โรงงานปั๊มภาษี

เมื่ออาทิตย์ก่อนผมมีโอกาสไปทำงานที่ปักกิ่ง และมีโอกาสได้เข้าไปพบพูดคุยกับนักธุรกิจอาวุโสชาวจีนท่านนึงเพื่อปรึกษาปัญหาธุรกิจส่งออกของผม ช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจที่ผมทำจะต้องมีการติดต่อกับกลุ่มธุรกิจจากจีนซะส่วนใหญ่  ผมเกิดคำถามอยู่ในใจขึ้นมาบ่อยๆ ว่าเพราะอะไรที่ทำให้หลังจากเปิดประเทศ จีนใช้เวลาแค่ไม่กี่สิบปี เจริญรุดหน้าได้เร็วขนาดนี้  (จีนเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อ คศ.1978)

    


        ดั้งนั้นเมื่อสบโอกาสมีผู้มากประสบการณ์มานั่งตรงหน้าผม ผมจึงตัดสินใจถามคำถามนี้ กับชายนักธุรกิจชาวจีนที่เป็นคู่ค้ากันมานานจนเราคุ้นเคยดีที่พอจะพูดคุยเรื่องเหล่านี้ได้ หลังจากคุยจบ มันเหมือนเป็นการเปิดมุมมองใหม่ให้ผมได้เยอะ จึงอยากเอามาแชร์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆครับ

"ในมุมมองของผม ในฐานะที่เห็นการเติบโตของประเทศตัวเองมาเป็นลำดับ สิ่งที่ทำให้จีนเปลี่ยนแปลงได้เร็วขนาดนี้ ส่วนนึงมาจากเรื่องการปกครองของเรา ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมันมีผลดีเรื่องความเด็ดขาดในการใช้กฏหมาย นักการเมืองกลัวการทุจริต การคอรัปชั่น แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีนะ ยังมีการทุจริตอยู่ แต่การตรวจสอบของเราเข้มงวดและเด็ดขาด  ประเทศเรามีเงินเยอะ เงินมาจากไหน? ก็มาจากเงินภาษีต่างๆที่รัฐเก็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพวกเราที่เป็นเอกชน "

.
.
.
.

คำตอบนี้ทำให้ผมหวนกลับมามองประเทศไทยของเรา ประเทศเรามีกลุ่มธุรกิจที่เป็นองค์กรใหญ่ๆ อยู่พอสมควร ซึ่งแต่ละปีก็คงเสียภาษีเข้ารัฐจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน แต่เพราะอะไร ทำไมความเจริญต่างๆถึงเติบโตขึ้นได้ช้ามากเมื่อเทียบกับจีน ชายตรงหน้าผมเล่าให้ฟังต่อ



"ที่นี่รัฐให้การสนับสนุนภาคเอกชนเต็มที่ เพราะเมื่อเอกชนทำกำไรได้มาก ภาษีที่ต้องเสียให้รัฐก็มากขึ้นตามไปด้วย ประชากรเราเยอะ รัฐเก็บรายได้จากภาษีเป็นหลัก  จึงมีงบประมาณไปลงทุนหรือพัฒนาต่อยอดในด้านต่างๆได้มากขึ้นตามไปด้วย สังเกตดูช่วงสิบปีมานี้ เรามีโครงการเมกะโปรเจคผุดขึ้นทุกปี เราลงทุนในการพัฒนาเรื่องพวกนี้อย่างเต็มที่"

จีนมีกลุ่มธุรกิจหลายขนาด เพราะคนของเราเยอะ  เราจำเป็นต้องมีบริษัทขนาดใหญ่ ที่แข็งแกร่งพอจะออกไปสู่ตลาดระดับโลก ในขณะเดียวกัน  ก็ต้องมีบริษัทระดับกลาง ระดับ sme และระดับเล็กสุดด้วย เพื่อสร้างสมดุลในระบบเศรษฐกิจเพื่อจะโตไปพร้อมๆกัน โมเดลที่รัฐพยายามผลักดันผมเรียกเอาเองว่า เป็นโมเดลแบบ "พี่ช่วยน้อง"

แบบรัฐนำเอกชนรายใหญ่ รัฐจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เช่น การลงทุนขนาดใหญ่ แลกกับผลประโยชน์บางอย่าง เช่น อาจเป็นการร่วมลงทุนแล้วแบ่งปันกำไร แต่มีข้อแม้ว่า ต้องให้เอกชนของจีนเป็นผู้รับสัมปทาน ก่อสร้าง หรือ ร่วมทุน

เอกชนรายใหญ่นำเอกชนรายเล็ก วิธีนี้รัฐจะช่วยเหลือเอกชนรายใหญ่หลายรูปแบบ แต่มีข้อแม้ว่าเอกชนขนาดใหญ่จะต้องช่วยเหลือ หรือจ้างงานจากเอกชนรายเล็กในระยะแรก ซึ่งพอเอกชนรายเล็กเริ่มตั้งตัวได้ ก็ขยับขยาย หรือ ผันตัวเป็นเอกชนรายใหญ่แทน รายใหญ่ก็ขยายตัวไปลงทุนในต่างประเทศ ตามลำดับ

รัฐเป็นที่พึ่งหลักด้านการเงิน เช่น การออกเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 10 ปี สัญญายกเว้นภาษีซ้อน การทำประกันธุรกิจและการล้มละลาย และมาตรการช่วยเหลือทางภาษีต่างๆ ทำนองนี้"


.
.
.


หลังจากฟังโมเดลแบบคร่าวๆ  ทำให้ผมพอจะเห็นภาพระหว่างรัฐกับกลุ่มทุนของจีนชัดเจนขึ้น รัฐอยู่ได้เพราะเอกชน เอกชนเองก็อยู่ได้เพราะรัฐคอยช่วยเหลือ ระบบการบริหารของบ้านเค้าต่างพึ่งพากันและกัน ผลที่ได้คือประเทศชาติได้ประโยชน์และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  

ผมกลับมาย้อนมองในบ้านเรา คำว่า รัฐเอื้อเอกชน กลายเป็นคำแสลงหูของหลายคน ทั้งที่จริงๆแล้วทุกประเทศในโลกไม่สามารถเติบโตและพัฒนาได้ด้วยฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว  ทุกฝ่ายต้องเอื้อประโยชน์เพื่อกันและกัน  สภาวะในตอนนี้ของบ้านเรา ทำให้ผมกลับคิดว่า เอกชนกำลังเอื้อรัฐด้วยซ้ำไป



ประเทศเรามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่แข็งแกร่งมากพอจะไปต่อสู้กับคู่แข่งในระดับโลกได้ แต่เรากลัวความใหญ่นั้นจะมายึดครองประเทศ

เราประชาชนตาดำๆ เสียภาษีเข้ารัฐจำนวนมากมายในแต่ละปี แต่เงินเหล่านั้นไม่ถูกนำไปพัฒนาบ้านเมืองอย่างที่ควรจะเป็น

เรามี NGO บางกลุ่มที่ออกมาพูดความจริงแค่บางส่วนโจมตีรัฐและเอกชน ทำให้เศรษฐกิจของชาติไม่สามารถเดินหน้า หรือแข่งขันได้ โดยอาศัยความเกลียดชังของความเหลื่อมล้ำ

GDP ของเรากำลังดิ่งลงเหวอย่างน่าใจหาย  ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างลาว เวียดนาม พม่า กำลังจะทุบอกชกหัวตัวเอง เพื่อให้ประเทศของเขาแซงหน้าเรา



อมยิ้ม11นี่เรากำลังทำร้ายประเทศกันอยู่หรือเปล่าครับ ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่