ในซีรีย์ "แม่หยัว" เราได้เห็นบทบาทของพราหมณ์ในราชสำนัก
เช่น โหราจารย์ ปุโรหิต และตัวละครสำคัญคือ วามน (ฟิล์ม ธนภัทร)
ซึ่งต่อมาคือขุนวรวงศาธิราช
"วามน" เป็นชื่อสมมุติ ไม่มีในบันทึกประวัติศาสตร์
น่าจะแผลงจาก "วามนะ" อวตารที่ห้าของพระวิษณุ
ดังปรากฏในภาพเขียน "vamana avatar" บุรุษหนุ่มน้อยผิวใสในชุดพราหมณ์
วามนะ แปลว่า คนแคระ คนตัวเล็ก
ซึ่งต่อกรกับเทพอสูร "ท้าวมหาพลี" (พะลี) ผู้ครองจักรวาล
พราหมณ์ คือ วรรณะหนึ่งของผู้นับถือศาสนาฮินดู
โดยวรรณะแห่งปราชญ์นี้ สืบทอดผ่านสายเลือด
พราหมณ์ มีภรรยาได้ เพื่อสืบทอดสายเลือดพราหมณ์
มีหน้าที่ทางสังคมในภาคความรู้ ศิลปวิทยา การศึกษา
ความรู้สมัยก่อน รวมเวทมนต์ ปรัชญา โหราศาสตร์
ภาษา บทสวดขับร้อง การสื่อสารถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งมาจากการเล่าเรียน
วรรณะ ต่างจาก ชนชั้น
ตัวชี้วัดชนชั้น คือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ชนชั้นอาจเลื่อนขึ้นลง ไต่เต้า เปลี่ยนชนชั้นได้
แต่วรรณะ คือ การแบ่งกลุ่มคนเพื่อทำหน้าที่ในสังคม
อย่างเคร่งครัด ตามสายโลหิตโดยกำเนิด แบบอินเดียโบราณ
ซึ่งความเชื่อนี้อาจผสมผสาน-ยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อเผยแพร่-สืบทอดในไทย
ในสังคมยุคแรก การแบ่งแยก วรรณะ แปลว่า สีผิว
เพื่อที่จะรักษาอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์
มีข้อสันนิษฐาน ว่า วรรณะแห่งชนชั้นสูง ใช้สติปัญญา
เช่น พราหมณ์ มีผิวขาว (กษัตริย์ต้องเคารพครู อาจารย์ นักบวช ซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์)
ส่วนศูทร ใช้เรียกผู้ที่มาจากต่างเผ่าพันธุ์ ทาส เชลยศึก มีอารยธรรมด้อยกว่า
มีธรรมเนียมว่าต้องอยู่ห่าง ห้ามรับประทานอาหารของชนชั้นที่ต่ำกว่า
อาจเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากระบบสุขอนามัยที่ต่างกัน
กษัตริย์ ทำหน้าที่ปกครอง ปกป้องดินแดน เจ้าของดินแดน/อาณาจักร
แพศย์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่
ในสมัยก่อน ไม่อาจแต่งงานข้ามวรรณะ
ด้วยพราหมณ์มีความรู้ในด้านพิธีกรรม (พระเวท)
จึงดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในราชสำนัก
ซึ่งต้องการทั้งกลุ่มผู้ที่มีความเป็นปราชญ์ และผู้ประกอบพิธี
สัมพันธ์กับการสร้างบารมีและเพื่อให้พันธกิจสำเร็จลุล่วง
ปัจจุบัน เรายังคงเห็นพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีแรกนาขวัญ
ในอยุธยา ซึ่งเต็มไปด้วยศึกสงคราม
พราหมณ์ มีบทบาทสำคัญในพิธีเวทมนต์คาถา
สร้างขวัญกำลังใจ เพิ่มความมั่นใจ ก่อนออกศึก
และการดื่มสาบาน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
(น้ำพิพัฒน์สัตยา ลิลิตโองการแช่งน้ำเป็นร้อยกรอง
ซึ่งนักวิชาการต่างให้ความเห็นว่า แต่งขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น)
ในสมัยก่อน ความเชื่อนี้ ควบคุมทหาร ข้าราชบริพาร แทน กม.
เป็นการสร้างจิตสำนึกจากส่วนลึก เมื่อมนุษย์ผ่านพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
ปัจจบัน พราหมณ์ นุ่งห่มชุดพราหมณ์สีขาวเมื่อทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม
ในชีวิตประจำวัน แต่งกายเหมือนคนปกติทั่วไป
เปิดประเด็นตัวละครพราหมณ์ใน "แม่หยัว" ศรัทธา-ปัญญา-ตัณหา ในซีรีส์ยอดนิยม
เช่น โหราจารย์ ปุโรหิต และตัวละครสำคัญคือ วามน (ฟิล์ม ธนภัทร)
ซึ่งต่อมาคือขุนวรวงศาธิราช
"วามน" เป็นชื่อสมมุติ ไม่มีในบันทึกประวัติศาสตร์
น่าจะแผลงจาก "วามนะ" อวตารที่ห้าของพระวิษณุ
ดังปรากฏในภาพเขียน "vamana avatar" บุรุษหนุ่มน้อยผิวใสในชุดพราหมณ์
วามนะ แปลว่า คนแคระ คนตัวเล็ก
ซึ่งต่อกรกับเทพอสูร "ท้าวมหาพลี" (พะลี) ผู้ครองจักรวาล
พราหมณ์ คือ วรรณะหนึ่งของผู้นับถือศาสนาฮินดู
โดยวรรณะแห่งปราชญ์นี้ สืบทอดผ่านสายเลือด
พราหมณ์ มีภรรยาได้ เพื่อสืบทอดสายเลือดพราหมณ์
มีหน้าที่ทางสังคมในภาคความรู้ ศิลปวิทยา การศึกษา
ความรู้สมัยก่อน รวมเวทมนต์ ปรัชญา โหราศาสตร์
ภาษา บทสวดขับร้อง การสื่อสารถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งมาจากการเล่าเรียน
วรรณะ ต่างจาก ชนชั้น
ตัวชี้วัดชนชั้น คือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ชนชั้นอาจเลื่อนขึ้นลง ไต่เต้า เปลี่ยนชนชั้นได้
แต่วรรณะ คือ การแบ่งกลุ่มคนเพื่อทำหน้าที่ในสังคม
อย่างเคร่งครัด ตามสายโลหิตโดยกำเนิด แบบอินเดียโบราณ
ซึ่งความเชื่อนี้อาจผสมผสาน-ยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อเผยแพร่-สืบทอดในไทย
ในสังคมยุคแรก การแบ่งแยก วรรณะ แปลว่า สีผิว
เพื่อที่จะรักษาอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์
มีข้อสันนิษฐาน ว่า วรรณะแห่งชนชั้นสูง ใช้สติปัญญา
เช่น พราหมณ์ มีผิวขาว (กษัตริย์ต้องเคารพครู อาจารย์ นักบวช ซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์)
ส่วนศูทร ใช้เรียกผู้ที่มาจากต่างเผ่าพันธุ์ ทาส เชลยศึก มีอารยธรรมด้อยกว่า
มีธรรมเนียมว่าต้องอยู่ห่าง ห้ามรับประทานอาหารของชนชั้นที่ต่ำกว่า
อาจเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากระบบสุขอนามัยที่ต่างกัน
กษัตริย์ ทำหน้าที่ปกครอง ปกป้องดินแดน เจ้าของดินแดน/อาณาจักร
แพศย์ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่
ในสมัยก่อน ไม่อาจแต่งงานข้ามวรรณะ
ด้วยพราหมณ์มีความรู้ในด้านพิธีกรรม (พระเวท)
จึงดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในราชสำนัก
ซึ่งต้องการทั้งกลุ่มผู้ที่มีความเป็นปราชญ์ และผู้ประกอบพิธี
สัมพันธ์กับการสร้างบารมีและเพื่อให้พันธกิจสำเร็จลุล่วง
ปัจจุบัน เรายังคงเห็นพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีแรกนาขวัญ
ในอยุธยา ซึ่งเต็มไปด้วยศึกสงคราม
พราหมณ์ มีบทบาทสำคัญในพิธีเวทมนต์คาถา
สร้างขวัญกำลังใจ เพิ่มความมั่นใจ ก่อนออกศึก
และการดื่มสาบาน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
(น้ำพิพัฒน์สัตยา ลิลิตโองการแช่งน้ำเป็นร้อยกรอง
ซึ่งนักวิชาการต่างให้ความเห็นว่า แต่งขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น)
ในสมัยก่อน ความเชื่อนี้ ควบคุมทหาร ข้าราชบริพาร แทน กม.
เป็นการสร้างจิตสำนึกจากส่วนลึก เมื่อมนุษย์ผ่านพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
ปัจจบัน พราหมณ์ นุ่งห่มชุดพราหมณ์สีขาวเมื่อทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม
ในชีวิตประจำวัน แต่งกายเหมือนคนปกติทั่วไป