จากการวิจัยพบว่า หุ้นหลายตัวมีมูลค่าสูงเกินไปและบ่อยครั้งก็มักจะมีมูลค่าสูงกว่าที่คิดเอาไว้ก่อนหน้านี้



ภาวะฟองสบู่แตกในหุ้นดอทคอมเป็นผลทำให้ราคาหุ้นภาพรวมสวิงไปมาจนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก จากงานวิจัยใหม่ก็เผยให้เห็นถึงความซับซ้อนในการมองภาพหุ้นแต่ละตัวที่อาจมีราคาหุ้นสูงกว่าความเป็นจริงในแต่ละช่วงเวลา และบ่อยครั้งก็มากกว่าที่คิดเอาไว้

งานวิจัยที่ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Mathematics and Financial Economics อาจเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้มีการประเมินวิเคราะห์ภาวะฟองสบู่ที่อาจจะเกิดขึ้นกับหุ้นจำนวน 3500 ตัวในตลาดหุ้นอเมริกา ในช่วงระหว่างปี 2000 กับ 2013 นั้น นักวิจัยก็พบว่ามีหุ้นภาวะฟองสบู่กว่า 13000 ครั้งหรือโดยเฉลี่ยแล้วก็เกิดกับหุ้นแต่ละตัวถึง 4 ครั้ง

“ผลลัพธ์ที่พวกเราพบนั้นมีหลักฐานยืนยันได้ว่า ตลาดการเงินแต่ละแห่งไม่ได้มีทั้งประสิทธิภาพหรือขึ้นลงอย่างมีเหตุมีผลเลย” กล่าวโดย Philip Protter ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านสถิติในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเป็นสมาชิกสถาบันการวิเคราะห์ข้อมูล

ภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นเมื่อราคาสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นทองคำ,ที่อยู่อาศัยหรือหุ้นแต่ละตัวสูงกว่าจนทำให้แต่ละคนเริ่มมีแนวโน้มที่จะลงเงินเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ด้วยเหตุนี้กุญแจในการทำการวิเคราะห์ก็คือ เมื่อหุ้นเข้าสู่ภาวะฟองสบู่จนเป็นที่แน่นอนแล้วว่าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าเกินความเป็นจริงทางพื้นฐาน ในรายละเอียดเอกสารนั้น ทางด้าน Protter กับคณะของเขาก็ได้ทำการทดสอบค่าสถิติเกี่ยวกับเรื่องนี้

จากการวิจัยในปัจจุบันนั้น พวกเขาได้ทำการประยุกต์การทดสอบข้อมูลจำนวนมากในการซื้อขายหุ้นในตลาด NASDAQ กับนิวยอร์กและก็ตลาดหลักทรัพย์อเมริกา โดยใช้ฐานข้อมูลการซื้อขายและราคาหุ้นเป็นตัวชี้วัด หุ้นแต่ละตัวก็พบว่ามีการเข้าสู่ภาวะฟองสบู่เมื่อราคาหุ้นเริ่มมีทิศทางที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงอย่างแน่นอน การประเมินค่าสถิติเกี่ยวกับความผันผวนของราคาหุ้นก็คาดการณ์ได้ว่า หุ้นสามารถหยุดปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา

หุ้นที่ปรับตัวสภาวะปกตินั้น ทางด้านนักวิจัยหลายคนก็ได้เริ่มทำการดูภาวะฟองสบู่เมื่อการทดสอบของเขาชี้ให้เห็นว่า ภาวะฟองสบู่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้และราคาตลาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์ และก็จบลงด้วยภาวะฟองสบู่แตก เมื่อพวกเขาได้ทำการทดสอบแล้วพบว่า ภาวะฟองสบู่ยังไม่เกิดขึ้นในเวลานี้และราคาปรับตัวลดลงอย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์นั้น หลังจากผ่านไปหลายวิกฤติการณ์แล้ว ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พวกเขาเอามาใช้ในการวิเคราะห์นั้นก็พบว่า ภาวะฟองสบู่แตกเกิดขึ้นถึง 13060 ครั้งด้วยกัน

“ผมคาดว่าจะต้องมีหุ้นอีกหลายตัวที่อยู่ในภาวะฟองสบู่ในปี 2009 หลังจากที่เจอวิกฤติแล้ว ยังมีหุ้นอีกหลายตัวที่ร่วงระเนระนาดตามมา” กล่าวโดยผู้เขียนร่วม Shihao Yang ที่ตอนนี้ก็ได้เป็นนักศึกษาในมหาลัย Harvard

นักวิจัยหลายคนก็พบเช่นกันว่า หุ้นที่อยู่ในภาวะฟองสบู่ก็วิเคราะห์ได้ว่าจะยังคงอยู่ในภาวะแบบนี้อีกนาน พร้อมกับประเมินว่าจะอยู่ได้ประมาณ 206 วันด้วยกันหรือประมาณ 6 เดือนกว่าๆ พวกเขาคาดการณ์ว่าภาวะฟองสบู่จะต้องมาดูเรื่องของตัวเลขแจกแจงและจะต้องมาดูค่าอายุขัยของภาวะฟองสบู่ให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด พวกเขาก็ได้พบกับการแจกแจงแบบแกมมาโดยมีการใช้ควบคู่กับระบบทางด้านฟิสิกข์ ในระยะยาวนั้นก็จะพบว่าภาวะฟองสบู่ก็จะยังคงดำรงอยู่แบบนี้ต่อไป จนกว่าจะมีอะไรเข้ามาทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตกขึ้นมาสักวันหนึ่ง

งานวิจัยช่วยในเรื่องของการตัดสินใจว่าจะลงเงินมากแค่ไหนและหุ้นแต่ละตัวที่อยู่ในสถาบันการเงินได้อย่างไรโดยที่พวกเราสามารถปกป้องเงินทุนได้ ธนาคารหลายแห่งส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติการเงินในปี 2008 นั้น ก็แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการรักษาเงินทุนโดยใช้ความเสี่ยงในการวางเดิมพันมากขึ้นเท่าตัว หากผู้มีอำนาจแต่ละคนวิเคราะห์ว่าหุ้นตัวไหนในธนาคารที่มีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริงได้แล้วล่ะก็ พวกเขาก็สามารถที่จะสันนิษฐานได้ว่าหุ้นหลายตัวจะต้องเคลื่อนไหวไปในทางใดทางหนึ่งแน่ๆ

เช่นกันงานวิจัยก็ช่วยในเรื่องของผู้มีอำนาจกับนักลงทุนหลายคนในการประเมินภาวะฟองสบู่ได้ในระยะยาว “หากคุณรู้อายุขัยของมัน คุณก็สามารถที่จะใช้หลักความน่าจะเป็นในการทำกำไรในภาวะฟองสบู่ได้จนนาทีสุดท้ายได้ คล้ายๆกับการใช้ความน่าจะเป็นในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ให้ได้ต่อไป” กล่าวโดย Protter “หากคุณอยู่ในภาวะฟองสบู่ คุณก็จะต้องรู้ว่าเมื่อไรที่ฟองสบู่จะแตก”

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็ได้พัฒนาการประเมินทิศทางภาวะฟองสบู่ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างภาวะเงินเฟ้อกับอัตราค่าจ้างต่อราคาที่อยู่อาศัยซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถระบุได้ในฟองสบู่ที่อยู่อาศัยแตก ฟองสบู่หุ้นก็สามารถประเมินได้โดยทำการเปรียบเทียบราคาหุ้นบริษัทกับกำไรต่อหุ้นหรือค่า P/E ratios หรือประเมินมูลค่าหุ้นโดยจะต้องคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในอนาคตภายใต้การวิเคราะห์ที่มองว่าจะมีกระแสเงินสดที่ลดน้อยลง

แต่วิธีการทั้งหมดนี้ก็จะต้องพึ่งพาข้อสมมุติฐานมากไปกว่าข้อมูลราคา การประเมินความเสี่ยงก็ได้พัฒนาขึ้นโดย Protter กับคณะของเขาโดยทำการดูการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในแต่ละช่วงเวลา

“นี่ถือเป็นเรื่องวิเศษมาก” กล่าวโดย Robert Jarrow ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านการเงินในมหาวิทยาลัย Cornell ที่ได้ช่วยพัฒนาระบบนี้ขึ้นมา “ที่ได้มีการใช้หลักทฤษฎีความน่าจะเป็นและดูพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น”

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่