ที่มา :
https://www.thairath.co.th/content/966320
เป็นที่รู้กันดีว่าความสามารถในการพัฒนาธุรกิจของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถต่อกรกับภาคเอกชนได้ แต่ รัฐบาล คสช. โดย คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ก็พยายามผลักดันให้ทีโอทีกับ กสท จัดตั้งบริษัทร่วมทุนโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต จำกัด และบริษัทโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด ซึ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงโทรคมนาคมต่างวิเคราะห์ว่ายากที่จะประสบความสำเร็จ
ทีโอทีกับ กสท เคยส่งแผนแนวทางจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไปให้ คนร. แต่ถูกตีกลับ เพราะยังขาดความชัดเจนในเรื่อง แผนการตลาด และ ขีดความสามารถในการแข่งขัน กับบริษัทเอกชน
ขณะที่การฟื้นฟูกิจการให้พ้นจากสภาพขาดทุนก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่ประคองตัวอยู่ได้ทุกวันนี้ปัจจัยหลักมาจากการหาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปร่วมทุนกับเอกชน
ล่าสุดบอร์ดทีโอทีอนุมัติให้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ ดีแทค เป็นคู่ค้ากับทีโอทีบน คลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ โดยดีแทคจะจ่ายค่าตอบแทนให้ทีโอทีปีละ 4,510 ล้านบาท คาดว่าจะมีการลงนามสัญญากันช่วงปลายปี
ผมไม่แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลานั้นเงื่อนไขในสัญญาจะเป็นเพียงการทดสอบการเช่าใช้คลื่นชั่วคราว หรือเป็นสัญญาคู่ค้าระยะยาวถึงปี 2568 กันแน่ เพราะมีกรณีของเอไอเอสเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้ว
เมื่อต้นปี 2559 ทีโอทีได้ตกลงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือ เอไอเอส ในการพัฒนา คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีการเซ็น สัญญาทดสอบระบบการใช้บริการข้ามเครือข่าย (โรมมิ่ง) เชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2559 เป็น สัญญาระยะสั้น แค่ 6 เดือน ตามเงื่อนไขเอไอเอสต้องจ่ายค่าโรมมิ่งให้ทีโอทีเดือนละ 325 ล้านบาท รวม 6 เดือนเป็นเงิน 1,950 ล้านบาท
ต่อมาวันที่ 19 มี.ค.2560 ทีโอทีเซ็นสัญญาทดสอบระบบฯ กับเอไอเอสอีกเช่นเคย ระยะเวลาในสัญญาครั้งนี้สั้นกว่าเดิม แค่ 4 เดือน สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค.2560
ทั้งที่จริงทีโอทีกับเอไอเอสควรทำ สัญญาหลักระยะยาวครอบคลุมไปถึงปี 2568 จะดีกว่า เพราะจะทำให้ทีโอที มีรายได้แน่นอน จากเอไอเอสปีละ 3,900 ล้านบาท ไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้คลื่นในปี 2568 หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
การทำสัญญาหลักระยะยาวไม่เพียงการันตีได้ว่าทีโอทีจะมีรายได้ที่แน่นอน ทีโอทียังสามารถนำคลื่นในส่วนที่เหลือมาให้บริการสร้างรายได้เพิ่มได้อีกอย่างน้อยปีละ 600-1,000 ล้านบาท อีกทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงานยืนหยัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ เพราะการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้สร้างรายได้จะช่วย แก้ปัญหาสภาพคล่อง และ ไม่ต้องรอเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
หรือหากมองในแง่ธุรกิจ ไม่ว่าเอไอเอสหรือดีแทค ถ้าได้ทำสัญญาระยะยาวก็จะ กล้าตัดสินใจลงทุนมากขึ้น เช่นขยายโครงข่าย เพิ่มการให้บริการ ได้ประโยชน์ทั้งค่ายมือถือ ลูกค้า และภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีเคยออกมาเรียกร้องหลายครั้งให้บอร์ด และ ผู้บริหาร แสดงความชัดเจนในนโยบายแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อไม่ให้สูญเสียรายได้และเสียโอกาสในการแข่งขัน แต่บอร์ดและผู้บริหารไม่กล้าตัดสินใจเสียที ได้แต่ทำสัญญาระยะสั้น ซื้อเวลาไปเรื่อย
มีช่องทางแต่ไม่เดิน ก็ต้องรับสภาพขาดทุนบักโกรกต่อไป.
ลมกรด
ทางรอด "ทีโอที" เร่งเซ็นสัญญาคู่ค้าระยะยาว
เป็นที่รู้กันดีว่าความสามารถในการพัฒนาธุรกิจของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถต่อกรกับภาคเอกชนได้ แต่ รัฐบาล คสช. โดย คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ก็พยายามผลักดันให้ทีโอทีกับ กสท จัดตั้งบริษัทร่วมทุนโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต จำกัด และบริษัทโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด ซึ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงโทรคมนาคมต่างวิเคราะห์ว่ายากที่จะประสบความสำเร็จ
ทีโอทีกับ กสท เคยส่งแผนแนวทางจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไปให้ คนร. แต่ถูกตีกลับ เพราะยังขาดความชัดเจนในเรื่อง แผนการตลาด และ ขีดความสามารถในการแข่งขัน กับบริษัทเอกชน
ขณะที่การฟื้นฟูกิจการให้พ้นจากสภาพขาดทุนก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ที่ประคองตัวอยู่ได้ทุกวันนี้ปัจจัยหลักมาจากการหาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปร่วมทุนกับเอกชน
ล่าสุดบอร์ดทีโอทีอนุมัติให้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ ดีแทค เป็นคู่ค้ากับทีโอทีบน คลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ โดยดีแทคจะจ่ายค่าตอบแทนให้ทีโอทีปีละ 4,510 ล้านบาท คาดว่าจะมีการลงนามสัญญากันช่วงปลายปี
ผมไม่แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลานั้นเงื่อนไขในสัญญาจะเป็นเพียงการทดสอบการเช่าใช้คลื่นชั่วคราว หรือเป็นสัญญาคู่ค้าระยะยาวถึงปี 2568 กันแน่ เพราะมีกรณีของเอไอเอสเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้ว
เมื่อต้นปี 2559 ทีโอทีได้ตกลงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือ เอไอเอส ในการพัฒนา คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีการเซ็น สัญญาทดสอบระบบการใช้บริการข้ามเครือข่าย (โรมมิ่ง) เชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2559 เป็น สัญญาระยะสั้น แค่ 6 เดือน ตามเงื่อนไขเอไอเอสต้องจ่ายค่าโรมมิ่งให้ทีโอทีเดือนละ 325 ล้านบาท รวม 6 เดือนเป็นเงิน 1,950 ล้านบาท
ต่อมาวันที่ 19 มี.ค.2560 ทีโอทีเซ็นสัญญาทดสอบระบบฯ กับเอไอเอสอีกเช่นเคย ระยะเวลาในสัญญาครั้งนี้สั้นกว่าเดิม แค่ 4 เดือน สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค.2560
ทั้งที่จริงทีโอทีกับเอไอเอสควรทำ สัญญาหลักระยะยาวครอบคลุมไปถึงปี 2568 จะดีกว่า เพราะจะทำให้ทีโอที มีรายได้แน่นอน จากเอไอเอสปีละ 3,900 ล้านบาท ไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้คลื่นในปี 2568 หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
การทำสัญญาหลักระยะยาวไม่เพียงการันตีได้ว่าทีโอทีจะมีรายได้ที่แน่นอน ทีโอทียังสามารถนำคลื่นในส่วนที่เหลือมาให้บริการสร้างรายได้เพิ่มได้อีกอย่างน้อยปีละ 600-1,000 ล้านบาท อีกทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงานยืนหยัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ เพราะการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้สร้างรายได้จะช่วย แก้ปัญหาสภาพคล่อง และ ไม่ต้องรอเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
หรือหากมองในแง่ธุรกิจ ไม่ว่าเอไอเอสหรือดีแทค ถ้าได้ทำสัญญาระยะยาวก็จะ กล้าตัดสินใจลงทุนมากขึ้น เช่นขยายโครงข่าย เพิ่มการให้บริการ ได้ประโยชน์ทั้งค่ายมือถือ ลูกค้า และภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีเคยออกมาเรียกร้องหลายครั้งให้บอร์ด และ ผู้บริหาร แสดงความชัดเจนในนโยบายแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อไม่ให้สูญเสียรายได้และเสียโอกาสในการแข่งขัน แต่บอร์ดและผู้บริหารไม่กล้าตัดสินใจเสียที ได้แต่ทำสัญญาระยะสั้น ซื้อเวลาไปเรื่อย
มีช่องทางแต่ไม่เดิน ก็ต้องรับสภาพขาดทุนบักโกรกต่อไป.
ลมกรด