ไพบูลย์ถึงกับตาสว่างเมื่อแผนฟื้นฟูสหกรณ์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐแต่อย่างใด

กระทู้คำถาม
แจงกรณีอดีตสว.นำผู้เสียหายยื่นฟ้องเอาผิดคดีสหกรณ์ฯคลองจั่น


ดร.วิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงกรณีที่มีสื่อต่างๆ นำเสนอข่าวนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานเครือข่ายประชาชนปฏิรูป อดีต ส.ว. และ สปช. พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด จำนวน 665 คน เดินทางมายื่นฟ้องคดีอาญาต่ออดีตอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 และสหกรณ์ฯ เนื่องจากกรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนให้สหกรณ์ใช้กระบวนฟื้นฟูกิจการ ทำให้ถูกตัดสิทธิรับเงินฝากประมาณ 7,500 ล้านบาท และเงินค่าหุ้นประมาณ 4,600 ล้านบาท รวมทั้งการฟื้นฟูกิจการจะต้องใช้เงินงบประมาณจากภาษีประชาชนนับหมื่นล้านบาท จึงขอเสนอให้ตั้งกองทุนเพื่อติดตามรวบรวมทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดฟอกเงินเพื่อนำเงินมาคืนแก่ผู้เสียหายประมาณ 5,400 คน นั้น

               กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลสหกรณ์ดังกล่าวขอเรียนชี้แจงเหตุผล
ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ว่าปัญหาการทุจริตของอดีตผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ทำให้สหกรณ์ต้องขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ประกอบกับสมาชิกได้มาถอนคืนเงินฝากและลาออกเพื่อรับค่าหุ้นคืน อีกทั้งเจ้าหนี้บางรายได้ฟ้องสหกรณ์เพื่อขอรับชำระหนี้ และศาลพิพากษาให้สหกรณ์ต้องชำระหนี้มูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท ประกอบกับมีสหกรณ์เจ้าหนี้บางแห่งได้ยื่นฟ้องล้มละลายต่อศาล เนื่องจากเห็นว่าสหกรณ์ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้

              กรมส่งเสริมสหกรณ์เห็นว่า เมื่อสหกรณ์ประสบภาวะดังกล่าวนี้ ช่องทางที่ดีที่สุดที่สหกรณ์จะสามารถชำระหนี้คืนให้กับเจ้าหนี้ทุกราย คือการให้โอกาสสหกรณ์สามารถฟื้นฟูกิจการสหกรณ์ได้ ดังนั้น จึงได้เสนอเรื่องให้กระทรวงยุติธรรมนำเสนอ คสช. เพื่อออกกฎกระทรวง ซึ่งที่ประชุม คสช.  ได้มีมติเห็นชอบให้ออกกฎกระทรวงเพื่อฟื้นฟูกิจการสำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด สหกรณ์จึงได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ซึ่งต่อมาศาลได้รับคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 จึงทำให้สหกรณ์อยู่ในสภาวะพักการชำระหนี้ตามกฎหมาย (Automatic Stay) และได้รับความคุ้มครองจากการเรียกคืนหนี้ของเจ้าหนี้ ทำให้มีโอกาสในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจการและเรียกร้องทรัพย์สินคืน รวมทั้งเจ้าหนี้จะมีโอกาสได้รับชำระหนี้คืนสูงกว่าการไปฟ้องร้องลูกหนี้ตามปกติ ซึ่งศาลล้มละลายได้เห็นชอบให้ฟื้นฟูกิจการได้ และเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559

                   เมื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการจะทำให้เจ้าหนี้เงินรับฝาก และเจ้าหนี้อื่นมีโอกาสได้รับชำระหนี้คืนตามแผนฟื้นฟูกิจการฯ ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์ได้จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไปแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 และวันที่ 23 ธันวาคม 2559 (จ่ายเดือนที่ 6 และ 12) โดยชำระหนี้ครั้งละ 3.76% เป็นผลให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว 7.52% และจะชำระหนี้รอบใหม่ในเดือนมิถุนายน 2560 อีก 3.76% แต่หากนำทรัพย์สินที่เหลือมาชำระหนี้ทั้งหมดโดยไม่รอผลการติดตามทรัพย์จากคดี จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งสิ้นเพียงร้อยละ 14.96 ของเงินต้นเท่านั้น สำหรับค่าหุ้นของสมาชิกที่มีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาทนั้น มูลเหตุที่สมาชิกไม่สามารถรับชำระตามแผนฟื้นฟูกิจการได้ เนื่องจากค่าหุ้นเป็นส่วนของทุนดำเนินงาน ไม่ถือว่าเป็นรายการหนี้ที่จะขอรับชำระคืนได้ตามกฎหมาย

              ดังนั้น จึงไม่อยู่ในแผนที่จะชำระคืนให้กับสมาชิกผู้ถือหุ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากสหกรณ์สามารถดำเนินกิจการตามแผนฟื้นฟูฯ จนสำเร็จ ซึ่งถ้าหากมีผลประกอบการที่มีกำไร จะนำมาชดเชยขาดทุนสะสมของสหกรณ์ ก็จะทำให้ยอดขาดทุนสะสมของสหกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้กว่า 15,000 ล้านบาทลดลง สมาชิกจะมีโอกาสรับคืนค่าหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ แต่ถ้าหากสมาชิกจะลาออกแล้วถอนค่าหุ้นคืนในขณะนี้ จะไม่สามารถขอรับค่าหุ้นคืนได้ เนื่องจากเจ้าของทุนจะต้องรับผิดชอบในส่วนขาดแห่งทุนด้วย

                สำหรับประเด็นที่มีการกล่าวอ้างว่ารัฐจะนำเงินภาษีประชาชนไปอุดหนุนให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
คลองจั่น จำกัด ด้วยวิธีไม่โปร่งใสนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางจัดหาแหล่งเงินทุนที่จะใช้สนับสนุนการฟื้นฟูกิจการตามแผนฯ ซึ่งตามแนวทางที่ดำเนินการไม่ได้ขอใช้งบประมาณของรัฐ แต่จะให้สหกรณ์เจ้าหนี้และสหกรณ์อื่นที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการจัดตั้งบัญชีร่วมเพื่อรักษาเสถียรภาพของสหกรณ์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ ที่ผ่านมาได้จัดประชุมหารือกับสหกรณ์เจ้าหนี้และสหกรณ์ที่จะเข้าร่วมโครงการไปแล้ว 3 ครั้ง เพื่อจะนำข้อสรุปที่ได้หารือกับกระทรวงการคลังเกี่ยวกับแนวทางที่จะให้ธนาคารของรัฐให้ความช่วยเหลือตามโครงการฯ ต่อไป

               ดังนั้น การจัดหาแหล่งเงินทุนตามแนวทางที่กำหนดจึงไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของรัฐแต่อย่างใด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่