แผนการศึกษา Educational Plan และ Public Management .. 22/9/2560
https://ppantip.com/topic/36898997
ที่มา FreeDigitalPhotos.net
ข้อคิดจากบทความข้างล่างครับ ..
ได้อ่านแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาแล้ว เขียนได้ดีมากครับ จากผู้มีประสบการณ์ตรง ทำให้นึกถึงว่าระบบการศึกษาอาชีวศึกษาของไทย ก็เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ คือการให้บริการและสินค้าสาธารณะกับพลเมือง
การบริหารรัฐกิจมีสามขา ขาแรกคือโครงสร้าง (Structure) หรือนโยบายแผนและการจัดตั้งต่างๆ ดังเช่นแผนนี้ ขาที่สองคือ วัฒนธรรม (Culture) คือการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในองค์กรจนเป็นเรื่องปกติ และขาที่สามคือ ศิลปะ (Craft) เป็นทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาท่ามกลางปัจจัยต่างๆ (the three lenses of structure, culture, and craft -- Hill, C and Lynn, L.: 2016)
ในบริบทของการศึกษาไทย เราไม่ขาดโครงสร้าง (Structure) หรือนโยบายแผนการจัดการต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่เราขาดคือ วัฒนธรรม (Culture) ของการบริหารที่ดีมีคุณธรรม ส่วนหนึ่งเป็นระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) และระบบอำนาจนิยม (Authoritarianism) ถึงแม้จะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีที่มีทักษะ (Craft) การบริหารยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่สามารถสู้กับระบบอุปถัมภ์และอำนาจนิยมได้
อ้างอิง
Hill, C and Lynn, L. (2016). Public Management: Thinking and Acting in Three Dimensions. Thousand Oaks, CA: SAGE.
https://ppantip.com/topic/36733378
.. สรายุทธ ศุกร์ 22/9/2560 10.22 น.
===
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา(Plan for Development of vocational school.)
ดร.อนันท์ งามสะอาด
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน(BDI)
------------
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา คือ แผนแม่บทที่กำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินงานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกัน(Targeted master plan and guideline for the development of educational management of educational institutions aiming to meet the educational standards of educational institutions.This is done in writing to ensure that the school operates under a mutually agreed upon agreement.)
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงศึกษาธิการให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยการรับรองของคณะกรรมการสถานศึกษา ดังนี้
1.กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(Set educational standards for educational institutions.)
2.จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(Develop a plan to improve the quality of education in educational institutions.)
3.ดำเนินงานตามแผนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา(To work in accordance with the plans for the development of educational institutions.)
4.จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา(Check the quality of education)
5.จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(Assessment the internal quality according to the educational standards of the institution.)
6.จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน(The annual report is an internal quality assessment report.)
7.จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous quality development)
แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
1.ภาพรวมของสถานศึกษา (School Profile)
ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของบริบทชุมชน ประกอบด้วย สภาพทางภูมิศาสตร์การศึกษา การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา โครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา แผนภูมิการบริหาร พร้อมทั้งบทบาทหน้าที่ โครงการสร้างการจัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ และมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2.ทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (Direction of School management )
ได้แก่ ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) เอกลักษณ์ (Uniqueness) ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่ง ของสถานศึกษา อัตลักษณ์ (Identity) ผลผลิตของผู้เรียน(ตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรมขององค์กร จุดเน้น และเป้าหมายของสถานศึกษา (School Goals) ซึ่ง เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3.ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา(The process of preparation)
ได้แก่ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้กับบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันศึกษาทบทวน ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน ผลการประเมินคุณภาพภายนอก วิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา จัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการชีวศึกษา จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและของสถานศึกษา ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา และจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกาศแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้บุคลากร นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าและบุคลากรทั่วไป ในชุมชนทราบ
4.สิ่งที่ควรบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (What should be included in the plan for development of vocational school.)
ได้แก่ การระดมทรัพยากร ที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งสนับสนุนงบประมาณและสรุปงบประมาณในแผน ฯ และแหล่งที่สถานศึกษาจะสามารถระดมทรัพยากรและสนับสนุนงบประมาณได้ รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และแหล่งวิทยาการภายนอก
กล่าวได้ว่า หากสถานศึกษามีกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด จัดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานประกอบการ ชุมชนและตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แผนการศึกษา Educational Plan .. 22/9/2560 สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/36898997
ที่มา FreeDigitalPhotos.net
ข้อคิดจากบทความข้างล่างครับ ..
ได้อ่านแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาแล้ว เขียนได้ดีมากครับ จากผู้มีประสบการณ์ตรง ทำให้นึกถึงว่าระบบการศึกษาอาชีวศึกษาของไทย ก็เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ คือการให้บริการและสินค้าสาธารณะกับพลเมือง
การบริหารรัฐกิจมีสามขา ขาแรกคือโครงสร้าง (Structure) หรือนโยบายแผนและการจัดตั้งต่างๆ ดังเช่นแผนนี้ ขาที่สองคือ วัฒนธรรม (Culture) คือการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในองค์กรจนเป็นเรื่องปกติ และขาที่สามคือ ศิลปะ (Craft) เป็นทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาท่ามกลางปัจจัยต่างๆ (the three lenses of structure, culture, and craft -- Hill, C and Lynn, L.: 2016)
ในบริบทของการศึกษาไทย เราไม่ขาดโครงสร้าง (Structure) หรือนโยบายแผนการจัดการต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่เราขาดคือ วัฒนธรรม (Culture) ของการบริหารที่ดีมีคุณธรรม ส่วนหนึ่งเป็นระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) และระบบอำนาจนิยม (Authoritarianism) ถึงแม้จะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีที่มีทักษะ (Craft) การบริหารยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่สามารถสู้กับระบบอุปถัมภ์และอำนาจนิยมได้
อ้างอิง
Hill, C and Lynn, L. (2016). Public Management: Thinking and Acting in Three Dimensions. Thousand Oaks, CA: SAGE.
https://ppantip.com/topic/36733378
.. สรายุทธ ศุกร์ 22/9/2560 10.22 น.
===
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา(Plan for Development of vocational school.)
ดร.อนันท์ งามสะอาด
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน(BDI)
------------
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา คือ แผนแม่บทที่กำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินงานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกัน(Targeted master plan and guideline for the development of educational management of educational institutions aiming to meet the educational standards of educational institutions.This is done in writing to ensure that the school operates under a mutually agreed upon agreement.)
การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงศึกษาธิการให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยการรับรองของคณะกรรมการสถานศึกษา ดังนี้
1.กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(Set educational standards for educational institutions.)
2.จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(Develop a plan to improve the quality of education in educational institutions.)
3.ดำเนินงานตามแผนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา(To work in accordance with the plans for the development of educational institutions.)
4.จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา(Check the quality of education)
5.จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา(Assessment the internal quality according to the educational standards of the institution.)
6.จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน(The annual report is an internal quality assessment report.)
7.จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous quality development)
แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
1.ภาพรวมของสถานศึกษา (School Profile)
ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของบริบทชุมชน ประกอบด้วย สภาพทางภูมิศาสตร์การศึกษา การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา โครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา แผนภูมิการบริหาร พร้อมทั้งบทบาทหน้าที่ โครงการสร้างการจัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ และมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2.ทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (Direction of School management )
ได้แก่ ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) เอกลักษณ์ (Uniqueness) ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่ง ของสถานศึกษา อัตลักษณ์ (Identity) ผลผลิตของผู้เรียน(ตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรมขององค์กร จุดเน้น และเป้าหมายของสถานศึกษา (School Goals) ซึ่ง เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3.ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา(The process of preparation)
ได้แก่ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้กับบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันศึกษาทบทวน ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน ผลการประเมินคุณภาพภายนอก วิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหา จัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการชีวศึกษา จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและของสถานศึกษา ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา และจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกาศแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้บุคลากร นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าและบุคลากรทั่วไป ในชุมชนทราบ
4.สิ่งที่ควรบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (What should be included in the plan for development of vocational school.)
ได้แก่ การระดมทรัพยากร ที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งสนับสนุนงบประมาณและสรุปงบประมาณในแผน ฯ และแหล่งที่สถานศึกษาจะสามารถระดมทรัพยากรและสนับสนุนงบประมาณได้ รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และแหล่งวิทยาการภายนอก
กล่าวได้ว่า หากสถานศึกษามีกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด จัดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานประกอบการ ชุมชนและตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ