นาย
สุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังประสบสภาวะเศรษฐกิจ “
ต้มกบ” ซึ่งภาวะเศรษฐกิจ “
ต้มกบ” หรือภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตในระดับที่ต่ำ ประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศรอบข้าง
โดยหนึ่งในปัญหาหลักของภาวะต้มกบ คือ การไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) ในระบบเศรษฐกิจได้ อีกทั้งคุณภาพของสินค้าและบริการของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เท่าที่ควร อันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของประชากร ที่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศยังขาดโอกาส โดยเฉพาะ 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่
1.
การขาดโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน ปัจจุบันการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินของประเทศไทย มีคนจำนวน 10% ถือครองที่ดิน 80% ของประเทศ ในขณะที่คนที่เหลืออีก 90% ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 20% ของทั้งประเทศ
2.
การขาดโอกาสการเข้าถึงเงินทุน ซึ่งสังเกตได้จากการที่เงินออมในระบบธนาคารยังกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนส่วนน้อย โดยจำนวนบัญชีธนาคารที่มีเงินฝากมากกว่าหนึ่งล้านบาท มีเพียงประมาณ 1.5% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมด แต่เม็ดเงินที่อยู่ในบัญชีเหล่านี้ คิดเป็น 3 ใน 4 ของปริมาณเงินฝากในระบบการเงินไทย
3.
การกระจุกตัวของความยากจน ปัญหาการกระจุกตัวของความยากจนที่มีอยู่มากในบางพื้นที่ของประเทศ ที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาจากการดำเนินนโยบายในอดีตที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของคนอีกเป็นจำนวนมาก ดังตัวอย่างที่เห็นได้ เช่น กว่าครึ่งของคนจนในประเทศกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน
4.
การขาดโอกาสทางการศึกษา ปัญหาโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สังเกตได้จากผลสำรวจดัชนีการศึกษาของประเทศ ที่ 33 จังหวัดมีระดับมาตรฐานการศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและจังหวัดชายแดน
ทั้งนี้ การขาดโอกาสของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขาดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ เศรษฐกิจมีการสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับต่ำ อันนำมาซึ่งปัญหาประชากรมีรายได้ต่ำ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคการเกษตร ที่สามารถสร้างรายได้เพียงประมาณ 10% ของรายได้ประชาชาติของไทย (จีดีพี) แต่กลับมีการจ้างงานกว่า 40% ของแรงงานในประเทศ หรือการที่ธุรกิจส่วนใหญ่กว่า 99% อยู่ในลักษณะธุรกิจขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่ขาดข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ทั้งจากปัญหาการเข้าถึงเงินทุน การเข้าถึงเทคโนโลยี การเข้าถึงการตลาด ฯลฯ ซึ่งถ้าประเทศไทยยังไม่สามารถยกระดับธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นปัญหาต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ และยกระดับรายได้โดยรวมของประชากร
JJNY : ปฏิรูป เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ นักวิชาการชี้ไทยประสบสภาวะเศรษฐกิจ “ต้มกบ” เจอ 4 ปัญหาระดับชาติ
โดยหนึ่งในปัญหาหลักของภาวะต้มกบ คือ การไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) ในระบบเศรษฐกิจได้ อีกทั้งคุณภาพของสินค้าและบริการของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เท่าที่ควร อันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของประชากร ที่ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศยังขาดโอกาส โดยเฉพาะ 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่
1. การขาดโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน ปัจจุบันการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินของประเทศไทย มีคนจำนวน 10% ถือครองที่ดิน 80% ของประเทศ ในขณะที่คนที่เหลืออีก 90% ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 20% ของทั้งประเทศ
2. การขาดโอกาสการเข้าถึงเงินทุน ซึ่งสังเกตได้จากการที่เงินออมในระบบธนาคารยังกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนส่วนน้อย โดยจำนวนบัญชีธนาคารที่มีเงินฝากมากกว่าหนึ่งล้านบาท มีเพียงประมาณ 1.5% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมด แต่เม็ดเงินที่อยู่ในบัญชีเหล่านี้ คิดเป็น 3 ใน 4 ของปริมาณเงินฝากในระบบการเงินไทย
3. การกระจุกตัวของความยากจน ปัญหาการกระจุกตัวของความยากจนที่มีอยู่มากในบางพื้นที่ของประเทศ ที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาจากการดำเนินนโยบายในอดีตที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของคนอีกเป็นจำนวนมาก ดังตัวอย่างที่เห็นได้ เช่น กว่าครึ่งของคนจนในประเทศกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน
4. การขาดโอกาสทางการศึกษา ปัญหาโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สังเกตได้จากผลสำรวจดัชนีการศึกษาของประเทศ ที่ 33 จังหวัดมีระดับมาตรฐานการศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและจังหวัดชายแดน
ทั้งนี้ การขาดโอกาสของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขาดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ เศรษฐกิจมีการสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับต่ำ อันนำมาซึ่งปัญหาประชากรมีรายได้ต่ำ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคการเกษตร ที่สามารถสร้างรายได้เพียงประมาณ 10% ของรายได้ประชาชาติของไทย (จีดีพี) แต่กลับมีการจ้างงานกว่า 40% ของแรงงานในประเทศ หรือการที่ธุรกิจส่วนใหญ่กว่า 99% อยู่ในลักษณะธุรกิจขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่ขาดข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ทั้งจากปัญหาการเข้าถึงเงินทุน การเข้าถึงเทคโนโลยี การเข้าถึงการตลาด ฯลฯ ซึ่งถ้าประเทศไทยยังไม่สามารถยกระดับธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นปัญหาต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ และยกระดับรายได้โดยรวมของประชากร