‘เอไอเอส-ทรู’ เปิดศึกชิงคลื่น 700 - 'เอ็นที' จ่อแถลงความร่วมมือ
คาดดึงทั้ง 2 ค่ายร่วมพันธมิตร แม้ข้อเสนอ “เอไอเอส” ดีกว่า จับตาคลื่น 700 ปลุกสมรภูมิ 5จี เดือด
เปิดข้อเสนอ 2 ค่ายมือถือ "เอไอเอส-ทรู” แบ่งเค้กคลื่น 700 กสทฯ ต่อยอด 5จี อุ้ม“เอ็นที”เดินหน้าธุรกิจหลังเหลืองบแค่ 2 หมื่นล้าน “เอไอเอส” เสนอดีกว่าให้ใช้โครงข่าย 13,500 สถานี ไม่ต้องลงทุนเสา แถมให้ 5จี เต็ม 100% “ทรู” ให้แค่12,000 สถานี กสทฯ สร้างเอง 1,250 สถานี ให้ 5จี 50% จ่าย 2 หมื่นล้านทันทีด้าน ‘เอ็นที’ ถกเครียดคาดดึงทั้ง2 ค่ายเป็นพันธมิตร รับใช้งบทุ่มประมูล 5จี ไปกว่า 3.5 หมื่นล้าน เหลือเงินไม่พัฒนาโครงข่ายให้บริการเอง
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่มีเม็ดเงินสะพัดหลายแสนล้านบาท กำลังส่งแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อมีการขยับของโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการมือถือทั้งเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ที่มีเครือข่าย 5จี เป็นตัวชูโรง อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทโทรคมนาคม แห่งชาติ (เอ็นที) ที่ว่ากันว่ามีขุมทรัพย์ด้านโทรคมมหาศาลจากการควบรวมระหว่าง ทีโอที และกสท โทรคมนาคม คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินกว่า3 แสนล้านบาท
แต่ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะต่อยอดขุมทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อหารายได้ในระยะยาว และจำเป็นต้องพึ่งพาพันธมิตร แน่นอนว่า ทั้ง 3 ค่ายมือถือ คือ หนึ่งในเป้าหมายสำคัญ
หลังจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประกาศการเปิดตัวบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ไปเมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยยุบรวม บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (กสทฯ) เป็นบริษัทเดียวกันสิ้นสุดรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมของไทย ขณะที่ ‘ดีอีเอส’ สวมบทบาท ร่วมผลักดันพร้อมวางนโยบายทุกด้าน
ทั้งนี้เมื่อควบรวมแล้ว เอ็นทีจะกลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่มีศักยภาพการให้บริการโดยเฉพาะเรื่อง โมบาย, ธุรกิจ 5จี และ ดาวเทียม ทั้งการนำเอาดิจิทัลมาให้บริการภาคการสาธารณสุข การเกษตร และคมนาคม ซึ่งเอ็นทีจะเป็นผู้รวบรวม “บิ๊กดาต้า” ผ่าน 5จี ที่ประมูลได้โดยจะเริ่มนำมาให้บริการภาคสังคม
‘เอ็นที’ หมดงบฯ -เร่งหาพันธมิตรร่วม
ล่าสุด มีเอกสารรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เอ็นที เรื่อง โครงการจัดหาพันธมิตรเพื่อให้บริการคลื่น 700 ของกสทฯ โดยระบุว่า หลังจากที่ กสทฯ ได้ของบประมาณเข้าร่วมประมูลและจัดหาอุปกรณ์เพื่อให้บริการ 5จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ (ครั้งล่าสุดที่ กสทช. จัดประมูล) เป็นเงินราว 50,000 - 55,000 ล้านบาท และได้ประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ในมูลค่า 34,000 ล้านบาท ส่งผลให้มีงบประมาณไม่เพียงพอในการสร้างโครงข่าย
จำเป็นต้องหาพันธมิตรมาร่วมให้บริการ โดยใช้อุปกรณ์ภายใต้โครงข่าย 5จี ร่วมกันภายใต้งบประมาณคงเหลือ ราว 20,000 ล้านบาท ในระยะเวลาของใบอนุญาต 15 ปี โดยมี 2 ค่ายมือถือ คือ บมจ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ยื่นข้อเสนอในการเป็นพันธมิตรครั้งนี้
“เอไอเอส-ทรู” ยื่นข้อเสนอพันธมิตร
โดยทางกสทฯ ได้เจรจากับทาง ทรู ที่เสนอเงื่อนไขในการเป็นพันธมิตร ดังนี้ 1.ให้ใช้โครงข่ายของทรูจำนวน 12,000 สถานี โดยที่กสทฯต้องสร้างเอง 1,250 สถานี (นอกเหนือจากงบประมาณ 20,000 ล้านบาท) ตลอดระยะเวลา 15 ปี 2.กสทฯต้องชำระเงิน 20,000 ล้านบาทล่วงหน้าทันทีเมื่อลงนามสัญญา และ 3.ทรู เสนอโครงข่ายให้กสทฯใช้บริการแบบ 4จี (2T2R) 50% และ 5จี (4T4R) 50%
หลังจากนั้น เอไอเอส จึงได้เข้ามายื่นข้อเสนอโดย 1.ให้ใช้โครงข่ายของเอไอเอสจำนวน 13,500 สถานี โดยที่กสทฯไม่ต้องลงทุนสร้างเอง 1,250 สถานี 2. ภายใต้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 15 ปี แบ่งชำระ 3 งวด ตามจำนวนการติดตั้งสถานีฐาน โดยไม่คิดดอกเบี้ย และ 3.เอไอเอส เสนอโครงข่ายให้กสทฯใช้บริการแบบ 5จี (4T4R) 100%
“เอไอเอส” ดีลดีสุดแต่ต้องแบ่ง
อย่างไรก็ตาม เอไอเอส ได้มีการหารือกับ ซีอีโอ กสทฯ ในขณะนั้น คือ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เรื่องการให้ความร่วมมือมาตั้งแต่การประมูลคลื่นครั้งที่แล้ว และคลื่น 700 ที่ กสทฯ ได้มาก็อยู่ติดกับเอไอเอส การที่คลื่นอยู่ติดกัน จะช่วยให้ กสทฯ สามารถใช้บริการโครงข่ายของเอไอเอสเพื่อให้บริการ 5จี ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
อีกทั้ง ข้อเสนอของเอไอเอสก็ดีกว่าข้อเสนอของทรู ทั้งด้านเทคนิค และเชิงพาณิชย์ แต่หากมีการแบ่งพื้นที่ระหว่างเอไอเอสกับทรูเพื่อให้บริการในความร่วมมือกับกสทฯ ตรงนี้ บอร์ดเห็นว่าจะทำให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
“แต่หากให้ทรูให้บริการกับแค่รายเดียว กระแสสังคมจะยอมรับไม่ได้ ที่รัฐจะเอื้อทุนใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) อีกครั้ง โดยเฉพาะการเอางบประมาณไปให้เอกชนทันทีเมื่อลงนามในสัญญา ซึ่งไม่เคยมีหน่วยงานภาครัฐใดทำมาก่อน จะเกิดข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใส แต่สุดท้ายแล้ว เพื่อให้โครงการเดินหน้าไปได้ ทางเอไอเอส สามารถร่วมให้บริการคนละครึ่งกับทรู เพื่อเกิดวินวินร่วมกัน ภายใต้ผลประโยชน์ของกสทฯอย่างสูงสุด”
เอกชนชิงจ่ายค่าคลื่นแต่งตัวรอ
ขณะที่ รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ระบุว่า ว่า เอไอเอส และทรู ต่างทยอยเดินทางมาจ่ายค่าคลื่น 700 ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกย่านความถี่ เพื่อขับเคี่ยวในสมรภูมิ 5จี ที่ีคาดว่าจะดุเดือดมากขึ้นในปีนี้
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) บริษัทในเครือเอไอเอส ซึ่งเป็นผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ในมูลค่ารวม 15,584 ล้านบาท ได้ชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 ดังกล่าวในงวดที่ 1 เป็นเงินจำนวน 1,881 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว และตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2564 เอดับบลิวเอ็นได้รับใบอนุญาต และจะมีสถานีฐานในการให้บริการคลื่น 700 ที่ใช้งานได้ทันที 3,000 สถานีฐาน ภายในเดือน ม.ค. 2564 ขณะที่งบประมาณในการลงทุนเครือข่ายปีนี้จะไม่น้อยกว่าปี 2563 ที่วางงบลงทุนไว้ 35,000 ล้านบาท
‘เอไอเอส’พร้อมเป็นพันธมิตรเอ็นที
ซีอีโอ เอไอเอส กล่าวว่า คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จะถูกนำมาเสริมศักยภาพการให้บริการ 5จี ร่วมกับคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดว่า ภายในปีนี้จะมีลูกค้าคอนซูเมอร์ใช้บริการ 5จี ประมาณ 1 ล้านเลขหมาย
ขณะที่สิ้นปี 2563 มีผู้ใช้งานประมาณหลักแสนราย ส่วนลูกค้าองค์กรคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีไอโอที โรโบติกส์ เออาร์ หรือ วีอาร์ มากขึ้น เป็นต้น
“แม้เอไอเอสมีคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์แล้ว ก็ยังมีความสนใจในการเป็นพันธมิตรคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ร่วมกับ เอ็นที ซึ่งตามที่นายพุทธิพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ประกาศนโยบายในการเปิดกว้างสำหรับพันธมิตรทุกราย ดังนั้นเชื่อว่า เอ็นทีจะไม่จำกัดการทำงานกับพันธมิตรเพียงรายเดียว” นายสมชัย กล่าว
‘ทรู’ ย้ำประสิทธิภาพคลื่น 700
นายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ทรู กล่าวว่า บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ได้รับใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 และใบอนุญาตประกอบกิจการบนคลื่นความถี่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มต้นใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2563 ทำให้บริษัทมีคลื่นสำหรับทำ 5จี เพิ่มเติมจากเดิมที่มีคลื่น 2600
ซึ่งคลื่น 700 มีคุณสมบัติให้บริการครอบคลุม และการทะลุทะลวงเข้าถึงภายในอาคารสูง ส่วนคลื่น 2600 มีจุดเด่นเรื่องความจุ ในการรองรับปริมาณการใช้งานที่หนาแน่น เหมาะกับการให้บริการในพื้นที่ชุมชนหรือเมืองใหญ่
ทั้งนี้ ทรูได้ตั้งงบประมาณปี 2563-2565 จำนวน 40,000-60,000 ล้านบาท ในการพัฒนาเครือข่าย 5จี ดังนั้นแผนในปี 2564 บริษัทจะขยายเน็ตเวิร์คคลื่น 700 ให้ครอบคลุม 80% ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 12,000 สถานีฐาน ส่วนคลื่น 2600 เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาต คือ ขยายให้ครอบคลุมพื้นที่อีอีซี 50% ภายในปีนี้
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุด้วยว่า ในครั้งที่ กสทฯ ประมูลคลื่น 700 ไปนั้น ได้มีการเจรจากับ ทรู เพื่อขอให้ความถี่ร่วมกันในฐานะท่ี่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกันมาในอดีตด้วย
ก่อนหน้านี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร ทรู เคยกล่าวว่า ทรู ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองจากผู้ให้บริการโทรคม 2-3 โปรดักส์ เช่น มือถือ บรอดแบนด์ เพย์ทีวี เป็น ดิจิทัล มีเดีย เป็นผู้เล่นที่ช่วยเติมเต็มเรื่อง Fulfillment ด้านอีคอมเมิร์ซ แต่ไม่ได้เป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซ โดยใช้เนเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้มีประสิทธิภาพสู่การเป็น โซลูชั่น แพลตฟอร์ม เป็น โซลูชั่น ฟอร์ ไลฟ์
‘เอ็นที’เตรียมเซ็นสัญญาเอกชนเร็วๆนี้
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส กล่าวว่า เอ็นที โมบาย หน่วยธุรกิจด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอ็นที กำลังอยู่ระหว่างการหาข้อสรุปถึงแนวทางการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับค่ายมือถือบางราย ด้วยการนำความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ของคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ที่เอกชนประมูลไปจาก กสทช. เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2563 มาแลกกับคลื่น 700 ที่เอ็นทีถือครองอยู่
ซึ่งเดิมให้กสทฯเป็นผู้ประมูลและได้มาจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาให้ 5จี ที่ให้บริการมีความทันสมัย และทำให้รัฐวิสาหกิจอยู่รอดได้ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ประเด็นที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ คือ สิ่งที่ดี เร็ว และประหยัดในการขยายโครงข่าย จึงต้องพึ่งพาพันธมิตร และคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนม.ค.นี้
เปิดจุดเด่น คลื่น 700
ขณะที่ แผนการนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ไปใช้งานของทั้ง 3 ค่ายมือถือ จะมีความคล้ายคลึงกัน คือ นำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรื่องของความครอบคลุมพื้นที่ สามารถทะลุทะลวงเข้าไปภายในอาคารสูงเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม สำหรับ ประโยชน์ในการใช้งาน 5จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ นอกเหนือจากความครอบคลุมแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของความหน่วงต่ำ หรือ Low Latency ทำให้สามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์ไร้คนขับที่จะถูกนำมาใช้งานในอนาคต เพราะเมื่อมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง และความหน่วงต่ำก็สามารถนำมาใช้งานได้
นอกเหนือจาก 5จี แล้ว คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ยังสามารถนำไปใช้ในการให้บริการ 4จี ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นด้วย และในท้องตลาดปัจจุบันนี้ ก็มีสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งาน 4จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ทำให้ประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตมือถือโดยรวมทั่วประเทศจะดีขึ้นจากทุกค่ายผู้ให้บริการมือถือ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/918984
ประมูลคลื่น 700 MHz มา แต่ทำไม่ได้ | ‘เอไอเอส-ทรู’ เปิดศึกชิงคลื่น 700 - 'เอ็นที' จ่อแถลงความร่วมมือ
เปิดข้อเสนอ 2 ค่ายมือถือ "เอไอเอส-ทรู” แบ่งเค้กคลื่น 700 กสทฯ ต่อยอด 5จี อุ้ม“เอ็นที”เดินหน้าธุรกิจหลังเหลืองบแค่ 2 หมื่นล้าน “เอไอเอส” เสนอดีกว่าให้ใช้โครงข่าย 13,500 สถานี ไม่ต้องลงทุนเสา แถมให้ 5จี เต็ม 100% “ทรู” ให้แค่12,000 สถานี กสทฯ สร้างเอง 1,250 สถานี ให้ 5จี 50% จ่าย 2 หมื่นล้านทันทีด้าน ‘เอ็นที’ ถกเครียดคาดดึงทั้ง2 ค่ายเป็นพันธมิตร รับใช้งบทุ่มประมูล 5จี ไปกว่า 3.5 หมื่นล้าน เหลือเงินไม่พัฒนาโครงข่ายให้บริการเอง
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยที่มีเม็ดเงินสะพัดหลายแสนล้านบาท กำลังส่งแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อมีการขยับของโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการมือถือทั้งเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ที่มีเครือข่าย 5จี เป็นตัวชูโรง อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทโทรคมนาคม แห่งชาติ (เอ็นที) ที่ว่ากันว่ามีขุมทรัพย์ด้านโทรคมมหาศาลจากการควบรวมระหว่าง ทีโอที และกสท โทรคมนาคม คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินกว่า3 แสนล้านบาท แต่ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะต่อยอดขุมทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อหารายได้ในระยะยาว และจำเป็นต้องพึ่งพาพันธมิตร แน่นอนว่า ทั้ง 3 ค่ายมือถือ คือ หนึ่งในเป้าหมายสำคัญ
หลังจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประกาศการเปิดตัวบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ไปเมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยยุบรวม บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม (กสทฯ) เป็นบริษัทเดียวกันสิ้นสุดรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมของไทย ขณะที่ ‘ดีอีเอส’ สวมบทบาท ร่วมผลักดันพร้อมวางนโยบายทุกด้าน
ทั้งนี้เมื่อควบรวมแล้ว เอ็นทีจะกลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่มีศักยภาพการให้บริการโดยเฉพาะเรื่อง โมบาย, ธุรกิจ 5จี และ ดาวเทียม ทั้งการนำเอาดิจิทัลมาให้บริการภาคการสาธารณสุข การเกษตร และคมนาคม ซึ่งเอ็นทีจะเป็นผู้รวบรวม “บิ๊กดาต้า” ผ่าน 5จี ที่ประมูลได้โดยจะเริ่มนำมาให้บริการภาคสังคม
‘เอ็นที’ หมดงบฯ -เร่งหาพันธมิตรร่วม
ล่าสุด มีเอกสารรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เอ็นที เรื่อง โครงการจัดหาพันธมิตรเพื่อให้บริการคลื่น 700 ของกสทฯ โดยระบุว่า หลังจากที่ กสทฯ ได้ของบประมาณเข้าร่วมประมูลและจัดหาอุปกรณ์เพื่อให้บริการ 5จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ (ครั้งล่าสุดที่ กสทช. จัดประมูล) เป็นเงินราว 50,000 - 55,000 ล้านบาท และได้ประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ในมูลค่า 34,000 ล้านบาท ส่งผลให้มีงบประมาณไม่เพียงพอในการสร้างโครงข่าย
จำเป็นต้องหาพันธมิตรมาร่วมให้บริการ โดยใช้อุปกรณ์ภายใต้โครงข่าย 5จี ร่วมกันภายใต้งบประมาณคงเหลือ ราว 20,000 ล้านบาท ในระยะเวลาของใบอนุญาต 15 ปี โดยมี 2 ค่ายมือถือ คือ บมจ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ยื่นข้อเสนอในการเป็นพันธมิตรครั้งนี้
“เอไอเอส-ทรู” ยื่นข้อเสนอพันธมิตร
โดยทางกสทฯ ได้เจรจากับทาง ทรู ที่เสนอเงื่อนไขในการเป็นพันธมิตร ดังนี้ 1.ให้ใช้โครงข่ายของทรูจำนวน 12,000 สถานี โดยที่กสทฯต้องสร้างเอง 1,250 สถานี (นอกเหนือจากงบประมาณ 20,000 ล้านบาท) ตลอดระยะเวลา 15 ปี 2.กสทฯต้องชำระเงิน 20,000 ล้านบาทล่วงหน้าทันทีเมื่อลงนามสัญญา และ 3.ทรู เสนอโครงข่ายให้กสทฯใช้บริการแบบ 4จี (2T2R) 50% และ 5จี (4T4R) 50%
หลังจากนั้น เอไอเอส จึงได้เข้ามายื่นข้อเสนอโดย 1.ให้ใช้โครงข่ายของเอไอเอสจำนวน 13,500 สถานี โดยที่กสทฯไม่ต้องลงทุนสร้างเอง 1,250 สถานี 2. ภายใต้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 15 ปี แบ่งชำระ 3 งวด ตามจำนวนการติดตั้งสถานีฐาน โดยไม่คิดดอกเบี้ย และ 3.เอไอเอส เสนอโครงข่ายให้กสทฯใช้บริการแบบ 5จี (4T4R) 100%
“เอไอเอส” ดีลดีสุดแต่ต้องแบ่ง
อย่างไรก็ตาม เอไอเอส ได้มีการหารือกับ ซีอีโอ กสทฯ ในขณะนั้น คือ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เรื่องการให้ความร่วมมือมาตั้งแต่การประมูลคลื่นครั้งที่แล้ว และคลื่น 700 ที่ กสทฯ ได้มาก็อยู่ติดกับเอไอเอส การที่คลื่นอยู่ติดกัน จะช่วยให้ กสทฯ สามารถใช้บริการโครงข่ายของเอไอเอสเพื่อให้บริการ 5จี ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
อีกทั้ง ข้อเสนอของเอไอเอสก็ดีกว่าข้อเสนอของทรู ทั้งด้านเทคนิค และเชิงพาณิชย์ แต่หากมีการแบ่งพื้นที่ระหว่างเอไอเอสกับทรูเพื่อให้บริการในความร่วมมือกับกสทฯ ตรงนี้ บอร์ดเห็นว่าจะทำให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
“แต่หากให้ทรูให้บริการกับแค่รายเดียว กระแสสังคมจะยอมรับไม่ได้ ที่รัฐจะเอื้อทุนใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) อีกครั้ง โดยเฉพาะการเอางบประมาณไปให้เอกชนทันทีเมื่อลงนามในสัญญา ซึ่งไม่เคยมีหน่วยงานภาครัฐใดทำมาก่อน จะเกิดข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใส แต่สุดท้ายแล้ว เพื่อให้โครงการเดินหน้าไปได้ ทางเอไอเอส สามารถร่วมให้บริการคนละครึ่งกับทรู เพื่อเกิดวินวินร่วมกัน ภายใต้ผลประโยชน์ของกสทฯอย่างสูงสุด”
เอกชนชิงจ่ายค่าคลื่นแต่งตัวรอ
ขณะที่ รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ระบุว่า ว่า เอไอเอส และทรู ต่างทยอยเดินทางมาจ่ายค่าคลื่น 700 ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกย่านความถี่ เพื่อขับเคี่ยวในสมรภูมิ 5จี ที่ีคาดว่าจะดุเดือดมากขึ้นในปีนี้
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) บริษัทในเครือเอไอเอส ซึ่งเป็นผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ในมูลค่ารวม 15,584 ล้านบาท ได้ชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 ดังกล่าวในงวดที่ 1 เป็นเงินจำนวน 1,881 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) แล้ว และตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2564 เอดับบลิวเอ็นได้รับใบอนุญาต และจะมีสถานีฐานในการให้บริการคลื่น 700 ที่ใช้งานได้ทันที 3,000 สถานีฐาน ภายในเดือน ม.ค. 2564 ขณะที่งบประมาณในการลงทุนเครือข่ายปีนี้จะไม่น้อยกว่าปี 2563 ที่วางงบลงทุนไว้ 35,000 ล้านบาท
‘เอไอเอส’พร้อมเป็นพันธมิตรเอ็นที
ซีอีโอ เอไอเอส กล่าวว่า คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จะถูกนำมาเสริมศักยภาพการให้บริการ 5จี ร่วมกับคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดว่า ภายในปีนี้จะมีลูกค้าคอนซูเมอร์ใช้บริการ 5จี ประมาณ 1 ล้านเลขหมาย
ขณะที่สิ้นปี 2563 มีผู้ใช้งานประมาณหลักแสนราย ส่วนลูกค้าองค์กรคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีไอโอที โรโบติกส์ เออาร์ หรือ วีอาร์ มากขึ้น เป็นต้น
“แม้เอไอเอสมีคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์แล้ว ก็ยังมีความสนใจในการเป็นพันธมิตรคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ร่วมกับ เอ็นที ซึ่งตามที่นายพุทธิพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ประกาศนโยบายในการเปิดกว้างสำหรับพันธมิตรทุกราย ดังนั้นเชื่อว่า เอ็นทีจะไม่จำกัดการทำงานกับพันธมิตรเพียงรายเดียว” นายสมชัย กล่าว
‘ทรู’ ย้ำประสิทธิภาพคลื่น 700
นายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ทรู กล่าวว่า บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ได้รับใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 และใบอนุญาตประกอบกิจการบนคลื่นความถี่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มต้นใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2563 ทำให้บริษัทมีคลื่นสำหรับทำ 5จี เพิ่มเติมจากเดิมที่มีคลื่น 2600
ซึ่งคลื่น 700 มีคุณสมบัติให้บริการครอบคลุม และการทะลุทะลวงเข้าถึงภายในอาคารสูง ส่วนคลื่น 2600 มีจุดเด่นเรื่องความจุ ในการรองรับปริมาณการใช้งานที่หนาแน่น เหมาะกับการให้บริการในพื้นที่ชุมชนหรือเมืองใหญ่
ทั้งนี้ ทรูได้ตั้งงบประมาณปี 2563-2565 จำนวน 40,000-60,000 ล้านบาท ในการพัฒนาเครือข่าย 5จี ดังนั้นแผนในปี 2564 บริษัทจะขยายเน็ตเวิร์คคลื่น 700 ให้ครอบคลุม 80% ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 12,000 สถานีฐาน ส่วนคลื่น 2600 เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาต คือ ขยายให้ครอบคลุมพื้นที่อีอีซี 50% ภายในปีนี้
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุด้วยว่า ในครั้งที่ กสทฯ ประมูลคลื่น 700 ไปนั้น ได้มีการเจรจากับ ทรู เพื่อขอให้ความถี่ร่วมกันในฐานะท่ี่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกันมาในอดีตด้วย
ก่อนหน้านี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร ทรู เคยกล่าวว่า ทรู ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองจากผู้ให้บริการโทรคม 2-3 โปรดักส์ เช่น มือถือ บรอดแบนด์ เพย์ทีวี เป็น ดิจิทัล มีเดีย เป็นผู้เล่นที่ช่วยเติมเต็มเรื่อง Fulfillment ด้านอีคอมเมิร์ซ แต่ไม่ได้เป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซ โดยใช้เนเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้มีประสิทธิภาพสู่การเป็น โซลูชั่น แพลตฟอร์ม เป็น โซลูชั่น ฟอร์ ไลฟ์
‘เอ็นที’เตรียมเซ็นสัญญาเอกชนเร็วๆนี้
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส กล่าวว่า เอ็นที โมบาย หน่วยธุรกิจด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอ็นที กำลังอยู่ระหว่างการหาข้อสรุปถึงแนวทางการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับค่ายมือถือบางราย ด้วยการนำความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ของคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ที่เอกชนประมูลไปจาก กสทช. เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2563 มาแลกกับคลื่น 700 ที่เอ็นทีถือครองอยู่
ซึ่งเดิมให้กสทฯเป็นผู้ประมูลและได้มาจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาให้ 5จี ที่ให้บริการมีความทันสมัย และทำให้รัฐวิสาหกิจอยู่รอดได้ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ประเด็นที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ คือ สิ่งที่ดี เร็ว และประหยัดในการขยายโครงข่าย จึงต้องพึ่งพาพันธมิตร และคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนม.ค.นี้
เปิดจุดเด่น คลื่น 700
ขณะที่ แผนการนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ไปใช้งานของทั้ง 3 ค่ายมือถือ จะมีความคล้ายคลึงกัน คือ นำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรื่องของความครอบคลุมพื้นที่ สามารถทะลุทะลวงเข้าไปภายในอาคารสูงเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม สำหรับ ประโยชน์ในการใช้งาน 5จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ นอกเหนือจากความครอบคลุมแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของความหน่วงต่ำ หรือ Low Latency ทำให้สามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์ไร้คนขับที่จะถูกนำมาใช้งานในอนาคต เพราะเมื่อมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง และความหน่วงต่ำก็สามารถนำมาใช้งานได้
นอกเหนือจาก 5จี แล้ว คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ยังสามารถนำไปใช้ในการให้บริการ 4จี ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นด้วย และในท้องตลาดปัจจุบันนี้ ก็มีสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งาน 4จี บนคลื่น 700 เมกะเฮิรตช์ทำให้ประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตมือถือโดยรวมทั่วประเทศจะดีขึ้นจากทุกค่ายผู้ให้บริการมือถือ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/918984