คอลัมน์ หวานซ่อนเปรี้ยว: หวังน้ำบ่อหน้า...ระวัง!หมาป่ากับเงา
พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ยังคงเป็นประเด็น Talk of the Town ที่จ่อระอุแดดแผดเผา กับเรื่องที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และกสทโทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) 2 หน่วยรัฐวิสาหกิจด้านกิจการสื่อสารของรัฐที่ออกมา"ดับเครื่องชน" นายกฯตู่และกระทรวงไอซีที แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแยกหน่วยธุรกิจของสององค์กรออกไปจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 3 บริษัทคือ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ บริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศ และบริษัทศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต
โดยระบุว่า การจัดตั้งบริษัทลูกที่ทางสหภาพฯติดใจ คือการปรับโครงสร้างครั้งนี้ยังไม่ตอบโจทย์หลักที่รัฐบาลต้องการให้รัฐวิสาหกิจสามารถแข่งกับเอกชนได้ ซึ่งที่ผ่านมามักติดปัญหาเรื่องความคล่องตัว เช่น การจะของบลงทุนกว่าจะได้ต้องทำแผนเสนอกรรมการบริหาร (บอร์ด) กระทรวงไอซีที สภาพัฒน์ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำให้การดำเนินงานแต่ละอย่างล่าช้าภาพลักษณ์แย่ ทั้งที่มีทรัพย์ในมือเยอะ แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากกระทรวงไอซีทีและรัฐ
ขณะที่ นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอที ระบุว่าสหภาพฯทีโอทียังคงยืนยันที่จะคัดค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกับกสท.ต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการเอาทรัพย์สินที่เป็นธุรกิจหลักของทีโอทีออกไปอยู่กับบริษัทลูกที่จะตั้งขึ้นใหม่จะทำให้ทีโอทีหมดความสำคัญลงไปประกอบกับบริษัทลูกที่ร่วมกับกสท จะไม่ได้รับการสานต่อนโยบายใดจากบริษัทแม่ ส่งผลให้ทางทีโอทีที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินเดิมจะไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ กลับมา
"สหภาพฯเข้าใจว่านายกรัฐมนตรีและทางรัฐบาลมีความปรารถนาดีต่อทีโอที แต่ทางสหภาพฯมองว่า ปัญหาใหญ่ของทีโอทีก็คือ ได้ผู้บริหารไม่มีความรู้ความสามารถ ไม่มีทิศทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่ชัดเจน เช่น ในปี 59 มีการประเมินว่า ทีโอทีอาจขาดทุนสูงถึง 5,000 ล้านบาท แต่หนทางในการแก้ไขปัญหาขาดทุนที่ทีโอทีได้เจรจากับพันธมิตรธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะช่วยให้ทีโอทีมีรายได้จำนวนมากเข้ามานั้นผ่านมาเป็นปีก็ยังไม่มีความชัดเจน ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆแม้สหภาพฯ จะยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาเหล่านี้ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบใดๆ กลับมา"
จะว่าไปประเด็นที่สหภาพทีโอทีและกสท.ออกมา"ดับเครื่องชน" นายกฯและกระทรวงไอซีทีก็ใช่จะไม่มีเหตุผล เพราะหากจะได้พิจารณาแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)หรือ"ซูเปอร์บอร์ด" ที่ให้สองหน่วยงานแยกหน่วยธุรกิจ(Business Unit)ปละทรัพย์สินออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทลูกเพื่อร่วมบริหารทรัพย์สินร่วมกันนั้น ก็หาใช่แนวทางใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นแนวทางที่สองหน่วยงานเคยดำเนินการกันมาแล้ว
โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 2544 สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีและกสท.ก็เคยร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ACT Mobile จำกัด ร่วมกับบริษัทวิทยุการบิน เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1900 เมกกะเฮิร์ตส์(MHz) ในยุคที่มือถือ 2 จีเฟื่องฟูมาแล้ว แต่ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวประสบปัญหาในการดำเนินการอย่างหนักจน กสท และบริษัทวิทยุการบินที่ถือหุ้นอยู่ต้องถอนตัวออกไป ทำให้สถานะของบริษัทเอซีทีโมบายในปัจจุบัน กลายมาเป็นเพียงบริษัทลูกของทีโอที ที่ทำให้เช่าเสาโทรคมนาคมแก่บริษัทแม่ทีโอทีเท่านั้น
การ "ปัดฝุ่น" เอาโมเดลจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ACT Mobile กลับมาดังกล่าว คงต้องถามไปยังรัฐบาลและกระทรวงไอซีทีว่า มีความมั่นใจหรือว่าเมื่อสองหน่วยงานมาร่วมลงทุนร่วมบริหารทรัพย์สินแล้วจะสามารถแข่งขันกับเอกชนได้ เอาแค่การผ่องถ่ายพนักงานและผู้บริหารของทั้งสององค์กรมายังบริษัทร่วมทุนที่ว่านี้ จะเลือกเฟ้นผู้บริหารซีอีโอกันอย่างไรก็ยุ่งเป็นยุงตีกันแล้ว
ที่สำคัญมีรัฐวิสาหกิจใดที่นำเอาโมเดลนี้ไปใช้ประสบผลสำเร็จมาแล้วบ้างเพราะที่เห็นและเป็นไปอย่างบริษัท ปทต.จำกัด (มหาชน) แต่ละบริษัทแม้จะแยกหน่วยธุรกิจออกไปจัดตั้งบริษัทลูก บริษัทร่วมทุนกับเอกชน ผ่องถ่ายพนักงานและฝ่ายบริหารลงไปดูแล แต่ก็เป็นไปอย่างเอกเทศโดยบริษัทแม่ที่ทำหน้าที่เป็นฮฺลดิ้งคอมปานีกำกับดูแลเต็มที่ ไม่ได้ถูกมัดมือชกให้ต้องมาร่วมหอลงโลงแบบที่รัฐกำลังทำอยู่กับ ทีโอทีและกสท. ในเวลานี้
ยิ่งสำหรับทีโอทีนั้นที่เดิมมีแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูองค์กรที่เคยนำเสนอต่อ คนร.และกระทรวงไอซีทีมาแล้ว ในการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินโครงข่ายที่ทีโอทีมีอยู่โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค (AWN)ในเครือเอไอเอสที่จะร่วมพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมด้วยกัน ทั้งในส่วนของระบบ 2 จี 900 MHz และ 3 จี 2100 MHz ที่คาดว่าจะทำให้มีรายได้ปีละร่วม 10,000 ล้านบาทหรือกว่าครึ่งของค่าสัมปทานที่เคยได้รับ
เมื่อรัฐบาลปรับเปลี่ยนแผนฟื้นฟูเช่นนี้ย่อมกระทบกับสถานะขององค์กรอย่างหนักและทำให้ต้องพับแผนฟื้นฟูองค์กรเดิมไปในทันที แล้วไปรอลุ้นการบริหารจัดการของบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่า สุดท้ายแล้วจะสามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้หรือไม่ จะบริหารทรัพย์สินที่ว่าอย่างไร จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำกลับมาหล่อเลี้ยงองค์กรได้ตามเป้าหมายหรือไม่
ของตายอยู่ในมือไม่เอา มัวไปหวังน้ำบ่อหน้า ระวังมันจะลงเอยแบบ"หมาป่ากับเงา" ชวดหมดดังนิทานอีสปเขาว่าไว้!!!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 12)
คอลัมน์ หวานซ่อนเปรี้ยว: หวังน้ำบ่อหน้า...ระวัง!หมาป่ากับเงา
คอลัมน์ หวานซ่อนเปรี้ยว: หวังน้ำบ่อหน้า...ระวัง!หมาป่ากับเงา
พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ยังคงเป็นประเด็น Talk of the Town ที่จ่อระอุแดดแผดเผา กับเรื่องที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และกสทโทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) 2 หน่วยรัฐวิสาหกิจด้านกิจการสื่อสารของรัฐที่ออกมา"ดับเครื่องชน" นายกฯตู่และกระทรวงไอซีที แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแยกหน่วยธุรกิจของสององค์กรออกไปจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 3 บริษัทคือ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ บริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศ และบริษัทศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต
โดยระบุว่า การจัดตั้งบริษัทลูกที่ทางสหภาพฯติดใจ คือการปรับโครงสร้างครั้งนี้ยังไม่ตอบโจทย์หลักที่รัฐบาลต้องการให้รัฐวิสาหกิจสามารถแข่งกับเอกชนได้ ซึ่งที่ผ่านมามักติดปัญหาเรื่องความคล่องตัว เช่น การจะของบลงทุนกว่าจะได้ต้องทำแผนเสนอกรรมการบริหาร (บอร์ด) กระทรวงไอซีที สภาพัฒน์ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำให้การดำเนินงานแต่ละอย่างล่าช้าภาพลักษณ์แย่ ทั้งที่มีทรัพย์ในมือเยอะ แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากกระทรวงไอซีทีและรัฐ
ขณะที่ นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอที ระบุว่าสหภาพฯทีโอทียังคงยืนยันที่จะคัดค้านตั้งบริษัทลูกร่วมกับกสท.ต่อไป เนื่องจากเห็นว่าการเอาทรัพย์สินที่เป็นธุรกิจหลักของทีโอทีออกไปอยู่กับบริษัทลูกที่จะตั้งขึ้นใหม่จะทำให้ทีโอทีหมดความสำคัญลงไปประกอบกับบริษัทลูกที่ร่วมกับกสท จะไม่ได้รับการสานต่อนโยบายใดจากบริษัทแม่ ส่งผลให้ทางทีโอทีที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินเดิมจะไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ กลับมา
"สหภาพฯเข้าใจว่านายกรัฐมนตรีและทางรัฐบาลมีความปรารถนาดีต่อทีโอที แต่ทางสหภาพฯมองว่า ปัญหาใหญ่ของทีโอทีก็คือ ได้ผู้บริหารไม่มีความรู้ความสามารถ ไม่มีทิศทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่ชัดเจน เช่น ในปี 59 มีการประเมินว่า ทีโอทีอาจขาดทุนสูงถึง 5,000 ล้านบาท แต่หนทางในการแก้ไขปัญหาขาดทุนที่ทีโอทีได้เจรจากับพันธมิตรธุรกิจกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะช่วยให้ทีโอทีมีรายได้จำนวนมากเข้ามานั้นผ่านมาเป็นปีก็ยังไม่มีความชัดเจน ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆแม้สหภาพฯ จะยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาเหล่านี้ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบใดๆ กลับมา"
จะว่าไปประเด็นที่สหภาพทีโอทีและกสท.ออกมา"ดับเครื่องชน" นายกฯและกระทรวงไอซีทีก็ใช่จะไม่มีเหตุผล เพราะหากจะได้พิจารณาแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)หรือ"ซูเปอร์บอร์ด" ที่ให้สองหน่วยงานแยกหน่วยธุรกิจ(Business Unit)ปละทรัพย์สินออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทลูกเพื่อร่วมบริหารทรัพย์สินร่วมกันนั้น ก็หาใช่แนวทางใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นแนวทางที่สองหน่วยงานเคยดำเนินการกันมาแล้ว
โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 2544 สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีและกสท.ก็เคยร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ACT Mobile จำกัด ร่วมกับบริษัทวิทยุการบิน เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1900 เมกกะเฮิร์ตส์(MHz) ในยุคที่มือถือ 2 จีเฟื่องฟูมาแล้ว แต่ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวประสบปัญหาในการดำเนินการอย่างหนักจน กสท และบริษัทวิทยุการบินที่ถือหุ้นอยู่ต้องถอนตัวออกไป ทำให้สถานะของบริษัทเอซีทีโมบายในปัจจุบัน กลายมาเป็นเพียงบริษัทลูกของทีโอที ที่ทำให้เช่าเสาโทรคมนาคมแก่บริษัทแม่ทีโอทีเท่านั้น
การ "ปัดฝุ่น" เอาโมเดลจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ACT Mobile กลับมาดังกล่าว คงต้องถามไปยังรัฐบาลและกระทรวงไอซีทีว่า มีความมั่นใจหรือว่าเมื่อสองหน่วยงานมาร่วมลงทุนร่วมบริหารทรัพย์สินแล้วจะสามารถแข่งขันกับเอกชนได้ เอาแค่การผ่องถ่ายพนักงานและผู้บริหารของทั้งสององค์กรมายังบริษัทร่วมทุนที่ว่านี้ จะเลือกเฟ้นผู้บริหารซีอีโอกันอย่างไรก็ยุ่งเป็นยุงตีกันแล้ว
ที่สำคัญมีรัฐวิสาหกิจใดที่นำเอาโมเดลนี้ไปใช้ประสบผลสำเร็จมาแล้วบ้างเพราะที่เห็นและเป็นไปอย่างบริษัท ปทต.จำกัด (มหาชน) แต่ละบริษัทแม้จะแยกหน่วยธุรกิจออกไปจัดตั้งบริษัทลูก บริษัทร่วมทุนกับเอกชน ผ่องถ่ายพนักงานและฝ่ายบริหารลงไปดูแล แต่ก็เป็นไปอย่างเอกเทศโดยบริษัทแม่ที่ทำหน้าที่เป็นฮฺลดิ้งคอมปานีกำกับดูแลเต็มที่ ไม่ได้ถูกมัดมือชกให้ต้องมาร่วมหอลงโลงแบบที่รัฐกำลังทำอยู่กับ ทีโอทีและกสท. ในเวลานี้
ยิ่งสำหรับทีโอทีนั้นที่เดิมมีแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูองค์กรที่เคยนำเสนอต่อ คนร.และกระทรวงไอซีทีมาแล้ว ในการดึงบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินโครงข่ายที่ทีโอทีมีอยู่โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวิร์ค (AWN)ในเครือเอไอเอสที่จะร่วมพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมด้วยกัน ทั้งในส่วนของระบบ 2 จี 900 MHz และ 3 จี 2100 MHz ที่คาดว่าจะทำให้มีรายได้ปีละร่วม 10,000 ล้านบาทหรือกว่าครึ่งของค่าสัมปทานที่เคยได้รับ
เมื่อรัฐบาลปรับเปลี่ยนแผนฟื้นฟูเช่นนี้ย่อมกระทบกับสถานะขององค์กรอย่างหนักและทำให้ต้องพับแผนฟื้นฟูองค์กรเดิมไปในทันที แล้วไปรอลุ้นการบริหารจัดการของบริษัทลูกร่วมทุนที่ว่า สุดท้ายแล้วจะสามารถแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้หรือไม่ จะบริหารทรัพย์สินที่ว่าอย่างไร จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำกลับมาหล่อเลี้ยงองค์กรได้ตามเป้าหมายหรือไม่
ของตายอยู่ในมือไม่เอา มัวไปหวังน้ำบ่อหน้า ระวังมันจะลงเอยแบบ"หมาป่ากับเงา" ชวดหมดดังนิทานอีสปเขาว่าไว้!!!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 12)