พจนานุกรมฉบับพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบาย ว่า
ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ
๓ ประการ ได้แก่
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน
(คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”)
ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์,.........
ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ
แต่...
(ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คืออนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น);
ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
ถามว่า...
กฏนี้คือกฏอะไร มาจากไหน ใครเป็นคนตั้ง หรือว่าเป็นกฏที่มาจากอนันต์จักรวาล ?
กฏไตรลักษณ์บนโลกนี้ VS กฏไตรลักษณ์ที่มาจากนอกโลก ?
ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ
๓ ประการ ได้แก่
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน
(คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”)
ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์,.........
ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ
แต่...
(ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คืออนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น);
ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
ถามว่า...
กฏนี้คือกฏอะไร มาจากไหน ใครเป็นคนตั้ง หรือว่าเป็นกฏที่มาจากอนันต์จักรวาล ?