ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้การหาพันธมิตรทางธุรกิจของทีโอทียังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีพลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ เป็นประธานเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ถกเถียงกันหลายประเด็นเกี่ยวกับกฎหมาย โดยกังวลว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเสาโทรคมนาคมระหว่างทีโอทีกับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส โดยทีโอทีถือหุ้น 49% และเอไอเอส 51% นั้น จะเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่ จึงมอบหมายให้ฝ่ายบริหารทำหนังสือสอบถามสำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อความชัดเจนและรอบคอบอีกครั้ง หาก สคร.ยืนยันว่าไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน ทีโอทีพร้อมจะเดินหน้าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเอไอเอส เพราะถือว่ายื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับทีโอที
อย่างไรก็ตาม การเจรจาพันธมิตรธุรกิจระหว่างกันไม่ง่ายนัก เพราะมีปัญหาหลายส่วน ทั้งรูปแบบการร่วมลงทุนธุรกิจมือถือร่วมกัน การตลาดและลงทุนเครือข่ายร่วมกัน โดยจะพัฒนาโครงข่าย และทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้คลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 15 เมกะเฮิรตซ์ ให้คุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ หากเจรจาสำเร็จจะทำให้ทีโอทีมีกำไรทันที จากปีนี้คาดจะขาดทุนราว 12,000 ล้านบาท แต่ฝ่ายบริหารและบอร์ดไม่กล้าตัดสินใจใดๆ ทั้งที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทำให้เกิดคำถามว่าผู้บริหารและบอร์ดทีโอทีต้องการประวิงเวลาแก้ไขปัญหาองค์กรหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบริหารจัดการภายในอีก ที่ไม่ทำงานตามกระบวนการ ไม่มีความเป็นธรรมในการแต่งตั้งผู้บริหาร ยังคงยึดพวกพ้อง ส่งผลให้พนักงานส่วนใหญ่ต่อต้านและไม่ร่วมมือทำงาน
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า การทำหนังสือถามสคร.เพื่อความมั่นใจและรอบคอบ จะได้ไม่มีปัญหากฎหมายในอนาคต.
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 (หน้า 9)
"ทีโอที" ยื้อเวลาปรับโฉมองค์กรทันสมัย ส่ง สคร.ตีความตั้งบริษัทร่วมทุนเอไอเอส
ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้การหาพันธมิตรทางธุรกิจของทีโอทียังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีพลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ เป็นประธานเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ถกเถียงกันหลายประเด็นเกี่ยวกับกฎหมาย โดยกังวลว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเสาโทรคมนาคมระหว่างทีโอทีกับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส โดยทีโอทีถือหุ้น 49% และเอไอเอส 51% นั้น จะเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่ จึงมอบหมายให้ฝ่ายบริหารทำหนังสือสอบถามสำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อความชัดเจนและรอบคอบอีกครั้ง หาก สคร.ยืนยันว่าไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน ทีโอทีพร้อมจะเดินหน้าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเอไอเอส เพราะถือว่ายื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดสำหรับทีโอที
อย่างไรก็ตาม การเจรจาพันธมิตรธุรกิจระหว่างกันไม่ง่ายนัก เพราะมีปัญหาหลายส่วน ทั้งรูปแบบการร่วมลงทุนธุรกิจมือถือร่วมกัน การตลาดและลงทุนเครือข่ายร่วมกัน โดยจะพัฒนาโครงข่าย และทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้คลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ขนาด 15 เมกะเฮิรตซ์ ให้คุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ หากเจรจาสำเร็จจะทำให้ทีโอทีมีกำไรทันที จากปีนี้คาดจะขาดทุนราว 12,000 ล้านบาท แต่ฝ่ายบริหารและบอร์ดไม่กล้าตัดสินใจใดๆ ทั้งที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทำให้เกิดคำถามว่าผู้บริหารและบอร์ดทีโอทีต้องการประวิงเวลาแก้ไขปัญหาองค์กรหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการบริหารจัดการภายในอีก ที่ไม่ทำงานตามกระบวนการ ไม่มีความเป็นธรรมในการแต่งตั้งผู้บริหาร ยังคงยึดพวกพ้อง ส่งผลให้พนักงานส่วนใหญ่ต่อต้านและไม่ร่วมมือทำงาน
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า การทำหนังสือถามสคร.เพื่อความมั่นใจและรอบคอบ จะได้ไม่มีปัญหากฎหมายในอนาคต.
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 (หน้า 9)