รายงานข่าวจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่พนักงานและสหภาพรัฐวิสาหกิจบริษัท ทีโอที และกสทโทรคมนาคม (แคท) ออกโรงคัดค้านนโยบายของรัฐบาล และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ที่จะให้สองบริษัทสื่อสารร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 2 บริษัทที่ประกอบด้วยบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ตจำกัด (NGDC) และบริษัท โครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด(NBN) ว่า ทั้งฝ่ายบริหารและพนักงานของทั้งสององค์กรต่างมีความเห็นตรงกันว่า ยังมองไม่เห็นอนาคตของบริษัทร่วมทุนที่ว่านี้ เนื่องจากไม่ได้แก้ไขปัญหาเรื่องการลดลงทุนซ้ำซ้อนและไม่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เพราะยังต้องปฏิบัติตามระเบียบรัฐวิสาหกิจเช่นเดิม จึงขอให้รัฐบาลทบทวน
ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่จะมีการโอนทรัพย์สินโครงข่ายจากบริษัทแม่ทีโอที และแคท ไปยังบริษัทลูกร่วมทุนที่ตั้งขึ้นทั้งโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ และโครงข่ายระหว่างประเทศ โดยหวังจะให้บริษัทร่วมทุนนำทรัพย์สินออกไปจัดหาประโยชน์ให้บริษัทสื่อสารเอกชนเช่าใช้ ทั้งที่ในข้อเท็จจริงทุกบริษัทสื่อสารต่างมีการลงทุนโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เหล่านี้กันเองหมดแล้ว สุดท้ายก็ไม่พ้นจะต้องเอาโครงข่ายบรอดแบนด์เหล่านี้กลับไปให้บริษัทแม่เช่าใช้ในราคาที่แพงกว่าให้บริการเอง เพราะมีต้นทุนแฝงจากบริษัทร่วมทุนบวกเข้ามา ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้ทั้งทีโอที และแคท ยากจะแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้
นอกจากนี้ การจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนของ 2 รัฐวิสาหกิจที่ต้องมีการโอนย้ายพนักงานและฝ่ายบริหารจากบริษัทแม่เข้ามา โดนต้องสร้างแรงจูงใจพนักงานด้วยการจัดโครงสร้างอัตราเงินเดือนที่ต้องสูงกว่าบริษัทแม่ทีโอทีและแคทเดิมไม่ต่ำกว่า 15-20%นั้น จะยิ่งทำให้ต้นทุนของบริษัทลูกร่วมทุนทั้ง NGDC และ NBN สูงจนยากจะแข่งกับเอกชนได้
"ขนาดของเดิมยังแข่งขันกับเอกชนได้อย่างบากลำบาก หากในอนาคตทั้งทีโอทีและแคท ต้องกลับไปเช่าใช้โครงข่ายสื่อสารจากบริษัทลูกมาให้บริการ จะยิ่งทำให้หนทางที่จะไปแข่งกับเอกชนเป็นไปได้ยากมากขึ้น"
แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยว่า แผนฟื้นฟูกิจการทีโอที และแคทที่ล่าช้านั้นไม่ได้เกิดจากฝ่ายบริหารหรือพนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะความไม่ต่อเนื่องของบอร์ดและการไม่ตัดสินใจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่ไม่เคาะแนวทางที่ทั้งสองหน่วยงานนำเสนอ
ล่าสุด รัฐบาลและกระทรวงการคลังยังเตรียมจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติหรือ "ซูเปอร์โฮลดิ้ง" เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจทั้ง 11 แห่งในฐานะผู้ถือหุ้นโดยจะให้โอนสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจต่างๆ 11 แห่งเข้ามาอยู่ใต้ชายคา โดย 11 รัฐวิสาหกิจที่ต้องโอนหุ้นไปร่วมอยู่ด้วยก็มีทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงยิ่งทำให้เกิดคำถาม แล้วบริษัทลูกร่วมทุน "ทีโอที-แคท" จะอยู่ตรงไหน ล่าสุดสองหน่วยงานจึงมีการขึ้นป้ายประท้วงไม่เอาทั้งบริษัทลูกและบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771410
พนง.ทีโอที-แคท ประท้วงไม่เอาบริษัทลูก-บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่จะมีการโอนทรัพย์สินโครงข่ายจากบริษัทแม่ทีโอที และแคท ไปยังบริษัทลูกร่วมทุนที่ตั้งขึ้นทั้งโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ และโครงข่ายระหว่างประเทศ โดยหวังจะให้บริษัทร่วมทุนนำทรัพย์สินออกไปจัดหาประโยชน์ให้บริษัทสื่อสารเอกชนเช่าใช้ ทั้งที่ในข้อเท็จจริงทุกบริษัทสื่อสารต่างมีการลงทุนโครงข่ายอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เหล่านี้กันเองหมดแล้ว สุดท้ายก็ไม่พ้นจะต้องเอาโครงข่ายบรอดแบนด์เหล่านี้กลับไปให้บริษัทแม่เช่าใช้ในราคาที่แพงกว่าให้บริการเอง เพราะมีต้นทุนแฝงจากบริษัทร่วมทุนบวกเข้ามา ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้ทั้งทีโอที และแคท ยากจะแข่งขันกับบริษัทเอกชนได้
นอกจากนี้ การจัดตั้งบริษัทลูกร่วมทุนของ 2 รัฐวิสาหกิจที่ต้องมีการโอนย้ายพนักงานและฝ่ายบริหารจากบริษัทแม่เข้ามา โดนต้องสร้างแรงจูงใจพนักงานด้วยการจัดโครงสร้างอัตราเงินเดือนที่ต้องสูงกว่าบริษัทแม่ทีโอทีและแคทเดิมไม่ต่ำกว่า 15-20%นั้น จะยิ่งทำให้ต้นทุนของบริษัทลูกร่วมทุนทั้ง NGDC และ NBN สูงจนยากจะแข่งกับเอกชนได้
"ขนาดของเดิมยังแข่งขันกับเอกชนได้อย่างบากลำบาก หากในอนาคตทั้งทีโอทีและแคท ต้องกลับไปเช่าใช้โครงข่ายสื่อสารจากบริษัทลูกมาให้บริการ จะยิ่งทำให้หนทางที่จะไปแข่งกับเอกชนเป็นไปได้ยากมากขึ้น"
แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยว่า แผนฟื้นฟูกิจการทีโอที และแคทที่ล่าช้านั้นไม่ได้เกิดจากฝ่ายบริหารหรือพนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะความไม่ต่อเนื่องของบอร์ดและการไม่ตัดสินใจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่ไม่เคาะแนวทางที่ทั้งสองหน่วยงานนำเสนอ
ล่าสุด รัฐบาลและกระทรวงการคลังยังเตรียมจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติหรือ "ซูเปอร์โฮลดิ้ง" เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจทั้ง 11 แห่งในฐานะผู้ถือหุ้นโดยจะให้โอนสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจต่างๆ 11 แห่งเข้ามาอยู่ใต้ชายคา โดย 11 รัฐวิสาหกิจที่ต้องโอนหุ้นไปร่วมอยู่ด้วยก็มีทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงยิ่งทำให้เกิดคำถาม แล้วบริษัทลูกร่วมทุน "ทีโอที-แคท" จะอยู่ตรงไหน ล่าสุดสองหน่วยงานจึงมีการขึ้นป้ายประท้วงไม่เอาทั้งบริษัทลูกและบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771410