ชาว กทม. โต้ ! ผิดอะไร? เมื่อคน ตจว. เลือกผู้แทนเดิม แต่โทษคนส่วนใหญ่ออกไปทำงาน กทม. ไม่พัฒนาจังหวัดตน !

“ชาว กทม. ผิดอะไร? เมื่อคน ตจว. เลือกผู้แทนเดิม แต่โทษ กทม.”
เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ เมื่อมีการวิจารณ์ว่า “คนกรุงเทพฯ ไม่เข้าใจความยากลำบากของคนต่างจังหวัด” แต่กลับมาพร้อมข้อสงสัยที่สะท้อนความจริงอีกมุมหนึ่งว่า “คนกรุงเทพฯ ผิดอะไร?”

ในแต่ละรอบการเลือกตั้ง ทั้งระดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) การตัดสินใจเลือกผู้แทนของคนต่างจังหวัดย่อมเป็นสิทธิของคนในพื้นที่เอง แต่เมื่อเกิดปัญหาหลังการเลือกตั้ง เช่น การบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาที่ไม่ตอบโจทย์ กลับมีเสียงวิจารณ์พาดพิงถึงคนกรุงเทพฯ ราวกับเป็นต้นเหตุของปัญหา

คนกรุงเทพฯ ควรรับผิดชอบแค่ไหน?

หากวิเคราะห์เชิงตรรกะ การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่น อบจ. หรือผู้แทนเขตในระดับ ส.ส. คนกรุงเทพฯ ไม่สามารถลงคะแนนแทนคนต่างจังหวัดได้ สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของประชาชนในพื้นที่อย่างสมบูรณ์ แต่การเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่ากลับพบว่าผู้แทนคนเดิมที่เคยถูกวิจารณ์เรื่องความล้มเหลวในหน้าที่ กลับได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งซ้ำ

คำถามคือ หากตัวแทนเหล่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น คนกรุงเทพฯ ต้องรับผิดชอบด้วยหรือ? ในเมื่อบทบาทของ กทม. ในการพัฒนาต่างจังหวัดถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตของความร่วมมือระดับรัฐและนโยบายภาพรวม ไม่ใช่ในระดับท้องถิ่นที่ต้องการผู้แทนที่เข้าใจปัญหาเฉพาะหน้าในพื้นที่

“ตระหนักรู้ 100% ก็ช่วยไม่ได้”

แม้ว่าคนกรุงเทพฯ จะเข้าใจปัญหาความยากลำบากของคนต่างจังหวัดในระดับหนึ่ง เช่น หางานยาก , เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 หริอ การเดินทางลำบาก ฯลฯ การจะแก้ปัญหาให้ตรงจุดยังต้องอาศัยตัวแทนท้องถิ่นที่เข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริง คนกรุงเทพฯ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลงคะแนนในพื้นที่อื่นได้ จึงไม่สามารถเลือกผู้แทนที่จะเข้ามาบริหารพื้นที่ต่างจังหวัดแทนได้

ดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จึงขึ้นอยู่กับ “คนในพื้นที่” เป็นหลัก หากการเลือกผู้แทนยังวนลูปกับบุคคลเดิมที่ไม่มีนโยบายใหม่หรือแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่าง ก็อาจยิ่งซ้ำเติมปัญหาเดิม

เปลี่ยนการเมือง เปลี่ยนวิธีคิด
การเมืองท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องของคนกรุงเทพฯ เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นหน้าที่ของคนต่างจังหวัดเองในการตระหนักถึงบทบาทของผู้แทนที่พวกเขาเลือก หากยังเลือกผู้แทนเดิมเพียงเพราะความคุ้นเคยหรือหวังผลประโยชน์เฉพาะหน้า การพัฒนาย่อมไม่เกิดขึ้น

คำถามสำคัญคือ “คนกรุงเทพฯ ต้องรับผิดชอบอะไรล่ะ ในเมื่อการแก้ปัญหาเริ่มต้นจากคนในพื้นที่เอง?” หรืออาจถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องเลิกโทษกัน และเริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นตออย่างจริงจัง.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่