้าลมพายุหยุดพัดเสียเมื่อไหร่ ลูกคลื่นทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ก็ย่อมลดขนาดเล็กลงๆ ตามลำดับเมื่อนั้นด้วย จนกระทั่งเหลือแต่ผิวน้ำที่เป็นเส้นระดับราบเรียบในที่สุด
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพเดิมที่แท้จริงของ น้ำ ในท้องมหาสมุทรนั้น สงบ ราบเรียบ ไม่ปั่นป่วนวุ่นวาย แต่ที่เกิดมีคลื่นน้อยใหญ่วุ่นวายนั้น เป็นสภาพที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะมีลมพายุพัดมากระทบผิวน้ำ
ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับ จิต ที่มีสภาพเดิมอันสงบราบเรียบ แต่ที่ได้วุ่นวาย กระสับกระส่ายไปมาในภายหลังเพราะมีอารมณ์เข้ามากระทบ ฉะนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราสามารถสรุปกล่าวให้เป็นสัจธรรมได้ว่า
มีน้ำ โดยไม่มีลูกคลื่น เลย —> ย่อมได้
แต่จะมีลูกคลื่น โดยไม่มีน้ำ นั้น —> ย่อมไม่ได้
หรือมีจิต โดยไม่มีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์เลย —> ก็ย่อมได้
แต่จะมีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์ โดยไม่มีจิต นั้น —> ย่อมไม่ได้ เป็นธรรมดา
ดังนั้น น้ำ กับ ลูกคลื่น จึงแยกออกจากกันได้ และ จิต กับ อารมณ์ จึงแยกออกจากกันได้ จิตไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ เช่น วิมุตติจิต (จิตหลุดพ้น).