[๒๐๑] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
เช่นที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบาง
พวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพูดเดรัจฉานกถาอย่างนี้ คือ เรื่อง
พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคน
กล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา เห็นปานนี้เสียแล้ว
แม้นี้ก็เป็นศ๊ลของเธอประการหนึ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงอย่ากล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ
เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคน
กล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด
ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า "เช่นนี้ ๆ เป็นทุกข์ เช่นนี้ ๆ
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่นนี้ ๆ
เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์" ดังนี้ เพราะเหตุไรจึงควรกล่าว
เพราะการกล่าวนั้น ๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง
ความรู้พร้อม และนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง
ว่า "นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ " ดังนี้เถิด.
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
พวกฉันโภชนาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพูดเดรัจฉานกถาอย่างนี้ คือ เรื่อง
พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคน
กล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา เห็นปานนี้เสียแล้ว
แม้นี้ก็เป็นศ๊ลของเธอประการหนึ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงอย่ากล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ
เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน
เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคน
กล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด
ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า "เช่นนี้ ๆ เป็นทุกข์ เช่นนี้ ๆ
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่นนี้ ๆ
เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์" ดังนี้ เพราะเหตุไรจึงควรกล่าว
เพราะการกล่าวนั้น ๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง
ความรู้พร้อม และนิพพาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง
ว่า "นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ " ดังนี้เถิด.