ยก "เอซีที" ต้านบริษัทลูกทีโอที-กสท. จี้ไอซีทีแจงแนวทางแข่งเอกชน หวังน้ำบ่อหน้าจ่อชวดหมื่นล้าน
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)และ กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ออกโรงเคลื่อนไหวคัดค้านมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)ที่ให้ทีโอทีและกสท.แยกหน่วยธุรกิจออกไปจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนนั้นว่า แนวคิดในการแยกหน่วยธุรกิจและทรัพย์สินออกมาร่วมจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนดังกล่าว ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้าเมื่อปี 2544 รัฐบาลก็เคยผลักดันให้สองหน่วยงานจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เอซีที โมบาย จำกัดและกิจการร่วมค้าไทยโมบาย จำกัด มาแล้ว เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลือนที่ระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์(MHz)แต่ผลการดำเนินงานประสบกับความล้มเหลวอย่างหนักจน กสท.และบริษัทวิทยุการบินที่ถือหุ้นอยู่ด้วยถอนตัวออกไป ทำให้สถานะของบริษัทเอซีทีกลายมาเป็นเพียงบริษัทลูกของทีโอทีที่ให้เช่าเสาโทรคมนาคมแก่ทีโอทีเท่านั้น แทบไม่มีบทบาทอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับการแยกหน่วยธุรกิจและทรัพย์สินทีโอทีและกสท.ออกมาร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่ว่าเป็นเพียงการปัดฝุ่นโมเลบริษัทร่วมทุนเอซีทีโมบายกลับมาใข้ดีๆนั่นเอง ซึ่งรัฐบาลและไอซีทีคงต้องชี้แจงความกระจ่างให้ได้ว่า มีความมั่นใจได้อย่างไรว่า บริษัทร่วมทุนที่ตั้งขึ้นมาจะสามารถแข่งขันกับเอกชนได้ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารและอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์"เอาแค่การผ่องถ่ายพนักงาน และผู้บริหารมายังบริษัทร่วมทุนที่ว่า จะเลือกเฟ้นผู้บริหารซีอีโอกันอย่างไร จะเอาคนจากคนทีโอทีหรือ กสท.ก็ไม่ลงรอยกันแล้ว"
ที่สำคัญในส่วนของทีโอทีนั้น มีแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูองค์กรที่เคยนำเสนอต่อ คนร.และไอซีทีมาแล้ว ในการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค(AWN)ในเครือเอไอเอส ที่จะร่วมพัฒนาโครงข่ายสื่อสารระบบ 2 จี 900 MHz และ 3 จี 2100 MHz ที่คาดว่าจะทำให้ทีโอทีมีรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาทหรือกว่าครึ่งของค่าสัมปทานที่เคยได้รับ เมื่อรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนแผนฟื้นฟู้ขึ้นมาย่อมกระทบกับสถานะขององค์กรอย่างหนัก และทำให้ต้องพับแผนฟื้นฟูเดิมลงไปในทันที
ทั้งนี้ พนักงานทีโอทีเห็นว่าแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้เดิมนั้นได้ผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานต่างๆมาหมดแล้ว สามารถแก้ไขปัญหาองค์กรในปี 59 ที่คาดว่าจะขาดทุนร่วม 5,000 ล้านบาทได้ เพราะจะมีรายรับกลับเข้ามาร่วม 10,000 ล้านบาทต่อปี แต่รัฐกลับจะให้ไปรอลุ้นแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับกสท.ที่ยังไม่รู้อนาคตเลยว่าสุดท้ายแล้วจะสามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้หรือไม่ จะบริหารทรัพสินที่ว่าอย่างไร เหตุนี้สหภาพแรงงานของทั้งสององค์กรจึงไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาล.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 8)
ยก "เอซีที" ต้านบริษัทลูกทีโอที-กสท. จี้ไอซีทีแจงแนวทางแข่งเอกชน หวังน้ำบ่อหน้าจ่อชวดหมื่นล้าน
ยก "เอซีที" ต้านบริษัทลูกทีโอที-กสท. จี้ไอซีทีแจงแนวทางแข่งเอกชน หวังน้ำบ่อหน้าจ่อชวดหมื่นล้าน
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)และ กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ออกโรงเคลื่อนไหวคัดค้านมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)ที่ให้ทีโอทีและกสท.แยกหน่วยธุรกิจออกไปจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนนั้นว่า แนวคิดในการแยกหน่วยธุรกิจและทรัพย์สินออกมาร่วมจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนดังกล่าว ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้าเมื่อปี 2544 รัฐบาลก็เคยผลักดันให้สองหน่วยงานจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เอซีที โมบาย จำกัดและกิจการร่วมค้าไทยโมบาย จำกัด มาแล้ว เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลือนที่ระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์(MHz)แต่ผลการดำเนินงานประสบกับความล้มเหลวอย่างหนักจน กสท.และบริษัทวิทยุการบินที่ถือหุ้นอยู่ด้วยถอนตัวออกไป ทำให้สถานะของบริษัทเอซีทีกลายมาเป็นเพียงบริษัทลูกของทีโอทีที่ให้เช่าเสาโทรคมนาคมแก่ทีโอทีเท่านั้น แทบไม่มีบทบาทอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับการแยกหน่วยธุรกิจและทรัพย์สินทีโอทีและกสท.ออกมาร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่ว่าเป็นเพียงการปัดฝุ่นโมเลบริษัทร่วมทุนเอซีทีโมบายกลับมาใข้ดีๆนั่นเอง ซึ่งรัฐบาลและไอซีทีคงต้องชี้แจงความกระจ่างให้ได้ว่า มีความมั่นใจได้อย่างไรว่า บริษัทร่วมทุนที่ตั้งขึ้นมาจะสามารถแข่งขันกับเอกชนได้ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารและอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์"เอาแค่การผ่องถ่ายพนักงาน และผู้บริหารมายังบริษัทร่วมทุนที่ว่า จะเลือกเฟ้นผู้บริหารซีอีโอกันอย่างไร จะเอาคนจากคนทีโอทีหรือ กสท.ก็ไม่ลงรอยกันแล้ว"
ที่สำคัญในส่วนของทีโอทีนั้น มีแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูองค์กรที่เคยนำเสนอต่อ คนร.และไอซีทีมาแล้ว ในการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจ โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค(AWN)ในเครือเอไอเอส ที่จะร่วมพัฒนาโครงข่ายสื่อสารระบบ 2 จี 900 MHz และ 3 จี 2100 MHz ที่คาดว่าจะทำให้ทีโอทีมีรายได้ปีละ 10,000 ล้านบาทหรือกว่าครึ่งของค่าสัมปทานที่เคยได้รับ เมื่อรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนแผนฟื้นฟู้ขึ้นมาย่อมกระทบกับสถานะขององค์กรอย่างหนัก และทำให้ต้องพับแผนฟื้นฟูเดิมลงไปในทันที
ทั้งนี้ พนักงานทีโอทีเห็นว่าแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้เดิมนั้นได้ผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานต่างๆมาหมดแล้ว สามารถแก้ไขปัญหาองค์กรในปี 59 ที่คาดว่าจะขาดทุนร่วม 5,000 ล้านบาทได้ เพราะจะมีรายรับกลับเข้ามาร่วม 10,000 ล้านบาทต่อปี แต่รัฐกลับจะให้ไปรอลุ้นแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับกสท.ที่ยังไม่รู้อนาคตเลยว่าสุดท้ายแล้วจะสามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้หรือไม่ จะบริหารทรัพสินที่ว่าอย่างไร เหตุนี้สหภาพแรงงานของทั้งสององค์กรจึงไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาล.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 8)