วรรณะ หรือเขียนแบบสันสกฤตก็คือ วารฺณะ (Varna) หากแปลตามตัวก็แปลว่า 'สี' หรือ 'พรรณ' ซึ่งอาจจะหมายถึงสีผิวของมนุษย์ โดยแน่นอนว่าตามที่เราเข้าใจกันถึงวรรณะซึ่งแบ่งเป็น 4 วรรณะก็คือ พราหมณ์ ซึ่งหมายถึงผู้เป็นนักบวช เป็นครูอาจารย์ และมีหน้าที่ใฝ่เรียน ประกอบพิธีกรรมต่างๆ, กษัตริย์ คือ พระราชา พระราชวงศ์ อำมาตย์เสนาบดี จนกระทั่งขุนนาง ข้าราชการ, แพศย์ คือ พ่อค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และ ศูทร คือ กรรมกร, ชาวนา หรือ ทาส ส่วนจัณฑาล ถือว่าเป็นชาติ (Jati) หนึ่งที่เกิดจากชายวรรณะสูงกับหญิงวรรณะต่ำ (พราหมณ์+ศูทร) ซึ่งไม่ถูกยอมรับว่าเป็น 'มนุษย์' และไม่ควรเข้าใกล้เพื่อไม่ให้ติดความอัปมงคลออกไป
ความแตกต่างระหว่าง พราหมณ์ (บน) กับ จัณฑาล (ล่าง)
หากถามว่าทำไมถึงต้องมีการแบ่งวรรณะขึ้น ต้องย้อนไปหลายพันปีก่อนในยุคพระเวท ได้มีการแบ่งวรรณะเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะอารยะ (Arya Varna) ซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติอารยัน และ วรรณะทาสะ (Dasa Varna) ซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติฑราวิฑ โดยในเวลาแรกได้เป็นพันธมิตรกันก่อนที่จะถูกหลอมรวมเข้าเป็นเผ่าเดียวกัน และมีการแบ่นชนชั้นวรรณะให้กลุ่มทาสะเป็นข้ารับใช้หรือแรงงาน ซึ่งภายหลังอาถรรพเวท ได้มีการเปลี่ยนวรรณะอารยะเป็นแพศย์ เปลี่ยนวรรณะทาสะเป็นศูทร ขณะที่ได้มีการสร้างวรรณะชั้นสูง คือ วรรณะพราหมณ์ และ วรรณะกษัตริย์ ทำให้มีการแบ่งระเบียบวรรณะตั้งแต่นั้นมา
.
ในยุคโบราณกาลที่ผ่านมา กลุ่มวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ มีสิทธิ์สามารถเข้าทำพิธีทางศาสนาได้ ขณะที่กลุ่มแพศย์จะถูกห้ามด้วยคำพูด และกลุ่มศูทรจะถูกโบยตีขับไล่ออกไป เมื่อพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามได้กำเนิดในอินเดีย จึงทำให้การเปลี่ยนศาสนาเป็นทางเลือกหลักของผู้ที่ทนการกดขี่ทารุณไม่ไหว แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความรังเกียจหายไป เนื่องจากจะยังถูกมองว่าเป็นจัณฑาลอยู่ดี อีกทั้งระบบวรรณะยังได้เผยแพร่เข้าสู่กลุ่มมุสลิมและชนชาติอื่น และ ศาสนาอื่นๆอีกด้วย
.
ในอินเดียใต้ การถือวรรณะและการเคร่งศาสนาถือว่าเบาบางกว่าอินเดีย เนื่องจากกลุ่มชาวอินเดียใต้ส่วนใหญ่ (รวมถึงในปัจจุบันนี้ด้วย) เป็นกลุ่มทาสะ แต่ก็ถือว่ายังเคร่งครัดอยู่ดี เนื่องจากในเวลาต่อมา ได้มีกลุ่มอารยันเผยแพร่อาณาเขตมาถึงอินเดียใต้และสร้างระบบวรรณะขึ้นมาซ้ำ แต่ด้วยความที่ชนชาติอินเดียใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวทาสะ (ทมิฬ, มาลายาลัม, กันนาฑา และ เตลูกู) ดังนั้นจึงไม่สามารถทำให้ระบบวรรณะในอินเดียใต้มีความเข้มงวดอย่างเด็ดขาดได้ดั่งในอินเดียเหนือ
บี.อาร์.อามเพฑกัร และ อี.วี. รามาสามี
ช่วงยุคอาณานิคม นอกเหนือจากการต่อต้านการล่าอาณานิคมแล้ว ยังมีการต่อต้านระบบวรรณะกัน โดยในอินเดียเหนือนำโดย ดร. บี.อาร์.อามเพฑกัร (B.R. Ambedkar) ซึ่งเป็นชาวจัณฑาลที่ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลแบบพราหมณ์ และมีจุดประสงค์เพื่อขจัด ขณะที่อินเดียใต้ นำโดย เปรียาร์ อี.วี. รามาสามี (E. V. Ramasamy) ซึ่งได้ต่อต้านระบบพราหมณ์และศาสนาฮินดูกันอย่างรุนแรงและหนักหน่วงกว่าของ ด.ร. อามเพฑกัร หลายเท่า การเคลื่อนไหวของบุคคล 2 คน ทำให้อินเดียในปัจจุบันสามารถคุ้มครองสิทธิและยกระดับความเป็นมนุษย์ได้อย่างเท่าเทียม แม้ว่าโดยทางปฏิบัติจะยังไม่มีทางทีสำเร็จก็ตาม
.
การต่อต้านระบบวรรณะ ทำให้เกิดกลุ่มการเมืองหลายๆกลุ่มขึ้นมาในอินเดีย เช่น กลุ่มนาซาล (Naxal) กลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา กลุ่มที่ต่อต้านระบบวรรณะและศาสนาฮินดูของเปรียาร์ซึ่งละทิ้งศาสนาฮินดูและชื่อชนชั้น (แต่เดิมชาวทมิฬจะมีชื่อชนชั้นอยู่ แต่ปัจจุบันได้ละทิ้งไปแล้ว) รวมไปถึงกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเจริญเติบโตในดินแดนที่ห่างไกลเป็นอย่างดี
.
ปัจจุบัน มีประชากรที่เป็นจัณฑาลถึง 200 ล้านคน หรือคิดประมาณ 16% ซึ่งแม้เปอร์เซนต์จะเล็กน้อยแต่จำนวนก็ไม่ได้น้อยเลย ระบบวรรณะแม้จะไม่ปฏิเสธการเข้าถึงการศึกษาแบบปัจจุบัน การทำงานที่ไม่ได้กำหนดหรือห้ามไว้ในพระคัมภีร์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า จัณฑาลนั้น เป็นกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่ถูกละทิ้งและถูกห้ามเข้าถึงความเจริญอย่างที่มนุษย์ทั่วไปพึงมี ซึ่งส่งผลทำให้อินเดียยังไม่สามารถเข้าถึงความเป็นมหาอำนาจได้เต็มที่ ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว เรื่องราวทางศาสนาของคนอินเดียนั้น ถือว่าทำให้อินเดียไม่สามารถไปได้ถึงไหนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการกดขี่และการห้ามเข้าถึงความเจริญทางสังคมนั้นเอง
เปิดปมกำเนิดเรื่องราวของวรรณะ หนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของการพัฒนาอินเดีย
วรรณะ หรือเขียนแบบสันสกฤตก็คือ วารฺณะ (Varna) หากแปลตามตัวก็แปลว่า 'สี' หรือ 'พรรณ' ซึ่งอาจจะหมายถึงสีผิวของมนุษย์ โดยแน่นอนว่าตามที่เราเข้าใจกันถึงวรรณะซึ่งแบ่งเป็น 4 วรรณะก็คือ พราหมณ์ ซึ่งหมายถึงผู้เป็นนักบวช เป็นครูอาจารย์ และมีหน้าที่ใฝ่เรียน ประกอบพิธีกรรมต่างๆ, กษัตริย์ คือ พระราชา พระราชวงศ์ อำมาตย์เสนาบดี จนกระทั่งขุนนาง ข้าราชการ, แพศย์ คือ พ่อค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และ ศูทร คือ กรรมกร, ชาวนา หรือ ทาส ส่วนจัณฑาล ถือว่าเป็นชาติ (Jati) หนึ่งที่เกิดจากชายวรรณะสูงกับหญิงวรรณะต่ำ (พราหมณ์+ศูทร) ซึ่งไม่ถูกยอมรับว่าเป็น 'มนุษย์' และไม่ควรเข้าใกล้เพื่อไม่ให้ติดความอัปมงคลออกไป
หากถามว่าทำไมถึงต้องมีการแบ่งวรรณะขึ้น ต้องย้อนไปหลายพันปีก่อนในยุคพระเวท ได้มีการแบ่งวรรณะเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะอารยะ (Arya Varna) ซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติอารยัน และ วรรณะทาสะ (Dasa Varna) ซึ่งหมายถึงกลุ่มชนชาติฑราวิฑ โดยในเวลาแรกได้เป็นพันธมิตรกันก่อนที่จะถูกหลอมรวมเข้าเป็นเผ่าเดียวกัน และมีการแบ่นชนชั้นวรรณะให้กลุ่มทาสะเป็นข้ารับใช้หรือแรงงาน ซึ่งภายหลังอาถรรพเวท ได้มีการเปลี่ยนวรรณะอารยะเป็นแพศย์ เปลี่ยนวรรณะทาสะเป็นศูทร ขณะที่ได้มีการสร้างวรรณะชั้นสูง คือ วรรณะพราหมณ์ และ วรรณะกษัตริย์ ทำให้มีการแบ่งระเบียบวรรณะตั้งแต่นั้นมา
.
ในยุคโบราณกาลที่ผ่านมา กลุ่มวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ มีสิทธิ์สามารถเข้าทำพิธีทางศาสนาได้ ขณะที่กลุ่มแพศย์จะถูกห้ามด้วยคำพูด และกลุ่มศูทรจะถูกโบยตีขับไล่ออกไป เมื่อพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามได้กำเนิดในอินเดีย จึงทำให้การเปลี่ยนศาสนาเป็นทางเลือกหลักของผู้ที่ทนการกดขี่ทารุณไม่ไหว แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความรังเกียจหายไป เนื่องจากจะยังถูกมองว่าเป็นจัณฑาลอยู่ดี อีกทั้งระบบวรรณะยังได้เผยแพร่เข้าสู่กลุ่มมุสลิมและชนชาติอื่น และ ศาสนาอื่นๆอีกด้วย
.
ในอินเดียใต้ การถือวรรณะและการเคร่งศาสนาถือว่าเบาบางกว่าอินเดีย เนื่องจากกลุ่มชาวอินเดียใต้ส่วนใหญ่ (รวมถึงในปัจจุบันนี้ด้วย) เป็นกลุ่มทาสะ แต่ก็ถือว่ายังเคร่งครัดอยู่ดี เนื่องจากในเวลาต่อมา ได้มีกลุ่มอารยันเผยแพร่อาณาเขตมาถึงอินเดียใต้และสร้างระบบวรรณะขึ้นมาซ้ำ แต่ด้วยความที่ชนชาติอินเดียใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวทาสะ (ทมิฬ, มาลายาลัม, กันนาฑา และ เตลูกู) ดังนั้นจึงไม่สามารถทำให้ระบบวรรณะในอินเดียใต้มีความเข้มงวดอย่างเด็ดขาดได้ดั่งในอินเดียเหนือ
ช่วงยุคอาณานิคม นอกเหนือจากการต่อต้านการล่าอาณานิคมแล้ว ยังมีการต่อต้านระบบวรรณะกัน โดยในอินเดียเหนือนำโดย ดร. บี.อาร์.อามเพฑกัร (B.R. Ambedkar) ซึ่งเป็นชาวจัณฑาลที่ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลแบบพราหมณ์ และมีจุดประสงค์เพื่อขจัด ขณะที่อินเดียใต้ นำโดย เปรียาร์ อี.วี. รามาสามี (E. V. Ramasamy) ซึ่งได้ต่อต้านระบบพราหมณ์และศาสนาฮินดูกันอย่างรุนแรงและหนักหน่วงกว่าของ ด.ร. อามเพฑกัร หลายเท่า การเคลื่อนไหวของบุคคล 2 คน ทำให้อินเดียในปัจจุบันสามารถคุ้มครองสิทธิและยกระดับความเป็นมนุษย์ได้อย่างเท่าเทียม แม้ว่าโดยทางปฏิบัติจะยังไม่มีทางทีสำเร็จก็ตาม
.
การต่อต้านระบบวรรณะ ทำให้เกิดกลุ่มการเมืองหลายๆกลุ่มขึ้นมาในอินเดีย เช่น กลุ่มนาซาล (Naxal) กลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา กลุ่มที่ต่อต้านระบบวรรณะและศาสนาฮินดูของเปรียาร์ซึ่งละทิ้งศาสนาฮินดูและชื่อชนชั้น (แต่เดิมชาวทมิฬจะมีชื่อชนชั้นอยู่ แต่ปัจจุบันได้ละทิ้งไปแล้ว) รวมไปถึงกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเจริญเติบโตในดินแดนที่ห่างไกลเป็นอย่างดี
.
ปัจจุบัน มีประชากรที่เป็นจัณฑาลถึง 200 ล้านคน หรือคิดประมาณ 16% ซึ่งแม้เปอร์เซนต์จะเล็กน้อยแต่จำนวนก็ไม่ได้น้อยเลย ระบบวรรณะแม้จะไม่ปฏิเสธการเข้าถึงการศึกษาแบบปัจจุบัน การทำงานที่ไม่ได้กำหนดหรือห้ามไว้ในพระคัมภีร์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า จัณฑาลนั้น เป็นกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่ถูกละทิ้งและถูกห้ามเข้าถึงความเจริญอย่างที่มนุษย์ทั่วไปพึงมี ซึ่งส่งผลทำให้อินเดียยังไม่สามารถเข้าถึงความเป็นมหาอำนาจได้เต็มที่ ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว เรื่องราวทางศาสนาของคนอินเดียนั้น ถือว่าทำให้อินเดียไม่สามารถไปได้ถึงไหนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการกดขี่และการห้ามเข้าถึงความเจริญทางสังคมนั้นเอง