ที่มา : www.komchadluek.net/news/economic/289211
นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เปิดเผยถึงกรณีที่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และ กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ แคท ได้ออกแถลงการณ์ร่วมคัดค้านมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ที่กำหนดให้สองรัฐวิสาหกิจร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 2 บริษัท คือ บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ (NBN Co.)และบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตจำกัด หรือ
NGDC Co. นั้นว่า ก่อนหน้านี้บริษัทปรึกษาทั้งสองหน่วยงานได้วิเคราะห์อนาคตของบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่าแล้ว ระบุว่า จะมีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 5 ปี ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของทีโอที และแคทในอนาคตอย่างแน่นอน
“เมื่อผลประกอบการขาดทุน เหตุใด ครม.จึงอนุมัติให้แยกย่อยบริษัทอีก อีกทั้งจะทำให้รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมจากเดิมมี 2 บริษัท เพิ่มเป็น 4 บริษัท ซึ่งการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเช่นเดิมนั้นไม่มีความคล่องตัวและยากจะแข่งขันกับเอกชนได้จึงไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลยที่จะแยกบริษัทไปร่วมทุนกันเอง”
แหล่งข่าวในทีโอที กล่าวว่าก่อนหน้านี้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ก็เคยออกโรงค้านนโยบายจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านี้มาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถจะคัดง้างนโยบายรัฐบาลที่ยังคงยืนยันให้จัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านี้โดยระบุว่าเป็นทางรอดของสององค์กรรัฐวิสาหกิจ และถึงขั้นที่ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจหรือ“ซุปเปอร์บอร์ด” สั่งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดทำ KPI ของคณะกรรมการ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่เข้าแผนฟื้นฟู พร้อมกำชับให้ต้นสังกัดกำกับดูแลเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินงานให้คืบหน้าเป็นไปตามแผน
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่าเหตุผลที่สหภาพแรงงานทีโอทีและแคทคัดค้านนโยนบายจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านี้ เพราะมีตัวอย่างบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลและคนร.เห็นชอบให้แยกออกมาจากองค์กรรัฐวิสาหกิจ แต่ในที่สุดก็เอาตัวไม่รอดมาแล้ว อย่างบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่แยกกิจการอกจากการรถไฟเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมาต่อยอดกิจการรถไฟแท้ ๆ โดยมีบอร์ดและฝ่ายบริหารที่คัดเอาแต่พนักงานหัวกระทิจากองค์กร แต่สถานะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ในช่วง 7-8 ปีมานี้ก็กลับประสบความล้มเหลวขาดทุนบักโกรกไม่มีเงินแม้แต่จะซ่อมขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ต้องใช้วิธีโยกสลับอะไหล่กันให้วุ่น
หรือแม้แต่สายการบินนกแอร์ บริษัทลูกร่วมทุนการบินไทยกับใครต่อใครที่มาร่วมลงขันตามนโยบาย “พีพีพี” ที่กำลังจ่อจะถูกบริษัทแม่บินไทยจ้องลอยแพ เพราะควบคุมหรือเข้าไปล้วงลูกอะไรไม่ได้
“แล้วบริษัทลูกร่วมทุน “ทีโอที-แคท”ที่ว่านี้จะสลัดพ้นโซ่ตรวนเหล่านี้ไปได้อย่างไร เอาแค่เลือกเฟ้นซีอีโอบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่ากระทรวงดีอีและคนร.ช่วยพิจารณาให้ทีว่าสมควรจะเอาผู้บริหารในฟากฝั่งทีโอทีหรือแคทมานั่งเป็นซีอีโอและระดับรองๆกันดี จะให้จับไม้สั้นไม้ยาวหรือเลือกเฟ้นยังไงกันดี คงไม่บอกให้พิจารณาจากความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเพราะนั่นน่ะตัวทำให้งานงอกเลย ขนาดนายกฯเองยังต้องงัด ม.44 ตั้งใครต่อใครข้ามหัวข้ามห้วยกันอยู่เลย”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่าน่าแปลกที่ขณะที่สองหน่วยงาน รสก.ต่างเสนอแผนฟื้นฟูกิจการไปยังกระทรวงดิจิทัลและ คนร.ในอันที่จะจัดหาพันธมิตรธุรกิจ Strategic partner เข้ามาร่วมพัฒนาธุรกิจอย่างกรณีแคมที่เสนอตั้งบริษัทลูกร่วมทุนกับกลุ่มทรูนำเอาเสาโทรคมนาคมที่ทรูเช่าใช้อยู่ไปใช้ประโยชน์ร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
ขณะที่ทีโอทีก็มีแผนดึงบริษัทสื่อสารเอไอเอส และดีแทคเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจในการพัฒนาคลื่น 2300 เมกกะเฮิร์ต (MHz)และ 2100 MHz ที่จะสร้างรายได้ให้แก่องค์กรนับ 10,000 ล้านบาท แถมยังสอดคล้องกับนโยบาย PPP ของรัฐบาลเอง แต่แนวทางดังกล่าวก็กลับไม่มีความคืบหน้า ทั้งกระทรวงดีอีและรัฐบาลยังคงป้ำผีลุกปลุกผีนั่งอยู่กับโมเดลจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ไม่มีอนาคตข้างต้น ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าตั้งไปแล้วจะเอาแรงที่ไหนไปแข่งขันกับเอกชนเขา เข้าตำรา“เตี้ยอุ้มค่อม”ขนานแท้
“ทีโอที-แคท” ออกโรงค้านนโยบายรัฐบีบตั้งบริษัทลูกร่วมทุน
ที่มา : www.komchadluek.net/news/economic/289211
นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เปิดเผยถึงกรณีที่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และ กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ แคท ได้ออกแถลงการณ์ร่วมคัดค้านมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ที่กำหนดให้สองรัฐวิสาหกิจร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 2 บริษัท คือ บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ (NBN Co.)และบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตจำกัด หรือ
NGDC Co. นั้นว่า ก่อนหน้านี้บริษัทปรึกษาทั้งสองหน่วยงานได้วิเคราะห์อนาคตของบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่าแล้ว ระบุว่า จะมีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 5 ปี ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของทีโอที และแคทในอนาคตอย่างแน่นอน
“เมื่อผลประกอบการขาดทุน เหตุใด ครม.จึงอนุมัติให้แยกย่อยบริษัทอีก อีกทั้งจะทำให้รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมจากเดิมมี 2 บริษัท เพิ่มเป็น 4 บริษัท ซึ่งการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเช่นเดิมนั้นไม่มีความคล่องตัวและยากจะแข่งขันกับเอกชนได้จึงไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลยที่จะแยกบริษัทไปร่วมทุนกันเอง”
แหล่งข่าวในทีโอที กล่าวว่าก่อนหน้านี้สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ก็เคยออกโรงค้านนโยบายจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านี้มาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถจะคัดง้างนโยบายรัฐบาลที่ยังคงยืนยันให้จัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านี้โดยระบุว่าเป็นทางรอดของสององค์กรรัฐวิสาหกิจ และถึงขั้นที่ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจหรือ“ซุปเปอร์บอร์ด” สั่งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดทำ KPI ของคณะกรรมการ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่เข้าแผนฟื้นฟู พร้อมกำชับให้ต้นสังกัดกำกับดูแลเพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินงานให้คืบหน้าเป็นไปตามแผน
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่าเหตุผลที่สหภาพแรงงานทีโอทีและแคทคัดค้านนโยนบายจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่านี้ เพราะมีตัวอย่างบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลและคนร.เห็นชอบให้แยกออกมาจากองค์กรรัฐวิสาหกิจ แต่ในที่สุดก็เอาตัวไม่รอดมาแล้ว อย่างบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่แยกกิจการอกจากการรถไฟเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมาต่อยอดกิจการรถไฟแท้ ๆ โดยมีบอร์ดและฝ่ายบริหารที่คัดเอาแต่พนักงานหัวกระทิจากองค์กร แต่สถานะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ในช่วง 7-8 ปีมานี้ก็กลับประสบความล้มเหลวขาดทุนบักโกรกไม่มีเงินแม้แต่จะซ่อมขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ต้องใช้วิธีโยกสลับอะไหล่กันให้วุ่น
หรือแม้แต่สายการบินนกแอร์ บริษัทลูกร่วมทุนการบินไทยกับใครต่อใครที่มาร่วมลงขันตามนโยบาย “พีพีพี” ที่กำลังจ่อจะถูกบริษัทแม่บินไทยจ้องลอยแพ เพราะควบคุมหรือเข้าไปล้วงลูกอะไรไม่ได้
“แล้วบริษัทลูกร่วมทุน “ทีโอที-แคท”ที่ว่านี้จะสลัดพ้นโซ่ตรวนเหล่านี้ไปได้อย่างไร เอาแค่เลือกเฟ้นซีอีโอบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่ากระทรวงดีอีและคนร.ช่วยพิจารณาให้ทีว่าสมควรจะเอาผู้บริหารในฟากฝั่งทีโอทีหรือแคทมานั่งเป็นซีอีโอและระดับรองๆกันดี จะให้จับไม้สั้นไม้ยาวหรือเลือกเฟ้นยังไงกันดี คงไม่บอกให้พิจารณาจากความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเพราะนั่นน่ะตัวทำให้งานงอกเลย ขนาดนายกฯเองยังต้องงัด ม.44 ตั้งใครต่อใครข้ามหัวข้ามห้วยกันอยู่เลย”
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่าน่าแปลกที่ขณะที่สองหน่วยงาน รสก.ต่างเสนอแผนฟื้นฟูกิจการไปยังกระทรวงดิจิทัลและ คนร.ในอันที่จะจัดหาพันธมิตรธุรกิจ Strategic partner เข้ามาร่วมพัฒนาธุรกิจอย่างกรณีแคมที่เสนอตั้งบริษัทลูกร่วมทุนกับกลุ่มทรูนำเอาเสาโทรคมนาคมที่ทรูเช่าใช้อยู่ไปใช้ประโยชน์ร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
ขณะที่ทีโอทีก็มีแผนดึงบริษัทสื่อสารเอไอเอส และดีแทคเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจในการพัฒนาคลื่น 2300 เมกกะเฮิร์ต (MHz)และ 2100 MHz ที่จะสร้างรายได้ให้แก่องค์กรนับ 10,000 ล้านบาท แถมยังสอดคล้องกับนโยบาย PPP ของรัฐบาลเอง แต่แนวทางดังกล่าวก็กลับไม่มีความคืบหน้า ทั้งกระทรวงดีอีและรัฐบาลยังคงป้ำผีลุกปลุกผีนั่งอยู่กับโมเดลจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนที่ไม่มีอนาคตข้างต้น ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าตั้งไปแล้วจะเอาแรงที่ไหนไปแข่งขันกับเอกชนเขา เข้าตำรา“เตี้ยอุ้มค่อม”ขนานแท้