ตามข้อมูล
"ชมรมธรรมธารา" ซึ่งเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาบาลี
https://dhamtara.com/?p=24774
อนัตตตา
คนละคำกับ
อนัตตา
อ่านว่า อะ-นัด-ตะ-ตา
เขียนแบบบาลีเป็น
“อนตฺตตา” ประกอบด้วยคำว่า
น + อตฺต + ตา ปัจจัย
(๑)
“น”
บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)
“น” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –
(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง
น เป็น
อ (อะ)
(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง
น เป็น
อน (อะ-นะ)
ในที่นี้
“อตฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ (คือ
อ-) จึงแปลง
น เป็น
อน
(๒)
“อตฺต”
อ่านว่า อัด-ตะ มาจากรากศัพท์ดังนี้ :
(1)
อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) +
ต ปัจจัย
:
อตฺ + ต = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –
๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้)
๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ)
๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)
(2)
อทฺ (ธาตุ = กิน) +
ต ปัจจัย, แปลง
ท เป็น
ต
: อทฺ + ต = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –
๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)
๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)
(3)
อา (แทนศัพท์ว่า
“อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) +
ต ปัจจัย, ลบ
อา ที่
อา (อา > อ)และ
อา ที่
ธา (ธา > ธ) , แปลง
ธฺ เป็น
ตฺ
:
อา + ธา = อาธา + ต = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)
“อตฺต” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul) หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ
“อตฺต” เรามักคุ้นในรูป
“อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เขียนในภาษาไทยเป็น
“อัตตา”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“อัตตา : (คำนาม) ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).”
ในทางปรัชญา
“อัตตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego
(๓)
“ตา”
เป็นปัจจัยตัวหนึ่ง ในบาลีไวยากรณ์อยู่ในส่วนที่เรียกว่า “ตัทธิต” (ตัด-ทิด)
ตา-ปัจจัยเป็นปัจจัยในภาวตัทธิต แทนศัพท์ว่า
“ภาว” (ความเป็น) ใช้ต่อท้ายศัพท์ ทำให้เป็นคำนาม แปลว่า “ความเป็น–” เทียบกับภาษาอังกฤษก็คล้ายกับ -ness -ation หรือ -ity นั่นเอง เช่น –
happy แปลว่า สุข สบาย
happiness แปลว่า ความสุข
การประสมคำ :
๑
น > อน + อตฺต = อนตฺต (อะ-นัด-ตะ) แปลว่า “ไม่ใช่ตน” “ไม่ใช่อัตตา” หมายถึง ไม่มีตัวตน, ปราศจากตัวตน (not a soul, without a soul)
๒
อนตฺต + ตา = อนตฺตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) แปลว่า “ความไม่ใช่ตน” “ความไม่ใช่อัตตา” หมายถึง ภาวะที่ไม่มีตัวตน, ภาวะที่ปราศจากตัวตน, ความเป็นของไม่ใช่ตน (soullessness; state of being not self)
“อนตฺตตา” เขียนแบบไทยเป็น
“อนัตตตา”
ข้อควรสังเกตคือ ตามหลักนิยมในภาษาไทย คำที่มาจากบาลีสันสกฤตเรามักตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เช่น
“รฏฺฐ” ตัด
ฏ ออก เขียนเป็น
“รัฐ“ ถ้าใช้หลักนี้
“อนัตตตา” ตัด
ต ออกตัวหนึ่งก็จะเป็น
“อนัตตา” รูปซ้ำกับ
“อนัตตา” (อนตฺตา) คำที่มีอยู่เดิม
“อนตฺตา” กับ
“อนตฺตตา” เป็นคนละคำ คนละความหมายกัน
ถ้าในภาษาไทยสะกดเหมือนกัน ก็จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า
“อนัตตา” มาจากคำบาลี
“อนตฺตา” หรือมาจากคำบาลี
“อนตฺตตา”
เพราะฉะนั้น คำบาลี
“อนตฺตตา” จึงต้องใช้ในภาษาไทยเป็น
“อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา มี
ต 3 ตัว) จะตัดตัวสะกดออก เขียนเป็น
“อนัตตา” ไม่ได้ เพราะจะซ้ำกับ
“อนัตตา” ที่มาจากคำบาลีว่า
“อนตฺตา” ซึ่งสะกดอย่างนี้อยู่แล้ว
อภิปรายขยายความ :
คำที่เราคุ้นกันดีคือ
“อนัตตา” เป็นคำในชุด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เขียนแบบบาลีเป็น
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ทำหน้าที่เป็นคำขยาย หรือคุณศัพท์ (บาลีไวยากรณ์เรียก
วิเสสนะ) เช่น –
รูปํ อนิจฺจํ = รูปไม่เที่ยง
รูปํ ทุกฺขํ = รูปทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
รูปํ
อนตฺตา = รูปไม่ใช่ตัวตน (คือไม่มีตัวที่แท้จริง มีแต่เพียงสิ่งต่างๆ มาประสมกันจึงเกิดเป็นรูปขึ้น)
แต่คำนี้ไม่ใช่
“อนตฺตา” (อนัตตา) หากแต่เป็น
“อนตฺตตา” (อนัตตตา) มีเสียง -ตะ- เพิ่มเข้ามาอีกพยางค์หนึ่ง
อะ-นัด-ตะ-ตา
ไม่ใช่ อะ-นัด-ตา
ทั้งนี้เพราะเป็น
อนตฺต (อะ-นัด-ตะ) +
ตา ปัจจัย
“อนตฺต” (อะ-นัด-ตะ) มีเสียง -ตะ ท้ายคำอยู่แล้ว เมื่อ +
ตา ปัจจัย เสียง -ตะ ก็ยังอยู่ จึงเป็น อะ-นัด-ตะ-ตา =
อนตฺตตา > อนัตตตา
ถ้า – อะ-นัด-ตา ก็ =
อนตฺตา > อนัตตา
ความแตกต่างในฐานะของคำก็คือ –
อนตฺตา > อนัตตา เป็นคำคุณศัพท์ (คำขยาย)
อนตฺตตา > อนัตตตา เป็นคำนาม
อนตฺตา > อนัตตา (อะ-นัด-ตา) = (สิ่งที่) ไม่ใช้ตัวตน (not a soul, without a soul)
อนตฺตตา > อนัตตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) = ภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน (soullessness; state of being not self)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“อนัตตา : (คำวิเศษณ์) ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. (ป.).”
คำว่า
“อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554
คำที่เป็นชุดของ “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) คือ
อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา เขียนแบบบาลีเป็น
อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา
พูดให้ครบชุดตามหลักธรรมก็มี 3 หัวข้อ เรียกว่า
“ไตรลักษณ์” (ไตฺร-ลัก, = ลักษณะทั้งสาม: the Three Characteristics) หรือ
“สามัญลักษณ์” (สา-มัน-ยะ-ลัก, = ลักษณะที่มีทั่วไปเป็นธรรมดา: the Common Characteristics) กล่าวคือ –
(1)
อนิจจตา (อะ-นิด-จะ-ตา) = ความเป็นของไม่เที่ยง (impermanence; transiency)
(2)
ทุกขตา (ทุก-ขะ-ตา) = ความเป็นทุกข์ (state of suffering or being oppressed)
(3)
อนัตตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) = ความเป็นของไม่ใช่ตน (soullessness; state of being not self)
ในพระไตรปิฎกเรียกธรรมะชุดนี้ว่า
“ธรรมนิยาม” (ทำ-มะ-นิ-ยาม) ข้อความที่สมบูรณ์ตามสูตรท่านว่าไว้ดังนี้ –
(1)
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สัพเพ สังขารา อะนิจจา) = สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง (all conditioned states are impermanent)
(2)
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สัพเพ สังขารา ทุกขา) = สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ (all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)
(3)
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (สัพเพ ธัมมา อะนัตตา) = ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน (all states are not-self or soulless)
(หลักคำและความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต)
…………..
สรุปว่า คำในชุดนี้มี 2 ชุด คือ –
๑ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เป็นชุดคุณศัพท์
๒ อนิจจตา ทุกขตา
อนัตตตา เป็นชุดคำนาม
เวลาพูดถึงคำในชุดนี้ ถ้าไม่เข้าใจก็จะใช้คำสับสน คือในที่ซึ่งควรจะพูดว่า
“อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) ก็ไปพูดว่า
“อนัตตา” (อะ-นัด-ตา) หรือทั้งๆ ที่เขียนว่า
“อนัตตตา” แท้ๆ ก็ยังหลงอ่านว่า อะ-นัด-ตา ทั้งนี้เพราะแยกไม่ออก บอกไม่ถูก หรือไม่ได้สังเกตว่า
“อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) กับ
“อนัตตา” (อะ-นัด-ตา) มีความหมายต่างกันอย่างไร
หวังว่าบาลีวันละคำวันนี้คงจะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ไปได้บ้าง
…………..
ดูก่อนภราดา!
: เอาตนเป็นใหญ่
: แล้วเมื่อไรจะได้เป็นใหญ่เหนือตน
#บาลีวันละคำ (3,687)
17-7-65
อัตตา, อนัตตา, อนัตตตา...ความหมายที่ต้องเข้าใจ
https://dhamtara.com/?p=24774
อนัตตตา
คนละคำกับ อนัตตา
อ่านว่า อะ-นัด-ตะ-ตา
เขียนแบบบาลีเป็น “อนตฺตตา” ประกอบด้วยคำว่า น + อตฺต + ตา ปัจจัย
(๑) “น”
บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)
“น” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –
(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง น เป็น อ (อะ)
(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง น เป็น อน (อะ-นะ)
ในที่นี้ “อตฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ (คือ อ-) จึงแปลง น เป็น อน
(๒) “อตฺต”
อ่านว่า อัด-ตะ มาจากรากศัพท์ดังนี้ :
(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ต ปัจจัย
: อตฺ + ต = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –
๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้)
๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ)
๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)
(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ต ปัจจัย, แปลง ท เป็น ต
: อทฺ + ต = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –
๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)
๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)
(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ต ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > อ)และ อา ที่ ธา (ธา > ธ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ
: อา + ธา = อาธา + ต = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)
“อตฺต” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul) หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ
“อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เขียนในภาษาไทยเป็น “อัตตา”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“อัตตา : (คำนาม) ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).”
ในทางปรัชญา “อัตตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego
(๓) “ตา”
เป็นปัจจัยตัวหนึ่ง ในบาลีไวยากรณ์อยู่ในส่วนที่เรียกว่า “ตัทธิต” (ตัด-ทิด) ตา-ปัจจัยเป็นปัจจัยในภาวตัทธิต แทนศัพท์ว่า “ภาว” (ความเป็น) ใช้ต่อท้ายศัพท์ ทำให้เป็นคำนาม แปลว่า “ความเป็น–” เทียบกับภาษาอังกฤษก็คล้ายกับ -ness -ation หรือ -ity นั่นเอง เช่น –
happy แปลว่า สุข สบาย
happiness แปลว่า ความสุข
การประสมคำ :
๑ น > อน + อตฺต = อนตฺต (อะ-นัด-ตะ) แปลว่า “ไม่ใช่ตน” “ไม่ใช่อัตตา” หมายถึง ไม่มีตัวตน, ปราศจากตัวตน (not a soul, without a soul)
๒ อนตฺต + ตา = อนตฺตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) แปลว่า “ความไม่ใช่ตน” “ความไม่ใช่อัตตา” หมายถึง ภาวะที่ไม่มีตัวตน, ภาวะที่ปราศจากตัวตน, ความเป็นของไม่ใช่ตน (soullessness; state of being not self)
“อนตฺตตา” เขียนแบบไทยเป็น “อนัตตตา”
ข้อควรสังเกตคือ ตามหลักนิยมในภาษาไทย คำที่มาจากบาลีสันสกฤตเรามักตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เช่น “รฏฺฐ” ตัด ฏ ออก เขียนเป็น “รัฐ“ ถ้าใช้หลักนี้ “อนัตตตา” ตัด ต ออกตัวหนึ่งก็จะเป็น “อนัตตา” รูปซ้ำกับ “อนัตตา” (อนตฺตา) คำที่มีอยู่เดิม
“อนตฺตา” กับ “อนตฺตตา” เป็นคนละคำ คนละความหมายกัน
ถ้าในภาษาไทยสะกดเหมือนกัน ก็จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า “อนัตตา” มาจากคำบาลี “อนตฺตา” หรือมาจากคำบาลี “อนตฺตตา”
เพราะฉะนั้น คำบาลี “อนตฺตตา” จึงต้องใช้ในภาษาไทยเป็น “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา มี ต 3 ตัว) จะตัดตัวสะกดออก เขียนเป็น “อนัตตา” ไม่ได้ เพราะจะซ้ำกับ “อนัตตา” ที่มาจากคำบาลีว่า “อนตฺตา” ซึ่งสะกดอย่างนี้อยู่แล้ว
อภิปรายขยายความ :
คำที่เราคุ้นกันดีคือ “อนัตตา” เป็นคำในชุด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เขียนแบบบาลีเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ทำหน้าที่เป็นคำขยาย หรือคุณศัพท์ (บาลีไวยากรณ์เรียก วิเสสนะ) เช่น –
รูปํ อนิจฺจํ = รูปไม่เที่ยง
รูปํ ทุกฺขํ = รูปทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
รูปํ อนตฺตา = รูปไม่ใช่ตัวตน (คือไม่มีตัวที่แท้จริง มีแต่เพียงสิ่งต่างๆ มาประสมกันจึงเกิดเป็นรูปขึ้น)
แต่คำนี้ไม่ใช่ “อนตฺตา” (อนัตตา) หากแต่เป็น “อนตฺตตา” (อนัตตตา) มีเสียง -ตะ- เพิ่มเข้ามาอีกพยางค์หนึ่ง
อะ-นัด-ตะ-ตา
ไม่ใช่ อะ-นัด-ตา
ทั้งนี้เพราะเป็น อนตฺต (อะ-นัด-ตะ) + ตา ปัจจัย
“อนตฺต” (อะ-นัด-ตะ) มีเสียง -ตะ ท้ายคำอยู่แล้ว เมื่อ + ตา ปัจจัย เสียง -ตะ ก็ยังอยู่ จึงเป็น อะ-นัด-ตะ-ตา = อนตฺตตา > อนัตตตา
ถ้า – อะ-นัด-ตา ก็ = อนตฺตา > อนัตตา
ความแตกต่างในฐานะของคำก็คือ –
อนตฺตา > อนัตตา เป็นคำคุณศัพท์ (คำขยาย)
อนตฺตตา > อนัตตตา เป็นคำนาม
อนตฺตา > อนัตตา (อะ-นัด-ตา) = (สิ่งที่) ไม่ใช้ตัวตน (not a soul, without a soul)
อนตฺตตา > อนัตตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) = ภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน (soullessness; state of being not self)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –
“อนัตตา : (คำวิเศษณ์) ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. (ป.).”
คำว่า “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554
คำที่เป็นชุดของ “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) คือ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา เขียนแบบบาลีเป็น อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา
พูดให้ครบชุดตามหลักธรรมก็มี 3 หัวข้อ เรียกว่า “ไตรลักษณ์” (ไตฺร-ลัก, = ลักษณะทั้งสาม: the Three Characteristics) หรือ “สามัญลักษณ์” (สา-มัน-ยะ-ลัก, = ลักษณะที่มีทั่วไปเป็นธรรมดา: the Common Characteristics) กล่าวคือ –
(1) อนิจจตา (อะ-นิด-จะ-ตา) = ความเป็นของไม่เที่ยง (impermanence; transiency)
(2) ทุกขตา (ทุก-ขะ-ตา) = ความเป็นทุกข์ (state of suffering or being oppressed)
(3) อนัตตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) = ความเป็นของไม่ใช่ตน (soullessness; state of being not self)
ในพระไตรปิฎกเรียกธรรมะชุดนี้ว่า “ธรรมนิยาม” (ทำ-มะ-นิ-ยาม) ข้อความที่สมบูรณ์ตามสูตรท่านว่าไว้ดังนี้ –
(1) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สัพเพ สังขารา อะนิจจา) = สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง (all conditioned states are impermanent)
(2) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สัพเพ สังขารา ทุกขา) = สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ (all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)
(3) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (สัพเพ ธัมมา อะนัตตา) = ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน (all states are not-self or soulless)
(หลักคำและความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต)
…………..
สรุปว่า คำในชุดนี้มี 2 ชุด คือ –
๑ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นชุดคุณศัพท์
๒ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา เป็นชุดคำนาม
เวลาพูดถึงคำในชุดนี้ ถ้าไม่เข้าใจก็จะใช้คำสับสน คือในที่ซึ่งควรจะพูดว่า “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) ก็ไปพูดว่า “อนัตตา” (อะ-นัด-ตา) หรือทั้งๆ ที่เขียนว่า “อนัตตตา” แท้ๆ ก็ยังหลงอ่านว่า อะ-นัด-ตา ทั้งนี้เพราะแยกไม่ออก บอกไม่ถูก หรือไม่ได้สังเกตว่า “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) กับ “อนัตตา” (อะ-นัด-ตา) มีความหมายต่างกันอย่างไร
หวังว่าบาลีวันละคำวันนี้คงจะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ไปได้บ้าง
…………..
ดูก่อนภราดา!
: เอาตนเป็นใหญ่
: แล้วเมื่อไรจะได้เป็นใหญ่เหนือตน
#บาลีวันละคำ (3,687)
17-7-65