แต่ปฐมฌานยังมีการตรึกหรือมีการเพ่ง การตรึกการเพ่งก็หมายความว่า รักษาจิตไว้ให้ตั้งอยู่ในองค์ฌาน การรักษาจิตไว้ยังต้องลำบากอยู่ เปรียบเหมือนสัตว์พาหนะถ้ายังมี เชือกล่ามอยู่ การเลี้ยงดูก็ลำบาก จึงต้องฝึกให้ชำนาญ ให้ คุ้นเคย เมื่อ สัตว์ พาหนะคุ้นเคย วางเชือกได้แล้วสบาย
วสีความชำนาญในการเข้าฌาน
จิตเมื่อคุ้นเคยในอารมณ์ จะให้ออกจากอารมณ์เวลาไหนก็ได้ จึงให้ฝึก ให้ชำนาญ ใน วสี 5 ประการ คือ
• ชำนาญ ในการพิจารณาเมื่อจะเข้าถาม 1
• ชำนาญ ในการเข้าสู่ฌาน 1
• ชำนาญ ที่จะตั้งจิตไว้ในองค์ฌาน 1
• ชำนาญ ในการออกจากฌาน 1
• ชำนาญ พิจารณาเมื่อจะออกจากองค์ฌาน 1
ครั้นทำ ปฐมฌานให้ชำนาญแล้ว จึงละเสียซึ่ง องค์ฌานอันหยาบ คือ วิตกวิจาร อาศัย ความชำนาญ ในการตั้งจิตไว้มั่น นั่งเอง จึงวางจิตกวิจารได้ คือไม่ต้องเพ่งต้องตรึกถ้าเราวางเพ่งวางตรึก จิตวิ่งหนีออกจากองค์ฌาน พึงเข้าใจว่าเรายังไม่ชำนาญ สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้วไม่ต้องลำบากในการเข้า รู้ว่า จิต ที่เป็น อดีต อานาคต ปัจจุบัน ที่วิ่งออกไปตามอารมณ์สัญญาภายนอก เป็น กามาวจรจิต
เครื่องหมายในทุติยฌาน
เมื่อจะเข้าสู้ฌานอาศัยความชำนาญจึงต้อง หยุดคิด วางอารมณ์สามกาล ดูหทัยวัตถุให้วางเปล่า ไม่ให้มีความคิดเข้า ถึง ทุติยฌาน เลยที่เดียวก็ได้ เมื่อหทัยวัตถุว่างเปล่าไม่ตรึกไม่คิดมีแต่ตัว ปัจจเวกขณะญาณ กำหนดรู้อยู่ เมื่อไม่คิดไม่นึก วจีสังขารคับ นี้เป็นเครื่องหมายของทุติยฌาน เหลือแต่ปีติสุข เอกัคคตา เมื่อจิตวางวิตกไว้ เปรียบเหมือนสัตว์พาหนะวางเชือกได้สบาย
เครื่องหมายในจตุตถฌาน
ละปีติเสีย เหลือแต่ สุข กับ เอกัคคตา เป็น ตติยฌาน
ละสุข เหลือแต่ อุเบกขา กับ เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน
ฌานทั้ง 4 มีอารมณ์ ละเอียดกว่ากันเป็นชั้น ๆ เมื่อได้จตุตถฌานเป็นที่ตั้ง ลมดับละเอียดจนมองไม่เห็น เมื่อลมดับกายสังขารก็ดับ นี้เป็นเครื่องหมายแห่งจตุตถฌาน เมื่อได้จตุตถฌานเป็นที่ตั้ง ย่อมให้สำเร็จวิชาใด้หลายทาง เช่น ผู้ได้วิชา 3 และ อภิญญา 6 หรือ โลกุตตรวิชาก็เป็นของเกิดได้ง่าย แต่โลกุตตรภูมิจะงดไว้ก่อน
นิมิตเกิดในสมาธิ
จะกล่าวถึง นิมิต อันเกิดขึ้นในขณะ ก่อนฌาน จะเกิด มักจะมีนิมิตเข้ามาให้เห็นในมโนทวาร นิมิตจะเกิดขึ้นอาศัยจิตลงสู่ภวังค์ คือในขณะที่ทำสมาธิอยู่ เผลอสติจิตเคลิ้มไปทวารสมมุติหยุดรับรู้อารมณ์ เกิดทวารวิมุติให้เห็นภาพต่าง ๆ มาปรากฏ ผู้ทีมีอารมณ์สัญญาเคยได้เห็นได้ยินได้ทราบ ได้รู้อะไรไว้ ก็มักจะเห็นนิมิตนั้น เช่น คนทำไร่ทำสวน ก็เห็นไร่ เห็นสวน
คนค้าขายก็เห็นสิ่งที่ตนค้าขาย ผู้ที่เคยทำบาปก็เห็นสิ่งที่เป็นบาป ผู้ที่เคยทำบุญก็เห็นสิ่งที่เป็นบุญ เช่นคนที่เคยทำโป๊ะทำอวนฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าสุกร ฆ่าโค ขายเลี้ยงชีวิต เมื่อมาทำสมาธิมักจะเห็นสิ่งที่ตนทำ ถ้าเห็นปูเห็นปลา เห็นเป็ดเห็นไก่ เห็นสุกร เห็นโคนี้แลเป็นคตินิมิต ฝ่ายอกุศล ถ้าจิตดับลงในขณะนั้นต้องไปทุคติ
ส่วนผู้ที่เคยทำบุญเห็นพระเห็นเณร เห็นโบสถ์วิหาร เห็นปราสาทเงินปราสาททอง ถ้าดับจิตลงในขณะนั้นไปสู่สุคติ ในอสัญญกรรมเวลาจวนเจียนจะตายก็เป็นดังนี้ไม่มีต่างกันเลย คือ ตัวทวารสมมุติกับทวารวิมุติ เป็นของต่อเนื่องถึงกัน เมื่อทวารสมมุติรับมาอย่างไร ตัวทวารวิมุติก็รับเอาอย่างนั้น
พึงเห็นดังองคุลีมารโจร เคยฆ่าคนถึง 999 คน มาบวชบำเพ็ญสมาธิเห็นแต่คนที่ตนฆ่า ถือ ศาสตราวุธ เข้ามาจะทิ่มแทง หลับตาลงเวลาไหนก็เห็นเวลานั้น พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงได้ตรัสสอนไม่ให้นึกถึงอดีต อารมณ์ที่ล่วงแล้วห้ามไม่ให้คิด ให้ทำจิตให้เป็นดวงเดียว เหมือนนายพรวนจะยิงปืนย่อมหลับตาข้างหนึ่ง เมื่อพระองค์คุลีมาร ทำจิตให้แน่วแน่ในองค์อริยมรรค ไม่นึกถึงกาลเก่า จิตก็หลุดพ้น สำเร็วมรรคผล
มารโดยธรรมมาธิษฐาน
จิตที่เห็นภาพต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็น กามาวจรนิมิต เป็นได้ทั้ง สุคติ และทุคติ จิตตอนนี้ยังไม่เข้าถึงองค์ฌานเป็นส่วนพหุลกรรม และอสัญญกรรม นี้แหละท่านเรียกว่า มาร มารมี 5
• กิเลสมาร ได้แก่ ราคะโทสะโมหะ 1
• อภิสังขารมาร ได้แก่ความนึกคิด ปรุงแต่ทางใจ หยุด คิดไม่ได้ 1
• เทวบุตตมาร ได้แก่ภาพต่าง ๆ ที่มาปรากฏให้เห็นในมโนทวาร 1
• ขันธมาร ได้แก่ขันธ์ของเรา มีอาการเจ็บปวดร้อน รน เกิดทุกขเวทนามีประการต่าง ๆให้ห่างจากการทำ ความเพียร 1
• มัจจุมาร คือความตาย เมื่อคุณความดี คือมรรคผล นิพพาน จวนจะเกิดขึ้นแก่เรา ความตาย มาตัดไป 1
ที่ว่ามารมาอาราธนาให้พระองค์สู่นิพพาน ก็ไม่ใช่อื่น ไกล คือ ขันธมารมัจจุมารนี้เอง นิมิตที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างอุปจารสมาธิ คือจิต เฉียด เข้าถึงองค์ ฌาน บางคนก็มีบางคนก็ไม่มี คนที่มี นิมิต เพราะสติเผลอ และเป็นผู้มีการงานมาก ผู้ที่ไม่มีนิมิตเพราะไม่เผลอสติ และเป็นผู้ไม่มีการงาน อีกนัยหนึ่งผู้ทำสมาธิแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ
พวกที่ 1 ทำสมาธิเพียงเล็กน้อย เพียงกึ่งหรือชั่วโมงหนึ่งแล้วก็นอนเสีย พวกนี้ยังไม่ถึงนิมิต
พวกที่ 2 ทำสมาธิถึงชั่วโมง หรือ 2 – 3 ชั่วโมง จนง่วง นอน เวลาง่วงนอนนี้ แหละ จิตหยุดรับรู้ทางทวารสมมุติ ลง สู่ ภวังค์ เกิดนิมิต นิมิตเหล่านี้เป็นตัว ชาติ ตัวภพ ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ให้ปล่อยวาง
พวกที่ 3 ทำสมาธิน้อยหรือมากก็ตามเป็นผู้มี สติไม่เผลอและหนักไปทางวิปัสสนา จิตลงภวังค์ ไม่ได้ นิมิตไม่เกิด
นิมิตที่กล่าวมานี้ พูดเฉพาะนิมิตที่เป็น กามาวจร เท่านั้น นิมิตเหล่านี้เกิดจาก สัญญาอารมณ์ เราไม่ได้เพ่งให้มันเกิด มันเกิดเอง ส่วนนิมิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร นั้น เกิดจากการเพ่ง เช่น เพ่งดินเห็นดิน เพ่งน้ำเห็นน้ำ เพ่งไฟเห็นไฟ อาศัยอัปปนาสมาธิจิตตั้งมั่น หลับตาลงแลเห็นติดตา เรียกว่า อุคคหนิมิต เมื่อเสพนิมิตที่แลเห็น ติดตาให้มากเข้าเกิดผ่องใสดังแก้วมณี จะนึกให้เล็กก็เล็ก จะนึกให้ใหญ่ก็ใหญ่ นี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิต เป็นครุกรรม ให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งสิ้น อุคคหนิมิตที่ยืนที่ไม่ใช่เผลอสติ ปฏิภาคนิมิตย่อมได้ในกรรมฐาน 22 คือ กสิน 10 อสุภ 10 กายคตานุสติ 1 อานาปานสติ 1
อนึ่ง จิต 35 คือ รูปาวจรจิต 15 อรูปาวจรจิต 12 โลกุตตรจิต 8 เกิดในมโนทวารอย่างเดียว
อัปปนาชวนะวีถี
อารมณ์ในมโนวิญญาณวิถี ที่เป็นกามาวจรนั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ วิภูตารมณ์ 1 อวิภูตารมณ์ 1 ความว่า เมื่อธรรมารมณ์มาปรากฏแก่มโนทวารแล้ว เป็นภวังค์จลนะภวังค์ไหวขณะ 1 มโนทวาราวัชนะ เกิดขึ้นขณะหนึ่งให้พิจารณา ( ตัดสินกำหนดว่า จะทำอะไร อย่างไร ) กับอารมณ์มโนทวารแล้วก็ดับไป ลำดับนั้นกามาวจรชวนะเกิดขึ้น ( เสพอารมณ์ที่พิจารณา ตัดสินกำหนด ) 7 ขณะแล้วก็ดับไป ตทาลัมพนะเกิดขึ้น 2 ขณะ ยึดหน่วง เอาอารมณ์ ตามชวนะแล้วก็ดับไป จิตก็ตกกระแสภวังค์ ธรรมารมณ์ได้ในวิถีจิตอย่างนี้ ชื่อ วิภูตารมณ์
ถ้าภวังค์ไหว กระแสภวังค์ขาดแล้ว นโนทวาราวัชชนะเกิดขึ้นขณะ 1 กามาวจรชนะเกิดขึ้น 7 ขณะ แล้วจิตก็ตกกระแสภวังค์ ตทาลัมพนะมาเกิดไม่ได้ ธรรมมารมณ์ได้ในวิถีจิตอย่างนี้ ชื่ออวิภูตารมณ์
ในอัปปนาชวนะวารนั้น ประเภทแห่งวิภูตารมณ์และอวิภูตารมณ์ ทั้ง 2 นี้ไม่มี ตทาลัมพณะไม่เกิดขึ้นขณะ 1 แล้ว ก็ดับไปลำดับนั้น กามาวจรชวนะ 4 ได้โอกาสแล้ว จิตใดจิตหนึ่งเกิดขึ้นให้สำเร็จเป็นชวนะ บางทีเกิดขึ้น 4 ขณะบ้าง บางทีเกิดขึ้น 3 ขณะ บ้าง ๆ ตามอภินิหาร แห่งบุคคล ที่เป็น ทันธาภิญญา และขิปปาภิญญา ฯ ถ้าผู้ปฏิบัตินั้นเป็นทันธาภิญญา ตรัสรู้ช้า ญาณสัมปยุตกามาวจรเกิด 4 ขณะ เป็น บริกรรม ขณะ 1 อุปจาระชวนะ ขณะ 1 อนุโลมชวนะ ขณะ 1 เป็น โคตรภูชวนะขณะ 1 ถ้าผู้นั้นเป็นขิปปาภิญญา ตรัสรู้เร็ว ญาณ สัมปยุตกามาวจรก็เกิด 3 ขณะ เป็น อุปจาระชวนะ ขณะ 1 ญาณสัมปยุตกามาวจรชวนะเกิดขึ้น 4 ขณะแล้วก็ดับไป
ลำดับนั้นมหัคคตาชวนะ และโลกูตตรชวนะ 26 นั้นชวนะอันหนึ่งอันใดหยังลงสู่ อัปปนาวิถี ขณะ 1 เบื้องหน้าแต่นั้นจิตก็ตกลง สู่ภวังค์ในที่สุดแห่งอัปปนา
ถ้าอัปปนาวิถี จะเป็น มรรควิถี
• บริกรรมชวนะ ที่ 1 ก็ฆ่ากิเลสอย่างหยาบ
• อุปจารชวนะ ที่ 2 ก็ฆ่ากิเลสอย่างกลาง
• อนุโลมชวนะ ที่ 3 ก็ฆ่ากิเลสอย่างละเอียด
• โคตรภูชวนะ ที่ 4 ก็ชี้ช่องให้เห็นพระนิพพาน
โคตรภูในโลกุตตรชวนะ แปลว่า จิตล่วงจากโลกิยจิตเข้าสู่โลกุตตรจิต หรือล่วงจากโคตรของ ปถุชน เข้าสูโคตรของอริยะชน เมื่อโคตรภูเกิดขึ้นในกาลใด ในการนั้นก็ออกจากสังขารนิมิต ได้เป็น อุปธิวิเวก สงัดจากขันธ์
ครั้นแล้ว มรรคจิต จึงเกิด จึงออกจาก ปวัตติ คือ ตัณหา ครั้นแล้วผลจิตก็เกิดขึ้น 2- 3 ขณะ ตามอภินิหารแห่งบุคคล ถ้าเป็นทันธาภิญญา ผลจิตเกิด 2 ขณะ
ถ้าเป็นขิปปาภิญญา ผลจิตเกิด 3 ขณะ จิตจึงตกลงสู่กระแสภวังค์ ฝ่ายมหัคคตอัปปนาชวนะ คือผู้จะได้ ญาณโลกีย์ต่างกันกับ มรรควิถี คือบริกรรมชวนะ อุปจารชวนะ อนุโลมชวนะไม่ฆ่ากิเลสได้ พอแต่ได้ญาณขณะจิต 1 แล้วก็เป็นภวังค์คุบาท จิตก็ตกภวังค์ ไม่ได้เจริญวิปัสสนาต่อ จึงเป็นโลกิยฌาน
ผู้ที่เป็นโลกิยฌานเป็นแต่ จิตวิเวกสงัดจากนิวรณ์โคตรภูจิตของโลกิยฌานล่วงแต่ กามาวจรจิต เข้าสู่ รูปาวจรจิต เป็นผู้ ติดอารมณ์ในปัจจุบัน ออกจากขันธ์ไม่ได้
ส่วนโลกุตตรอัปปนาชวนะนั้น เมื่อเข้าถึงฌานพิจารณาองค์ฌาน และธรรมอันสัมปยุตอยู่ด้วยองค์ฌาน คือปิติ สุข เอกัคคตา นั้น สันนิษฐานว่าเป็น ทุกขัง อนิจจา อนัตตา มรรคจึงฆ่ากิเลสให้ตาย เพราะพระไตรลักษณ์ทั้ง 3 นี้ เป็นเครื่องตัดกระแสของภพให้ขาด ด้วยอำนาจแห่งมรรคจิต มีความหมายต่างกันอย่างนี้
จบอัปปนาชวนะวิถี และรูปาวจรภูมิ
รูปาวจรภูมิ-อรูปาวจรภูมิและโลกุตตรภูมิ ภาค3
วสีความชำนาญในการเข้าฌาน
จิตเมื่อคุ้นเคยในอารมณ์ จะให้ออกจากอารมณ์เวลาไหนก็ได้ จึงให้ฝึก ให้ชำนาญ ใน วสี 5 ประการ คือ
• ชำนาญ ในการพิจารณาเมื่อจะเข้าถาม 1
• ชำนาญ ในการเข้าสู่ฌาน 1
• ชำนาญ ที่จะตั้งจิตไว้ในองค์ฌาน 1
• ชำนาญ ในการออกจากฌาน 1
• ชำนาญ พิจารณาเมื่อจะออกจากองค์ฌาน 1
ครั้นทำ ปฐมฌานให้ชำนาญแล้ว จึงละเสียซึ่ง องค์ฌานอันหยาบ คือ วิตกวิจาร อาศัย ความชำนาญ ในการตั้งจิตไว้มั่น นั่งเอง จึงวางจิตกวิจารได้ คือไม่ต้องเพ่งต้องตรึกถ้าเราวางเพ่งวางตรึก จิตวิ่งหนีออกจากองค์ฌาน พึงเข้าใจว่าเรายังไม่ชำนาญ สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้วไม่ต้องลำบากในการเข้า รู้ว่า จิต ที่เป็น อดีต อานาคต ปัจจุบัน ที่วิ่งออกไปตามอารมณ์สัญญาภายนอก เป็น กามาวจรจิต
เครื่องหมายในทุติยฌาน
เมื่อจะเข้าสู้ฌานอาศัยความชำนาญจึงต้อง หยุดคิด วางอารมณ์สามกาล ดูหทัยวัตถุให้วางเปล่า ไม่ให้มีความคิดเข้า ถึง ทุติยฌาน เลยที่เดียวก็ได้ เมื่อหทัยวัตถุว่างเปล่าไม่ตรึกไม่คิดมีแต่ตัว ปัจจเวกขณะญาณ กำหนดรู้อยู่ เมื่อไม่คิดไม่นึก วจีสังขารคับ นี้เป็นเครื่องหมายของทุติยฌาน เหลือแต่ปีติสุข เอกัคคตา เมื่อจิตวางวิตกไว้ เปรียบเหมือนสัตว์พาหนะวางเชือกได้สบาย
เครื่องหมายในจตุตถฌาน
ละปีติเสีย เหลือแต่ สุข กับ เอกัคคตา เป็น ตติยฌาน
ละสุข เหลือแต่ อุเบกขา กับ เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน
ฌานทั้ง 4 มีอารมณ์ ละเอียดกว่ากันเป็นชั้น ๆ เมื่อได้จตุตถฌานเป็นที่ตั้ง ลมดับละเอียดจนมองไม่เห็น เมื่อลมดับกายสังขารก็ดับ นี้เป็นเครื่องหมายแห่งจตุตถฌาน เมื่อได้จตุตถฌานเป็นที่ตั้ง ย่อมให้สำเร็จวิชาใด้หลายทาง เช่น ผู้ได้วิชา 3 และ อภิญญา 6 หรือ โลกุตตรวิชาก็เป็นของเกิดได้ง่าย แต่โลกุตตรภูมิจะงดไว้ก่อน
นิมิตเกิดในสมาธิ
จะกล่าวถึง นิมิต อันเกิดขึ้นในขณะ ก่อนฌาน จะเกิด มักจะมีนิมิตเข้ามาให้เห็นในมโนทวาร นิมิตจะเกิดขึ้นอาศัยจิตลงสู่ภวังค์ คือในขณะที่ทำสมาธิอยู่ เผลอสติจิตเคลิ้มไปทวารสมมุติหยุดรับรู้อารมณ์ เกิดทวารวิมุติให้เห็นภาพต่าง ๆ มาปรากฏ ผู้ทีมีอารมณ์สัญญาเคยได้เห็นได้ยินได้ทราบ ได้รู้อะไรไว้ ก็มักจะเห็นนิมิตนั้น เช่น คนทำไร่ทำสวน ก็เห็นไร่ เห็นสวน
คนค้าขายก็เห็นสิ่งที่ตนค้าขาย ผู้ที่เคยทำบาปก็เห็นสิ่งที่เป็นบาป ผู้ที่เคยทำบุญก็เห็นสิ่งที่เป็นบุญ เช่นคนที่เคยทำโป๊ะทำอวนฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าสุกร ฆ่าโค ขายเลี้ยงชีวิต เมื่อมาทำสมาธิมักจะเห็นสิ่งที่ตนทำ ถ้าเห็นปูเห็นปลา เห็นเป็ดเห็นไก่ เห็นสุกร เห็นโคนี้แลเป็นคตินิมิต ฝ่ายอกุศล ถ้าจิตดับลงในขณะนั้นต้องไปทุคติ
ส่วนผู้ที่เคยทำบุญเห็นพระเห็นเณร เห็นโบสถ์วิหาร เห็นปราสาทเงินปราสาททอง ถ้าดับจิตลงในขณะนั้นไปสู่สุคติ ในอสัญญกรรมเวลาจวนเจียนจะตายก็เป็นดังนี้ไม่มีต่างกันเลย คือ ตัวทวารสมมุติกับทวารวิมุติ เป็นของต่อเนื่องถึงกัน เมื่อทวารสมมุติรับมาอย่างไร ตัวทวารวิมุติก็รับเอาอย่างนั้น
พึงเห็นดังองคุลีมารโจร เคยฆ่าคนถึง 999 คน มาบวชบำเพ็ญสมาธิเห็นแต่คนที่ตนฆ่า ถือ ศาสตราวุธ เข้ามาจะทิ่มแทง หลับตาลงเวลาไหนก็เห็นเวลานั้น พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงได้ตรัสสอนไม่ให้นึกถึงอดีต อารมณ์ที่ล่วงแล้วห้ามไม่ให้คิด ให้ทำจิตให้เป็นดวงเดียว เหมือนนายพรวนจะยิงปืนย่อมหลับตาข้างหนึ่ง เมื่อพระองค์คุลีมาร ทำจิตให้แน่วแน่ในองค์อริยมรรค ไม่นึกถึงกาลเก่า จิตก็หลุดพ้น สำเร็วมรรคผล
มารโดยธรรมมาธิษฐาน
จิตที่เห็นภาพต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็น กามาวจรนิมิต เป็นได้ทั้ง สุคติ และทุคติ จิตตอนนี้ยังไม่เข้าถึงองค์ฌานเป็นส่วนพหุลกรรม และอสัญญกรรม นี้แหละท่านเรียกว่า มาร มารมี 5
• กิเลสมาร ได้แก่ ราคะโทสะโมหะ 1
• อภิสังขารมาร ได้แก่ความนึกคิด ปรุงแต่ทางใจ หยุด คิดไม่ได้ 1
• เทวบุตตมาร ได้แก่ภาพต่าง ๆ ที่มาปรากฏให้เห็นในมโนทวาร 1
• ขันธมาร ได้แก่ขันธ์ของเรา มีอาการเจ็บปวดร้อน รน เกิดทุกขเวทนามีประการต่าง ๆให้ห่างจากการทำ ความเพียร 1
• มัจจุมาร คือความตาย เมื่อคุณความดี คือมรรคผล นิพพาน จวนจะเกิดขึ้นแก่เรา ความตาย มาตัดไป 1
ที่ว่ามารมาอาราธนาให้พระองค์สู่นิพพาน ก็ไม่ใช่อื่น ไกล คือ ขันธมารมัจจุมารนี้เอง นิมิตที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างอุปจารสมาธิ คือจิต เฉียด เข้าถึงองค์ ฌาน บางคนก็มีบางคนก็ไม่มี คนที่มี นิมิต เพราะสติเผลอ และเป็นผู้มีการงานมาก ผู้ที่ไม่มีนิมิตเพราะไม่เผลอสติ และเป็นผู้ไม่มีการงาน อีกนัยหนึ่งผู้ทำสมาธิแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ
พวกที่ 1 ทำสมาธิเพียงเล็กน้อย เพียงกึ่งหรือชั่วโมงหนึ่งแล้วก็นอนเสีย พวกนี้ยังไม่ถึงนิมิต
พวกที่ 2 ทำสมาธิถึงชั่วโมง หรือ 2 – 3 ชั่วโมง จนง่วง นอน เวลาง่วงนอนนี้ แหละ จิตหยุดรับรู้ทางทวารสมมุติ ลง สู่ ภวังค์ เกิดนิมิต นิมิตเหล่านี้เป็นตัว ชาติ ตัวภพ ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ให้ปล่อยวาง
พวกที่ 3 ทำสมาธิน้อยหรือมากก็ตามเป็นผู้มี สติไม่เผลอและหนักไปทางวิปัสสนา จิตลงภวังค์ ไม่ได้ นิมิตไม่เกิด
นิมิตที่กล่าวมานี้ พูดเฉพาะนิมิตที่เป็น กามาวจร เท่านั้น นิมิตเหล่านี้เกิดจาก สัญญาอารมณ์ เราไม่ได้เพ่งให้มันเกิด มันเกิดเอง ส่วนนิมิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร นั้น เกิดจากการเพ่ง เช่น เพ่งดินเห็นดิน เพ่งน้ำเห็นน้ำ เพ่งไฟเห็นไฟ อาศัยอัปปนาสมาธิจิตตั้งมั่น หลับตาลงแลเห็นติดตา เรียกว่า อุคคหนิมิต เมื่อเสพนิมิตที่แลเห็น ติดตาให้มากเข้าเกิดผ่องใสดังแก้วมณี จะนึกให้เล็กก็เล็ก จะนึกให้ใหญ่ก็ใหญ่ นี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิต เป็นครุกรรม ให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งสิ้น อุคคหนิมิตที่ยืนที่ไม่ใช่เผลอสติ ปฏิภาคนิมิตย่อมได้ในกรรมฐาน 22 คือ กสิน 10 อสุภ 10 กายคตานุสติ 1 อานาปานสติ 1
อนึ่ง จิต 35 คือ รูปาวจรจิต 15 อรูปาวจรจิต 12 โลกุตตรจิต 8 เกิดในมโนทวารอย่างเดียว
อัปปนาชวนะวีถี
อารมณ์ในมโนวิญญาณวิถี ที่เป็นกามาวจรนั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ วิภูตารมณ์ 1 อวิภูตารมณ์ 1 ความว่า เมื่อธรรมารมณ์มาปรากฏแก่มโนทวารแล้ว เป็นภวังค์จลนะภวังค์ไหวขณะ 1 มโนทวาราวัชนะ เกิดขึ้นขณะหนึ่งให้พิจารณา ( ตัดสินกำหนดว่า จะทำอะไร อย่างไร ) กับอารมณ์มโนทวารแล้วก็ดับไป ลำดับนั้นกามาวจรชวนะเกิดขึ้น ( เสพอารมณ์ที่พิจารณา ตัดสินกำหนด ) 7 ขณะแล้วก็ดับไป ตทาลัมพนะเกิดขึ้น 2 ขณะ ยึดหน่วง เอาอารมณ์ ตามชวนะแล้วก็ดับไป จิตก็ตกกระแสภวังค์ ธรรมารมณ์ได้ในวิถีจิตอย่างนี้ ชื่อ วิภูตารมณ์
ถ้าภวังค์ไหว กระแสภวังค์ขาดแล้ว นโนทวาราวัชชนะเกิดขึ้นขณะ 1 กามาวจรชนะเกิดขึ้น 7 ขณะ แล้วจิตก็ตกกระแสภวังค์ ตทาลัมพนะมาเกิดไม่ได้ ธรรมมารมณ์ได้ในวิถีจิตอย่างนี้ ชื่ออวิภูตารมณ์
ในอัปปนาชวนะวารนั้น ประเภทแห่งวิภูตารมณ์และอวิภูตารมณ์ ทั้ง 2 นี้ไม่มี ตทาลัมพณะไม่เกิดขึ้นขณะ 1 แล้ว ก็ดับไปลำดับนั้น กามาวจรชวนะ 4 ได้โอกาสแล้ว จิตใดจิตหนึ่งเกิดขึ้นให้สำเร็จเป็นชวนะ บางทีเกิดขึ้น 4 ขณะบ้าง บางทีเกิดขึ้น 3 ขณะ บ้าง ๆ ตามอภินิหาร แห่งบุคคล ที่เป็น ทันธาภิญญา และขิปปาภิญญา ฯ ถ้าผู้ปฏิบัตินั้นเป็นทันธาภิญญา ตรัสรู้ช้า ญาณสัมปยุตกามาวจรเกิด 4 ขณะ เป็น บริกรรม ขณะ 1 อุปจาระชวนะ ขณะ 1 อนุโลมชวนะ ขณะ 1 เป็น โคตรภูชวนะขณะ 1 ถ้าผู้นั้นเป็นขิปปาภิญญา ตรัสรู้เร็ว ญาณ สัมปยุตกามาวจรก็เกิด 3 ขณะ เป็น อุปจาระชวนะ ขณะ 1 ญาณสัมปยุตกามาวจรชวนะเกิดขึ้น 4 ขณะแล้วก็ดับไป
ลำดับนั้นมหัคคตาชวนะ และโลกูตตรชวนะ 26 นั้นชวนะอันหนึ่งอันใดหยังลงสู่ อัปปนาวิถี ขณะ 1 เบื้องหน้าแต่นั้นจิตก็ตกลง สู่ภวังค์ในที่สุดแห่งอัปปนา
ถ้าอัปปนาวิถี จะเป็น มรรควิถี
• บริกรรมชวนะ ที่ 1 ก็ฆ่ากิเลสอย่างหยาบ
• อุปจารชวนะ ที่ 2 ก็ฆ่ากิเลสอย่างกลาง
• อนุโลมชวนะ ที่ 3 ก็ฆ่ากิเลสอย่างละเอียด
• โคตรภูชวนะ ที่ 4 ก็ชี้ช่องให้เห็นพระนิพพาน
โคตรภูในโลกุตตรชวนะ แปลว่า จิตล่วงจากโลกิยจิตเข้าสู่โลกุตตรจิต หรือล่วงจากโคตรของ ปถุชน เข้าสูโคตรของอริยะชน เมื่อโคตรภูเกิดขึ้นในกาลใด ในการนั้นก็ออกจากสังขารนิมิต ได้เป็น อุปธิวิเวก สงัดจากขันธ์
ครั้นแล้ว มรรคจิต จึงเกิด จึงออกจาก ปวัตติ คือ ตัณหา ครั้นแล้วผลจิตก็เกิดขึ้น 2- 3 ขณะ ตามอภินิหารแห่งบุคคล ถ้าเป็นทันธาภิญญา ผลจิตเกิด 2 ขณะ
ถ้าเป็นขิปปาภิญญา ผลจิตเกิด 3 ขณะ จิตจึงตกลงสู่กระแสภวังค์ ฝ่ายมหัคคตอัปปนาชวนะ คือผู้จะได้ ญาณโลกีย์ต่างกันกับ มรรควิถี คือบริกรรมชวนะ อุปจารชวนะ อนุโลมชวนะไม่ฆ่ากิเลสได้ พอแต่ได้ญาณขณะจิต 1 แล้วก็เป็นภวังค์คุบาท จิตก็ตกภวังค์ ไม่ได้เจริญวิปัสสนาต่อ จึงเป็นโลกิยฌาน
ผู้ที่เป็นโลกิยฌานเป็นแต่ จิตวิเวกสงัดจากนิวรณ์โคตรภูจิตของโลกิยฌานล่วงแต่ กามาวจรจิต เข้าสู่ รูปาวจรจิต เป็นผู้ ติดอารมณ์ในปัจจุบัน ออกจากขันธ์ไม่ได้
ส่วนโลกุตตรอัปปนาชวนะนั้น เมื่อเข้าถึงฌานพิจารณาองค์ฌาน และธรรมอันสัมปยุตอยู่ด้วยองค์ฌาน คือปิติ สุข เอกัคคตา นั้น สันนิษฐานว่าเป็น ทุกขัง อนิจจา อนัตตา มรรคจึงฆ่ากิเลสให้ตาย เพราะพระไตรลักษณ์ทั้ง 3 นี้ เป็นเครื่องตัดกระแสของภพให้ขาด ด้วยอำนาจแห่งมรรคจิต มีความหมายต่างกันอย่างนี้
จบอัปปนาชวนะวิถี และรูปาวจรภูมิ