https://www.bangkokbiznews.com/tech/1010739
“ชัยวุฒิ”เผยรับรายงานจาก "เอ็นที" กรณีหาพันธมิตรให้บริการ 5จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมก ระบุ“เอไอเอส”ให้ข้อเสนอดีสุดปาดหน้า “ทรู” คาดเริ่มเซ็นเอ็มโอยูได้หลังได้ซีอีโอเอ็นทีคนใหม่ ก.ค.นี้
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ความคืบหน้ากรณีที่เร่งรัดให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที หาพันธมิตรทางธุรกิจในส่วนของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5จีบนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ขณะนี้ ได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการ (บอร์ด) เอ็นทีแล้วว่า ได้ลงมติเห็นชอบแผนธุรกิจและผลตอบแทนตามที่บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่เสนอมา โดยคาดว่าจะลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนก.ค.นี้ หลังจากที่เอ็นทีแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ได้อย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ตามสัญญาเอ็นทีจะแบ่งคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ให้กับเอไอเอสทำสัญญาครึ่งนึงหรือ 5 เมกะเฮิรตซ์ ตามที่เอ็นทีหรือบมจ.กสท โทรคมนาคม เดิมเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 จำนวน 2 ใบอนุญาต ในย่านความถี่ 738-748 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ793-803 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยราคาการประมูลสูงสุด 34,306 ล้านบาท จาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
“ผมเห็นเอกสารจากทางเอ็นทีแล้วก็มีชื่อเอไอเอสที่ได้ทำสัญญากับเอ็นทีเพื่อทำ5จี แต่รายละเอียดว่าจะเริ่มอย่างไรเมื่อไร คงต้องรอซีอีโอคนใหม่ของเอ็นทีมารับช่วงต่อ” รมว.ดีอีเอส กล่าว
แหล่งข่าวจากบอร์ดเอ็นที กล่าวว่า จริงๆ มติจากบอร์ดสรุปให้เอไอเอสเป็นพันธมิตรรายเดียวกับเอ็นทีตั้งแต่ต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา แต่ที่เรื่องยังไม่คืบหน้าก็ยอมรับว่า เอ็นทียังไม่มีกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ แต่ขณะนี้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกเสร็จแล้วโดยได้ พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ มาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งน่าจะมาร่วมงานกับเอ็นทีได้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 ก.ค.นี้ ดังนั้น เรื่องการลงนามในสัญญาน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ลงนามร่วมกับเอไอเอสล่าสุด ก็ยังมีเรื่องของบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ที่ก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอร่วมเป็นพันธมิตรกับเอ็นทีเช่นกัน แต่ทรูได้ยื่นผลตอบแทนมาให้บอร์ดต่ำกว่าของเอไอเอสอย่างมาก แต่เมื่อบอร์ดเอ็นทีเลือกเอไอเอสไปแล้ว ฝั่งทรูกลับขอยื่นจดหมายเปิดผนึกเพื่อขอโอกาสยื่นข้อเสนอให้ใหม่ โดยอ้างเหตุผลว่า การหาพันธมิตรของเอ็นทีไม่ใช่การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่ให้สิทธิเปิดข้อเสนอผลตอบแทนเพียงครั้งเดียว
แหล่งข่าว กล่าวว่า ตอนแรกทรูฯไม่ได้สนใจในการร่วมเป็นพันธมิตรกับเอ็นทีเลย เพราะหวังทำตลาดคลื่น 700 จากคลื่นของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่ถือครองคลื่นนี้อยู่ 20 เมกะเฮิรตซ์ หลังจากที่ทรูและดีแทคควบรวมกิจการแล้วเสร็จ แต่ขณะนี้ ทรูเริ่มไม่มั่นใจว่าการควบรวมจะเป็นไปได้อย่างที่วางแผนหรือไม่ เพราะกสทช.เข้ามาตรวจสอบดีลนี้อย่างหนัก และมีความเป็นไปได้สูงที่แผนการควบรวมจะลากยาวและหากกสทช.ไม่อนุญาตให้ควบรวม เรื่องนี้อาจต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
สำหรับแผนการทำตลาดคลื่น 700 นั้น ที่เหลืออีก 5 เมกะเฮิรตซ์นั้น เอ็นทีจะรองรับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์4.0 ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการให้บริการด้านดิจิทัล เซอร์วิส ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดสร้างและใช้โครงข่าย 5จีร่วมกันและลดการลงทุนซ้ำซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการทำตลาดและบริการดิจิทัล โซลูชัน รูปแบบใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ 5จีของเอ็นทีในหลากหลายด้าน ได้แก่ การพัฒนาแอปพลิเคชัน 5จีการสร้างระบบดิจิทัลของภาครัฐ และการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลตามแนวทางของอีอีซีเป็นต้น
‘เอไอเอส’ `ปาดหน้า ‘ทรู’ คว้าดีลพาร์ทเนอร์ คลื่น 700 เอ็นที | ทรู ร้องขอ เพื่อจะยื่นข้อเสนอใหม่ หวั่น ควบรวมไม่สำเร็จ
“ชัยวุฒิ”เผยรับรายงานจาก "เอ็นที" กรณีหาพันธมิตรให้บริการ 5จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมก ระบุ“เอไอเอส”ให้ข้อเสนอดีสุดปาดหน้า “ทรู” คาดเริ่มเซ็นเอ็มโอยูได้หลังได้ซีอีโอเอ็นทีคนใหม่ ก.ค.นี้
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ความคืบหน้ากรณีที่เร่งรัดให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที หาพันธมิตรทางธุรกิจในส่วนของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5จีบนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ขณะนี้ ได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการ (บอร์ด) เอ็นทีแล้วว่า ได้ลงมติเห็นชอบแผนธุรกิจและผลตอบแทนตามที่บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่เสนอมา โดยคาดว่าจะลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนก.ค.นี้ หลังจากที่เอ็นทีแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ได้อย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ตามสัญญาเอ็นทีจะแบ่งคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ให้กับเอไอเอสทำสัญญาครึ่งนึงหรือ 5 เมกะเฮิรตซ์ ตามที่เอ็นทีหรือบมจ.กสท โทรคมนาคม เดิมเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 จำนวน 2 ใบอนุญาต ในย่านความถี่ 738-748 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ793-803 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยราคาการประมูลสูงสุด 34,306 ล้านบาท จาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
“ผมเห็นเอกสารจากทางเอ็นทีแล้วก็มีชื่อเอไอเอสที่ได้ทำสัญญากับเอ็นทีเพื่อทำ5จี แต่รายละเอียดว่าจะเริ่มอย่างไรเมื่อไร คงต้องรอซีอีโอคนใหม่ของเอ็นทีมารับช่วงต่อ” รมว.ดีอีเอส กล่าว
แหล่งข่าวจากบอร์ดเอ็นที กล่าวว่า จริงๆ มติจากบอร์ดสรุปให้เอไอเอสเป็นพันธมิตรรายเดียวกับเอ็นทีตั้งแต่ต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา แต่ที่เรื่องยังไม่คืบหน้าก็ยอมรับว่า เอ็นทียังไม่มีกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ แต่ขณะนี้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกเสร็จแล้วโดยได้ พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ มาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งน่าจะมาร่วมงานกับเอ็นทีได้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 ก.ค.นี้ ดังนั้น เรื่องการลงนามในสัญญาน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ลงนามร่วมกับเอไอเอสล่าสุด ก็ยังมีเรื่องของบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ที่ก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอร่วมเป็นพันธมิตรกับเอ็นทีเช่นกัน แต่ทรูได้ยื่นผลตอบแทนมาให้บอร์ดต่ำกว่าของเอไอเอสอย่างมาก แต่เมื่อบอร์ดเอ็นทีเลือกเอไอเอสไปแล้ว ฝั่งทรูกลับขอยื่นจดหมายเปิดผนึกเพื่อขอโอกาสยื่นข้อเสนอให้ใหม่ โดยอ้างเหตุผลว่า การหาพันธมิตรของเอ็นทีไม่ใช่การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่ให้สิทธิเปิดข้อเสนอผลตอบแทนเพียงครั้งเดียว
แหล่งข่าว กล่าวว่า ตอนแรกทรูฯไม่ได้สนใจในการร่วมเป็นพันธมิตรกับเอ็นทีเลย เพราะหวังทำตลาดคลื่น 700 จากคลื่นของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่ถือครองคลื่นนี้อยู่ 20 เมกะเฮิรตซ์ หลังจากที่ทรูและดีแทคควบรวมกิจการแล้วเสร็จ แต่ขณะนี้ ทรูเริ่มไม่มั่นใจว่าการควบรวมจะเป็นไปได้อย่างที่วางแผนหรือไม่ เพราะกสทช.เข้ามาตรวจสอบดีลนี้อย่างหนัก และมีความเป็นไปได้สูงที่แผนการควบรวมจะลากยาวและหากกสทช.ไม่อนุญาตให้ควบรวม เรื่องนี้อาจต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
สำหรับแผนการทำตลาดคลื่น 700 นั้น ที่เหลืออีก 5 เมกะเฮิรตซ์นั้น เอ็นทีจะรองรับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์4.0 ในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการให้บริการด้านดิจิทัล เซอร์วิส ในรูปแบบอื่นๆ ร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดสร้างและใช้โครงข่าย 5จีร่วมกันและลดการลงทุนซ้ำซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการทำตลาดและบริการดิจิทัล โซลูชัน รูปแบบใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ 5จีของเอ็นทีในหลากหลายด้าน ได้แก่ การพัฒนาแอปพลิเคชัน 5จีการสร้างระบบดิจิทัลของภาครัฐ และการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลตามแนวทางของอีอีซีเป็นต้น