จิต คือ ธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ

จิต คือ ธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ
อาศัยกายเนื้อเกิดจากการประชุมของธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เน่าเปื่อยผุพังลงทุกวันตามกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
โดยอาศัยวิญญาณหรือกายทิพย์ คือ อาการรู้ของจิตผ่านอายตนะ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นเครื่องเชื่อมต่อระหว่างจิตและกายเนื้อเกิดดับตลอดเวลาตามอารมณ์ที่มากระทบจิตและกาย ไม่มีอะไรที่เป็นเราในขันธ์ 5
จิต ไม่ใช้ขันธ์ 5 ไม่ใช่กาย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 42


อธิบายอย่างง่าย เช่น สมมติฐานว่าถ้าจิตของพระอรหันต์ (เที่ยง) เกิดแล้วไม่ดับ
ตัวอย่าง เมื่อพระอรหันต์ลืมตามองเห็น (ผัสสะ) อะไรก็ตาม จิตที่รับรู้ทางตา(จักขุวิญญาณ) ก็จะค้างเติ่งอยู่นานเท่านาน (ไม่งงนะครับ)
และเพราะเหตุที่จิตเกิดดับคราวละ 1 ดวง (พระพุทธเจ้าแสดงไว้)
ดังนั้นเมื่อจิตรับรู้ทางตาค้างเติ่งก็จะไม่สามารถได้ยินเสียง  ไม่สามารถรู้การสัมผัส ฯลฯ (ไม่งงนะครับ)

แต่เพราะจิตของพระอรหันต์มีการเกิดดับของจิตอย่างต่อเนื่อง
จึงสามารถรับรู้ มีผัสสะ ทางทวารทุกทวารคราวละทวารได้ต่อเนื่อง
การเกิดดับของจิตพระอรหันต์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น จิตของท่านปราศจากเจตสิกที่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ  
และเป็นจิตที่เกิดพร้อมกับอัญญสมานเจตสิก โสภณเจตสิก -->ประกอบด้วยปัญญา... และก็ดับไป .... เกิด ดับ เช่นนี้ ต่อเนื่องไป
(เกิดพร้อมกับเจตสิกดวงใดบ้าง ควรอ่าน+เรียนพระอภิธรรม)

และจิตสุดท้ายของพระอรหันต์ (ตาย นิพพาน) ไม่มีเหตุปัจจัยให้ไปปฏิสนธิ (หมดเชื้อ หมดตัณหา สิ้นไปทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ) --> จึงดับไป
ดับเป็นอมตะ ไม่มีเชื้ออะไรให้เกิด
ในพระไตรปิฎก มีพระสูตรมากมายที่กล่าวไว้  




ผู้ใดก็ตามที่หลงติดกับดัก ทิฏฐิปักแน่นในจิตเที่ยง เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ  หาทางออกไม่เจอ ก็ติดอยู่ในตาข่าย ติดในวัฏฏะ อีกนานเท่านาน
ความคิดเห็นที่ 39
ผมสงสัยว่า ถ้าจิตเป็นตัวเดียวกับวิญญาณขันธ์ อยากทราบว่า แล้วเวลาทำกรรมฐาน  ถ้าวิญญาณขันธ์ดับหรือจิตดับ ช่วงที่ดับอยู่จะเห็นการดับได้อย่างไร

เป็น ปัญญาเจตสิก อันเป็นสังขารขันธ์ ที่ไปปรุงแต่ง จิต , วิญญาณ ในภายหลัง เมื่อเห็นสภาพธรรมในไตรลักณ์ของ รูป นาม - ขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ ครับ

จากการสนธนาระหว่าง ท่านพระมหาโกฏฐิกะ และ ท่านพระสารีบุตร ท่านได้คำตอบอะไรบ้าง

สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้



ความคิดเห็นที่ 8
https://ppantip.com/topic/33151198/comment8

ที่ใดมีวิญญาณ ที่นั่นต้องมี  เวทนา สัญญา สังขาร

สมกับคำกล่าวที่ว่า เจตสิก ย่อมเกิดพร้อมจิต และดับไปพร้อมจิต อาศัยวัตถุที่เกิดเดียวกันกับจิต
รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต

ดังพุทธพจน์ที่ว่า...

[๔] คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน เป็นคำกล่าวโดย
ส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าว
ไม่เป็นสองส่วน เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวไม่รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า
แน่นอนนี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน
ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ
ความเต็มใจ ที่ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕. คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย
บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่
ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ. ใจนี้สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความอิ่มนี้. คำว่า ย่อมเป็น
ผู้อิ่มใจ คือเป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจเบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=0&Z=486

[๗๐๖] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน
เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ
ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี
ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น.
ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน
มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=7724&w=%C7%D4%CA%D1%A7%A2%D2%C3


หมายเหตุ
ความอิ่มใจ(ปิติเจตสิก) เป็นสังขารขันธ์
ตัณหา(โลภะเจตสิก) เป็นสังขารขันธ์
จิต คือ วิญญาณขันธ์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สมถะ, สมาธิ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิสุทธิ ๗ ญาณ ๑๖
https://ppantip.com/topic/42458080/comment1

ผู้ปฏิบัติที่ใคร่ครวญพิจารณารูปนามอยู่เนืองๆ ด้วยวิธีการโดยแง่มุมต่างๆ เมื่อปัญญาญาณเกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นไปตามลำดับ ปัญญาความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นเครื่องชี้วัดระดับปัญญาในขั้นการปฏิบัตินั้นเรียกว่าญาณ ซึ่งญาณปัญญามีถึง ๑๖ ระดับ แบ่งได้ดังนี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่