“เคยคิดเล่นๆ ว่า ชื่อ "Crab" มันคงมีที่มาจากเสียงก้ามปูหนีบอะไรดัง "แคร๊บๆ" หรือว่าตอนกระดองปูโดนทุบ ดัง "แคร๊บ" นะ? แล้วทำไมคนไทยเรียกสัตว์น้ำชนิดนี้ว่า "ปู" 555”
จากข้อสงสัยดีๆจากพี่ Chanin Thorut ดังกล่าว เราอาจจะต้องทำความรู้จักหลักภาษาศาสตร์ ของ เดอะ โสสืร Ferdinand Mongin de Saussure French: [fɛʁdinɑ̃ mɔ̃ʒɛ̃ də sosyʁ] ได้ให้นิยามของ สัญลักษณ์ทางภาษาศาสตร์ไว้ดังนี้
Saussure distingue quatre caractéristiques du signe linguistique:
1. L'arbitraire du signe : le lien entre le signifiant et le signifié est arbitraire (c'est-à-dire immotivé), car un même concept peut être associé à des images acoustiques différentes selon les langues.
Saussure distinguishes four characteristics of the linguistic sign:
1. The arbitrariness of the sign: the link between the signifier and the signified is arbitrary (ie unmotivated), for the same concept can be associated with different acoustic images according to the languages.
สรุปได้ว่า เสียงและรูปสะกดคำ มีความสัมพันธ์ (รูปเสียงสื่อ) กับ สิ่งที่ต้องการสื่อสาร (สิ่งที่ถูกสื่อ) นั้นมีความสัมพันธ์ในแบบ นิรเกณฑ์ กล่าวคือ ไม่ได้มีสัมพันธ์กันโดยตรง หากแต่ ก็ไม่ได้เป็นการสุ่ม
อย่าง คำว่า cat ในภาษาอังกฤษ หมายถึง เสือขนาดเล็กที่ถูกมนุษย์นำมาเพาะเลี้ยงจนเชื่อง และใช้เป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เสียงของคำว่า cat ไม่มีความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ แมวโดยตรง หากแต่เป็นเรื่องของ ภาษาศาสตร์ประวัติศาสตร์ ซึ่งคำส่วนใหญ่ในภาษาเป็นคำที่มีลักษณะนิรเกณฑ์
หากแต่ก็มีข้อยกเว้น ในคำอุทาน และคำเลียนเสียงธรรมชาติ (onomatopoeia) ซึ่งคำว่า ‘แมว’ ในภาษาไทย ก็อาจจะถือเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติเช่นกัน แต่ก็เป็นคำร่วมรากถึงต้น Proto-KraDai แต่อาจจะรวมถึง Proto-Sino-Dai ด้วย จึงอาจจะไม่นับรวมเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ เพราะ ภาษาไทยมีคำร้องของแมว เป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติที่แท้จริงคือ เหมียว อย่างที่เราพูดกันว่า แมวเหมียว
แมว จึงจัดเป็นคำ นิรเกณฑ์ arbitrariness
เหมียว จึงจัดเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ onomatopoeia
กลับมาที่คำว่า crab ในภาษาอังกฤษ นั้น มาจากภาษาอังกฤษยุคกลาง crabbe และมาจากภาษาอังกฤษยุคเก่า crabba ซึ่งมีรากร่วมกลุ่มภาษาเยอรมานิกกับ ภาษาดัชต์ krabbe และอาจจะมีรากร่วมกับภาษาอินโดยุโรป ดังนี้ ภาษาละติน cancer, ภาษากรีก karkinos, ภาษาสันสกฤต ( karkat̻a : กรฺกฏ : กัรกะฏะ > กรกฏ ) ซึ่งสืบสร้างได้ ภาษาโปรโตอินโดยูโรป ดังนี้ *kark- ซึ่งไม่น่าจะนับเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ แต่เป็นคำนิรเกณฑ์เช่นกันครับ
คำสืบสร้าง Proto-Indo-European: *kark-
ภาษาสันสกฤต : karkat̻a
ภาษาละติน: cancer
ภาษากรีก: karkinos
Old English: crabba
Middle English crabbe
ภาษาดัชต์: krab, krabbe
Low German: Krabb
ภาษาสวีเดน: krabba
ส่วนปู ก็เป็นคำนิรเกณฑ์ เช่นกัน เป็นคำร่วม Proto-Dai และ Proto-Kra-Dai
Dai languages
-Southwestern Tai: ไทสยาม, ไทลื้อ /puu1/ ; ไทขาว,ไทดำ,ไทใหญ่ /pu1/; ไทอีสานหนองคาย, ไทยวนเชียงใหม่ /puu2/
-Central Tai: ไทLeiping /puu2/; ไทLungming, ไท Ning Ming /pow1/; ไท Western Nung, ไทLungchow, ไทPing Siang /puu1/
-Northern Tai: ไท Yay, ไทแสก /paw1/
Kam-Sui Languages
-Ai-Cham: ภาษาBoyao /pau1/
Hlai languages
-Hlai: ภาษาHlai/ ʔbou2/ or / ʔbʌu2 /
ดังนั้น ทั้ง crab ในภาษาอังกฤษ และ ปู ในภาษาไทย จึงเป็นคำนิรเกณฑ์ ที่สืบทอดรากศัพท์ ภาษาเก่าของแต่ละภาษามาหลายพันปีครับ
ปล.
ขอบคุณรูปจาก Rueangrit Promdam
ไม่สามารถเขียนให้สั้นๆง่ายๆ ได้ ตามคำขอของท่าน Ohm Pavaphon ขอโทษทีครับ
© 2017 Prapanth Iamwiriyakul
© 2017 พันศาสตร์พันภาษา
### Crab และ ปู ที่มาของ คำนิรเกณฑ์ และ คำเลียนเสียงธรรมชาติ Arbitrariness and Onomatopoeia of Linguistic sign ###
“เคยคิดเล่นๆ ว่า ชื่อ "Crab" มันคงมีที่มาจากเสียงก้ามปูหนีบอะไรดัง "แคร๊บๆ" หรือว่าตอนกระดองปูโดนทุบ ดัง "แคร๊บ" นะ? แล้วทำไมคนไทยเรียกสัตว์น้ำชนิดนี้ว่า "ปู" 555”
จากข้อสงสัยดีๆจากพี่ Chanin Thorut ดังกล่าว เราอาจจะต้องทำความรู้จักหลักภาษาศาสตร์ ของ เดอะ โสสืร Ferdinand Mongin de Saussure French: [fɛʁdinɑ̃ mɔ̃ʒɛ̃ də sosyʁ] ได้ให้นิยามของ สัญลักษณ์ทางภาษาศาสตร์ไว้ดังนี้
Saussure distingue quatre caractéristiques du signe linguistique:
1. L'arbitraire du signe : le lien entre le signifiant et le signifié est arbitraire (c'est-à-dire immotivé), car un même concept peut être associé à des images acoustiques différentes selon les langues.
Saussure distinguishes four characteristics of the linguistic sign:
1. The arbitrariness of the sign: the link between the signifier and the signified is arbitrary (ie unmotivated), for the same concept can be associated with different acoustic images according to the languages.
สรุปได้ว่า เสียงและรูปสะกดคำ มีความสัมพันธ์ (รูปเสียงสื่อ) กับ สิ่งที่ต้องการสื่อสาร (สิ่งที่ถูกสื่อ) นั้นมีความสัมพันธ์ในแบบ นิรเกณฑ์ กล่าวคือ ไม่ได้มีสัมพันธ์กันโดยตรง หากแต่ ก็ไม่ได้เป็นการสุ่ม
อย่าง คำว่า cat ในภาษาอังกฤษ หมายถึง เสือขนาดเล็กที่ถูกมนุษย์นำมาเพาะเลี้ยงจนเชื่อง และใช้เป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เสียงของคำว่า cat ไม่มีความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ แมวโดยตรง หากแต่เป็นเรื่องของ ภาษาศาสตร์ประวัติศาสตร์ ซึ่งคำส่วนใหญ่ในภาษาเป็นคำที่มีลักษณะนิรเกณฑ์
หากแต่ก็มีข้อยกเว้น ในคำอุทาน และคำเลียนเสียงธรรมชาติ (onomatopoeia) ซึ่งคำว่า ‘แมว’ ในภาษาไทย ก็อาจจะถือเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติเช่นกัน แต่ก็เป็นคำร่วมรากถึงต้น Proto-KraDai แต่อาจจะรวมถึง Proto-Sino-Dai ด้วย จึงอาจจะไม่นับรวมเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ เพราะ ภาษาไทยมีคำร้องของแมว เป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติที่แท้จริงคือ เหมียว อย่างที่เราพูดกันว่า แมวเหมียว
แมว จึงจัดเป็นคำ นิรเกณฑ์ arbitrariness
เหมียว จึงจัดเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ onomatopoeia
กลับมาที่คำว่า crab ในภาษาอังกฤษ นั้น มาจากภาษาอังกฤษยุคกลาง crabbe และมาจากภาษาอังกฤษยุคเก่า crabba ซึ่งมีรากร่วมกลุ่มภาษาเยอรมานิกกับ ภาษาดัชต์ krabbe และอาจจะมีรากร่วมกับภาษาอินโดยุโรป ดังนี้ ภาษาละติน cancer, ภาษากรีก karkinos, ภาษาสันสกฤต ( karkat̻a : กรฺกฏ : กัรกะฏะ > กรกฏ ) ซึ่งสืบสร้างได้ ภาษาโปรโตอินโดยูโรป ดังนี้ *kark- ซึ่งไม่น่าจะนับเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ แต่เป็นคำนิรเกณฑ์เช่นกันครับ
คำสืบสร้าง Proto-Indo-European: *kark-
ภาษาสันสกฤต : karkat̻a
ภาษาละติน: cancer
ภาษากรีก: karkinos
Old English: crabba
Middle English crabbe
ภาษาดัชต์: krab, krabbe
Low German: Krabb
ภาษาสวีเดน: krabba
ส่วนปู ก็เป็นคำนิรเกณฑ์ เช่นกัน เป็นคำร่วม Proto-Dai และ Proto-Kra-Dai
Dai languages
-Southwestern Tai: ไทสยาม, ไทลื้อ /puu1/ ; ไทขาว,ไทดำ,ไทใหญ่ /pu1/; ไทอีสานหนองคาย, ไทยวนเชียงใหม่ /puu2/
-Central Tai: ไทLeiping /puu2/; ไทLungming, ไท Ning Ming /pow1/; ไท Western Nung, ไทLungchow, ไทPing Siang /puu1/
-Northern Tai: ไท Yay, ไทแสก /paw1/
Kam-Sui Languages
-Ai-Cham: ภาษาBoyao /pau1/
Hlai languages
-Hlai: ภาษาHlai/ ʔbou2/ or / ʔbʌu2 /
ดังนั้น ทั้ง crab ในภาษาอังกฤษ และ ปู ในภาษาไทย จึงเป็นคำนิรเกณฑ์ ที่สืบทอดรากศัพท์ ภาษาเก่าของแต่ละภาษามาหลายพันปีครับ
ปล.
ขอบคุณรูปจาก Rueangrit Promdam
ไม่สามารถเขียนให้สั้นๆง่ายๆ ได้ ตามคำขอของท่าน Ohm Pavaphon ขอโทษทีครับ
© 2017 Prapanth Iamwiriyakul
© 2017 พันศาสตร์พันภาษา