เป็นหนังที่สนุกมากๆ เรื่องหนึ่ง เนื้อหาไม่ได้ซับซ้อน เล่าเรื่องได้มีอารมณ์ขัน แต่ออกจะเป็นตลกร้ายซะมาก เนื้อเรื่องพูดถึงยุคปัจจุบัน บริษัท Mirando ซึ่งทำอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ได้สร้างหมูพิเศษพันธุ์หนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Super Pig (หน้าตาออกแนวฮิปโปมากกว่า) และส่งให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไปรับเลี้ยงเป็นเวลา 10 ปี จากนั้นจึงจะนำหมูเหล่านั้นมาประกวดว่าหมูจากประเทศใดที่เติบโตมาได้แข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด
อ๊กจา (ไม่ได้อ่านว่าโอเคจ้านะ) คือชื่อหมูพิเศษดังกล่าวที่เลี้ยงโดยประเทศเกาหลี โดยคุณตาและเด็กสาวนามว่า มิจา ช่วงแรกจะแสดงให้เห็นถึงความผูกพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างคนและสัตว์ท่ามกลางธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์
จากนั้น ก็เริ่มดราม่ากันเล็กน้อยเพราะคุณตาไม่ยอมบอกหลานสาวว่าทางบริษัท Mirando จะมาเอาอ๊กจากลับคืนไป มิจาเข้าใจเอาเองว่าครอบครัวของตนซื้ออ๊กจาไว้แล้ว เลยโกรธคุณตามาก เธอจึงตัดสินใจไปตามหาหมูของเธอกลับมา ระหว่างทางเธอได้พบกับกลุ่ม ALF (Animal Liberation Front) หรือกองกำลังพิทักษ์สัตว์ที่ปฏิบัติภารกิจราวกับหน่วยก่อการร้ายก็ไม่ปาน และมาร่วมมือกับเธอเพื่อช่วยเหลืออ๊กจา
มีนักแสดงดังๆ มาเล่นหลายคน คนแรกก็คือ Tilda Swinton ซึ่งรับบท ลูซี่ เป็นเจ้าของบริษัท เรื่องนี้เธอได้เล่นเป็นฝาแฝด ซึ่งต่างบุคลิกกัน นอกจากนั้น ยังมี Paul Dano รับบทหัวหน้าทีม ALF เราว่าดูเท่แบบเนิร์ดๆ ดี ส่วน Jake Gyllenhaal รับบทนักสัตววิทยาและอดีตดาราพิธีกรรายการสัตว์ที่ดูเล่นใหญ่เกินเบอร์ไปหน่อย ส่วนตัว Okja นั้นใช้ CG ทำได้เนียน ดูเหมือนฮิปโป เอ้ยหมูยักษ์จริงๆ ไปลองเสิร์จมา เห็นว่าเป็นการออกแบบโดยอ้างอิงจากช้าง ฮิปโป หมู และพะยูน รวมกัน
ช่วงที่มิจาไปที่โซลเพื่อไปนำเพื่อนหมูของเธอกลับมา แล้วเจอกับพวก ALF ซึ่งเป็นอีกฝ่ายที่ต้องการแย่งชิงตัวอ๊กจา แล้วทุกคนต่างไล่ล่าตามหมูกัน สนุกและตลกมากๆ ฉากนั้น จังหวะภาพและเพลงประกอบทำได้ลงตัว
หนังเรื่องนี้ได้แทรกหลายๆ ประเด็นไว้ เรื่องราวการตามหาเพื่อนหมูก็อีกเรื่องหนึ่ง (จะว่าไปก็ให้ความรู้สึกเหมือน ช้างกูอยู่ไหน ในต้มยำกุ้งพอสมควร ทั้งตัวเด็กผู้หญิงที่บู๊ได้ยอดเยี่ยมไม่ต่างจากจาพนม) แต่เรื่องที่เป็นประเด็นแบคกราวน์หลัก ที่พอจะจับความได้คือการต่อต้านการทารุณสัตว์โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เนื้อหาสะท้อนยุคปัจจุบันที่ระบบทุนนิยมเริ่มสนใจการตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตหรือที่เรียกว่า GMO (Genetically Modified Organisms) เพื่อนำเนื้อ (หรือพืช) มารับประทาน ซึ่งแนวคิดนี้มีสองฝั่งค้านกันอยู่ ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ต่อต้าน อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อฝังใจว่าการรับประทานอาหารที่ผ่านการตัดต่อมาแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นบริษัท Milando จึงโกหกว่าซูเปอร์พิกนี้เป็นหมูที่บังเอิญพบเจอตามธรรมชาติ เพราะหากบอกว่าเป็นหมูที่ดัดแปลงขึ้นมาในห้องแล็ปกลัวจะขายไม่ออกกัน
ในช่วงแรกหนังเล่าเรื่องไปในทางที่ทำให้คนดูรู้สึกว่ามีฝ่ายดีและฝ่ายร้ายชัดเจน แน่นอนว่าเราก็ต้องเชียร์เด็กสาวมิจาให้ไปช่วยเพื่อนของเธอให้สำเร็จ ส่วนบรรดากลุ่มพิทักษ์สัตว์บังเอิญเข้ามาช่วยนางเอกของเราพอดี เราจึงมองว่าเป็นฝ่ายคุณธรรมไปด้วย ฝ่ายตัวร้ายก็คือฝ่ายที่จะฆ่าอ๊กจาเพื่อเอาไปทำอาหาร เป็นฝ่ายทุนนิยมที่หลอกลวงประชาชน ทำให้คนคิดว่าซูเปอร์พิกตัวนี้ผ่านกรรมวิธีที่ดีงาม เลี้ยงดูและเพาะพันธุ์อย่างมีจรรยาบรรณ หากแต่แท้จริงแล้วกลับทำร้ายทารุณสัตว์อย่างร้ายกาจ
ตัวหนังเองก็ไม่ได้สรุปไปทางใดทางหนึ่ง แค่ชี้ให้เราเห็นว่า เบื้องหลังกระบวนการผลิตอาหารมันเป็นอย่างไร และมันก็ยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป บางคนเห็นฉากที่บรรดาหมูถูกฆ่าและเฉือนเนื้อออกเป็นส่วนๆ อาจจะทำให้ไม่อยากกินเนื้อไปสักพัก แต่ก็เหมือนที่แนนซี่เจ้าของบริษัทอีกคนบอกว่า พอเราทำให้ราคามันถูก เดี๋ยวคนก็ซื้อเองแหละ ซึ่งก็จริงและตลกร้ายเอาตรงนี้ ผู้บริโภคจำนวนมากไม่คิดอะไรมากมายหรอก ตราบใดที่ผลิตภัณฑ์ออกมาอร่อยและไม่แพง เรารักสัตว์ก็จริง แต่เราก็รักการกินเนื้อด้วยนี่นา
Spoiler Alert เปิดเผยเนื้อหาตอนจบเล็กน้อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พอดูจบแล้ว เรากลับรู้สึกว่าพวกฮีโร่ตัวจริงอาจจะเป็นพวกทีม ALF มากกว่า ส่วนเด็กสาวที่ตามหาหมูเป็นเพียงตัวละครที่บังเอิญมาเกี่ยวข้องระหว่างทางในการทำภารกิจเท่านั้น อย่างที่เห็นว่า มิจาเองแม้จะสู้เพื่อช่วยเหลือเพื่อนเธอกลับมาอย่างกล้าหาญเพียงใด แต่เธอก็ต้องการสู้เพื่ออ๊กจา หมูของเธอเท่านั้น เธออาจจะเวทนาหมูตัวอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อจะช่วยเหลือเท่าไรนัก และต่อให้อยากทำเธอก็คงทำอะไรไม่ได้มาก (เศร้าแป๊บ) ถ้าจบแบบนี้ก็ค่อนข้างหดหู่เหมือนกัน แต่ยังดีที่หลัง End Credit เราได้เห็นความหวังเล็กๆ จากพวกกลุ่ม ALF ที่แม้จะพ่ายแพ้ไปบ้างแต่ยังคงสานต่อเจตนารมณ์เดิมต่อไป แถมยังได้คนมาเข้าร่วมเพิ่มอีก การต่อต้านอะไรบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ เราอาจทำสำเร็จไม่ได้ภายในครั้งเดียวหรือสองครั้ง แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทีละนิด ก็นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้าได้
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2017/07/10/mini-review-okja-2017
Fan Page: https://www.facebook.com/RevieweryClub
ข้อมูลอ้างอิง
http://cinefex.com/blog/okja/
[Mini Review] Okja (2017) ภารกิจทวงหมูเพื่อนรักคืน
เป็นหนังที่สนุกมากๆ เรื่องหนึ่ง เนื้อหาไม่ได้ซับซ้อน เล่าเรื่องได้มีอารมณ์ขัน แต่ออกจะเป็นตลกร้ายซะมาก เนื้อเรื่องพูดถึงยุคปัจจุบัน บริษัท Mirando ซึ่งทำอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ได้สร้างหมูพิเศษพันธุ์หนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Super Pig (หน้าตาออกแนวฮิปโปมากกว่า) และส่งให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไปรับเลี้ยงเป็นเวลา 10 ปี จากนั้นจึงจะนำหมูเหล่านั้นมาประกวดว่าหมูจากประเทศใดที่เติบโตมาได้แข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด
อ๊กจา (ไม่ได้อ่านว่าโอเคจ้านะ) คือชื่อหมูพิเศษดังกล่าวที่เลี้ยงโดยประเทศเกาหลี โดยคุณตาและเด็กสาวนามว่า มิจา ช่วงแรกจะแสดงให้เห็นถึงความผูกพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างคนและสัตว์ท่ามกลางธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์
จากนั้น ก็เริ่มดราม่ากันเล็กน้อยเพราะคุณตาไม่ยอมบอกหลานสาวว่าทางบริษัท Mirando จะมาเอาอ๊กจากลับคืนไป มิจาเข้าใจเอาเองว่าครอบครัวของตนซื้ออ๊กจาไว้แล้ว เลยโกรธคุณตามาก เธอจึงตัดสินใจไปตามหาหมูของเธอกลับมา ระหว่างทางเธอได้พบกับกลุ่ม ALF (Animal Liberation Front) หรือกองกำลังพิทักษ์สัตว์ที่ปฏิบัติภารกิจราวกับหน่วยก่อการร้ายก็ไม่ปาน และมาร่วมมือกับเธอเพื่อช่วยเหลืออ๊กจา
มีนักแสดงดังๆ มาเล่นหลายคน คนแรกก็คือ Tilda Swinton ซึ่งรับบท ลูซี่ เป็นเจ้าของบริษัท เรื่องนี้เธอได้เล่นเป็นฝาแฝด ซึ่งต่างบุคลิกกัน นอกจากนั้น ยังมี Paul Dano รับบทหัวหน้าทีม ALF เราว่าดูเท่แบบเนิร์ดๆ ดี ส่วน Jake Gyllenhaal รับบทนักสัตววิทยาและอดีตดาราพิธีกรรายการสัตว์ที่ดูเล่นใหญ่เกินเบอร์ไปหน่อย ส่วนตัว Okja นั้นใช้ CG ทำได้เนียน ดูเหมือนฮิปโป เอ้ยหมูยักษ์จริงๆ ไปลองเสิร์จมา เห็นว่าเป็นการออกแบบโดยอ้างอิงจากช้าง ฮิปโป หมู และพะยูน รวมกัน
ช่วงที่มิจาไปที่โซลเพื่อไปนำเพื่อนหมูของเธอกลับมา แล้วเจอกับพวก ALF ซึ่งเป็นอีกฝ่ายที่ต้องการแย่งชิงตัวอ๊กจา แล้วทุกคนต่างไล่ล่าตามหมูกัน สนุกและตลกมากๆ ฉากนั้น จังหวะภาพและเพลงประกอบทำได้ลงตัว
หนังเรื่องนี้ได้แทรกหลายๆ ประเด็นไว้ เรื่องราวการตามหาเพื่อนหมูก็อีกเรื่องหนึ่ง (จะว่าไปก็ให้ความรู้สึกเหมือน ช้างกูอยู่ไหน ในต้มยำกุ้งพอสมควร ทั้งตัวเด็กผู้หญิงที่บู๊ได้ยอดเยี่ยมไม่ต่างจากจาพนม) แต่เรื่องที่เป็นประเด็นแบคกราวน์หลัก ที่พอจะจับความได้คือการต่อต้านการทารุณสัตว์โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เนื้อหาสะท้อนยุคปัจจุบันที่ระบบทุนนิยมเริ่มสนใจการตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตหรือที่เรียกว่า GMO (Genetically Modified Organisms) เพื่อนำเนื้อ (หรือพืช) มารับประทาน ซึ่งแนวคิดนี้มีสองฝั่งค้านกันอยู่ ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ต่อต้าน อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อฝังใจว่าการรับประทานอาหารที่ผ่านการตัดต่อมาแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นบริษัท Milando จึงโกหกว่าซูเปอร์พิกนี้เป็นหมูที่บังเอิญพบเจอตามธรรมชาติ เพราะหากบอกว่าเป็นหมูที่ดัดแปลงขึ้นมาในห้องแล็ปกลัวจะขายไม่ออกกัน
ในช่วงแรกหนังเล่าเรื่องไปในทางที่ทำให้คนดูรู้สึกว่ามีฝ่ายดีและฝ่ายร้ายชัดเจน แน่นอนว่าเราก็ต้องเชียร์เด็กสาวมิจาให้ไปช่วยเพื่อนของเธอให้สำเร็จ ส่วนบรรดากลุ่มพิทักษ์สัตว์บังเอิญเข้ามาช่วยนางเอกของเราพอดี เราจึงมองว่าเป็นฝ่ายคุณธรรมไปด้วย ฝ่ายตัวร้ายก็คือฝ่ายที่จะฆ่าอ๊กจาเพื่อเอาไปทำอาหาร เป็นฝ่ายทุนนิยมที่หลอกลวงประชาชน ทำให้คนคิดว่าซูเปอร์พิกตัวนี้ผ่านกรรมวิธีที่ดีงาม เลี้ยงดูและเพาะพันธุ์อย่างมีจรรยาบรรณ หากแต่แท้จริงแล้วกลับทำร้ายทารุณสัตว์อย่างร้ายกาจ
ตัวหนังเองก็ไม่ได้สรุปไปทางใดทางหนึ่ง แค่ชี้ให้เราเห็นว่า เบื้องหลังกระบวนการผลิตอาหารมันเป็นอย่างไร และมันก็ยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป บางคนเห็นฉากที่บรรดาหมูถูกฆ่าและเฉือนเนื้อออกเป็นส่วนๆ อาจจะทำให้ไม่อยากกินเนื้อไปสักพัก แต่ก็เหมือนที่แนนซี่เจ้าของบริษัทอีกคนบอกว่า พอเราทำให้ราคามันถูก เดี๋ยวคนก็ซื้อเองแหละ ซึ่งก็จริงและตลกร้ายเอาตรงนี้ ผู้บริโภคจำนวนมากไม่คิดอะไรมากมายหรอก ตราบใดที่ผลิตภัณฑ์ออกมาอร่อยและไม่แพง เรารักสัตว์ก็จริง แต่เราก็รักการกินเนื้อด้วยนี่นา
Spoiler Alert เปิดเผยเนื้อหาตอนจบเล็กน้อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2017/07/10/mini-review-okja-2017
Fan Page: https://www.facebook.com/RevieweryClub
ข้อมูลอ้างอิง
http://cinefex.com/blog/okja/