ผู้เขียน วีรพงษ์ รามางกูร
เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังของปีนี้ก็เป็นสภาวการณ์ที่มีลักษณะต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรก สาเหตุสำคัญก็คือภาวะการส่งออกสินค้าและบริการยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัว เมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่ผ่านมาจากปีที่แล้วต่อมาจนถึงครึ่งแรกของปีนี้
แม้ว่าราคาน้ำมันและพลังงานอย่างอื่นจะทรงตัว แต่ก็ไม่ทำให้ราคาสินค้าจากภาคเกษตรของเราฟื้นตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอื่นๆ การที่สินค้าประเภทโภคภัณฑ์เกือบทุกชนิดไม่ฟื้นตัว ภาวะล้นตลาดของน้ำมันดิบก็ยังจะคงดำรงอยู่ต่อไปตลอดทั้งปี 2560 ที่จะถึงนี้
การที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกายังชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพราะแม้ว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกายังอยู่ในอัตราที่ต่ำ แต่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาก็ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำด้วย เนื่องจากราคาพลังงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำต่อไป ต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบจากพื้นดินใต้พิภพลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์อย่างนี้เป็นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ค่อนข้างแปลก
อุตสาหกรรมที่จะถูกกระทบอย่างหนักก็คือ อุตสาหกรรมทดแทนพลังงานจากน้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ที่เคยคาดการณ์กันว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตพลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงแดด ลม และพลังงานชีวภาพ จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะต้นทุนของวัสดุที่จะนำมาผลิตพลังงานจากแสงแดดจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับต้นทุนของการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน
การที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่า เขาเองไม่เชื่อ “ทฤษฎีโลกร้อน” อย่างที่ยุโรปเชื่อกัน และจะสนับสนุนอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาให้หันกลับมาใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลมากขึ้น และเตรียมจะถอนตัวออกจากการเจรจาข้อตกลงปารีสว่าด้วยเรื่องโลกร้อน ทำให้เกิดข้อกังขาเหมือนกันว่า “ทฤษฎีโลกร้อน” มีความเป็นจริงแค่ไหน จะเชื่อใครดี มาครงหรือทรัมป์
หลายเรื่องที่เป็นกระแสนำโดยอเมริกาและยุโรป บางทีก็เกิดขึ้นจากการปั้นน้ำเป็นตัว ปลุกกระแสให้ใหญ่โตให้กลายเป็นเรื่องระดับโลก ซึ่งเราเองก็ได้ผ่านมาแล้ว เช่น กระแสที่สร้างความตระหนกเมื่อจะถึงปี ค.ศ.2000 เรื่อง Y2K ที่ลือกันว่าเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไก รถไฟ เครื่องบิน เรือเดินสมุทร ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชิ้นส่วนที่มีผลกับตัวเลข ค.ศ. 2 ตัวสุดท้ายเป็น 00 เมื่อมาถึงปี ค.ศ.2000 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรจะอ่านตัวเลข 00 ไม่ออกว่าเป็นปี 1900 หรือปี 2000 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนโลกจะต้องเปลี่ยนซอฟต์แวร์เป็นราคาหลายแสนล้านดอลลาร์หมดทั้งโลก
คนที่เชื่อก็ยอมเสียเงินเสียทองมากมายเปลี่ยนซอฟต์แวร์ ซึ่งก็เป็นของบริษัทอเมริกันทั้งนั้น บริษัทก็ไม่เชื่อหรือเชื่อก็ไม่มีเงินซื้อซอฟต์แวร์ใหม่ก็มีมาก เมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2000 มาถึง ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร เป็นการสร้างเรื่องต้มตุ๋นทั่วโลก “ทฤษฎีโลกร้อน” อาจจะเป็นเรื่องอย่างเดียวกับเรื่อง Y2K ก็ได้
บัดนี้ มีสารคดีทางโทรทัศน์ที่พยายามจะพิสูจน์ทฤษฎีโลกร้อนให้เห็นอยู่เสมอ เช่น การละลายของชั้นน้ำแข็งขั้วโลก ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพราะปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกน้อยลง การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศฤดูกาล ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมโลกก็ได้เปลี่ยนไปมาก การขยายตัวของชุมชน การขยายตัวของเมือง การใช้พลังงาน การพัฒนาของพืชพันธุ์ การขยายตัวของพื้นที่การเกษตร การลดลงของป่าธรรมชาติที่หมดไปในเขตหนาว ซึ่งต้นไม้โตช้ากว่าในเขตอบอุ่นและเขตร้อน การสูญพันธุ์ของสัตว์ของพืชซึ่งเป็นไปตามวิถีตามธรรมชาติไม่ว่าโลกจะร้อนหรือไม่ เป็นของธรรมดา
แต่ดูเหมือนกระแสที่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะเรือนกระจก จะมาแรงกว่าฝ่ายที่ไม่เชื่อ เหมือนกับสมัยหนึ่งคนเชื่อว่า “โลกแบน” มากกว่าคนเชื่อ “โลกกลม” นักอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาก็ประกาศว่าเขาจะดำเนินการตามมาตรการป้องกันโลกร้อนต่อไป และไม่เชื่อประธานาธิบดีของตนเอง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวทางของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะหันกลับมาสร้างความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐอเมริกา โดยหันกลับมาใช้พลังงานราคาถูก ให้ยุโรปและจีนใช้พลังงานราคาแพงที่สะอาดต่อไป ซึ่งความจริงจีนก็ยังไม่ได้เริ่มมาตรการของตนเลย ดังนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะรักษาความสามารถในการแข่งขันของเขาจะเป็นอย่างไร คงต้องเฝ้าดูต่อไป ด้วยเหตุนี้ราคาน้ำมันและราคาพลังงานก็คงขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับที่ต่ำต่อไป จีนอาจจะทำเป็นเชื่อ “ทฤษฎีโลกร้อน” แต่ให้คนอื่นทำแล้วตัวเองยังไม่ทำก็เป็นได้
เมื่อราคาน้ำมันและราคาพลังงานยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นประเภทน้ำมัน เช่น น้ำมันปาล์ม ยางพารา ราคาธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด รวมทั้งที่อาจจะเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ก็คงจะอยู่ในระดับต่ำต่อไป เมื่อสินค้าเกษตรเหล่านี้ยังอยู่ในระดับต่ำรายได้ของเกษตรกรก็จะยังไม่ฟื้น หนี้สินของครัวเรือนต่อรายได้ก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อสัดส่วนหนี้สินของครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มขึ้น ดัชนีความมั่นใจก็จะต่ำลง เมื่อดัชนีความมั่นใจยังอยู่ในระดับต่ำ หรืออาจจะต่ำลงด้วยซ้ำ การบริโภคของครัวเรือนก็คงจะลดลง เมื่อการบริโภคของครัวเรือนลดลง ความต้องการซื้อสินค้าจากภาคอุตสาหกรรมก็คงจะลดลง ความบริโภคของครัวเรือนจึงไม่อาจจะชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกได้
เมื่อการส่งออกชะลอตัวการบริโภคภายในประเทศหดตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นว่ารายได้ในอนาคตจะไม่หดตัว หรือไม่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับการชำระหนี้ให้สถาบันการเงินในภาคชนบท เช่น หนี้จาก ธ.ก.ส. หนี้จากกองทุนหมู่บ้าน และอื่นๆ การชะลอตัวของการบริโภคและการส่งออกย่อมทำให้โรงงานอุตสาหกรรมไม่อาจจะผลิตเต็มกำลังการผลิตได้ การลงทุนเพื่อขยายกิจการจึงไม่เกิด จะมีก็เฉพาะการลงทุนที่เรียกกันว่าสินค้าคงเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าคงเหลือเกิดจากการขายสินค้าไม่ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายในการผลิตไว้ หรือที่เรียกว่า “unplanned inventory investment” ซึ่งมักจะมากในช่วงเศรษฐกิจซบเซา
การที่สินค้าค้างสต๊อกมากทำให้เงินจมอยู่กับสินค้าในโกดัง เงินไม่หมุนเวียน การค้าไม่คล่อง กิจการขนาดเล็กต้องทยอยปิดกิจการ กิจการขนาดเล็กอันได้แก่ การค้าปลีกค้าส่ง ร้านอาหาร อุตสาหกรรมในครัวเรือน กิจการที่รับทำชิ้นส่วนป้อนบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่โดยทั่วไปทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการต่างก็รู้สึกได้
ตลาดสินเชื่อระยะสั้นของกิจการขนาดเล็กจึงพังทลายลง ไม่มีใครยอมต่ออายุตราสารการเงินระยะสั้นต่อไป
โดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว แรงงานไทยก็ควรจะเลื่อนตัวเองลงมารับงานที่ใช้แรงงานต่างชาติ แต่แรงงานไทยระยะหลังมีการศึกษาสูง ปฏิเสธไม่ยอมลดวิทยฐานะของตนลงมาทำงานที่นักเรียนอาชีวะ หรืองานที่ใช้แรงงาน หรือค้าปลีกที่แรงงานต่างชาติทำ จึงเกิดปรากฏการณ์ที่งานหลายอย่างต้องใช้แรงงานต่างชาติทำมีจำนวนกว่า 3 ล้านตำแหน่ง แต่ขณะเดียวกันคนไทยกลับว่างงาน ซึ่งสถานการณ์เช่นว่านี้จะยังคงดำรงอยู่ต่อไปในครึ่งหลังของปี 2560 นี้ และคงจะยืดเยื้อไปถึงปีหน้า 2561 ด้วย
ที่ยังเหลือก็คืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่คอยพยุง คอยชดเชยการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ นักท่องเที่ยวจากอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย จะยังคงซบเซาต่อไป แต่ได้นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมาแทน นักท่องเที่ยวจีนมีทุกระดับ แม้ว่าคนไทยจะไม่นิยมชมชอบนักท่องเที่ยวจากจีนมากนัก ชอบฝรั่งหรือญี่ปุ่นมากกว่า หลายแห่งมีความวิตกว่าถ้าตนรับนักท่องเที่ยวจีนมาก จะทำให้ความมีระดับจำนวน 5 ดาว 4 ดาวของตัวจะลดลง ความรู้สึกอคติอย่างนี้ยังคงมีอยู่มากในหมู่ผู้ประกอบการคนไทย คนไทยยังสลัด “ปมด้อย” เช่นว่านี้ของตนออกไม่ได้ แต่ข้างหน้านี้ฝรั่งคงจะไม่สามารถทำตัวแบบเดิมได้แล้ว เพราะฝรั่งจนลงขณะที่คนเอเชียรวยขึ้น ตลาดเอเชียยังขยายตัว เป็นภูมิภาคเดียวที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอยู่ นักท่องเที่ยวจากประเทศเอเชียด้วยกัน น่าจะมีให้เห็นได้มากขึ้น คนในภูมิภาคเอเชียมีเงินมากขึ้นและก็ใช้เงินไม่แพ้ฝรั่ง
ครึ่งหลังของปี 2560 นี้ คงจะเป็นอีกช่วงหนึ่งที่บรรยากาศทางเศรษฐกิจการเมืองยังคงซบเซา ไม่คึกคัก เช่นเดียวกับครึ่งแรกของปีนี้ และปีกลาย 2559 ด้วย
ครึ่งหลังของปี 2560 นอกจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว การเมืองที่ล้าหลัง ไม่คึกคัก การแสดงออกของประชาชนไม่มี เพราะยังคงกลัวถูก “ปรับทัศนคติ” อยู่ แต่ที่ประชาชนยังรอคอยอยู่ก็คือ การจะได้มีโอกาสแสดงความอาลัยและความจงรักภักดีแด่พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเป็นครั้งสุดท้าย ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในเดือนตุลาคมปีนี้
บรรยากาศในครึ่งหลังของปีนี้จึงยังคงเป็นบรรยากาศของความสูญเสีย ยังเป็นบรรยากาศของความซบเซาทางเศรษฐกิจอยู่ต่อไป
สำหรับปี 2561 คงต้องรอดูกันต่อไป
……………….
วีรพงษ์ รามางกูร
JJNY : เศรษฐกิจครึ่งหลังปี 60 : โดย วีรพงษ์ รามางกูร
เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังของปีนี้ก็เป็นสภาวการณ์ที่มีลักษณะต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรก สาเหตุสำคัญก็คือภาวะการส่งออกสินค้าและบริการยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัว เมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่ผ่านมาจากปีที่แล้วต่อมาจนถึงครึ่งแรกของปีนี้
แม้ว่าราคาน้ำมันและพลังงานอย่างอื่นจะทรงตัว แต่ก็ไม่ทำให้ราคาสินค้าจากภาคเกษตรของเราฟื้นตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอื่นๆ การที่สินค้าประเภทโภคภัณฑ์เกือบทุกชนิดไม่ฟื้นตัว ภาวะล้นตลาดของน้ำมันดิบก็ยังจะคงดำรงอยู่ต่อไปตลอดทั้งปี 2560 ที่จะถึงนี้
การที่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกายังชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพราะแม้ว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกายังอยู่ในอัตราที่ต่ำ แต่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาก็ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำด้วย เนื่องจากราคาพลังงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำต่อไป ต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบจากพื้นดินใต้พิภพลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์อย่างนี้เป็นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ค่อนข้างแปลก
อุตสาหกรรมที่จะถูกกระทบอย่างหนักก็คือ อุตสาหกรรมทดแทนพลังงานจากน้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ที่เคยคาดการณ์กันว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตพลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงแดด ลม และพลังงานชีวภาพ จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะต้นทุนของวัสดุที่จะนำมาผลิตพลังงานจากแสงแดดจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับต้นทุนของการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน
การที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่า เขาเองไม่เชื่อ “ทฤษฎีโลกร้อน” อย่างที่ยุโรปเชื่อกัน และจะสนับสนุนอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาให้หันกลับมาใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลมากขึ้น และเตรียมจะถอนตัวออกจากการเจรจาข้อตกลงปารีสว่าด้วยเรื่องโลกร้อน ทำให้เกิดข้อกังขาเหมือนกันว่า “ทฤษฎีโลกร้อน” มีความเป็นจริงแค่ไหน จะเชื่อใครดี มาครงหรือทรัมป์
หลายเรื่องที่เป็นกระแสนำโดยอเมริกาและยุโรป บางทีก็เกิดขึ้นจากการปั้นน้ำเป็นตัว ปลุกกระแสให้ใหญ่โตให้กลายเป็นเรื่องระดับโลก ซึ่งเราเองก็ได้ผ่านมาแล้ว เช่น กระแสที่สร้างความตระหนกเมื่อจะถึงปี ค.ศ.2000 เรื่อง Y2K ที่ลือกันว่าเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไก รถไฟ เครื่องบิน เรือเดินสมุทร ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชิ้นส่วนที่มีผลกับตัวเลข ค.ศ. 2 ตัวสุดท้ายเป็น 00 เมื่อมาถึงปี ค.ศ.2000 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรจะอ่านตัวเลข 00 ไม่ออกว่าเป็นปี 1900 หรือปี 2000 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนโลกจะต้องเปลี่ยนซอฟต์แวร์เป็นราคาหลายแสนล้านดอลลาร์หมดทั้งโลก
คนที่เชื่อก็ยอมเสียเงินเสียทองมากมายเปลี่ยนซอฟต์แวร์ ซึ่งก็เป็นของบริษัทอเมริกันทั้งนั้น บริษัทก็ไม่เชื่อหรือเชื่อก็ไม่มีเงินซื้อซอฟต์แวร์ใหม่ก็มีมาก เมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2000 มาถึง ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร เป็นการสร้างเรื่องต้มตุ๋นทั่วโลก “ทฤษฎีโลกร้อน” อาจจะเป็นเรื่องอย่างเดียวกับเรื่อง Y2K ก็ได้
บัดนี้ มีสารคดีทางโทรทัศน์ที่พยายามจะพิสูจน์ทฤษฎีโลกร้อนให้เห็นอยู่เสมอ เช่น การละลายของชั้นน้ำแข็งขั้วโลก ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพราะปริมาณน้ำแข็งที่ขั้วโลกน้อยลง การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศฤดูกาล ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมโลกก็ได้เปลี่ยนไปมาก การขยายตัวของชุมชน การขยายตัวของเมือง การใช้พลังงาน การพัฒนาของพืชพันธุ์ การขยายตัวของพื้นที่การเกษตร การลดลงของป่าธรรมชาติที่หมดไปในเขตหนาว ซึ่งต้นไม้โตช้ากว่าในเขตอบอุ่นและเขตร้อน การสูญพันธุ์ของสัตว์ของพืชซึ่งเป็นไปตามวิถีตามธรรมชาติไม่ว่าโลกจะร้อนหรือไม่ เป็นของธรรมดา
แต่ดูเหมือนกระแสที่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะเรือนกระจก จะมาแรงกว่าฝ่ายที่ไม่เชื่อ เหมือนกับสมัยหนึ่งคนเชื่อว่า “โลกแบน” มากกว่าคนเชื่อ “โลกกลม” นักอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาก็ประกาศว่าเขาจะดำเนินการตามมาตรการป้องกันโลกร้อนต่อไป และไม่เชื่อประธานาธิบดีของตนเอง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวทางของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะหันกลับมาสร้างความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐอเมริกา โดยหันกลับมาใช้พลังงานราคาถูก ให้ยุโรปและจีนใช้พลังงานราคาแพงที่สะอาดต่อไป ซึ่งความจริงจีนก็ยังไม่ได้เริ่มมาตรการของตนเลย ดังนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะรักษาความสามารถในการแข่งขันของเขาจะเป็นอย่างไร คงต้องเฝ้าดูต่อไป ด้วยเหตุนี้ราคาน้ำมันและราคาพลังงานก็คงขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับที่ต่ำต่อไป จีนอาจจะทำเป็นเชื่อ “ทฤษฎีโลกร้อน” แต่ให้คนอื่นทำแล้วตัวเองยังไม่ทำก็เป็นได้
เมื่อราคาน้ำมันและราคาพลังงานยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นประเภทน้ำมัน เช่น น้ำมันปาล์ม ยางพารา ราคาธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด รวมทั้งที่อาจจะเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ก็คงจะอยู่ในระดับต่ำต่อไป เมื่อสินค้าเกษตรเหล่านี้ยังอยู่ในระดับต่ำรายได้ของเกษตรกรก็จะยังไม่ฟื้น หนี้สินของครัวเรือนต่อรายได้ก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อสัดส่วนหนี้สินของครัวเรือนต่อรายได้เพิ่มขึ้น ดัชนีความมั่นใจก็จะต่ำลง เมื่อดัชนีความมั่นใจยังอยู่ในระดับต่ำ หรืออาจจะต่ำลงด้วยซ้ำ การบริโภคของครัวเรือนก็คงจะลดลง เมื่อการบริโภคของครัวเรือนลดลง ความต้องการซื้อสินค้าจากภาคอุตสาหกรรมก็คงจะลดลง ความบริโภคของครัวเรือนจึงไม่อาจจะชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกได้
เมื่อการส่งออกชะลอตัวการบริโภคภายในประเทศหดตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นว่ารายได้ในอนาคตจะไม่หดตัว หรือไม่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับการชำระหนี้ให้สถาบันการเงินในภาคชนบท เช่น หนี้จาก ธ.ก.ส. หนี้จากกองทุนหมู่บ้าน และอื่นๆ การชะลอตัวของการบริโภคและการส่งออกย่อมทำให้โรงงานอุตสาหกรรมไม่อาจจะผลิตเต็มกำลังการผลิตได้ การลงทุนเพื่อขยายกิจการจึงไม่เกิด จะมีก็เฉพาะการลงทุนที่เรียกกันว่าสินค้าคงเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าคงเหลือเกิดจากการขายสินค้าไม่ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายในการผลิตไว้ หรือที่เรียกว่า “unplanned inventory investment” ซึ่งมักจะมากในช่วงเศรษฐกิจซบเซา
การที่สินค้าค้างสต๊อกมากทำให้เงินจมอยู่กับสินค้าในโกดัง เงินไม่หมุนเวียน การค้าไม่คล่อง กิจการขนาดเล็กต้องทยอยปิดกิจการ กิจการขนาดเล็กอันได้แก่ การค้าปลีกค้าส่ง ร้านอาหาร อุตสาหกรรมในครัวเรือน กิจการที่รับทำชิ้นส่วนป้อนบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่โดยทั่วไปทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการต่างก็รู้สึกได้
ตลาดสินเชื่อระยะสั้นของกิจการขนาดเล็กจึงพังทลายลง ไม่มีใครยอมต่ออายุตราสารการเงินระยะสั้นต่อไป
โดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว แรงงานไทยก็ควรจะเลื่อนตัวเองลงมารับงานที่ใช้แรงงานต่างชาติ แต่แรงงานไทยระยะหลังมีการศึกษาสูง ปฏิเสธไม่ยอมลดวิทยฐานะของตนลงมาทำงานที่นักเรียนอาชีวะ หรืองานที่ใช้แรงงาน หรือค้าปลีกที่แรงงานต่างชาติทำ จึงเกิดปรากฏการณ์ที่งานหลายอย่างต้องใช้แรงงานต่างชาติทำมีจำนวนกว่า 3 ล้านตำแหน่ง แต่ขณะเดียวกันคนไทยกลับว่างงาน ซึ่งสถานการณ์เช่นว่านี้จะยังคงดำรงอยู่ต่อไปในครึ่งหลังของปี 2560 นี้ และคงจะยืดเยื้อไปถึงปีหน้า 2561 ด้วย
ที่ยังเหลือก็คืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่คอยพยุง คอยชดเชยการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ นักท่องเที่ยวจากอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย จะยังคงซบเซาต่อไป แต่ได้นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมาแทน นักท่องเที่ยวจีนมีทุกระดับ แม้ว่าคนไทยจะไม่นิยมชมชอบนักท่องเที่ยวจากจีนมากนัก ชอบฝรั่งหรือญี่ปุ่นมากกว่า หลายแห่งมีความวิตกว่าถ้าตนรับนักท่องเที่ยวจีนมาก จะทำให้ความมีระดับจำนวน 5 ดาว 4 ดาวของตัวจะลดลง ความรู้สึกอคติอย่างนี้ยังคงมีอยู่มากในหมู่ผู้ประกอบการคนไทย คนไทยยังสลัด “ปมด้อย” เช่นว่านี้ของตนออกไม่ได้ แต่ข้างหน้านี้ฝรั่งคงจะไม่สามารถทำตัวแบบเดิมได้แล้ว เพราะฝรั่งจนลงขณะที่คนเอเชียรวยขึ้น ตลาดเอเชียยังขยายตัว เป็นภูมิภาคเดียวที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอยู่ นักท่องเที่ยวจากประเทศเอเชียด้วยกัน น่าจะมีให้เห็นได้มากขึ้น คนในภูมิภาคเอเชียมีเงินมากขึ้นและก็ใช้เงินไม่แพ้ฝรั่ง
ครึ่งหลังของปี 2560 นี้ คงจะเป็นอีกช่วงหนึ่งที่บรรยากาศทางเศรษฐกิจการเมืองยังคงซบเซา ไม่คึกคัก เช่นเดียวกับครึ่งแรกของปีนี้ และปีกลาย 2559 ด้วย
ครึ่งหลังของปี 2560 นอกจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว การเมืองที่ล้าหลัง ไม่คึกคัก การแสดงออกของประชาชนไม่มี เพราะยังคงกลัวถูก “ปรับทัศนคติ” อยู่ แต่ที่ประชาชนยังรอคอยอยู่ก็คือ การจะได้มีโอกาสแสดงความอาลัยและความจงรักภักดีแด่พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเป็นครั้งสุดท้าย ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในเดือนตุลาคมปีนี้
บรรยากาศในครึ่งหลังของปีนี้จึงยังคงเป็นบรรยากาศของความสูญเสีย ยังเป็นบรรยากาศของความซบเซาทางเศรษฐกิจอยู่ต่อไป
สำหรับปี 2561 คงต้องรอดูกันต่อไป
……………….
วีรพงษ์ รามางกูร