เจอกันในวันหยุดอีกแล้วครับ วันนี้ผู้เขียนก็อยากลองรีวิวกับข้าวพื้นบ้านๆ แบบชาวบ้านคนเหนือเค้าทานกัน อาหารบางชนิด ก็เริ่มหาทานได้ยากแล้ว ผมเลยมาลงรีวิวไว้ เผื่อน้องๆคนรุ่นใหม่ จะได้รู้จักกัน .... ภาพถ่ายอาหารชุดนี้ ถ่ายเก็บไว้นานแล้ว เพิ่งมีโอกาสมาลง ภาพแรกเลยอันนี้ พุงปลาบ้วงทอด (พุงปลาชะโดแดดเดียวทอด)
น้ำพริกตาแดงใส่มะเขือส้ม เป็น น้ำพริกคู่โต๊ะคนเมืองเหนือเลย ความนิยมไม่แพ้ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกเห็ดหล่ม น้ำพริกมะกอก เป็น น้ำพริกประจำโต๊ะอาหารของชาวเหนือเลย สำรับของคนเหนือจะขาดน้ำพริกไม่ได้ จะต้องรับประทานกับของทอด เช่น แคบหมู หมูทอด ไก่ทอด ปลาทอด ผักนึ่ง ผักต้ม และต้องทานคู่กับข้าวเหนียวเท่านั้น
ในสมัยก่อน คนไม่นิยมรับประทานสัตว์ใหญ่กัน กินได้เช่นพวกแมลง ปลา นก ไก่ กบ เป็นต้น อาจเป็นเพราะความเชื่อเรื่องผีสาง กลัววิญญานสัตว์ใหญ่จะตามมาหลอกหลอน จะกินเนื้อควายบ้างในวาระพิเศษเท่านั้น เช่น ในพิธีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา ... คนโบราณสมัยก่อน เค้าไม่ได้จบป.ตรีกันเกร่อแบบทุกวันนี้ ความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ จึงจำเป็น เวลาเข้าป่าล่าสัตว์ ต้องมีการสักยันต์ มีคาถาติดตัวไว้ จะได้แคล้วคลาดปลอดภัยจากเหล่าภูตผีและสัตว์ร้าย ...ชาวสยามจึงเรียกชาวล้านนาว่า คนลาวพุงดำ เพราะมีรอยสักตั้งแต่หัวเข่า ไปจนถึงเอว
แกงเห็ดใส่ผักหระ คือ แกงเห็ดพื้นบ้าน ใส่ชะอม ใส่ปลาร้า ไปด้วย รสชาติอร่อยดี แกงทางเหนือ รสชาติจะเน้นเค็ม เผ็ด อาจจะมีรสเปรี้ยวจากมะเขือส้มบ้าง รสชาติอาหารไม่จัดจ้านเหมือนทางภาคอีสาน และ ภาคใต้ ของไทย ... เชื่อว่าคนโบราณที่เป็นคนสามัญชนทั่วไป คงไม่ได้ทานอาหารครบ3มื้อเหมือนคนในยุคปัจจุบันแน่นอน ว่าด้วยเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจ ผลิตผลทางเกษตรกรรม เทคโนโลยีเครื่องทำครัว ไม่ได้เจริญเท่ากับในยุคนี้ จะจุดไฟก่อฟืนแต่ละที ก็แสนจะยุ่งยาก คนล้านนาสมัยก่อนคงจะกินกันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น และข้าวเหนียวมีความหนักท้อง ทานเพียงนิดเดียวก็อิ่ม อยู่ได้กันทั้งวัน หิวขึ้นมา ก็ยังกินกล้วย ผลไม้ต่างๆแทนได้ คำว่า ข้าวงาย ข้าวตอน ข้าวแลง (อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น) เป็นคำใช้เรียกมื้ออาหารในวังเจ้าเมืองชนชั้นสูงเท่านั้น จึงไม่แปลกคนเหนือโบราณจะตัวเล็ก ด้วยเหตุผลเรื่องด้อยโภชนาการ ไม่ได้มีเซเว่นอยู่ใกล้บ้านแบบปัจจุบันนี้ ที่หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา
หน้าตาสำรับอาหารผู้เขียนมื้อเช้า พอเขียนเกี่ยวกับรสชาติอาหารเหนือ รสเค็ม ในอดีต ก็นึกถึงบ่อเกลือ จ.น่าน เกลือสินเธาว์ที่นี่ เปรียบได้คือ ทองคำขาว กันเลยทีเดียว เพราะในสมัยยุคอดีต พื้นที่ภาคเหนือ อีสาน พม่า ลาว จีนตอนใต้ ก็ต้องพึ่งพาอาศัยเกลือ จากจ.น่าน ในการประกอบอาหาร และ ถนอมอาหารกัน (ในอดีต คนเมืองเหนือจะดองใบเมี่ยง โดยใช้เกลือสินเธาว์ เกลือจึงเป็นสื่งสำคัญมากในสมัยนั้น) จึงมีการสู้รบแย่งชิง เมืองน่าน มาทุกยุคทุกสมัย เพราะบ่อเกลือนี่เอง ... เมืองน่านในหลายยุคหลายสมัย ก็เคยเป็นนครรัฐอิสระ เคยเป็นเมืองขึ้นของทั้งล้านช้าง ล้านนา และ พม่า ตามสถานการณ์การเมืองในแต่ละยุค โดยใช้เกลือนี่แหล่ะเป็นเครื่องบรรณาการ และเครื่องมือเจรจาต่อรองกับบรรดาอาณาจักรที่ใหญ่กว่าทั้งหลาย
นครน่าน จึงเป็นเมืองที่อยู่รอดปลอดภัยมาทุกยุคทุกสมัย จนทำให้มีหลายชาติพันธุ์ชนเผ่าอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมืองนครน่าน ทั้งไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน ม่าน ลาว และ ม้ง รวมถึง มลาบรี หรือ ผีตองเหลืองด้วย .... หากท่านอยากจะดูชีวิตคนป่าท้องถิ่นโบราณจริงๆ ให้ดูชาวผีตองเหลือง พวกเค้าอาศัยบริเวณชายแดนลาวตอนเหนือกับน่าน ดำรงชีวิตแบบไม่ใส่เสื้อผ้า อาศัยพักในเพิงไม้และเอาใบตองรองปูพื้นนอน ไม่มีอารยธรรมการเพาะปลูก ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ หรือการทอผ้าเครื่องนุ่งห่มใดๆ แสดงว่าเป็นชนเผ่าที่ขาดการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกมานับหลายหมื่นปี
ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้ามาดูแลชนเผ่าผีตองเหลือง มีการสร้างที่พักให้ มีเสื้อผ้าให้ใส่ แถมสร้างงานสร้างอาชีพให้เสร็จสรรพ ไม่แน่ใจว่า หวังดีประสงค์ร้ายหรือเปล่า เพราะเป็นการทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิม ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเค้า ควรจะปล่อยให้อยู่แบบเดิมของเค้าจะดีกว่า อย่าหวังแค่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาเพียงเท่านั้น ก็เหมือนชนเผ่าเซนทิเนล ในหมู่เกาะนิโคบาร์ของอินเดีย เป็นชนเผ่าโปรโตออสตราลอยด์ ที่ตัดขาดโลกภายนอกมากว่า55,000ปี รัฐบาลอินเดียได้ประกาศเป็นเขตห้ามผู้คนภายนอกเข้าไป เพื่ออนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ของชนเผ่าโบราณ
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com
(CR) กับข้าวคนเมือง ของกิ๋นบ้านเฮา มารีวิวอาหารเมืองเหนือ หาทานได้ยาก รับรองได้ว่า ลำใบ้ลำบอด (อร่อยจริงๆ)
เจอกันในวันหยุดอีกแล้วครับ วันนี้ผู้เขียนก็อยากลองรีวิวกับข้าวพื้นบ้านๆ แบบชาวบ้านคนเหนือเค้าทานกัน อาหารบางชนิด ก็เริ่มหาทานได้ยากแล้ว ผมเลยมาลงรีวิวไว้ เผื่อน้องๆคนรุ่นใหม่ จะได้รู้จักกัน .... ภาพถ่ายอาหารชุดนี้ ถ่ายเก็บไว้นานแล้ว เพิ่งมีโอกาสมาลง ภาพแรกเลยอันนี้ พุงปลาบ้วงทอด (พุงปลาชะโดแดดเดียวทอด)
น้ำพริกตาแดงใส่มะเขือส้ม เป็น น้ำพริกคู่โต๊ะคนเมืองเหนือเลย ความนิยมไม่แพ้ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกเห็ดหล่ม น้ำพริกมะกอก เป็น น้ำพริกประจำโต๊ะอาหารของชาวเหนือเลย สำรับของคนเหนือจะขาดน้ำพริกไม่ได้ จะต้องรับประทานกับของทอด เช่น แคบหมู หมูทอด ไก่ทอด ปลาทอด ผักนึ่ง ผักต้ม และต้องทานคู่กับข้าวเหนียวเท่านั้น
ในสมัยก่อน คนไม่นิยมรับประทานสัตว์ใหญ่กัน กินได้เช่นพวกแมลง ปลา นก ไก่ กบ เป็นต้น อาจเป็นเพราะความเชื่อเรื่องผีสาง กลัววิญญานสัตว์ใหญ่จะตามมาหลอกหลอน จะกินเนื้อควายบ้างในวาระพิเศษเท่านั้น เช่น ในพิธีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เทวดาเจ้าป่าเจ้าเขา ... คนโบราณสมัยก่อน เค้าไม่ได้จบป.ตรีกันเกร่อแบบทุกวันนี้ ความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ จึงจำเป็น เวลาเข้าป่าล่าสัตว์ ต้องมีการสักยันต์ มีคาถาติดตัวไว้ จะได้แคล้วคลาดปลอดภัยจากเหล่าภูตผีและสัตว์ร้าย ...ชาวสยามจึงเรียกชาวล้านนาว่า คนลาวพุงดำ เพราะมีรอยสักตั้งแต่หัวเข่า ไปจนถึงเอว
แกงเห็ดใส่ผักหระ คือ แกงเห็ดพื้นบ้าน ใส่ชะอม ใส่ปลาร้า ไปด้วย รสชาติอร่อยดี แกงทางเหนือ รสชาติจะเน้นเค็ม เผ็ด อาจจะมีรสเปรี้ยวจากมะเขือส้มบ้าง รสชาติอาหารไม่จัดจ้านเหมือนทางภาคอีสาน และ ภาคใต้ ของไทย ... เชื่อว่าคนโบราณที่เป็นคนสามัญชนทั่วไป คงไม่ได้ทานอาหารครบ3มื้อเหมือนคนในยุคปัจจุบันแน่นอน ว่าด้วยเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจ ผลิตผลทางเกษตรกรรม เทคโนโลยีเครื่องทำครัว ไม่ได้เจริญเท่ากับในยุคนี้ จะจุดไฟก่อฟืนแต่ละที ก็แสนจะยุ่งยาก คนล้านนาสมัยก่อนคงจะกินกันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น และข้าวเหนียวมีความหนักท้อง ทานเพียงนิดเดียวก็อิ่ม อยู่ได้กันทั้งวัน หิวขึ้นมา ก็ยังกินกล้วย ผลไม้ต่างๆแทนได้ คำว่า ข้าวงาย ข้าวตอน ข้าวแลง (อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น) เป็นคำใช้เรียกมื้ออาหารในวังเจ้าเมืองชนชั้นสูงเท่านั้น จึงไม่แปลกคนเหนือโบราณจะตัวเล็ก ด้วยเหตุผลเรื่องด้อยโภชนาการ ไม่ได้มีเซเว่นอยู่ใกล้บ้านแบบปัจจุบันนี้ ที่หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา
หน้าตาสำรับอาหารผู้เขียนมื้อเช้า พอเขียนเกี่ยวกับรสชาติอาหารเหนือ รสเค็ม ในอดีต ก็นึกถึงบ่อเกลือ จ.น่าน เกลือสินเธาว์ที่นี่ เปรียบได้คือ ทองคำขาว กันเลยทีเดียว เพราะในสมัยยุคอดีต พื้นที่ภาคเหนือ อีสาน พม่า ลาว จีนตอนใต้ ก็ต้องพึ่งพาอาศัยเกลือ จากจ.น่าน ในการประกอบอาหาร และ ถนอมอาหารกัน (ในอดีต คนเมืองเหนือจะดองใบเมี่ยง โดยใช้เกลือสินเธาว์ เกลือจึงเป็นสื่งสำคัญมากในสมัยนั้น) จึงมีการสู้รบแย่งชิง เมืองน่าน มาทุกยุคทุกสมัย เพราะบ่อเกลือนี่เอง ... เมืองน่านในหลายยุคหลายสมัย ก็เคยเป็นนครรัฐอิสระ เคยเป็นเมืองขึ้นของทั้งล้านช้าง ล้านนา และ พม่า ตามสถานการณ์การเมืองในแต่ละยุค โดยใช้เกลือนี่แหล่ะเป็นเครื่องบรรณาการ และเครื่องมือเจรจาต่อรองกับบรรดาอาณาจักรที่ใหญ่กว่าทั้งหลาย
นครน่าน จึงเป็นเมืองที่อยู่รอดปลอดภัยมาทุกยุคทุกสมัย จนทำให้มีหลายชาติพันธุ์ชนเผ่าอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมืองนครน่าน ทั้งไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน ม่าน ลาว และ ม้ง รวมถึง มลาบรี หรือ ผีตองเหลืองด้วย .... หากท่านอยากจะดูชีวิตคนป่าท้องถิ่นโบราณจริงๆ ให้ดูชาวผีตองเหลือง พวกเค้าอาศัยบริเวณชายแดนลาวตอนเหนือกับน่าน ดำรงชีวิตแบบไม่ใส่เสื้อผ้า อาศัยพักในเพิงไม้และเอาใบตองรองปูพื้นนอน ไม่มีอารยธรรมการเพาะปลูก ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ หรือการทอผ้าเครื่องนุ่งห่มใดๆ แสดงว่าเป็นชนเผ่าที่ขาดการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกมานับหลายหมื่นปี
ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้ามาดูแลชนเผ่าผีตองเหลือง มีการสร้างที่พักให้ มีเสื้อผ้าให้ใส่ แถมสร้างงานสร้างอาชีพให้เสร็จสรรพ ไม่แน่ใจว่า หวังดีประสงค์ร้ายหรือเปล่า เพราะเป็นการทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิม ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเค้า ควรจะปล่อยให้อยู่แบบเดิมของเค้าจะดีกว่า อย่าหวังแค่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาเพียงเท่านั้น ก็เหมือนชนเผ่าเซนทิเนล ในหมู่เกาะนิโคบาร์ของอินเดีย เป็นชนเผ่าโปรโตออสตราลอยด์ ที่ตัดขาดโลกภายนอกมากว่า55,000ปี รัฐบาลอินเดียได้ประกาศเป็นเขตห้ามผู้คนภายนอกเข้าไป เพื่ออนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ของชนเผ่าโบราณ
ติดตามกระทู้อื่นๆ น่าสนใจได้ทาง
https://lampangfood.blogspot.com