JJNY : “ศุภโชติ” ชี้ลดค่าไฟให้เป็นธรรม│แม่น้ำโก-ลกล้นตลิ่ง│ลุ้นประชุมเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ วันนี้│ดินโคลนถล่มอินโดนีเซีย

* ลงกระทู้ผิดครับ 

“ณัฐพงษ์” ชี้แก้ รธน.-นิรโทษ ต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_808647/

“ณัฐพงษ์” ชี้แก้ รธน.-นิรโทษ ต้องเริ่มต้นกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง ยก”นิติรัฐ” คือ ประเทศเราปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่อำนาจของคนใดคนหนึ่งจะชี้ถูกชี้ผิด
 
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยสำนักข่าว INN ว่า บทบาทผู้นำฝ่ายค้าน ยังต้องเร่งผลักดันกฎหมายหลายฉบับเข้าสู่การพิจารณาของสภาในสมัยการประชุมหน้าที่จะเปิดในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ซึ่งในส่วนของพรรคประชาชนก็มีหลายฉบับ ทั้งที่อยู่ในวาระและร่างที่เตรียมเสนอใหม่
 
ส่วนการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนิรโทษกรรม ต้องเริ่มต้นกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง โดยพรรคประชาชนในปัจจุบัน จะเห็นว่าเราผลักดันหลายเรื่อง โดยยึดผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และให้ความสำคัญกับการกลัด “กระดุมเม็ดแรก” ให้ถูกต้อง เช่น การผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีที่มา กระบวนการและเนื้อหาเป็นประชาธิปไตย รวมถึงการนิรโทษกรรมประชาชนในคดีการเมือง เพราะเชื่อว่าทั้ง 2 เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการวางหลักนิติรัฐและนิติธรรมของประเทศ
 
นิติรัฐ” คือ ประเทศเราปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่อำนาจของคนใดคนหนึ่งจะชี้ถูกชี้ผิด “นิติธรรม” คือ ทุกคนในประเทศเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย ไม่ใช่ผู้มีอำนาจบางกลุ่มสามารถใช้การตีความกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง

ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาจะมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่เชื่อมั่นว่า ยังมีความหวังที่จะผลักดันให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ดังนั้น เมื่อเปิดสมัยประชุมแล้ว จึงต้องหารือกับแต่ละพรรคการเมืองเพื่อหาจุดร่วมและแนวทางร่วมกัน


 
แม่น้ำโก-ลกล้นตลิ่ง มาเลย์ประกาศปิดด่านไม่มีกำหนด นราธิวาสเผยเดือดร้อน 1.78 แสนคน.
https://www.matichon.co.th/region/news_4926546

แม่น้ำโก-ลกล้นตลิ่ง มาเลย์ประกาศปิดด่านไม่มีกำหนด นราธิวาส อัพเดตจม 13 อำเภอ เดือดร้อน 1.78 แสนคน
 
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ว่า ล่าสุดฝนยังคงตกอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดในระยะนี้ ส่งผลให้แม่น้ำสายหลักทั้ง 3 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำโก-ลก มีปริมาณน้ำฝนตกสะสมลงมาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้ไหลบ่าล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของประชาชนขยายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นราธิวาส ได้สรุปสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 13 อำเภอ ของ จ.นราธิวาส มีจำนวน 76 ตำบล 523 หมู่บ้าน 52 ชุมชน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 48,251 ครัวเรือน รวม 178,271 คน
 
และจากสภาวะฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องในระยะนี้ ได้มีการตระเวนตรวจสอบแม่น้ำโก-ลก ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของแม่น้ำสายหลัก พบว่าได้มีปริมาณมวลน้ำป่าจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดในพื้นที่ อ.สุคิริน ได้ไหลทะลักลงมาบรรจบในแม่น้ำโก-ลก เพื่อระบายลงสู่ปากอ่าวทะเลด้านอำเภอตากใบ ทำให้มีปริมาณน้ำล้นตลิ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนที่ปลูกสร้างอยู่ตลอดแนวริมตลิ่งของแม่น้ำโก-ลก ทั้ง 2 ฟากฝั่งไทยด้านจ.นราธิวาสและเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน ของประเทศมาเลเซีย
 
โดยทางฝั่งเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย มีสภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือนของประชาชน รวมทั้งที่ตั้งของส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งแฟลตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากผลพวงของแม่น้ำโก-ลกและคลองปาเสมัส ที่ล้นตลิ่งเป็นระยะเวลากว่า 3 วันที่ผ่านมา ซึ่งรัศมีน้ำท่วมขังตั้งแต่ด่านพรมแดนเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน เข้าไปถึงหมู่บ้านกูวาตีงี ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า 10 กม. มีสภาวะน้ำท่วมขังโดยเฉลี่ยสูง 50-80 ซม. ถนนถูกน้ำท่วมขังจนยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้เป็นช่วงๆ
 
ส่วนตลาดซึ่งเป็นศูนย์เศรษฐกิจการค้าริมชายแดนเมืองรันตูปันยัง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับ อ.สุไหงโก-ลก ก็มีน้ำท่วมขังจนร้านค้าพากันปิดกิจการ ส่วนด่านพรมแดนเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน มีน้ำท่วมขังจนต้องมีการประกาศงดให้บริการเดินทางเข้าออกระหว่างด่านพรมแดนเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน กับด่านพรมแดน อ.สุไหงโก-ลก เป็นการชั่วคราว จนสภาวะน้ำท่วมขังจะคลี่คลาย และให้ประชาชนที่ต้องการเดินทางเข้าออกระหว่างรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย กับพรมแดนด้าน จ.นราธิวาส ไปใช้บริการด่านพรมแดน ด้าน ต.บูเก๊ะตา อ.แว้ง กับด่านพรมแดน ด้าน อ.ตากใบ
 
และจากสภาวะน้ำท่วมที่ทำการด่านพรมแดนเมืองรันตูปันยัง รัฐกลันตัน พ.ต.อ.พูลศักดิ์ แก้วสีขาว ผกก.ตม.จว.นราธิวาส ได้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำอาหารและน้ำดื่มจำนวนหนึ่ง ไปแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองรันตูปันยัง เป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ที่ไม่สามารถเดินทางไปซื้ออาหารรับประทาน จากสภาวะน้ำท่วมขังและผู้ประกอบการร้านอาหารพากันปิดกิจการในครั้งนี้
 



ลุ้นประชุมเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ วันนี้ จับตาการเมืองแทรกแซง โหวตเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟู
https://www.matichon.co.th/economy/news_4926360

ลุ้นประชุมเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ วันนี้ จับตาการเมืองแทรกแซง โหวตเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟู
 
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันนี้ (29 พ.ย.) จะมีการประชุมเจ้าหนี้การบินไทยผ่านระบบออนไลน์ โดยจะมีวาระสำคัญในที่ประชุมสำหรับการพิจารณา ประกอบด้วย การพิจารณาลดมูลค่าหุ้น หรือ Par Value เพื่อล้างผลขาดทุนสะสมหลักทรัพย์ที่มีประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นกระบวนการก่อนแปลงหนี้เพิ่มทุน และจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าหนี้ตามลำดับ ในราคาหุ้นละ 2.5452 บาท การขอพิจารณาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู รวมถึงขอมติที่ประชุม โหวตเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
 
โดยทางกระทรวงการคลัง ได้เสนอ ขอเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ 2 ราย จากกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ได้แก่ 
1.นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม 
และ 2.นายพลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ 3 ของการบินไทย
 
ก่อนหน้านี้ในการประชุมผู้ถือหุ้นการบินไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติโหวตให้เลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ ออกไปเป็นวันที่ 29 พฤศจิกายน เนื่องจากวาระที่มีการเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนเพิ่ม 2 คน ที่เป็นตัวแทนจากระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม ทางเจ้าหนี้มองว่าเป็นการแจ้งกระชั้นชิดเกินไป โดยแจ้งล่วงหน้าเพียง 3 วัน ทางเจ้าหนี้ในแต่ละกลุ่มต้องใช้เวลาในการหารือ จึงขอหารือให้มีการโหวตเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ออกไปก่อน ด้วยมติเสียง 56 : 43  โดยในการประชุมผู้ถือหุ้นวันนั้น มีเจ้าหนี้เข้ารวมประชุมหลักร้อยกว่าราย รวมมูลค่าหนี้ 8 หมื่นกว่าล้านบาท จากจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมด 1.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ทางกระทรวงการคลัง ระบุเหตุผลของการเสนอวาระพิจารณาการเพิ่ม 2 ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ว่า การบินไทยอยู่ระหว่างกระบวนการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ประกอบกับภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2565 กำหนดให้มีผู้บริหารแผนจำนวน 5 ราย ขณะที่การดำเนินงานปัจจุบันคงเหลือผู้บริหารแผน จำนวน 3 ราย และในช่วงเวลาที่เหลือก่อนออกจากแผนฟื้นฟู การบินไทยมีเรื่องต้องตัดสินใจสำคัญหลายเรื่อง จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยพิจารณา และเชื่อมโยงผู้ถือหุ้น
 
ดังนั้นวาระการโหวตเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นที่จับตามองพอสมควร โดยทางเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆกับเจ้าหนี้ฝั่งกระทรวงการคลังและภาครัฐ จะต้องแข่งขันโหวต ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากทางเจ้าหนี้บางกลุ่ม และสหภาพแรงงานการบินไทย ที่ก่อนหน้านี้ได้ออกมาเรียกร้องให้เจ้าหนี้โหวตไม่เห็นชอบ หรือโหวด NO เพื่อไม่ผ่านวาระดังกล่าว
 
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สัดส่วนการเพิ่มกรรมการ จากภาครัฐ นั้นถ้าผ่านมติ ก็จะทำให้มีคณะกรรมการ 5 คน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจต่างๆในการบริหารก็คงจะยากขึ้นจากเดิมที่มีเพียงกรรมการบริหาร 3 คน และอาจใช้ระยะเวลานานขึ้นเช่นกัน ในการตัดสินใจต่างๆ แต่ถ้าการเสนอคณะกรรมการ เพิ่มเป็น 5 คนไม่ผ่านมติก็ ถือว่าจบ ก็จะเหลือกรรมการ 3 คนตามเดิม
ทั้งนี้ การเข้าสู่การประชุมผู้ถือหุ้น หลังออกจากแผนฟื้นฟูนั้น ภาครัฐอาจจะมีกรรมการเข้ามาเพิ่มได้ตามสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐ เนื่องจากการประชุมผู้ถือหุ้นก่อนออกจากแผนฟื้นฟู กำหนดสิทธิให้เลือกกรรมการได้ ซึ่งตามข้อบังคับบริษัทจะมีกรรมการได้ไม่เกิน 15 คน
 
อย่างไรก็ตาม นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลต้องการรักษาสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อมีอำนาจในการบริหาร จะส่อแววว่า การบินไทย จะกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่นั้น ตนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เนื่องจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะทางการเมือง หรือ ทางการบินไทยเอง ต่างเห็นด้วยและประกาศชัดเจนว่า การบินไทย ไม่ควรกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะการเป็นรัฐวิสาหกิจจะทำให้การทำงานยุ่งยากไปหมด
 
แต่ประเด็นที่สำคัญที่ค่อนข้างห่วงพอสมควรคือ หากรัฐมีสัดส่วนบทบาทอำนาจเข้ามาแทรกแทรงในการบริหารมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของการบินไทยได้พอสมควร
 
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับคณะผู้บริหารแผนปัจจุบัน ประกอบด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย
จำกัด (มหาชน), นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้า หน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง ในฐานะผู้แทนกระทรวงการคลัง
 
นอกจากนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด​ (มหาชน) แจ้งว่า ภายหลังจากบริษัทฯ ได้เริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างทุน เปิดให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิแปลงหนี้ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายนนั้น ได้มีเจ้าหนี้จำนวนมากแสดงเจตนารวมกันเกินกว่า 3 เท่าของจำนวนหุ้นที่มีรองรับตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงการคลังทราบว่ามีการแปลงหนี้ตามสิทธิ 100%
 
แต่อย่างไรก็ตามภายหลังกระบวนการแปลงหนี้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน การบินไทยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วของบริษัท อันเกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุนของแผนฟื้นฟูกิจการตามที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินการ ขณะนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลังได้มีหนังสือถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้าขอให้ชะลอการจดทะเบียนไว้หลังวันที่ 29 พฤศจิกายน
 
ซึ่งผลที่ตามมาจากการจดทะเบียนล่าช้า นั้นส่งผลกระทบทางการเงินต่อการบินไทย คือค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ วันละ 2 ล้านบาท ซึ่งการบินไทย คงจะต้องดำเนินการตามกฎหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งต่อไป เบื้องต้นเตรียมยื่นฟ้องนายทะเบียน พนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันส่งผลเสียหายแก่บริษัท
 
หาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการตามคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วของบริษัทแล้วเสร็จ ก็จะมีผลทำให้กระทรวงการคลังไม่เป็นเจ้าหนี้การบินไทย และกลับสู่สถานะการเป็นผู้ถือหุ้น เพราะปัจจุบันกระทรวงการคลังแปลงหนี้ทั้งหมด 100% แล้ว และเมื่อไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ก็จะไม่มีสิทธิในการโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟู
  
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการประชุมเจ้าหนี้ในวันนี้ น่าจะมีการหยิบยกประเด็นการพิจารณาสถานะเจ้าหนี้ของกระทรวงการคลังมาหารือ เพื่อพิจารณาใช้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้โหวตแก้ไขแผนฟื้นฟู โดยหากที่ประชุมเจ้าหนี้จะหยิบเรื่องนี้มาถกกันก็คงต้องอยู่ที่ดุลพินิจการพิจารณาของเจ้าหนี้ทั้งหมด หรือท้ายที่สุดก็ต้องขึ้นอยู่กับศาลในการพิจารณาตีความการเป็นเจ้าหนี้ของกระทรวงการคลัง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่