ข้อมูลจากสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎรจะเห็นว่าประเทศไทยมีจำนวนการเกิดคงที่อยู่ที่ระหว่าง 7-8 แสนต่อปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 (ข้อมูลในเว็บไซต์มีถึงแค่ปีดังกล่าว) และเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบันที่เหลือเพียง 4.6 แสนคนในปี พ.ศ. 2567 จนทำให้จำนวนการเกิดมีน้อยกว่าจำนวนการตายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564
"
ในอดีตอัตราการเกิดของเด็กไทยพบว่า มีเด็กเกิดสูงสุด เฉลี่ยปีละ 1,000,000 คน ในช่วงระหว่างปี 2506-2526 และมีอัตราเกิดสูงสุด ถึงขั้นที่เรียกว่า สึนามิประชากร ในปี 2514 มีจำนวนถึง 1,200,000 คน" - ThaiPBS (
https://www.thaipbs.or.th/news/content/336093)
สอดคล้องกับข้อมูลจำนวนประชากรรายอายุ (นับเฉพาะคนไทย) ที่ชี้ว่าประชากรช่วงอายุ 40-59 ปีมีจำนวนประชากรแต่ละอายุถึง 1 ล้านคน (ตัวเลขการเกิดจริงน่าจะสูงกว่านี้เนื่องจากประชากรบางส่วนน่าจะเสียชีวิตไปบ้างแล้ว)
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่น้อยลงมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประชากรที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
ประเด็นเด็กเกิดน้อยและสังคมผู้สูงอายุก็ถูกพูดถึงในสังคมบ่อยขึ้นมากในระยะหลัง โดยมีทั้งกลุ่มที่มองว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาและไม่เป็นปัญหา (จากที่ผมอ่าน comment ในสังคมออนไลน์และข่าวต่างๆ)
ตัวอย่างความคิดเห็นของกลุ่มที่มองว่าประเด็นเด็กเกิดน้อยเป็นปัญหา
- รัฐจะจัดเก็บรายได้ได้น้อยลงเนื่องจากมีประชากรวัยทำงานลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น ค่าใช้จ่ายสาธารณสุข และเงินในการดำรงชีพจะสูงขึ้นมาก
- กำลังซื้อภาพรวมลดลง เนื่องจากมีประชากรวัยทำงานลดลง และอาจทำให้ธุรกิจบางกลุ่มได้รับผลกระทบ เช่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเอกชน
- วัยแรงงานจะลดลงจนอาจเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ประเทศไทยอาจต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศอื่นมากขึ้น
ตัวอย่างความคิดเห็นของกลุ่มที่มองว่าประเด็นเด็กเกิดน้อยไม่เป็นปัญหา
- จำนวนประชากรที่น้อยลงน่าจะช่วยทำให้บ้านและที่ดินสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การแย่งชิงทรัพยากรลดลง
- คนที่ไม่มีลูกในภาพรวมน่าจะสามารถเตรียมพร้อมด้านการเงินสำหรับการเกษียณได้มากกว่า
- เน้นให้มีลูกในจำนวนที่สามารถผู้ปกครองสามารถเลี้ยงได้อย่างมีคุณภาพมากกว่าปริมาณ
ผมเข้าใจว่าการทำให้โครงสร้างประชากรสมดุลสามารถทำได้สองแนวทางคือทำให้ผู้สูงอายุมีจำนวนน้อยลง (อายุยืนน้อยลง) หรือเพิ่มจำนวนเด็กเกิดใหม่ให้มากขึ้น แน่นอนว่าด้วยเหตุผลทางศีลธรรมสังคมจะพูดถึงการเพิ่มจำนวนเด็กเกิดใหม่
ผมอยากขอความคิดเห็นว่าปัญหาเด็กเกิดน้อยน่ากังวลหรือเป็นปัญหาจริงรึเปล่า และถ้าเชื่อว่าเป็นปัญหาควรจะแก้ไขอย่างไร (เช่น การให้เงินช่วยเหลือสำหรับผู้มีบุตร อาจได้ผลกับประชาชนที่มีรายได้น้อยมากกว่ารายได้ปานกลางหรือสูง)
หมายเหตุ: ตัวเลขในกระทู้นี้ผมนำมาจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage (ขอขอบคุณกรมการปกครองที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยครับ) และรวบรวมผ่าน Excel ถ้ามีข้อมูลส่วนไหนคลาดเคลื่อนไปรบกวนแย้งได้เลยนะครับ
วิธีการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้อ้างอิงในกระทู้นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้วิธีการเข้าถึงข้อมูลจำนวนการเกิดและตาย
1. ไปที่ https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
2. เลือก จำนวนการเกิด หรือ จำนวนการตาย
3. เลือกข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ และกดแสดงผลข้อมูล
วิธีการเข้าถึงข้อมูลจำนวนประชากรตามอายุ
1. ไปที่ https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
2. เลือก จำนวนประชากรตามอายุ
3. เลือกข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ และกดแสดงผลข้อมูล
เพิ่มเติม: กระทู้นี้ไม่ได้ต้องการชี้นำให้มีลูกหรือไม่มีลูกนะครับ เพียงต้องการแชร์ข้อมูลและทราบความคิดเห็นประเด็นเด็กเกิดน้อยและสังคมผู้สูงอายุหลังเห็นข้อมูลการเกิดและตายปีล่าสุดครับ
ปี 2567 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่เพียง 4.6 แสนคน จำนวนการตายมากกว่าเกิดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน น่ากังวลไหม
ข้อมูลจากสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎรจะเห็นว่าประเทศไทยมีจำนวนการเกิดคงที่อยู่ที่ระหว่าง 7-8 แสนต่อปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 (ข้อมูลในเว็บไซต์มีถึงแค่ปีดังกล่าว) และเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบันที่เหลือเพียง 4.6 แสนคนในปี พ.ศ. 2567 จนทำให้จำนวนการเกิดมีน้อยกว่าจำนวนการตายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564
"ในอดีตอัตราการเกิดของเด็กไทยพบว่า มีเด็กเกิดสูงสุด เฉลี่ยปีละ 1,000,000 คน ในช่วงระหว่างปี 2506-2526 และมีอัตราเกิดสูงสุด ถึงขั้นที่เรียกว่า สึนามิประชากร ในปี 2514 มีจำนวนถึง 1,200,000 คน" - ThaiPBS (https://www.thaipbs.or.th/news/content/336093)
สอดคล้องกับข้อมูลจำนวนประชากรรายอายุ (นับเฉพาะคนไทย) ที่ชี้ว่าประชากรช่วงอายุ 40-59 ปีมีจำนวนประชากรแต่ละอายุถึง 1 ล้านคน (ตัวเลขการเกิดจริงน่าจะสูงกว่านี้เนื่องจากประชากรบางส่วนน่าจะเสียชีวิตไปบ้างแล้ว)
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่น้อยลงมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประชากรที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
ประเด็นเด็กเกิดน้อยและสังคมผู้สูงอายุก็ถูกพูดถึงในสังคมบ่อยขึ้นมากในระยะหลัง โดยมีทั้งกลุ่มที่มองว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาและไม่เป็นปัญหา (จากที่ผมอ่าน comment ในสังคมออนไลน์และข่าวต่างๆ)
ตัวอย่างความคิดเห็นของกลุ่มที่มองว่าประเด็นเด็กเกิดน้อยเป็นปัญหา
- รัฐจะจัดเก็บรายได้ได้น้อยลงเนื่องจากมีประชากรวัยทำงานลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น ค่าใช้จ่ายสาธารณสุข และเงินในการดำรงชีพจะสูงขึ้นมาก
- กำลังซื้อภาพรวมลดลง เนื่องจากมีประชากรวัยทำงานลดลง และอาจทำให้ธุรกิจบางกลุ่มได้รับผลกระทบ เช่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเอกชน
- วัยแรงงานจะลดลงจนอาจเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ประเทศไทยอาจต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศอื่นมากขึ้น
ตัวอย่างความคิดเห็นของกลุ่มที่มองว่าประเด็นเด็กเกิดน้อยไม่เป็นปัญหา
- จำนวนประชากรที่น้อยลงน่าจะช่วยทำให้บ้านและที่ดินสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การแย่งชิงทรัพยากรลดลง
- คนที่ไม่มีลูกในภาพรวมน่าจะสามารถเตรียมพร้อมด้านการเงินสำหรับการเกษียณได้มากกว่า
- เน้นให้มีลูกในจำนวนที่สามารถผู้ปกครองสามารถเลี้ยงได้อย่างมีคุณภาพมากกว่าปริมาณ
ผมเข้าใจว่าการทำให้โครงสร้างประชากรสมดุลสามารถทำได้สองแนวทางคือทำให้ผู้สูงอายุมีจำนวนน้อยลง (อายุยืนน้อยลง) หรือเพิ่มจำนวนเด็กเกิดใหม่ให้มากขึ้น แน่นอนว่าด้วยเหตุผลทางศีลธรรมสังคมจะพูดถึงการเพิ่มจำนวนเด็กเกิดใหม่
ผมอยากขอความคิดเห็นว่าปัญหาเด็กเกิดน้อยน่ากังวลหรือเป็นปัญหาจริงรึเปล่า และถ้าเชื่อว่าเป็นปัญหาควรจะแก้ไขอย่างไร (เช่น การให้เงินช่วยเหลือสำหรับผู้มีบุตร อาจได้ผลกับประชาชนที่มีรายได้น้อยมากกว่ารายได้ปานกลางหรือสูง)
หมายเหตุ: ตัวเลขในกระทู้นี้ผมนำมาจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage (ขอขอบคุณกรมการปกครองที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยครับ) และรวบรวมผ่าน Excel ถ้ามีข้อมูลส่วนไหนคลาดเคลื่อนไปรบกวนแย้งได้เลยนะครับ
วิธีการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้อ้างอิงในกระทู้นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพิ่มเติม: กระทู้นี้ไม่ได้ต้องการชี้นำให้มีลูกหรือไม่มีลูกนะครับ เพียงต้องการแชร์ข้อมูลและทราบความคิดเห็นประเด็นเด็กเกิดน้อยและสังคมผู้สูงอายุหลังเห็นข้อมูลการเกิดและตายปีล่าสุดครับ