ด้วยว่าเคยไปโฆษณาไว้ในเพจ Iyakoop Society ว่าจะรีวิวและปรากฏว่ามีคนรออ่านเยอะมาก ก็เลยขอเอาลง Pantip แล้วกันนะครับสำหรับรีวิวนิทรรศการอียิปต์โบราณที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฮ่องกงที่ผมไปชมมาเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2560 ที่ผ่านมา ก็ต้องขอเกริ่นเบื้องต้นก่อนว่ารีวิวนี้คงเน้นบรรยากาศมากกว่า ไม่เน้นไปที่ประวัติศาสตร์หรือรายละเอียดของสิ่งของจัดแสดงมากนักนะครับ ก็อยากให้ได้เป็นแนวทางสำหรับใครที่อยากไปชมด้วยตัวเองจะได้ไปซึมซับของจริงได้เต็มที่ ส่วนใครที่อาจจะยังไม่มีโอกาสไปก็ดูรูปประกอบไปพลางๆก่อนนะครับ อันนี้เป็นรีวิวครั้งแรก ถ้ามีอะไรขาดตกบกพร่องก็ต้องขออภัยด้วย ถ้าใครมีข้อแนะนำอย่างไรก็เข้ามาชี้แนะเพิ่มเติมได้นะครับผม
อ้อ และถ้าใครสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับอียิปต์โบราณก็อย่าลืมเข้าไปกด Like กด Share เพจของผมใน Link ด้านล่างนี้ได้นะครับ อิอิ
https://www.facebook.com/IyakoopSociety/
ในส่วนของรายละเอียดของงานนิทรรศการ Eternal Life – Exploring Ancient Egypt ในครั้งนี้หลักๆคือการนำเอามัมมี่อียิปต์โบราณ 6 ร่างจาก British Museum มาจัดแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีในการตรวจสอบมัมมี่สมัยปัจจุบันว่าก้าวหน้าไปอย่างไรบ้างแล้ว เพราะในอดีตการตรวจสอบมัมมี่เป็นวิธีการตรวจแบบ “ทำลาย” คือต้องมีการแกะผ้าพัน ขูดเอาเนื้อเยื่อมาเช็ค ฯลฯ แต่สมัยนี้ใช้วิธีการทำสแกนสามมิติ (CTScan) แค่นั้นผู้เชี่ยวชาญก็สามารถรู้ได้ทันทีว่ามัมมี่ร่างนี้อายุเท่าไร เพศอะไร มีโรคอะไรบ้างหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งก็ทำให้เราเข้าใจชาวอียิปต์โบราณได้ดีขึ้นเยอะเลยครับ แต่ในงานก็ไม่ได้มีเพียงแค่มัมมี่นะครับ เพราะว่ายังมีโบราณวัตถุอีกราว 200 ชิ้นที่นำมาจัดแสดงเอาไว้ด้วยเช่นกัน เป็นโบราณวัตถุที่นำมาเสริมองค์ความรู้ด้านอียิปต์โบราณได้สมบูรณ์แบบเป็นอย่างมาก แต่จะสมบูรณ์อย่างไร เดี๋ยวติดตามต่อไปในรีวิวแล้วกันนะครับ
จริงๆแล้วรายละเอียดทั้งหมดของงานสามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บนี้นะครับ
http://hk.science.museum/ms/el2017/eindex.html
แต่คร่าวๆก็คืองานจะจัดถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เท่านั้นนะครับ สำหรับค่าเข้าชม ถ้าไม่ใช่วันพุธ ราคา $30 (ฮ่องกง) แต่ถ้าวันพุธลดเหลือ $10 ครับผม (อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 4.4฿ ต่อ $1)
สถานที่คือ Hong Kong Science Museum ครับ (หาด้วยคำนี้ใน Google map เจอง่ายๆเลยครับ) ดังนั้นใครที่อยากหาที่พักใกล้ๆก็คือพยายามหาที่ Tsim Sha Tsui นะครับ ผมเองก็ใช้วิธีเดินเท้าจากสถานี MTR Tsim Sha Tsui ไปที่ Hong Kong Science Museum เดินไม่ไกลมาก ได้ชมวิวไปในตัวด้วยครับผม
จริงๆแล้วผมก็ไม่ใช่เซียนฮ่องกงนะครับ แต่ไปฮ่องกงครั้งนี้เพราะอยากไปนิทรรศการนี้จริงๆ (บ้าดีไหมล่ะ?) ดังนั้นขอรีวิวตั้งแต่ไปถึงงานก็แล้วกันนะครับ เพราะถ้าให้รีวิวอย่างอื่นก็รีวิวไม่ถูกเหมือนกันครับ 555+
Hong Kong Science Museum ในช่วงนี้ด้านนอกตกแต่งเป็นลายอียิปต์ ทำเหมือนเสาหินสีน้ำตาล สลักลวดลายฟาโรห์บ้าง เทพเจ้าบ้าง ดูสวยงามดีครับ (แต่ผมว่าก็ยังทำสวยไม่สุดนะ) สถานที่ซื้อตั๋วอยู่ชั้นสอง มีขั้นบันไดที่ขนาบทั้งสองข้างด้วยสฟิงซ์หัวแกะ ทำสวยงามดีครับผม ตรงนี้ก็เหมาะกับการถ่ายรูปเหมือนกัน ขึ้นไปด้านบนก็จะมีการตกแต่งคล้ายประตูวิหารอียิปต์โบราณ มีภาพสลักและโปสเตอร์งาน ด้านในเข้าไปก็จะเจอกับช่องขายตั๋วทางซ้ายมือ เดินเข้าไปซื้อได้เลยครับ ราคาตามที่แจ้งไว้ด้านบน จะได้ตั๋วมา 1 ใบ ให้เจ้าหน้าที่ข้างๆทำพิธีฉีกก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เดินผ่านประตูเข้ามาเจอบันได เดินลงไปก็เริ่มเข้าสู่นิทรรศการแล้วครับ ภายในงานถ่ายรูปได้นะครับ แค่ห้ามใช้แฟลชเท่านั้นเอง
บันไดที่ขนาบข้างด้วยสฟิงซ์ อันนี้ผมไม่ได้ถ่ายเองนะครับ ตอนผมถ่ายคนเยอะมาก อันนี้นำภาพของพี่ Virat ที่ไปชมงานมาก่อนมาโชว์ครับ สวยดี
ส่วนนี่คือช่องขายตั๋วครับ
บริเวณทางเข้ามีหนังสือประกอบนิทรรศการแจก ก็อย่าลืมหยิบมาคนละ 1 เล่มนะครับ ด้านในมีแผนผังของงานว่าห้องจัดแสดงเป็นยังไง มีภาพของโบราณวัตถุเด่นๆและตำแหน่งว่าของชิ้นไหนวางอยู่ในห้องไหนบ้าง มีมัมมี่เด่นๆร่างไหนบ้าง วางอยู่ในห้องใดบ้าง ก็เอามาดูเป็นแนวทางในการเดินชมได้ครับ
เมื่อลงบันไดมาแล้วก็จะเจอกับทางเดินยาวที่ประดับไฟสวยงามเป็นภาพเทพเจ้าอียิปต์โบราณ ตรงนี้ก็ถ่ายภาพได้สวยเหมือนกันครับ แต่อาจจะหาจังหวะถ่ายยากหน่อย เพราะคนเดินเข้ามาตลอดเวลา คนเยอะมาก กว่าจะหาจังหวะแชะภาพนี้ได้ก็รอนานเหมือนกันครับ
สุดทางเดินมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้านิทรรศการและเลี้ยวขวาไปเล่น Puzzle Game เดี๋ยว Puzzle Game ค่อยแยกออกมาว่ากันทีหลังนะครับ อันนี้ขอพูดถึงตัวนิทรรศการก่อน
จากแผนผังในหนังสือที่แจกมาจะพบว่าห้องแรกคือ Multimedia Zone ครับ ตรงนี้มีที่ให้นั่งฟังและดูภาพยนตร์กึ่งสารคดี Animation สั้นๆเกี่ยวกับการเดินทางหลังความตาย ฉายเป็นภาษาจีนสลับกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นถ้าเดินเข้าไปแล้วเจอภาษาช้งเช้ง ล้งเล้ง ก็ยังไม่ต้องตกใจนะครับ ยืนเมาอยู่สักพักให้รอบนี้จบ แล้วรอบภาษาอังกฤษก็จะฉายตามมาเองครับ ตัวสารคดีก็เกี่ยวข้องกับการเดินทางหลังความตาย ตั้งแต่การทำมัมมี่แล้ววิญญาณต้องลงไปยังปรโลก ผ่านห้องตัดสินของเทพเจ้าโอซิริส การชั่งน้ำหนักหัวใจ และการเดินทางไปยังสวรรค์หรือ Field of Iaru (ทุ่งต้นกก) ซึ่งก็เป็น Animation สั้นๆที่ทำได้ดีทีเดียว ถ้าใครเคยเข้าไปชม Special Exhibition ของ British Museum อาจจะรู้สึกว่ามันคล้ายๆกัน ผมเองก็คิดว่าเหมือนกันมาก คงพยายามจัดให้ได้รูปแบบเหมือนต้นฉบับที่อังกฤษแหละครับ คือภายในงานทุกห้องจะมืดๆ แล้วใช้การส่องไฟไปที่โบราณวัตถุชิ้นต่างๆ ทำให้ดูขลังและได้บรรยากาศมากเลยครับ
มัมมี่ทั้ง 6 ร่างมีดังนี้ครับ
ห้องถัดไปจาก Multimedia Zone ก็เริ่มเข้าสู่บรรยากาศของนิทรรศการและการจัดแสดงแล้วครับ ห้องแรกเป็นห้องของมัมมี่ชื่อ Nestawedjat เป็นมัมมี่เพศหญิง (ที่ในอดีตเคยเชื่อกันว่าเป็นเพศชายจนนำมาทำสแกนสามมิติเลยรู้ว่าเข้าใจผิดมาตลอด) อายุประมาณ 35 – 49 ปี สมัยรอยต่อระยะที่ 3 ราชวงศ์ที่ 25 ประมาณ 700 – 680 ปีก่อนคริสตกาล ในห้องจัดแสดงมีโลงศพอยู่สามโลงด้วยกัน เป็นโลงแบบซ้อนๆกันสามชั้น เหมือนของฟาโรห์ Tutankhamen แหละครับ (จริงๆแล้วโลงศพอียิปต์โบราณทำซ้อนๆกันแบบนี้อยู่แล้ว) ในห้องแรกก็จัดแสดงโลงทั้งสามโลงและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการทำมัมมี่ เช่นภาพสลักเทพเจ้า Anubis ในร่างของหมาในกำลังทำมัมมี่ รวมทั้งโถคาโนปิกและโมเดลเรือที่ใช้ในการขนมัมมี่ ในส่วนของรายละเอียดเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดีขอไม่อธิบายมากนะครับ เพราะเดี๋ยวจะยาว 555+ เอาเป็นว่าห้องแรกเป็นของ Nestawedjat ส่วนโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงก็จะเกี่ยวข้องกับการทำมัมมี่เป็นหลักครับ
ก่อนจะไปห้องถัดไปขอเผยไต๋นิดนึงว่า นิทรรศการนี้ทำดีมากๆตรงที่โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในห้องหนึ่งๆจะเกี่ยวกับมัมมี่ที่จัดแสดงอยู่ในห้องนั้นด้วย เช่นห้องมัมมี่ของนักร้องหญิงในวิหาร ก็จะมีโบราณวัตถุประเภทเครื่องดนตรีมาจัดแสดง หรือห้องมัมมี่เด็ก ก็จะมีพวกของเล่นหรือเสื้อเด็กมาจัดแสดงไว้ให้เข้ากัน เป็นการนำเสนอที่ถือได้ว่ากลมกลืนอย่างลงตัวเลยก็ว่าได้ครับ
ห้องต่อไปเป็นห้องจัดแสดงมัมมี่ชื่อ Tamut เป็นมัมมี่สตรีอายุประมาณ 35 – 49 ปี ยุคราชวงศ์ที่ 22 เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสตกาล ในห้องจัดแสดงมีโลงศพของ Tamut ที่ตกแต่งด้วยลวดลายงดงาม สีสดมากครับ ส่วนโบราณวัตถุในห้องนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกเครื่องรางชนิดต่างๆ และรูปสลักเทพเจ้าโอซิริส ซึ่งเป็นราชันแห่งโลกหลังความตาย
ห้องถัดไปเป็นมัมมี่หนุ่มบ้างครับ ชื่อว่า Irthorru มัมมี่ร่างนี้มีอายุประมาณ 35 – 49 ปีเช่นกัน ยุคราชวงศ์ที่ 26 เมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล Irthorru เป็น “นักบวช” แห่งเทพเจ้าหลายองค์เลยครับทั้ง Min, Horus, Isis เยอะมาก สมัยยังมีชีวิตคงจะต้องงานล้นมือแน่ๆ ดังนั้นห้องจัดแสดงนี้จึงมีโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับ “นักบวช” เป็นหลัก เช่นรูปสลักของนักบวชหรือคัมภีร์มรณะที่นักบวชจะใช้อ่านเพื่อร่ายคาถาระหว่างทำพิธีศพ ไปจนถึงเครื่องบรรณาการชนิดต่างๆ เช่นอาหารและไวน์ รูปโมเดลชาวอียิปต์กำลังเชือดวัว ซึ่งก็ทำให้เราได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอียิปต์โบราณได้ดีทีเดียว
มัมมี่ในห้องต่อไปเป็นมัมมี่ไม่ทราบชื่อ เราเลยเรียกกันง่ายๆว่า A Temple Singer ครับ อายุ 35- 49 ปี ยุคราชวงศ์ที่ 26 เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล โบราณวัตถุที่จัดแสดงในห้องนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรี มีทั้งพิณโบราณและเครื่องดนตรีชื่อ Sistrum ที่ใช้เขย่าระหว่างพิธีกรรม ไปจนถึงเครื่องประดับของนักร้องและเทพเจ้า Bes ในร่างของคนแคระกำลังถือเครื่องดนตรีคล้ายแทมบูรีนอยู่ด้วย
แถมภาพบรรยากาศในงานให้ชมครับ คนเยอะมาก มันจะมืดๆและถ่ายภาพยากหน่อย ผมเองก็เอามือถือถ่ายง่ายๆมาเลยเบลอแบบที่เห็นนี่แหละ 555+
มัมมี่ร่างที่ห้าเป็นมัมมี่เด็ก A Young Child อายุน่าจะประมาณ 2 ขวบ บวกลบไม่เกิน 9 เดือน จากยุคโรมันประมาณ ค.ศ. 40 – 60 ค่อนข้างใหม่กว่ามัมมี่สี่ร่างแรกพอสมควร มัมมี่ตกแต่งด้วยทองคำ และลวดลายแบบกรีก-โรมัน แค่มองแวบเดียวก็พอมองออกแล้วครับว่าโรมันแน่ๆ ลวดลายแบบจีบบนผ้าคลุมมาเต็มมากๆ สิ่งของที่จัดแสดงก็จะเกี่ยวข้องกับเด็กเป็นหลักเช่นของเล่น เกมกระดาน เสื้อผ้า รองเท้าสำหรับเด็ก ทุกๆท่านก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับเด็กและโลกหลังความตายของเด็กอียิปต์โบราณได้จากห้องนี้ล่ะครับ
ส่วนอันนี้คือเกมกระดานที่เรียกว่า Game of 20 Squares ที่เมโสโปเตเมียอย่างเช่นในนครหลวง Ur ก็มีการค้นพบเกมลักษณะนี้เช่นกันครับ
ห้องสุดท้าย มัมมี่ร่างที่หกเป็นมัมมี่ชายหนุ่มนิรนาม A Young Man อายุประมาณ 17 – 20 ปี ยุคโรมัน ประมาณปี ค.ศ. 140 – 180 ถือเป็นมัมมี่ที่ใหม่ที่สุดในงานนิทรรศการนี้ รูปแบบมัมมี่มีการวาดภาพเหมือนเอาไว้ด้วย (แต่เหมือนหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ แต่ไม่ว่าใครก็อยากให้ตัวเองดูดีอยู่แล้วอ่ะเนอะ) เป็นรูปแบบการทำมัมมี่แบบโรมันครับ ที่น่าสนใจคือมัมมี่ร่างนี้ไม่มีการนำเครื่องในออก แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องของการทำมัมมี่ในสมัยโรมันนั้นแตกต่างจากอียิปต์โบราณแท้เยอะมากครับ พวกเขาเพียงแค่ทำมัมมี่ตามความนิยม ไม่ได้ทำเพื่อการเดินทางไปยังโลกหน้าแบบชาวอียิปต์โบราณแท้ นอกจากนั้นยังมีการดามไม้เอาไว้ด้านหลังมัมมี่ด้วยเช่นกัน เป็นเอกลักษณ์ของมัมมี่ยุคกรีก-โรมันเลยก็ว่าได้ โบราณวัตถุในห้องนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับกรีก-โรมันซะเยอะ เช่นพวกหน้ากากพิธีศพ รูปสลักต่างๆ และไม้ที่ใช้ดามหลังมัมมี่ก็มีแสดงเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ส่วนโบราณวัตถุชิ้นนี้คือไม้ที่บอกว่าใช้ดามหลังมัมมี่ครับ
เดี๋ยวมาต่อใน คห. ล่างนะครับ เพราะว่าโควต้า 10,000 ตัวใกล้จะเต็มแล้ว
[CR] พาตะลุยนิทรรศการอียิปต์โบราณที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฮ่องกง
อ้อ และถ้าใครสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับอียิปต์โบราณก็อย่าลืมเข้าไปกด Like กด Share เพจของผมใน Link ด้านล่างนี้ได้นะครับ อิอิ
https://www.facebook.com/IyakoopSociety/
ในส่วนของรายละเอียดของงานนิทรรศการ Eternal Life – Exploring Ancient Egypt ในครั้งนี้หลักๆคือการนำเอามัมมี่อียิปต์โบราณ 6 ร่างจาก British Museum มาจัดแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีในการตรวจสอบมัมมี่สมัยปัจจุบันว่าก้าวหน้าไปอย่างไรบ้างแล้ว เพราะในอดีตการตรวจสอบมัมมี่เป็นวิธีการตรวจแบบ “ทำลาย” คือต้องมีการแกะผ้าพัน ขูดเอาเนื้อเยื่อมาเช็ค ฯลฯ แต่สมัยนี้ใช้วิธีการทำสแกนสามมิติ (CTScan) แค่นั้นผู้เชี่ยวชาญก็สามารถรู้ได้ทันทีว่ามัมมี่ร่างนี้อายุเท่าไร เพศอะไร มีโรคอะไรบ้างหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งก็ทำให้เราเข้าใจชาวอียิปต์โบราณได้ดีขึ้นเยอะเลยครับ แต่ในงานก็ไม่ได้มีเพียงแค่มัมมี่นะครับ เพราะว่ายังมีโบราณวัตถุอีกราว 200 ชิ้นที่นำมาจัดแสดงเอาไว้ด้วยเช่นกัน เป็นโบราณวัตถุที่นำมาเสริมองค์ความรู้ด้านอียิปต์โบราณได้สมบูรณ์แบบเป็นอย่างมาก แต่จะสมบูรณ์อย่างไร เดี๋ยวติดตามต่อไปในรีวิวแล้วกันนะครับ
จริงๆแล้วรายละเอียดทั้งหมดของงานสามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บนี้นะครับ
http://hk.science.museum/ms/el2017/eindex.html
แต่คร่าวๆก็คืองานจะจัดถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เท่านั้นนะครับ สำหรับค่าเข้าชม ถ้าไม่ใช่วันพุธ ราคา $30 (ฮ่องกง) แต่ถ้าวันพุธลดเหลือ $10 ครับผม (อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 4.4฿ ต่อ $1)
สถานที่คือ Hong Kong Science Museum ครับ (หาด้วยคำนี้ใน Google map เจอง่ายๆเลยครับ) ดังนั้นใครที่อยากหาที่พักใกล้ๆก็คือพยายามหาที่ Tsim Sha Tsui นะครับ ผมเองก็ใช้วิธีเดินเท้าจากสถานี MTR Tsim Sha Tsui ไปที่ Hong Kong Science Museum เดินไม่ไกลมาก ได้ชมวิวไปในตัวด้วยครับผม
จริงๆแล้วผมก็ไม่ใช่เซียนฮ่องกงนะครับ แต่ไปฮ่องกงครั้งนี้เพราะอยากไปนิทรรศการนี้จริงๆ (บ้าดีไหมล่ะ?) ดังนั้นขอรีวิวตั้งแต่ไปถึงงานก็แล้วกันนะครับ เพราะถ้าให้รีวิวอย่างอื่นก็รีวิวไม่ถูกเหมือนกันครับ 555+
Hong Kong Science Museum ในช่วงนี้ด้านนอกตกแต่งเป็นลายอียิปต์ ทำเหมือนเสาหินสีน้ำตาล สลักลวดลายฟาโรห์บ้าง เทพเจ้าบ้าง ดูสวยงามดีครับ (แต่ผมว่าก็ยังทำสวยไม่สุดนะ) สถานที่ซื้อตั๋วอยู่ชั้นสอง มีขั้นบันไดที่ขนาบทั้งสองข้างด้วยสฟิงซ์หัวแกะ ทำสวยงามดีครับผม ตรงนี้ก็เหมาะกับการถ่ายรูปเหมือนกัน ขึ้นไปด้านบนก็จะมีการตกแต่งคล้ายประตูวิหารอียิปต์โบราณ มีภาพสลักและโปสเตอร์งาน ด้านในเข้าไปก็จะเจอกับช่องขายตั๋วทางซ้ายมือ เดินเข้าไปซื้อได้เลยครับ ราคาตามที่แจ้งไว้ด้านบน จะได้ตั๋วมา 1 ใบ ให้เจ้าหน้าที่ข้างๆทำพิธีฉีกก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เดินผ่านประตูเข้ามาเจอบันได เดินลงไปก็เริ่มเข้าสู่นิทรรศการแล้วครับ ภายในงานถ่ายรูปได้นะครับ แค่ห้ามใช้แฟลชเท่านั้นเอง
บันไดที่ขนาบข้างด้วยสฟิงซ์ อันนี้ผมไม่ได้ถ่ายเองนะครับ ตอนผมถ่ายคนเยอะมาก อันนี้นำภาพของพี่ Virat ที่ไปชมงานมาก่อนมาโชว์ครับ สวยดี
ส่วนนี่คือช่องขายตั๋วครับ
บริเวณทางเข้ามีหนังสือประกอบนิทรรศการแจก ก็อย่าลืมหยิบมาคนละ 1 เล่มนะครับ ด้านในมีแผนผังของงานว่าห้องจัดแสดงเป็นยังไง มีภาพของโบราณวัตถุเด่นๆและตำแหน่งว่าของชิ้นไหนวางอยู่ในห้องไหนบ้าง มีมัมมี่เด่นๆร่างไหนบ้าง วางอยู่ในห้องใดบ้าง ก็เอามาดูเป็นแนวทางในการเดินชมได้ครับ
เมื่อลงบันไดมาแล้วก็จะเจอกับทางเดินยาวที่ประดับไฟสวยงามเป็นภาพเทพเจ้าอียิปต์โบราณ ตรงนี้ก็ถ่ายภาพได้สวยเหมือนกันครับ แต่อาจจะหาจังหวะถ่ายยากหน่อย เพราะคนเดินเข้ามาตลอดเวลา คนเยอะมาก กว่าจะหาจังหวะแชะภาพนี้ได้ก็รอนานเหมือนกันครับ
สุดทางเดินมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้านิทรรศการและเลี้ยวขวาไปเล่น Puzzle Game เดี๋ยว Puzzle Game ค่อยแยกออกมาว่ากันทีหลังนะครับ อันนี้ขอพูดถึงตัวนิทรรศการก่อน
จากแผนผังในหนังสือที่แจกมาจะพบว่าห้องแรกคือ Multimedia Zone ครับ ตรงนี้มีที่ให้นั่งฟังและดูภาพยนตร์กึ่งสารคดี Animation สั้นๆเกี่ยวกับการเดินทางหลังความตาย ฉายเป็นภาษาจีนสลับกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นถ้าเดินเข้าไปแล้วเจอภาษาช้งเช้ง ล้งเล้ง ก็ยังไม่ต้องตกใจนะครับ ยืนเมาอยู่สักพักให้รอบนี้จบ แล้วรอบภาษาอังกฤษก็จะฉายตามมาเองครับ ตัวสารคดีก็เกี่ยวข้องกับการเดินทางหลังความตาย ตั้งแต่การทำมัมมี่แล้ววิญญาณต้องลงไปยังปรโลก ผ่านห้องตัดสินของเทพเจ้าโอซิริส การชั่งน้ำหนักหัวใจ และการเดินทางไปยังสวรรค์หรือ Field of Iaru (ทุ่งต้นกก) ซึ่งก็เป็น Animation สั้นๆที่ทำได้ดีทีเดียว ถ้าใครเคยเข้าไปชม Special Exhibition ของ British Museum อาจจะรู้สึกว่ามันคล้ายๆกัน ผมเองก็คิดว่าเหมือนกันมาก คงพยายามจัดให้ได้รูปแบบเหมือนต้นฉบับที่อังกฤษแหละครับ คือภายในงานทุกห้องจะมืดๆ แล้วใช้การส่องไฟไปที่โบราณวัตถุชิ้นต่างๆ ทำให้ดูขลังและได้บรรยากาศมากเลยครับ
มัมมี่ทั้ง 6 ร่างมีดังนี้ครับ
ห้องถัดไปจาก Multimedia Zone ก็เริ่มเข้าสู่บรรยากาศของนิทรรศการและการจัดแสดงแล้วครับ ห้องแรกเป็นห้องของมัมมี่ชื่อ Nestawedjat เป็นมัมมี่เพศหญิง (ที่ในอดีตเคยเชื่อกันว่าเป็นเพศชายจนนำมาทำสแกนสามมิติเลยรู้ว่าเข้าใจผิดมาตลอด) อายุประมาณ 35 – 49 ปี สมัยรอยต่อระยะที่ 3 ราชวงศ์ที่ 25 ประมาณ 700 – 680 ปีก่อนคริสตกาล ในห้องจัดแสดงมีโลงศพอยู่สามโลงด้วยกัน เป็นโลงแบบซ้อนๆกันสามชั้น เหมือนของฟาโรห์ Tutankhamen แหละครับ (จริงๆแล้วโลงศพอียิปต์โบราณทำซ้อนๆกันแบบนี้อยู่แล้ว) ในห้องแรกก็จัดแสดงโลงทั้งสามโลงและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการทำมัมมี่ เช่นภาพสลักเทพเจ้า Anubis ในร่างของหมาในกำลังทำมัมมี่ รวมทั้งโถคาโนปิกและโมเดลเรือที่ใช้ในการขนมัมมี่ ในส่วนของรายละเอียดเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดีขอไม่อธิบายมากนะครับ เพราะเดี๋ยวจะยาว 555+ เอาเป็นว่าห้องแรกเป็นของ Nestawedjat ส่วนโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงก็จะเกี่ยวข้องกับการทำมัมมี่เป็นหลักครับ
ก่อนจะไปห้องถัดไปขอเผยไต๋นิดนึงว่า นิทรรศการนี้ทำดีมากๆตรงที่โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในห้องหนึ่งๆจะเกี่ยวกับมัมมี่ที่จัดแสดงอยู่ในห้องนั้นด้วย เช่นห้องมัมมี่ของนักร้องหญิงในวิหาร ก็จะมีโบราณวัตถุประเภทเครื่องดนตรีมาจัดแสดง หรือห้องมัมมี่เด็ก ก็จะมีพวกของเล่นหรือเสื้อเด็กมาจัดแสดงไว้ให้เข้ากัน เป็นการนำเสนอที่ถือได้ว่ากลมกลืนอย่างลงตัวเลยก็ว่าได้ครับ
ห้องต่อไปเป็นห้องจัดแสดงมัมมี่ชื่อ Tamut เป็นมัมมี่สตรีอายุประมาณ 35 – 49 ปี ยุคราชวงศ์ที่ 22 เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสตกาล ในห้องจัดแสดงมีโลงศพของ Tamut ที่ตกแต่งด้วยลวดลายงดงาม สีสดมากครับ ส่วนโบราณวัตถุในห้องนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกเครื่องรางชนิดต่างๆ และรูปสลักเทพเจ้าโอซิริส ซึ่งเป็นราชันแห่งโลกหลังความตาย
ห้องถัดไปเป็นมัมมี่หนุ่มบ้างครับ ชื่อว่า Irthorru มัมมี่ร่างนี้มีอายุประมาณ 35 – 49 ปีเช่นกัน ยุคราชวงศ์ที่ 26 เมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล Irthorru เป็น “นักบวช” แห่งเทพเจ้าหลายองค์เลยครับทั้ง Min, Horus, Isis เยอะมาก สมัยยังมีชีวิตคงจะต้องงานล้นมือแน่ๆ ดังนั้นห้องจัดแสดงนี้จึงมีโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับ “นักบวช” เป็นหลัก เช่นรูปสลักของนักบวชหรือคัมภีร์มรณะที่นักบวชจะใช้อ่านเพื่อร่ายคาถาระหว่างทำพิธีศพ ไปจนถึงเครื่องบรรณาการชนิดต่างๆ เช่นอาหารและไวน์ รูปโมเดลชาวอียิปต์กำลังเชือดวัว ซึ่งก็ทำให้เราได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอียิปต์โบราณได้ดีทีเดียว
มัมมี่ในห้องต่อไปเป็นมัมมี่ไม่ทราบชื่อ เราเลยเรียกกันง่ายๆว่า A Temple Singer ครับ อายุ 35- 49 ปี ยุคราชวงศ์ที่ 26 เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล โบราณวัตถุที่จัดแสดงในห้องนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรี มีทั้งพิณโบราณและเครื่องดนตรีชื่อ Sistrum ที่ใช้เขย่าระหว่างพิธีกรรม ไปจนถึงเครื่องประดับของนักร้องและเทพเจ้า Bes ในร่างของคนแคระกำลังถือเครื่องดนตรีคล้ายแทมบูรีนอยู่ด้วย
แถมภาพบรรยากาศในงานให้ชมครับ คนเยอะมาก มันจะมืดๆและถ่ายภาพยากหน่อย ผมเองก็เอามือถือถ่ายง่ายๆมาเลยเบลอแบบที่เห็นนี่แหละ 555+
มัมมี่ร่างที่ห้าเป็นมัมมี่เด็ก A Young Child อายุน่าจะประมาณ 2 ขวบ บวกลบไม่เกิน 9 เดือน จากยุคโรมันประมาณ ค.ศ. 40 – 60 ค่อนข้างใหม่กว่ามัมมี่สี่ร่างแรกพอสมควร มัมมี่ตกแต่งด้วยทองคำ และลวดลายแบบกรีก-โรมัน แค่มองแวบเดียวก็พอมองออกแล้วครับว่าโรมันแน่ๆ ลวดลายแบบจีบบนผ้าคลุมมาเต็มมากๆ สิ่งของที่จัดแสดงก็จะเกี่ยวข้องกับเด็กเป็นหลักเช่นของเล่น เกมกระดาน เสื้อผ้า รองเท้าสำหรับเด็ก ทุกๆท่านก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับเด็กและโลกหลังความตายของเด็กอียิปต์โบราณได้จากห้องนี้ล่ะครับ
ส่วนอันนี้คือเกมกระดานที่เรียกว่า Game of 20 Squares ที่เมโสโปเตเมียอย่างเช่นในนครหลวง Ur ก็มีการค้นพบเกมลักษณะนี้เช่นกันครับ
ห้องสุดท้าย มัมมี่ร่างที่หกเป็นมัมมี่ชายหนุ่มนิรนาม A Young Man อายุประมาณ 17 – 20 ปี ยุคโรมัน ประมาณปี ค.ศ. 140 – 180 ถือเป็นมัมมี่ที่ใหม่ที่สุดในงานนิทรรศการนี้ รูปแบบมัมมี่มีการวาดภาพเหมือนเอาไว้ด้วย (แต่เหมือนหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ แต่ไม่ว่าใครก็อยากให้ตัวเองดูดีอยู่แล้วอ่ะเนอะ) เป็นรูปแบบการทำมัมมี่แบบโรมันครับ ที่น่าสนใจคือมัมมี่ร่างนี้ไม่มีการนำเครื่องในออก แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องของการทำมัมมี่ในสมัยโรมันนั้นแตกต่างจากอียิปต์โบราณแท้เยอะมากครับ พวกเขาเพียงแค่ทำมัมมี่ตามความนิยม ไม่ได้ทำเพื่อการเดินทางไปยังโลกหน้าแบบชาวอียิปต์โบราณแท้ นอกจากนั้นยังมีการดามไม้เอาไว้ด้านหลังมัมมี่ด้วยเช่นกัน เป็นเอกลักษณ์ของมัมมี่ยุคกรีก-โรมันเลยก็ว่าได้ โบราณวัตถุในห้องนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับกรีก-โรมันซะเยอะ เช่นพวกหน้ากากพิธีศพ รูปสลักต่างๆ และไม้ที่ใช้ดามหลังมัมมี่ก็มีแสดงเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ส่วนโบราณวัตถุชิ้นนี้คือไม้ที่บอกว่าใช้ดามหลังมัมมี่ครับ
เดี๋ยวมาต่อใน คห. ล่างนะครับ เพราะว่าโควต้า 10,000 ตัวใกล้จะเต็มแล้ว
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น