ภิกษุ ท. ! มีเรื่องราวในกาลก่อน : บุรุษผู้หนึ่ง ตั้งใจว่าจะคิด ซึ่ง
ความคิดเรื่องโลก, จึงออกจากนครราชคฤห์ไปสู่สระบัวชื่อ สุมาคธา แล้วนั่งคิด
อยู่ที่ริมฝั่งสระ. บุรุษนั้นได้เห็นแล้ว ซึ่งหมู่เสนาประกอบด้วยองค์สี่ (คือช้าง ม้า
รถ พลเดินเท้า) ที่ฝั่งสระสุมาคธานั้น เข้าไปอยู่ๆ สู่เหง้ารากบัว. ครั้นเขาเห็นแล้ว
เกิดความไม่เชื่อตัวเองว่า “เรานี้บ้าแล้ว เรานี้วิกลจริตแล้ว, สิ่งใดไม่มีในโลก
เราได้เห็นสิ่งนั้นแล้ว” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! บุรุษนั้นกลับเข้าไปสู่นครแล้ว ป่าวร้อง
แก่มหาชน ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเป็นบ้าแล้ว ข้าพเจ้าวิกลจริตแล้ว, เพราะว่า
สิ่งใดไม่มีอยู่ในโลก ข้าพเจ้ามาเห็นแล้วซึ่งสิ่งนั้น” ดังนี้. มีเสียงถามว่า เห็นอะไรมา ?
เขาบอกแล้วตามที่เห็นทุกประการ. มีเสียงรับรองว่า “ถูกแล้ว, ท่านผู้เจริญเอ๋ย !
ท่านเป็นบ้าแล้ว ท่านวิกลจริตแล้ว”.
ภิกษุ ท. ! แต่ว่าบุรุษนั้น ได้เห็นสิ่งที่มีจริง เป็นจริง หาใช่เห็น
สิ่งไม่มีจริง ไม่เป็นจริงไม่. ภิกษุ ท. ! ในกาลก่อนดึกดำบรรพ์ : สงคราม
ระหว่างพวกเทพกับอสูรได้ตั้งประชิดกันแล้ว. ในสงครามครั้งนั้น พวกเทพ
เป็นฝ่ายชนะ อสูรเป็นฝ่ายแพ้. พวกอสูรกลัว แล้วแอบหนีไปสู่ภพแห่งอสูร
โดยผ่านทางเหง้ารากบัว หลอกพวกเทพให้หลงค้นอยู่. (เรื่องของโลกย่อมพิสดารไม่
สิ้นสุดถึงเพียงนี้). ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย จง
อย่าคิดเรื่องโลก โดยนัยว่า “โลกเที่ยงหรือ ? โลกไม่เที่ยงหรือ ? โลกมีที่สุดหรือ ?
โลกไม่มีที่สุดหรือ ? ชีพก็ดวงนั้น ร่างกายก็ร่างนั้นหรือ ? ชีพก็ดวงอื่น ร่างกายก็
ร่างอื่นหรือ ? ตถาคตตายแล้วย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตาย
ไปแล้ว ไม่เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว เป็นอย่างที่
เป็นมาแล้วอีกก็มี ไม่เป็นก็มี หรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีก
ก็ไม่เชิง ไม่เป็นก็ไม่เชิง หรือ ?” เพราะเหตุไรจึงไม่ควรคิดเล่า ? ภิกษุ ท. !
เพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ
ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เลย.
ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอจะคิด จงคิดว่า “เช่นนี้ๆ เป็นทุกข์,
เช่นนี้ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่น
นี้ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. เพราะเหตุไรจึงควร
คิดเล่า ? เพราะความคิดนี้ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของ
พรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ
ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข, นี้เป็นความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๘ - ๕๕๙/๑๗๒๕ - ๑๗๒๗.
อย่าคิดเรื่องโลก แต่จงคิดเรื่องอริยสัจ(พระสูตร)
ความคิดเรื่องโลก, จึงออกจากนครราชคฤห์ไปสู่สระบัวชื่อ สุมาคธา แล้วนั่งคิด
อยู่ที่ริมฝั่งสระ. บุรุษนั้นได้เห็นแล้ว ซึ่งหมู่เสนาประกอบด้วยองค์สี่ (คือช้าง ม้า
รถ พลเดินเท้า) ที่ฝั่งสระสุมาคธานั้น เข้าไปอยู่ๆ สู่เหง้ารากบัว. ครั้นเขาเห็นแล้ว
เกิดความไม่เชื่อตัวเองว่า “เรานี้บ้าแล้ว เรานี้วิกลจริตแล้ว, สิ่งใดไม่มีในโลก
เราได้เห็นสิ่งนั้นแล้ว” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! บุรุษนั้นกลับเข้าไปสู่นครแล้ว ป่าวร้อง
แก่มหาชน ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเป็นบ้าแล้ว ข้าพเจ้าวิกลจริตแล้ว, เพราะว่า
สิ่งใดไม่มีอยู่ในโลก ข้าพเจ้ามาเห็นแล้วซึ่งสิ่งนั้น” ดังนี้. มีเสียงถามว่า เห็นอะไรมา ?
เขาบอกแล้วตามที่เห็นทุกประการ. มีเสียงรับรองว่า “ถูกแล้ว, ท่านผู้เจริญเอ๋ย !
ท่านเป็นบ้าแล้ว ท่านวิกลจริตแล้ว”.
ภิกษุ ท. ! แต่ว่าบุรุษนั้น ได้เห็นสิ่งที่มีจริง เป็นจริง หาใช่เห็น
สิ่งไม่มีจริง ไม่เป็นจริงไม่. ภิกษุ ท. ! ในกาลก่อนดึกดำบรรพ์ : สงคราม
ระหว่างพวกเทพกับอสูรได้ตั้งประชิดกันแล้ว. ในสงครามครั้งนั้น พวกเทพ
เป็นฝ่ายชนะ อสูรเป็นฝ่ายแพ้. พวกอสูรกลัว แล้วแอบหนีไปสู่ภพแห่งอสูร
โดยผ่านทางเหง้ารากบัว หลอกพวกเทพให้หลงค้นอยู่. (เรื่องของโลกย่อมพิสดารไม่
สิ้นสุดถึงเพียงนี้). ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย จง
อย่าคิดเรื่องโลก โดยนัยว่า “โลกเที่ยงหรือ ? โลกไม่เที่ยงหรือ ? โลกมีที่สุดหรือ ?
โลกไม่มีที่สุดหรือ ? ชีพก็ดวงนั้น ร่างกายก็ร่างนั้นหรือ ? ชีพก็ดวงอื่น ร่างกายก็
ร่างอื่นหรือ ? ตถาคตตายแล้วย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตาย
ไปแล้ว ไม่เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว เป็นอย่างที่
เป็นมาแล้วอีกก็มี ไม่เป็นก็มี หรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีก
ก็ไม่เชิง ไม่เป็นก็ไม่เชิง หรือ ?” เพราะเหตุไรจึงไม่ควรคิดเล่า ? ภิกษุ ท. !
เพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ
ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เลย.
ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอจะคิด จงคิดว่า “เช่นนี้ๆ เป็นทุกข์,
เช่นนี้ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่น
นี้ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. เพราะเหตุไรจึงควร
คิดเล่า ? เพราะความคิดนี้ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของ
พรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ
ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข, นี้เป็นความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๘ - ๕๕๙/๑๗๒๕ - ๑๗๒๗.