ชาวพุทธต้องสามัคคีกัน
แคว้นวัชชีผู้ไม่แพ้เพราะความรักสามัคคี
พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรให้กว้างขวาง
แคว้นที่หมายตาคือแควันวัชชี ของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี เป็นแคว้นขนาดใหญ่และเจริญกว่าแคว้นใด ในสมัยนั้นผู้ใด ครอบครองได้ย่อมแสดงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์พระองค์นั้น
เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี ร่วมกันปกครองแคว้นโดยสมัคคีธรรม กษัตริย์แต่ละพระองค์มีพระโอรสบริวาร ตลอดจนดินแดนของพระองค์ทรงมีฐานะเสมอกัน ทรงยกย่องให้เกียรติกัน ไม่ว่าจะทำกิจใด ๆ ก็ทรงปรึกษาหารือกัน
สำคัญคือ ทรงยึดมั่นในอปริหานิยธรรม ซึ่งเน้นความสามัคคีธรรมเป็นหลัก หากถูกโจมตีเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็จะทรงร่วมกันต่อสู้ จนฝ่ายศัตรูพ่ายแพ้ไป การทำสงครามกับแคว้นวัชชีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ปัญญา ไม่ใช้กำลัง
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีปุโรหิตที่ปรึกษาชื่อวัสสการพราหมณ์ เป็นผู้รอบรู้ศิลปศาสตร์และมีสติปัญญาเฉียบแหลม วัสสการพราหมณ์กราบทูลให้ทรงใช้อุบายในการตีแคว้นวัชชี โดยอาสาเป็นไส้ศึกไปยุ่งยงเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีให้ทรงแตกความสามัคคี
พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นชอบ วัสสการพราหมณ์จึงเริ่มใช้แผนการ โดยการทูลคัดค้านการไปตีแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งกริ้วทรงสั่งให้ลงโทษวัสสการพราหมณ์อย่างหนักและเนรเทศไป
วัสสการพราหมณ์มุ่งหน้าไปเมืองเวสาลี เพื่อขอรับราชการด้วยความเป็นผู้มีวาทศิลป์ รู้จักใช้เหตุผลโน้มน้าวใจ ทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีหลงเชื่อรับวัสสการพราหมณ์ไว้ในพระราชสำนัก ให้ทำที่พิจารณาคดีความและถวายพระอักษรเหล่าพระกุมาร
เมื่อทำหน้าที่เต็มความสามารถให้เป็นที่ไว้วางใจแล้ว วัสสการพราหมณ์ เริ่มสร้างความแคลงใจในเหล่าพระกุมาร โดยออกอุบายให้พระกุมารเข้าใจผิดว่า พระกุมารพระองค์อื่นนำปมด้อยของตน ไปเล่าให้ผู้อื่นทราบ ทำให้เสียชื่อ
เหล่าพระกุมารนำความไปกราบทูลพระบิดาต่างก็เชื่อพระโอรสของพระองค์ ทำให้เกิดความขุ่นเคืองกันทั่วไป ในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี สามัคคีพราหมณ์ในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีก็สูญสิ้นไป
วัสสการพราหมณ์ทดสอบด้วยการตีกลองนัดประชุม ก็ไม่ปรากฎว่ามีกษัตริย์ลิจฉวีเข้าร่วมประชุม วัสสการพราหมณ์เห็นว่าแผนการเป็นผลสำเร็จ จึงลอบส่งข่าวไปกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูให้ทรงยกทัพมาตีแคว้นวัชชี
ชาวเมืองวัชชีต่างตื่นตระหนกเมื่อทราบข่าวศึก
แต่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีต่างทรงถือทิฐิไม่มีผู้ใดวางแผนป้องกันภัย
ดังนั้นเมื่อกองทัพของแคว้นมคธถึงเมืองสาลี จึงยกทัพเข้าเมืองได้ง่ายดายและผู้ที่เปิดประตูเมืองให้กองทัพมคธก็คือ วัสสการพราหมณ์นั่นเอง
เพราะฉะนั้น การแตกความสามัคคี จึงเป็นสัญญาณของความหายนะ กษัตริย์ลิจฉวีได้ทำให้เราได้เห็นโทษ ของการแตกความสามัคคี ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสังคมส่วนรวมด้วย
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นความสำคัญ องการใช้สติปัญญาให้เกิดผล โดยไม่ต้องใช้กำลังอีกด้วย
เราชาวพุทธต้องสามัคคีกัน
ถ้าเรามีความสามัคคีแล้ว เมื่อเกิดสิ่งใดๆ มาทำร้ายก็ย่อมพ่ายไป
เหมือนดั่งแคว้นวัชชีผู้ไม่แพ้ ในยุคพุทธกาล เพราะความสามัคคีฉันใด
เราชาวพุทธ หากสามัคคีก็ไม่แพ้ศึกใดๆ ฉันนั้น
หลักอปริหานิยธรรมสำหรับฝ่ายคฤหัสถ์ มีดังนี้
๑. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ
๒. ประชุมหรือเลิกประชุม และทำกิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
๔. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
๕. ให้เกียรติ ให้ความปลอดภัยแก่สตรีเพศ ไม่ข่มเหงฉุดคร่า
๖. เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น
๗. จัดการอารักขาโดยธรรมแก่พระอริยะ ด้วยตั้งความปรารถนาว่า พระอริยะเหล่านี้ที่ยังไม่มาสู่บ้านนี้เมืองนี้ขอให้มา ส่วนที่มาแล้วขอให้ท่านอยู่ผาสุก
Cr.กลุ่มไลน์
แคว้นวัชชีผู้ไม่แพ้..>>เพราะความรักสามัคคี
แคว้นวัชชีผู้ไม่แพ้เพราะความรักสามัคคี
พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรให้กว้างขวาง
แคว้นที่หมายตาคือแควันวัชชี ของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี เป็นแคว้นขนาดใหญ่และเจริญกว่าแคว้นใด ในสมัยนั้นผู้ใด ครอบครองได้ย่อมแสดงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์พระองค์นั้น
เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี ร่วมกันปกครองแคว้นโดยสมัคคีธรรม กษัตริย์แต่ละพระองค์มีพระโอรสบริวาร ตลอดจนดินแดนของพระองค์ทรงมีฐานะเสมอกัน ทรงยกย่องให้เกียรติกัน ไม่ว่าจะทำกิจใด ๆ ก็ทรงปรึกษาหารือกัน
สำคัญคือ ทรงยึดมั่นในอปริหานิยธรรม ซึ่งเน้นความสามัคคีธรรมเป็นหลัก หากถูกโจมตีเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็จะทรงร่วมกันต่อสู้ จนฝ่ายศัตรูพ่ายแพ้ไป การทำสงครามกับแคว้นวัชชีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ปัญญา ไม่ใช้กำลัง
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีปุโรหิตที่ปรึกษาชื่อวัสสการพราหมณ์ เป็นผู้รอบรู้ศิลปศาสตร์และมีสติปัญญาเฉียบแหลม วัสสการพราหมณ์กราบทูลให้ทรงใช้อุบายในการตีแคว้นวัชชี โดยอาสาเป็นไส้ศึกไปยุ่งยงเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีให้ทรงแตกความสามัคคี
พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นชอบ วัสสการพราหมณ์จึงเริ่มใช้แผนการ โดยการทูลคัดค้านการไปตีแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งกริ้วทรงสั่งให้ลงโทษวัสสการพราหมณ์อย่างหนักและเนรเทศไป
วัสสการพราหมณ์มุ่งหน้าไปเมืองเวสาลี เพื่อขอรับราชการด้วยความเป็นผู้มีวาทศิลป์ รู้จักใช้เหตุผลโน้มน้าวใจ ทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีหลงเชื่อรับวัสสการพราหมณ์ไว้ในพระราชสำนัก ให้ทำที่พิจารณาคดีความและถวายพระอักษรเหล่าพระกุมาร
เมื่อทำหน้าที่เต็มความสามารถให้เป็นที่ไว้วางใจแล้ว วัสสการพราหมณ์ เริ่มสร้างความแคลงใจในเหล่าพระกุมาร โดยออกอุบายให้พระกุมารเข้าใจผิดว่า พระกุมารพระองค์อื่นนำปมด้อยของตน ไปเล่าให้ผู้อื่นทราบ ทำให้เสียชื่อ
เหล่าพระกุมารนำความไปกราบทูลพระบิดาต่างก็เชื่อพระโอรสของพระองค์ ทำให้เกิดความขุ่นเคืองกันทั่วไป ในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี สามัคคีพราหมณ์ในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีก็สูญสิ้นไป
วัสสการพราหมณ์ทดสอบด้วยการตีกลองนัดประชุม ก็ไม่ปรากฎว่ามีกษัตริย์ลิจฉวีเข้าร่วมประชุม วัสสการพราหมณ์เห็นว่าแผนการเป็นผลสำเร็จ จึงลอบส่งข่าวไปกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูให้ทรงยกทัพมาตีแคว้นวัชชี
ชาวเมืองวัชชีต่างตื่นตระหนกเมื่อทราบข่าวศึก
แต่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีต่างทรงถือทิฐิไม่มีผู้ใดวางแผนป้องกันภัย
ดังนั้นเมื่อกองทัพของแคว้นมคธถึงเมืองสาลี จึงยกทัพเข้าเมืองได้ง่ายดายและผู้ที่เปิดประตูเมืองให้กองทัพมคธก็คือ วัสสการพราหมณ์นั่นเอง
เพราะฉะนั้น การแตกความสามัคคี จึงเป็นสัญญาณของความหายนะ กษัตริย์ลิจฉวีได้ทำให้เราได้เห็นโทษ ของการแตกความสามัคคี ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสังคมส่วนรวมด้วย
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นความสำคัญ องการใช้สติปัญญาให้เกิดผล โดยไม่ต้องใช้กำลังอีกด้วย
เราชาวพุทธต้องสามัคคีกัน
ถ้าเรามีความสามัคคีแล้ว เมื่อเกิดสิ่งใดๆ มาทำร้ายก็ย่อมพ่ายไป
เหมือนดั่งแคว้นวัชชีผู้ไม่แพ้ ในยุคพุทธกาล เพราะความสามัคคีฉันใด
เราชาวพุทธ หากสามัคคีก็ไม่แพ้ศึกใดๆ ฉันนั้น
หลักอปริหานิยธรรมสำหรับฝ่ายคฤหัสถ์ มีดังนี้
๑. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ
๒. ประชุมหรือเลิกประชุม และทำกิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
๔. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
๕. ให้เกียรติ ให้ความปลอดภัยแก่สตรีเพศ ไม่ข่มเหงฉุดคร่า
๖. เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น
๗. จัดการอารักขาโดยธรรมแก่พระอริยะ ด้วยตั้งความปรารถนาว่า พระอริยะเหล่านี้ที่ยังไม่มาสู่บ้านนี้เมืองนี้ขอให้มา ส่วนที่มาแล้วขอให้ท่านอยู่ผาสุก
Cr.กลุ่มไลน์