ในฌาน ไม่สามารถรับรู้อารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ฌานได้เลย

"กามวิถี" เป็นวิถีจิตที่ รับสัมผัสทาง ปัญจทวาร (ตา หู จมูก  ลิ้น กาย)  หรือทาง มโนทวาร (ใจ)  ก็ได้
แต่ "อัปปนาวิถี" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ฌานวิถี" เป็นวิถีที่รู้ทางมโนทวารเท่านั้น

จิตที่เป็นฌาน เป็นมหัคคตจิต  ไม่ใช่ กามาวจรจิต  เป็นจิตคนละดวง คนละประเภท
ฌานจิต หรือมหัคคตจิต จะรับอารมณ์ได้ทางมโนทวารเท่านั้น (เป็นมโนทวารวิถีเท่านั้น)

เมื่อจิตจะรับอารมณ์ใดๆ จะทำงานเป็นวิถี เป็นแพทเทิร์น ไม่ใช่ว่าจิตดวงแรก รับ เสียง จิตดวงต่อไปรับธรรมารมณ์ จิตดวงต่อไปรับกลิ่นดวงต่อดวง

แต่จิตจะขึ้นทำงานเป็นวิถี
การจะรับเสียง ก็ต้องเข้าโสตทวารวิถี มีจิตเกิดทำงานในวิถีหลายดวง
การตั้งใจรับฟังเสียงจนรู้เนื้อหาลักษณะของเสียง ก็ต้องใช้โสตทวารวิถี(และมโนทวาร(กาม)วิถีมารับอารมณ์ต่อ)หลายร้อยหลายพันวิถี จึงจะรู้เข้าใจว่าเสียงอะไร
เมื่อจิตเลิกมนสิการเสียง ไปมนสิการภาพทางตาก็  ละจากโสตทวารวิถี
แล้วมาเริ่มจักขุทวารวิถี ซึ่งต้องใช้หลายร้อยหลายพันวิถี จึงจะรู้เข้าใจว่า ภาพนี้เป็นภาพอะไร

วิถีที่รับรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่า ปัญจทวารวิถีจิต
วิถีที่รับรู้อารมณ์ทางใจ เรียกว่า มโนทวารวิถี
มโนทวารวิถี ที่รับรู้อารมณ์ฌาน เรียกว่า ฌานวิถี หรือ อัปปนาวิถี
ฌานวิถี เกิดทางมโนทวารเท่านั้นไม่เกิดทาง ปัญจทวาร เลย

(จขกท นำตัวอย่างวิถีชนิดต่างๆ มาให้ชม ยังไม่ต้องท่องหรือเข้าใจรายละเอียดในตอนนี้
เพียงแต่ให้ทราบว่า การที่จิตจะรู้อารมณ์อะไรนั้นมีแบบแผนเฉพาะแต่ละวิถีนั้น)

ตัวอย่าง ปัญจทวารวิถี


ตัวอย่าง มโนทวารวิถี (กามวิถี)


เมื่อจะทำฌาน  เข้าสู่อัปปนาวิถี ก็มีแพทเทิร์นของการเข้าฌาน ที่เป็นวิถีเฉพาะ  เมื่ออยู่ในฌาน ก็จะแนบแน่นในอารมณ์นั้นๆ ตลอดเวลา ไม่มีการวอกแวกไปรู้อารมณ์อื่น จนเมื่อจะออกจากฌาน จิตก็ออกจากอารมณ์ฌาน แล้วตกภวังค์ แล้ว มีภวังคจิตคั่นมากมาย แล้วจึงเริ่มวิถีจิตใหม่

ตัวอย่าง ฌานวิถี หรืออัปปนาวิถี

----------------------------------------------------
ในขณะเข้าฌาน จะไม่ได้ยินเสียงอะไร แม้ว่าเสียงนั้นเกิดขึ้นใกล้ๆ หูก็ตาม
ไม่เกี่ยวกับว่า มีความยึดมั่นหรือไม่ยึดมั่นในเสียง หรือไม่
แต่เพราะว่า ในขณะเข้าฌาน ไม่เกิดปัญจทวารวิถีจิต ขึ้นรับรู้เสียงเลย...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่