ก่อนอื่นอยากจะให้คุณรู้ว่า สิ่งที่คุณกำลังจะฝึกนั้น "ไม่ใช่การฝึกกล้ามเนื้อ" แต่เป็น "
การฝึกจิต"
(ถ้าเป็นการฝึกกล้ามเนื้อ คุณสามารถจะใช้วิธีออกไปวิ่งจ๊อกกิ้งเพื่อเพิ่มความแข็งแร็งของกล้ามเนื้อได้เลย)
(แต่ถ้าเป็นการฝึกจิตคุณจะต้องใช้ การวางอารมณ์(หรือการทรงอารมณ์) ให้ถูกต้อง)
ซึ่งจิตมันเป็นนามธรรม จิตมันไหวไปตามอารมณ์ ไหวไปตามกิเลส
และเผอิญว่าเรามีกิเลสห่อหุ้มจิตของเราเอาไว้ทุกวันโดยไม่รู้ตัว จิตเราจึงไม่สะอาด จึงไม่สามารถใช้ความสามารถของจิตได้
(เปรียบเสมือนน้ำในโอ่ง ที่มีตะกอนขุ่นมัวหมุนวนลอยฟุ้งอยู่ตลอด จึงมองไม่เห็นก้นโอ่ง)
(เมื่อมีการฝึกจิตให้นิ่ง จึงเปรียบเสมือนทำให้น้ำในโอ่งนั้นนิ่ง ตะกอนจึงตกก้นโอ่ง ทำให้น้ำใส มองทะลุถึงก้นโอ่งได้)
การจะเป็นผู้ทรงฌานหรือผู้มีทิพย์จักษุญาณ จึงต้องมีการจัดระเบียบวิธีการคิด เพื่อให้เหมาะต่อการทรงอารมณ์ฌาน
(
เพราะจิตมันไม่ใช่กล้ามเนื้อ จิตมันเป็นไปตามอารมณ์ เพราะฉนั้นจึงต้องมีการจัดระเบียบวิธีการคิด เพื่อให้วางอารมณ์ได้ถูกต้อง)
เมื่อคุณวางอารมณ์ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องบ่อยๆ เวลาจะไปฝึกนั่งสมาธิ ก็จะสามารถเข้าฌานได้ง่าย
(ที่คนทั่วๆไปอยู่ดีๆ พอนึกอยากจะไปวัดฝึกนั่งสมาธิขึ้นมา แล้วจะให้ได้ฌานเลยในครั้งแรก ส่วนมากมักจะไม่ได้ก็เพราะเหตุนี้)
(เหตุก็เพราะว่าในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไปนั้น จิตมักจะ "ฟุ้ง" อยู่ตลอดเวลา)
(อยู่ดีๆจะมาให้นั่งหลับตา แล้วสงบจิต-สงบใจ หยุดนิ่ง-หยุดคิดเลยทันที ก็เลยทำไม่ได้ เข้าฌานไม่ได้)
เพราะฉนั้นนอกจากจะต้อง
วางอารมณ์ก่อนที่จะนั่งสมาธิให้ถูกต้อง แล้ว
การวางอารมณ์ในชีวิตประจำวันของคุณก็ควรจะถูกต้อง ด้วย
(วางอารมณ์ให้ถูกในชีวิตประจำวัน เกลากิเลสให้มันเบาบางขั้นต้นเสียก่อน เพื่อให้เวลามาฝึกนั่งสมาธิ จะทำให้จิตสงบระงับได้ง่าย)
สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการเข้าฌานนั้น เพียงแค่นึกถึงอารมณ์ฌานนั้น ก็เข้าฌานได้เลย เพราะเคยรู้จุด-รู้อารมณ์นั้นแล้ว
แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเข้าฌานครั้งแรกเลย อาจจะนึกอารมณ์นั้นไม่ออก จึงต้องฝึกวางอารมณ์นั้นให้ถูก จะต้องทำสะสมไปเรื่อยๆ
ส่วนมากพวกเราจะรู้ว่า จะต้องตัดละนิวรณ์5ให้ได้ก่อน จิตถึงจะเป็นฌาน
แต่เรามักจะไม่ค่อยได้ยินว่า "ทำอย่างไรถึงจะตัดละนิวรณ์5ได้?"
การทรงศีลบริสุทธิ์ และ การเจริญสติและวิปัสสนาญาณ และ การทรงอารมณ์ในชีวิตประจำวันให้สะอาด เมื่อทำบ่อยๆจิตจะเกิดอารมณ์ชิน
เมื่อชินแล้ว นิวรณ์5ที่พอกอยู่ที่จิตก็จะเบา เมื่อมาฝึกนั่งสมาธิ ก็จะตัดละนิวรณ์5ได้ง่าย ก็จะเข้าฌานได้ง่าย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อันดับแรกเลยก็คือ "
ไม่สนใจในจริยาของผู้อื่น" ข้อนี้สำคัญมาก แต่บางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน
ปกติจิตของคนเราในชีวิตประจำวัน เวลาไปไหน ไปเจออะไร ไปมองเห็นอะไร หรือได้ยิน-ได้ฟังอะไร มากระทบใจ
ก็จะนำเอาเรื่องๆนั้นมาโต้ตอบในจิตโดยอัตโนมัติ (แม้ว่าเราจะไม่พูดออกมาก็ตาม แต่ในใจมันคิดอยู่)
เดินผ่านจอทีวีในห้าง เห็นนักร้องวัยรุ่นหน้าตาดี แต่ร้องเพลงไม่เก่ง (ใจก็นึก "ร้องเพลงห่วยแตกแบบนี้ มาเป็นนักร้องได้งัยวะ")
(คิดแบบนี้ไม่ผิดทางโลก แต่ในแง่ของนักปฏิบัติธรรมควรจะละเว้นเสีย เพราะมันทำให้จิตฟุ้ง จึงควรจะลดละการสนใจในจริยาของผู้อื่นลง)
ใครจะทำดี หรือว่า ใครจะทำเลวอะไร จิตก็เข้าไปจับ เข้าไปวิเคราะห์เสียหมดทุกเรื่อง จริยาของผู้อื่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับเรา
ชอบการเม้าส์มอย ชอบการนินทา ชอบการวิจารณ์ ก็เลยติดนิสัยการเพ่งโทษผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว (โดยเฉพาะในโลกอินเตอร์เนต)
(
ไม่ผิดทางโลก แต่ผิดทางธรรมสำหรับนักปฏิบัติ เพราะจิตที่สนใจในจริยาของผู้อื่นเป็นนิจ เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน)
จริยาความผิดของคนไหนที่ไม่ถูกใจเรา เราก็โกรธ เราก็ขุ่นใจ ขังความโกรธไว้ในใจ ฟุ้งไปตลอด (บางทีข้ามวันข้ามคืน) (รอเวลาว่าเมื่อไหร่จะได้เอาคืน)
ยิ่งอยู่ในโลกสังคมออนไลน์ ที่มีการโต้กันไป-โต้กันมา พูดเอามันส์ไม่มีลิมิต ยิ่งทำให้จิตขุ่นมัวได้ง่าย (
ความขุ่นใจขังอยู่ในจิต)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การติดนิสัยชอบเพ่งโทษผู้อื่น จะทำให้คุณเผลอปรามาสผู้อื่นได้ง่าย (การปรามาสพระรัตนตรัยเป็นสิ่งต้องห้ามของนักปฏิบัติ)
จะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไร ก็ให้วางไว้ก่อน จะพิสูจน์ได้หรือพิสูจน์ไม่ได้อย่างไร ก็ให้วางไว้ก่อน
เพราะการเข้าสมาธิ-เข้าฌาน จำเป็นจะต้องวางความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติลงเสียก่อน(วิจิกิจฉา) จิตถึงจะเข้าฌานได้
ถ้าในชีวิตปกติประจำวันของคุณ ติดนิสัยการเพ่งโทษผู้อื่น จิตของคุณจะฟุ้ง เพราะติดนิสัย ขี้สงสัย-ขี้ตำหนิ-ขี้วิจารณ์ สิ่งรอบๆตัว
พอเวลามาฝึกนั่งสมาธิ ความขี้สงสัย-ขี้ตำหนิ-ขี้วิจารณ์ มันก็เกาะติดแฝงมากับใจของคุณด้วย
จึงวางความลังเลสงสัยไม่ลง จึงตัดละวิจิกิจฉาไม่ได้
พอเดินเข้าเขตวัดเท่านั้น ใจก็นึก "วัดนี้ทำไมดูซอมซ่อจัง" , "พระอาจารย์คนนี้ทำไมหน้าตาแปลกจัง" , "วิธีที่เขาสอนมามันจะเวิร์คหรอ" นึกสงสัยตลอด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
และ การสนใจในเรื่องกามรมณ์มากจนติดเป็นนิสัย "
มีความใคร่ในกามเป็นอารมณ์อยู่เสมอ" ก็จะทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน จิตสงบระงับได้ยาก
(ควรจะลบรูป-ลบสื่อ และช่องทางต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องตัณหาราคะ ให้พ้นไปจากตัว ถ้าอยากจะได้ดีทางสมาธิ)
การพยายามจะสรรหาสื่อ หรือการพยายามจะสรรหาช่องทางที่จะเสพราคะอยู่เป็นประจำนี่เอง ที่เป็นอารมณ์ปรารถนาในกามที่ขังอยู่ในจิต (จนเคยชิน)
(มันติดไปในใจคุณ เวลานั่งสมาธิมันขังอยู่-มันแฝงอยู่ในจิต มันจึงสงบยาก เพราะใจเดิมๆมันไม่สะอาด มันฟุ้งกว่าปกติ มันทำให้จิตแส่ส่ายส่งออก)
(เพราะจิตที่มีกิเลสจะมีลักษณะดิ้นรน แส่ส่ายส่งออกเพื่อไปหามาเสพ จึงทำให้จิตใจสงบระงับได้ยาก)
คนบางคน แม้จะกำลังอยู่ในสถานปฏิบัติธรรมอยู่ก็ตาม แต่จิตก็เผลอไปวิเคราะห์ถึงสัดส่วนเรือนร่างของอุบาสิกาไปด้วยความเคยชิน เพราะทำมาตลอด
และโดยเฉพาะบางคนชอบติดนิสัย พูดทะลึ่ง-พูดทะเล้น กับเพื่อนๆอยู่เป็นนิจ ("เมื่อวานปล่อยมุขนั้นไปแล้ว วันนี้จะปล่อยมุขอะไรดีวะ")
ถ้าจะพูดมุขตลกเก่าๆ ซ้ำๆ เดิมๆ มันก็ไม่ขำ-มันก็ไม่ฮา (จึงต้องพยายามสรรหานึกเรื่องอะไรที่มันทะลึ่งๆใหม่ๆ ให้มันทะลึ่งๆยิ่งๆขึ้นไป)
(การพยายามจะสรรหานึกเรื่องอะไรที่เป็นเรื่องอกุศลให้มันยิ่งๆขึ้นไปอยู่เรื่อยๆ จนติดเป็นนิสัยนี่เอง ที่มันทำให้จิตไม่สะอาด-จิตฟุ้ง)
การติดในเรื่องเหล่านี้ เป็นการ "คุ้ยจิตให้ฟุ้ง" เปรียบเสมือนคุ้ยตะกอนก้นโอ่งให้มันฟุ้งอยู่ตลอดเวลา น้ำในโอ่งจึงไม่นิ่ง น้ำจึงไม่ใส
จึงมองทะลุไปยังก้นโอ่งไม่ได้ (จึงทำจิตใจให้สงบระงับไม่ได้ จึงเข้าฌานไม่ได้ )
สถานปฏิบัติธรรมบางแห่ง จึงห้ามการพูดจาคุยกัน (
ปิดวาจา)
เพื่อเป็นการบังคับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมแบบอ้อมๆ เพื่อที่จะให้ ลด-ละ การสนใจในจริยาของผู้อื่นลง
เพื่อให้ชั่วระยะเวลาที่มาปฏิบัติธรรมนั้น จิตของนักปฏิบัติธรรมมีความสงบนิ่งมากกว่าการใช้ชีวิตแบบปกติธรรมดาๆทั่วๆไป
โอกาสที่จะทำสมาธิ-เข้าฌาน จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
สรุปก็คือ.......
- การชอบสรรหาช่องทางเพื่อตอบสนองความพอใจในกามของตนเองอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ
กามฉันทะ)
- การชอบโต้วาที ชอบโต้คารมกับผู้อื่น จะทำให้คุณขังโกรธอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ
ปฏิฆะ)
- การชอบสนใจในจริยาของผู้อื่นเป็นนิจ จะทำให้จิตของคุณฟุ้งซ่านอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ
อุทธัจจะ)
- การชอบเพ่งโทษผู้อื่น จึงเป็นคนที่ ขี้สงสัย-ขี้ตำหนิ-ขี้วิจารณ์ สิ่งต่างๆรอบๆตัวอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ
วิจิกิจฉา)
การกระทำเหล่านี้ ในทางโลกนั้นถือว่าเป็นแค่เรื่องธรรมดาๆ แต่ถ้าคุณจะเอาดีทางด้านสมาธิ คุณควรจะละเว้นให้ห่างจากเรื่องเหล่านี้
พอคุณไปฝึกนั่งสมาธิ คุณนึกว่าคุณไม่ได้เอาอารมณ์เรื่องพวกนี้มา แต่ความจริงอารมณ์พวกนี้มันฝังอยู่ในจิตของคุณอยู่แล้ว มันพอกอยู่ (มันเคยชิน)
โอกาสที่คุณจะตัดละอารมณ์ที่เป็นโทษเหล่านี้ลงได้ฉับพลัน แล้วเข้าฌานสมาธิได้เลยทันที จึงเป็นเรื่องยาก
ถ้าคุณไม่จัดระเบียบการวางอารมณ์ในชีวิตประจำวันของคุณ ให้สะอาดเบาบางลงเสียก่อน
คุณจึงควรจะต้องละเว้นให้ห่างจากเรื่องที่เป็นโทษทางจิตเหล่านี้ สำหรับนักปฏิบัติ-สำหรับผู้ทรงฌาน
โดยการไม่สนใจในจริยาของผู้อื่น และ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนท่ามกลางผู้คนมากมายเพียงไร ก็ควรจะคิดว่าเราอยู่แต่เพียงผู้เดียวไว้เสมอ
เพราะว่าจริงๆแล้ว ตายเราก็ตายผู้เดียว ความเจ็บปวดทรมานใดๆที่เกิดขึ้นกับเรา ก็อยู่แต่ในกายของเราผู้เดียว เรารู้สึกได้แต่เพียงผู้เดียว
(
เพื่อดึงจิตให้อยู่กับตัว ไม่ลืมความตายไว้เสมอ มีความสันโดษของจิตแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายก็ตาม เพื่อให้จิตสะอาดอยู่เสมอ)
เพื่อรักษาและถนอมประคองอารมณ์ของผู้ทรงฌานนี้ไว้ไม่ให้เสื่อม และเพื่อให้มีความก้าวหน้าทางสมาธิมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
_________________________________________________________________________________________________________
ผู้เขียน : พุทธา palungjitman@hotmail.co.th
บทความเรื่อง "องค์ประกอบของผู้ทรงฌาน" (ปีที่3)
ก่อนอื่นอยากจะให้คุณรู้ว่า สิ่งที่คุณกำลังจะฝึกนั้น "ไม่ใช่การฝึกกล้ามเนื้อ" แต่เป็น "การฝึกจิต"
(ถ้าเป็นการฝึกกล้ามเนื้อ คุณสามารถจะใช้วิธีออกไปวิ่งจ๊อกกิ้งเพื่อเพิ่มความแข็งแร็งของกล้ามเนื้อได้เลย)
(แต่ถ้าเป็นการฝึกจิตคุณจะต้องใช้ การวางอารมณ์(หรือการทรงอารมณ์) ให้ถูกต้อง)
ซึ่งจิตมันเป็นนามธรรม จิตมันไหวไปตามอารมณ์ ไหวไปตามกิเลส
และเผอิญว่าเรามีกิเลสห่อหุ้มจิตของเราเอาไว้ทุกวันโดยไม่รู้ตัว จิตเราจึงไม่สะอาด จึงไม่สามารถใช้ความสามารถของจิตได้
(เปรียบเสมือนน้ำในโอ่ง ที่มีตะกอนขุ่นมัวหมุนวนลอยฟุ้งอยู่ตลอด จึงมองไม่เห็นก้นโอ่ง)
(เมื่อมีการฝึกจิตให้นิ่ง จึงเปรียบเสมือนทำให้น้ำในโอ่งนั้นนิ่ง ตะกอนจึงตกก้นโอ่ง ทำให้น้ำใส มองทะลุถึงก้นโอ่งได้)
การจะเป็นผู้ทรงฌานหรือผู้มีทิพย์จักษุญาณ จึงต้องมีการจัดระเบียบวิธีการคิด เพื่อให้เหมาะต่อการทรงอารมณ์ฌาน
(เพราะจิตมันไม่ใช่กล้ามเนื้อ จิตมันเป็นไปตามอารมณ์ เพราะฉนั้นจึงต้องมีการจัดระเบียบวิธีการคิด เพื่อให้วางอารมณ์ได้ถูกต้อง)
เมื่อคุณวางอารมณ์ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องบ่อยๆ เวลาจะไปฝึกนั่งสมาธิ ก็จะสามารถเข้าฌานได้ง่าย
(ที่คนทั่วๆไปอยู่ดีๆ พอนึกอยากจะไปวัดฝึกนั่งสมาธิขึ้นมา แล้วจะให้ได้ฌานเลยในครั้งแรก ส่วนมากมักจะไม่ได้ก็เพราะเหตุนี้)
(เหตุก็เพราะว่าในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไปนั้น จิตมักจะ "ฟุ้ง" อยู่ตลอดเวลา)
(อยู่ดีๆจะมาให้นั่งหลับตา แล้วสงบจิต-สงบใจ หยุดนิ่ง-หยุดคิดเลยทันที ก็เลยทำไม่ได้ เข้าฌานไม่ได้)
เพราะฉนั้นนอกจากจะต้อง วางอารมณ์ก่อนที่จะนั่งสมาธิให้ถูกต้อง แล้ว การวางอารมณ์ในชีวิตประจำวันของคุณก็ควรจะถูกต้อง ด้วย
(วางอารมณ์ให้ถูกในชีวิตประจำวัน เกลากิเลสให้มันเบาบางขั้นต้นเสียก่อน เพื่อให้เวลามาฝึกนั่งสมาธิ จะทำให้จิตสงบระงับได้ง่าย)
สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการเข้าฌานนั้น เพียงแค่นึกถึงอารมณ์ฌานนั้น ก็เข้าฌานได้เลย เพราะเคยรู้จุด-รู้อารมณ์นั้นแล้ว
แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเข้าฌานครั้งแรกเลย อาจจะนึกอารมณ์นั้นไม่ออก จึงต้องฝึกวางอารมณ์นั้นให้ถูก จะต้องทำสะสมไปเรื่อยๆ
ส่วนมากพวกเราจะรู้ว่า จะต้องตัดละนิวรณ์5ให้ได้ก่อน จิตถึงจะเป็นฌาน
แต่เรามักจะไม่ค่อยได้ยินว่า "ทำอย่างไรถึงจะตัดละนิวรณ์5ได้?"
การทรงศีลบริสุทธิ์ และ การเจริญสติและวิปัสสนาญาณ และ การทรงอารมณ์ในชีวิตประจำวันให้สะอาด เมื่อทำบ่อยๆจิตจะเกิดอารมณ์ชิน
เมื่อชินแล้ว นิวรณ์5ที่พอกอยู่ที่จิตก็จะเบา เมื่อมาฝึกนั่งสมาธิ ก็จะตัดละนิวรณ์5ได้ง่าย ก็จะเข้าฌานได้ง่าย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อันดับแรกเลยก็คือ "ไม่สนใจในจริยาของผู้อื่น" ข้อนี้สำคัญมาก แต่บางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน
ปกติจิตของคนเราในชีวิตประจำวัน เวลาไปไหน ไปเจออะไร ไปมองเห็นอะไร หรือได้ยิน-ได้ฟังอะไร มากระทบใจ
ก็จะนำเอาเรื่องๆนั้นมาโต้ตอบในจิตโดยอัตโนมัติ (แม้ว่าเราจะไม่พูดออกมาก็ตาม แต่ในใจมันคิดอยู่)
เดินผ่านจอทีวีในห้าง เห็นนักร้องวัยรุ่นหน้าตาดี แต่ร้องเพลงไม่เก่ง (ใจก็นึก "ร้องเพลงห่วยแตกแบบนี้ มาเป็นนักร้องได้งัยวะ")
(คิดแบบนี้ไม่ผิดทางโลก แต่ในแง่ของนักปฏิบัติธรรมควรจะละเว้นเสีย เพราะมันทำให้จิตฟุ้ง จึงควรจะลดละการสนใจในจริยาของผู้อื่นลง)
ใครจะทำดี หรือว่า ใครจะทำเลวอะไร จิตก็เข้าไปจับ เข้าไปวิเคราะห์เสียหมดทุกเรื่อง จริยาของผู้อื่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับเรา
ชอบการเม้าส์มอย ชอบการนินทา ชอบการวิจารณ์ ก็เลยติดนิสัยการเพ่งโทษผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว (โดยเฉพาะในโลกอินเตอร์เนต)
(ไม่ผิดทางโลก แต่ผิดทางธรรมสำหรับนักปฏิบัติ เพราะจิตที่สนใจในจริยาของผู้อื่นเป็นนิจ เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน)
จริยาความผิดของคนไหนที่ไม่ถูกใจเรา เราก็โกรธ เราก็ขุ่นใจ ขังความโกรธไว้ในใจ ฟุ้งไปตลอด (บางทีข้ามวันข้ามคืน) (รอเวลาว่าเมื่อไหร่จะได้เอาคืน)
ยิ่งอยู่ในโลกสังคมออนไลน์ ที่มีการโต้กันไป-โต้กันมา พูดเอามันส์ไม่มีลิมิต ยิ่งทำให้จิตขุ่นมัวได้ง่าย (ความขุ่นใจขังอยู่ในจิต)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การติดนิสัยชอบเพ่งโทษผู้อื่น จะทำให้คุณเผลอปรามาสผู้อื่นได้ง่าย (การปรามาสพระรัตนตรัยเป็นสิ่งต้องห้ามของนักปฏิบัติ)
จะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไร ก็ให้วางไว้ก่อน จะพิสูจน์ได้หรือพิสูจน์ไม่ได้อย่างไร ก็ให้วางไว้ก่อน
เพราะการเข้าสมาธิ-เข้าฌาน จำเป็นจะต้องวางความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติลงเสียก่อน(วิจิกิจฉา) จิตถึงจะเข้าฌานได้
ถ้าในชีวิตปกติประจำวันของคุณ ติดนิสัยการเพ่งโทษผู้อื่น จิตของคุณจะฟุ้ง เพราะติดนิสัย ขี้สงสัย-ขี้ตำหนิ-ขี้วิจารณ์ สิ่งรอบๆตัว
พอเวลามาฝึกนั่งสมาธิ ความขี้สงสัย-ขี้ตำหนิ-ขี้วิจารณ์ มันก็เกาะติดแฝงมากับใจของคุณด้วย จึงวางความลังเลสงสัยไม่ลง จึงตัดละวิจิกิจฉาไม่ได้
พอเดินเข้าเขตวัดเท่านั้น ใจก็นึก "วัดนี้ทำไมดูซอมซ่อจัง" , "พระอาจารย์คนนี้ทำไมหน้าตาแปลกจัง" , "วิธีที่เขาสอนมามันจะเวิร์คหรอ" นึกสงสัยตลอด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
และ การสนใจในเรื่องกามรมณ์มากจนติดเป็นนิสัย "มีความใคร่ในกามเป็นอารมณ์อยู่เสมอ" ก็จะทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน จิตสงบระงับได้ยาก
(ควรจะลบรูป-ลบสื่อ และช่องทางต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องตัณหาราคะ ให้พ้นไปจากตัว ถ้าอยากจะได้ดีทางสมาธิ)
การพยายามจะสรรหาสื่อ หรือการพยายามจะสรรหาช่องทางที่จะเสพราคะอยู่เป็นประจำนี่เอง ที่เป็นอารมณ์ปรารถนาในกามที่ขังอยู่ในจิต (จนเคยชิน)
(มันติดไปในใจคุณ เวลานั่งสมาธิมันขังอยู่-มันแฝงอยู่ในจิต มันจึงสงบยาก เพราะใจเดิมๆมันไม่สะอาด มันฟุ้งกว่าปกติ มันทำให้จิตแส่ส่ายส่งออก)
(เพราะจิตที่มีกิเลสจะมีลักษณะดิ้นรน แส่ส่ายส่งออกเพื่อไปหามาเสพ จึงทำให้จิตใจสงบระงับได้ยาก)
คนบางคน แม้จะกำลังอยู่ในสถานปฏิบัติธรรมอยู่ก็ตาม แต่จิตก็เผลอไปวิเคราะห์ถึงสัดส่วนเรือนร่างของอุบาสิกาไปด้วยความเคยชิน เพราะทำมาตลอด
และโดยเฉพาะบางคนชอบติดนิสัย พูดทะลึ่ง-พูดทะเล้น กับเพื่อนๆอยู่เป็นนิจ ("เมื่อวานปล่อยมุขนั้นไปแล้ว วันนี้จะปล่อยมุขอะไรดีวะ")
ถ้าจะพูดมุขตลกเก่าๆ ซ้ำๆ เดิมๆ มันก็ไม่ขำ-มันก็ไม่ฮา (จึงต้องพยายามสรรหานึกเรื่องอะไรที่มันทะลึ่งๆใหม่ๆ ให้มันทะลึ่งๆยิ่งๆขึ้นไป)
(การพยายามจะสรรหานึกเรื่องอะไรที่เป็นเรื่องอกุศลให้มันยิ่งๆขึ้นไปอยู่เรื่อยๆ จนติดเป็นนิสัยนี่เอง ที่มันทำให้จิตไม่สะอาด-จิตฟุ้ง)
การติดในเรื่องเหล่านี้ เป็นการ "คุ้ยจิตให้ฟุ้ง" เปรียบเสมือนคุ้ยตะกอนก้นโอ่งให้มันฟุ้งอยู่ตลอดเวลา น้ำในโอ่งจึงไม่นิ่ง น้ำจึงไม่ใส
จึงมองทะลุไปยังก้นโอ่งไม่ได้ (จึงทำจิตใจให้สงบระงับไม่ได้ จึงเข้าฌานไม่ได้ )
สถานปฏิบัติธรรมบางแห่ง จึงห้ามการพูดจาคุยกัน (ปิดวาจา)
เพื่อเป็นการบังคับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมแบบอ้อมๆ เพื่อที่จะให้ ลด-ละ การสนใจในจริยาของผู้อื่นลง
เพื่อให้ชั่วระยะเวลาที่มาปฏิบัติธรรมนั้น จิตของนักปฏิบัติธรรมมีความสงบนิ่งมากกว่าการใช้ชีวิตแบบปกติธรรมดาๆทั่วๆไป
โอกาสที่จะทำสมาธิ-เข้าฌาน จึงเกิดขึ้นได้ง่าย
สรุปก็คือ.......
- การชอบสรรหาช่องทางเพื่อตอบสนองความพอใจในกามของตนเองอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ กามฉันทะ)
- การชอบโต้วาที ชอบโต้คารมกับผู้อื่น จะทำให้คุณขังโกรธอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ ปฏิฆะ)
- การชอบสนใจในจริยาของผู้อื่นเป็นนิจ จะทำให้จิตของคุณฟุ้งซ่านอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ อุทธัจจะ)
- การชอบเพ่งโทษผู้อื่น จึงเป็นคนที่ ขี้สงสัย-ขี้ตำหนิ-ขี้วิจารณ์ สิ่งต่างๆรอบๆตัวอยู่เสมอ (จะทำให้คุณติดนิวรณ์ ข้อ วิจิกิจฉา)
การกระทำเหล่านี้ ในทางโลกนั้นถือว่าเป็นแค่เรื่องธรรมดาๆ แต่ถ้าคุณจะเอาดีทางด้านสมาธิ คุณควรจะละเว้นให้ห่างจากเรื่องเหล่านี้
พอคุณไปฝึกนั่งสมาธิ คุณนึกว่าคุณไม่ได้เอาอารมณ์เรื่องพวกนี้มา แต่ความจริงอารมณ์พวกนี้มันฝังอยู่ในจิตของคุณอยู่แล้ว มันพอกอยู่ (มันเคยชิน)
โอกาสที่คุณจะตัดละอารมณ์ที่เป็นโทษเหล่านี้ลงได้ฉับพลัน แล้วเข้าฌานสมาธิได้เลยทันที จึงเป็นเรื่องยาก
ถ้าคุณไม่จัดระเบียบการวางอารมณ์ในชีวิตประจำวันของคุณ ให้สะอาดเบาบางลงเสียก่อน
คุณจึงควรจะต้องละเว้นให้ห่างจากเรื่องที่เป็นโทษทางจิตเหล่านี้ สำหรับนักปฏิบัติ-สำหรับผู้ทรงฌาน
โดยการไม่สนใจในจริยาของผู้อื่น และ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนท่ามกลางผู้คนมากมายเพียงไร ก็ควรจะคิดว่าเราอยู่แต่เพียงผู้เดียวไว้เสมอ
เพราะว่าจริงๆแล้ว ตายเราก็ตายผู้เดียว ความเจ็บปวดทรมานใดๆที่เกิดขึ้นกับเรา ก็อยู่แต่ในกายของเราผู้เดียว เรารู้สึกได้แต่เพียงผู้เดียว
(เพื่อดึงจิตให้อยู่กับตัว ไม่ลืมความตายไว้เสมอ มีความสันโดษของจิตแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายก็ตาม เพื่อให้จิตสะอาดอยู่เสมอ)
เพื่อรักษาและถนอมประคองอารมณ์ของผู้ทรงฌานนี้ไว้ไม่ให้เสื่อม และเพื่อให้มีความก้าวหน้าทางสมาธิมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
_________________________________________________________________________________________________________
ผู้เขียน : พุทธา palungjitman@hotmail.co.th